ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก
สุคันธเถราปทานที่ ๑๐
ว่าด้วยผลแห่งการสดุดีพระรัตนตรัย
[๑๒๐] พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพราหมณ์ ทรงพระยศใหญ่ มี พระนามชื่อว่ากัสสปะ ประเสริฐกว่านักปราชญ์ทั้งหลายเสด็จอุบัติ ขึ้นแล้วในภัทกัปนี้ พระองค์ทรงสมบูรณ์ด้วยอนุพยัญชนะมีพระ ลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ อันรัศมีวาหนึ่งแวดล้อม มีข่าย รัศมีบังเกิดปรากฏ ก่อให้เกิดความยินดีเหมือนพระจันทร์ ส่องแสง สว่างเหมือนพระอาทิตย์ ทรงยังหมู่สัตว์ให้เยือกเย็น เหมือนเมฆฝน เป็นบ่อเกิดแห่งคุณเหมือนสาคร ปานประหนึ่งว่าแผ่นดินโดยศีล เปรียบดังภูเขาหิมวันต์โดยสมาธิ เหมือนอย่างอากาศโดยปัญญา เป็นผู้ไม่เกาะเกี่ยวเหมือนลม ไม่พร่องเหมือนวิหาร แกล้วกล้าใน บริษัท ทรงประกาศสัจธรรมช่วยมหาชนให้รอดพ้น ครั้งนั้นเรา เป็นเศรษฐีบุตรผู้มียศใหญ่ ในพระนครพาราณสี มีทรัพย์และ ข้าวเปลือกมากมาย เราเที่ยวเดินเล่นไปจนถึงป่ามฤคทายวัน ได้ เห็นพระศาสดาผู้เป็นนาถะ กำลังทรงแสดงพระธรรมเทศนาเรื่อง หนทางอมตธรรม เราได้เห็นพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้เป็นเทพยิ่ง กว่าทวยเทพ มีพระดำรัสเกลี้ยงเกลา น่ารัก มีพระสุรเสียงสม่ำ เสมอเหมือนนกการะเวก มีพระสำเนียงก้องเหมือนเสียงหงส์และ เสียงกลองใหญ่ ยังมหาชนให้ทราบชัดได้ และได้สดับพระสุรเสียง อันไพเราะ จึงได้ละโภคทรัพย์มิใช่น้อย ออกบวชเป็นบรรพชิต เราบวชแล้ว เช่นนี้ ไม่นานก็เป็นพหูสูต เป็นพระธรรมกถึก มีปฏิภาณอันวิจิตร เราเป็นคนองอาจในการพรรณนา ได้พรรณนา พระคุณของพระศาสดาผู้มีพระฉวีวรรณเหมือนทองคำ ในท่ามกลาง บริษัทใหญ่บ่อยๆ ว่า พระผู้มีพระภาคพระองค์นี้ เป็นพระขีณาสพ เป็นผู้ตื่นแล้วไม่มีทุกข์ ทรงตัดความสงสัยได้แล้ว ทรงถึงความ สิ้นกรรมทุกอย่าง ทรงพ้นกิเลสแล้วในเพราะธรรมเป็นที่สิ้นไป แห่งอุปธิ พระผู้มีพระภาคพระองค์นี้นั้นเป็นผู้ตื่นแล้ว พระองค์เป็น ผู้ประเสริฐยิ่ง ทรงประกาศพรหมจรรย์ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก ทรงฝึกพระองค์เองและทรงฝึกผู้อื่น ทรงสงบระงับเองและทรงทำ ผู้อื่นให้สงบระงับ เป็นผู้ดับกิเลส เป็นนักบวช ทรงยังผู้อื่นให้ดับ กิเลส เป็นผู้เบาพระทัยและทรงยังมหาชนให้เบาใจ ทรงมีความ เพียร องอาจ กล้าหาญ มีพระปัญญาทรงประกอบด้วยพระกรุณา ทรงมีความชำนาญ เป็นผู้มีชัยชนะ เป็นพระพิชิตมาร ไม่ทรงคะนอง ทรงหมดความห่วงใย เป็นผู้ไม่หวั่นไหว ไม่สั่นสะเทือน เป็น นักปราชญ์ ไม่ทรงหลงใหล ไม่มีใครเทียมทัน เป็นมุนี มีปกติ นำธุระไป ทรงอาจหาญแม้ในพวกครู ดังโคอุสุภราชพระยาคชสาร (และ) ไกรสรสีหราช เป็นผู้ปราศจากราคะ ปราศจากมลทิน เป็นดังพรหม กล้ากว่านักปราชญ์ หักเสียซึ่งข้าศึกคือกิเลส หมด เสี้ยนหนาม ปราศจากความเศร้าโศกไม่มีใครเสมอเสมือน เป็นผู้ ประเสริฐ สะอาดหมดจด เป็นพราหมณ์ เป็นสมณะ เป็นนาถะ เป็นหมอ เป็นผู้กำจัดลูกศร เป็นนักรบ เป็นผู้เบิกบาน เป็นผู้ หลับและตื่น ไม่หวั่นไหว มีใจเบิกบาน ยิ้มแย้ม ทรงทำการฝึก อินทรีย์ เป็นผู้นำตนไป เป็นผู้ทำ เป็นผู้นำ เป็นผู้ประกาศ เป็น ผู้ทำสัตว์ให้ร่าเริง เป็นผู้วิด เป็นผู้ตัก เป็นผู้ฟัง เป็นผู้สรรเสริญ เป็นผู้ไม่กำเริบ ปราศจากลูกศร ไม่มีทุกข์ ไม่ทรงมีความสงสัย เป็นผู้หมดตัณหา ปราศจากธุลี เป็นผู้ขุด เป็นผู้ทำลาย เป็นผู้ กล่าว เป็นผู้ทำให้ปรากฏ เป็นผู้ยังสัตว์ให้ข้าม ให้ทำประโยชน์ เป็นผู้ถึงสัมปทา เป็นผู้ยังสัตว์ให้บรรลุ เป็นผู้ไปด้วยกัน เป็นผู้ฆ่า ทรงยังกิเลสให้เร่าร้อน ให้เหือดแห้ง ดำรงอยู่ในสัจจะ เสมอ ด้วยผู้เสมอ ไม่มีสหาย เป็นที่อยู่แห่งความเอ็นดู มีมนต์อัศจรรย์ ไม่ทรงลวงให้พิศวง เป็นผู้ทำ เป็นนักบวชองค์ที่ ๗ ทรงข้ามพ้น ความสงสัยแล้ว ไม่ทรงถือพระองค์ ทรงมีคุณหาประมาณมิได้ ไม่มีใครเปรียบปาน ล่วงคลองแห่งถ้อยคำทุกชนิด ล่วงเวไนย สัตว์ทุกคน ทรงชนะหมู่มาร ความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าผู้ ประเสริฐมีพระรัศมีกำหนดด้วยร้อยพระองค์นั้น ย่อมนำอมตมหา นิพพานมาให้ เพราะฉะนั้น ความเชื่อในพระพุทธเจ้า ในพระธรรม และในพระสงฆ์ จึงมีประโยชน์ใหญ่ เราสรรเสริญพระพุทธเจ้าผู้ เป็นสรณะอย่างสูงสุดของโลก ๓ ด้วยคุณมีอาทิเห็นปานดังนี้ แสดงธรรมกถาในท่ามกลางบริษัท จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ได้ เสวยมหันตสุขในสวรรค์ชั้นดุสิต จุติจากดุสิตแล้วเกิดในมนุษย์ เป็นผู้มีกลิ่นหอม ลมหายใจ กลิ่นปากและกลิ่นตัวของเราก็เช่นนั้น เหมือนกัน คือ มีกลิ่นหอม และกลิ่นหอมนั้นนั่นแหละฟุ้งไป เนืองนิตย์ เรามีกลิ่นหอมทุกอย่างกลิ่นปากของเราหอมฟุ้งอยู่ทุกเมื่อ สรีระของเรางดงาม หอมฟุ้งทุกทิพาราตรีกาล ปานดังดอกปทุม ดอกอุบลและดอกจำปา ฉะนั้น ทั้งหมดนั้นเป็นผลแห่งการกล่าว สรรเสริญคุณพระพุทธเจ้า ผลนั้นน่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง ขอท่านทั้งหลาย จงตั้งใจสดับคุณของพระพุทธเจ้านั้น ซึ่งเราได้กล่าวแล้ว ครั้นเรา กล่าวสรรเสริญคุณของพระพุทธเจ้า ซึ่งนำประโยชน์และความสุขมา ให้แล้ว เป็นผู้มีจิตผ่องแผ้วในธรรมทั้งปวง พระสงฆ์เป็นผู้ ประกอบด้วยความเพียร มียศ ถึงความสุข งดงาม รุ่งเรือง น่ารักน่าชม เป็นผู้กล่าวไม่ดูหมิ่นดูแคลน ไม่มีโทษ และเป็นผู้มี ปัญญาขวนขวายในธรรมที่เป็นสิ้นกิเลส สำหรับผู้ภักดีต่อพระพุทธ เจ้าได้นิพพานโดยง่าย เราจักกล่าวถึงเหตุของพวกเรา เชิญท่าน ทั้งหลายฟังเหตุนั้นตามเรื่อง เราถวายบังคมก็เพราะค้นพบพระยศ ของพระผู้มีพระภาคที่มีอยู่ เพราะฉะนั้น แม้เราจะเกิดในภพใดๆ ก็ย่อมเป็นผู้มียศในภพนั้นๆ เราสรรเสริญพระพุทธเจ้า ผู้ทำที่สุด ทุกข์ และพระธรรมอันสงบระงับ ปัจจัยมิได้ปรุงแต่ง จึงได้เป็นผู้ ถึงความสุข เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงชื่อว่าทรงประทานความ สุขแก่สัตว์ทั้งหลาย เรากล่าวสรรเสริญคุณของพระพุทธเจ้าว่า มีทั้งส่วนพระองค์และที่เป็นประโยชน์แก่คนอื่น จึงเป็นผู้ประกอบ ด้วยปีติในพระพุทธเจ้า เพราะฉะนั้น เราจึงเป็นผู้มีความงดงาม เมื่อเรากล่าวสรรเสริญพระคุณ ชื่อว่าชมเชยพระผู้นำ ซึ่งทรงชำนะ มาร ล่วงเสียซึ่งเดียรถีย์ ครอบงำเดียรถีย์โกงเสียได้ เพราะฉะนั้น เราจึงเป็นคนมีความรุ่งเรือง เมื่อเรากล่าวสรรเสริญพระคุณของ พระสัมพุทธเจ้า ชื่อว่าพระองค์ให้เป็นที่รักแม้แห่งหมู่ชน เพราะ ฉะนั้น เราจึงเป็นผู้น่ารัก น่าชม เหมือนพระจันทร์อันมีในสรทกาล ฉะนั้น เราชมเชยพระสุคตเจ้าด้วยวาจาทุกอย่าง ตามสติสามารถ เพราะฉะนั้น เราจึงมีปฏิภาณวิจิตร เหมือนท่านพระวังคีสะ คน พาลพวกใดเป็นผู้ถึงความสงสัย จึงดูหมิ่นพระมหามุนี เราข่มขี่ คนพาลพวกนั้นโดยชอบธรรม เพราะฉะนั้น เราจึงไม่ถูกดูหมิ่น เราได้ช่วยทำกิเลสของสัตว์ทั้งหลายให้หมดไป ด้วยการสรรเสริญ พระคุณพระพุทธเจ้า เพราะอำนาจของกรรมนั้น เราจึงเป็นผู้มีใจ ไม่มีกิเลส เราผู้แสดงพุทธานุสสติ ได้ทำปัญญาเครื่องตรัสรู้ให้ เกิดแก่ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น เราจึงเป็นผู้มีปัญญาเห็นแจ้งอรรถอัน ละเอียด เราจักเป็นผู้สิ้นอาสวะทุกอย่าง จักข้ามพ้นสาครคือ สงสารไปได้ และมีความชำนิชำนาญ ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน ถึง ความดับสนิท ในกัปนี้เองเราได้ชมเชยพระชินเจ้าใด ด้วยการ ชมเชยนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา เราเผา กิเลสทั้งหลายแล้ว ... พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระสุคันธเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ สุคันธเถราปทาน.
-----------------------------------------------------
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ติณมุฏฐิทายกเถราปทาน ๖. ทัณฑทายกเถราปทาน ๒. เวจจกทายกเถราปทาน ๗. คิริเนลปูชกเถราปทาน ๓. สรณคมนิยเถราปทาน ๘. โพธิสัมมัชชกเถราปทาน ๔. อัพภัญชนทายกเถราปทาน ๙. อามัณฑผลทายกเถราปทาน ๕. สุปฏทายกเถราปทาน ๑๐. สุคันธเถราปทาน
ในวรรคนี้ บัณฑิตคำนวณคาถาทั้งหมดได้ ๑๒๓ คาถา.
จบ ติณทายกวรรคที่ ๕๓.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ บรรทัดที่ ๒๖๐๒-๒๗๑๒ หน้าที่ ๑๑๕-๑๑๙. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=33&A=2602&Z=2712&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=33&siri=120              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33&i=120              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [120] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=33&item=120&items=1              The Pali Tipitaka in Roman :- [120] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=33&item=120&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_33              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/tha-ap532/en/walters

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :