ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
ยุคนัทธวรรค พลกถา
[๖๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ ประการนี้แล ฯ อีกอย่างหนึ่ง พละ ๖๘ ประการ คือ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ ปฏิสังขานพละ ภาวนาพละ อนวัชชพละ สังคาหพละ ขันติพละ ปัญญัตติพละ นิชฌัตติพละ อิสริยพละ อธิษฐานพละ สมถพละ วิปัสสนาพละ เสกขพละ ๑๐ อเสกขพละ ๑๐ ขีณา- *สวพละ ๑๐ อิทธิพละ ๑๐ ตถาคตพละ ๑๐ ฯ [๖๒๒] สัทธาพละเป็นไฉน ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะอรรถว่า ไม่ หวั่นไหวไปในความไม่ศรัทธา เพราะความว่าอุปถัมภ์สหชาตธรรม เพราะความ ว่าครอบงำกิเลสทั้งหลาย เพราะความว่าเป็นความสะอาดในเบื้องต้นแห่งปฏิเวธ เพราะความว่าเป็นที่ตั้งมั่นแห่งจิต เพราะความว่าเป็นที่ผ่องแผ้วแห่งจิต เพราะ ความว่าเป็นเครื่องบรรลุคุณวิเศษ เพราะความว่าแทงตลอดธรรมที่ยิ่ง เพราะความ ว่าตรัสรู้สัจจะ เพราะความว่าให้การกบุคคลตั้งอยู่เฉพาะในนิโรธ นี้เป็นสัทธาพละ ฯ วิริยพละเป็นไฉน ชื่อว่าวิริยพละ เพราะอรรถว่า ไม่หวั่นไหวไปใน ความเกียจคร้าน เพราะความว่าอุปถัมภ์สหชาตธรรม ฯลฯ เพราะความว่าให้การก บุคคลตั้งอยู่เฉพาะในนิโรธ นี้เป็นวิริยพละ ฯ สติพละเป็นไฉน ชื่อว่าสติพละ เพราะอรรถว่า ไม่หวั่นไหวไปในความ ประมาท เพราะความว่าอุปถัมภ์สหชาตธรรม ฯลฯ เพราะความว่าให้การกบุคคล ตั้งอยู่เฉพาะในนิโรธ นี้เป็นสติพละ ฯ สมาธิพละเป็นไฉน ชื่อว่าสมาธิพละ เพราะอรรถว่า ไม่หวั่นไหวไปใน อุทธัจจะ เพราะความว่าอุปถัมภ์สหชาตธรรม ฯลฯ เพราะความว่าให้การบุคคล ตั้งอยู่เฉพาะในนิโรธ นี้เป็นสมาธิพละ ฯ ปัญญาพละเป็นไฉน ชื่อว่าปัญญาพละ เพราะอรรถว่า ไม่หวั่นไหวไป ในความประมาท เพราะความว่าอุปถัมภ์สหชาตธรรม ฯลฯ เพราะความว่าให้การก บุคคลตั้งอยู่เฉพาะในนิโรธ นี้เป็นปัญญาพละ ฯ [๖๒๓] หิริพละเป็นไฉน ชื่อว่าหิริพละ เพราะอรรถว่า ละอายกาม- *ฉันทะด้วยเนกขัมมะ ละอายพยาบาทด้วยความไม่พยาบาท ละอายถีนมิทธะด้วย โลกสัญญา ละอายอุทธัจจะด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน ละอายวิจิกิจฉาด้วยธรรมววัตถาน ละอายอวิชชาด้วยญาณ ละอายอรติด้วยความปราโมทย์ ละอายนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน ฯลฯ ละอายสรรพกิเลสด้วยอรหัตมรรค นี้เป็นหิริพละ ฯ โอตตัปปพละเป็นไฉน ชื่อว่าโอตตัปปพละ เพราะอรรถว่า เกรงกลัว กามฉันทะด้วยเนกขัมมะ ฯลฯ เกรงกลัวสรรพกิเลสด้วยอรหัตมรรค นี้เป็น โอตตัปปพละ ฯ ปฏิสังขานพละเป็นไฉน ชื่อว่าปฏิสังขานพละ เพราะอรรถว่า พิจารณา กามฉันทะด้วยเนกขัมมะ ฯลฯ พิจารณาสรรพกิเลสด้วยอรหัตมรรค นี้เป็น ปฏิสังขานพละ ฯ [๖๒๔] ภาวนาพละเป็นไฉน ชื่อว่าภาวนาพละ เพราะอรรถว่า พระ โยคาวจรเมื่อละกามฉันทะย่อมเจริญเนกขัมมะ เมื่อละพยาบาทย่อมเจริญความไม่ พยาบาท ฯลฯ เมื่อละสรรพกิเลสย่อมเจริญอรหัตมรรค นี้เป็นภาวนาพละ ฯ อนวัชชพละเป็นไฉน ชื่อว่าอนวัชชพละ เพราะอรรถว่า ในเนกขัมมะ ไม่มีโทษน้อยหนึ่ง เพราะละกามฉันทะได้แล้ว ในความไม่พยาบาทไม่มีโทษน้อย หนึ่ง เพราะละพยาบาทได้แล้ว ฯลฯ ในอรหัตมรรคไม่มีโทษน้อยหนึ่ง เพราะ ละสรรพกิเลสได้แล้ว นี้เป็นอนวัชชพละ ฯ สังคาหพละเป็นไฉน ชื่อว่าสังคาหพละ เพราะอรรถว่า พระโยคาวจร เมื่อละกามฉันทะ ย่อมสะกดจิตไว้ด้วยอำนาจเนกขัมมะ เมื่อละพยาบาท ย่อม สะกดจิตไว้ด้วยอำนาจความไม่พยาบาท ฯลฯ เมื่อละสรรพกิเลส ย่อมสะกด จิตไว้ด้วยอำนาจอรหัตมรรค นี้เป็นสังคาหพละ ฯ [๖๒๕] ขันติพละเป็นไฉน ชื่อว่าขันติพละ เพราะอรรถว่า เนกขัมมะ ย่อมอดทนเพราะละกามฉันทะได้แล้ว ความไม่พยาบาทย่อมอดทนเพราะละ พยาบาทได้แล้ว ฯลฯ อรหัตมรรคย่อมอดทนเพราะละสรรพกิเลสได้แล้ว นี้ เป็นขันติพละ ฯ ปัญญัตติพละเป็นไฉน ชื่อว่าปัญญัตติพละ เพราะอรรถว่า พระโยคาวจร เมื่อละกามฉันทะ ย่อมตั้งจิตไว้ด้วยอำนาจเนกขัมมะ เมื่อละพยาบาทย่อมตั้งจิต ไว้ด้วยอำนาจความไม่พยาบาท ฯลฯ เมื่อละสรรพกิเลส ย่อมตั้งจิตไว้ด้วย อำนาจอรหัตมรรค นี้เป็นปัญญัตติพละ ฯ นิชฌัตติพละเป็นไฉน ชื่อว่านิชฌัตติพละ เพราะอรรถว่า พระโยคาวจร เมื่อละกามฉันทะ ย่อมเพ่งจิตด้วยอำนาจเนกขัมมะ เมื่อละพยาบาท ย่อม เพ่งจิตด้วยอำนาจความไม่พยาบาท ฯลฯ เมื่อละสรรพกิเลสย่อมเพ่งจิตด้วย อำนาจอรหัตมรรค นี้เป็นนิชฌัตติพละ ฯ อิสริยพละเป็นไฉน ชื่อว่าอิสริยพละ เพราะอรรถว่า พระโยคาวจร เมื่อละกามฉันทะ ย่อมบังคับจิตให้เป็นไปตามอำนาจด้วยสามารถเนกขัมมะ เมื่อละพยาบาท ย่อมบังคับจิตให้เป็นไปตามอำนาจด้วยสามารถความไม่พยาบาท ฯลฯ เมื่อละสรรพกิเลส ย่อมบังคับจิตให้เป็นไปตามอำนาจด้วยสามารถอรหัตมรรค นี้เป็นอิสริยพละ ฯ อธิษฐานพละเป็นไฉน ชื่อว่าอธิษฐานพละ เพราะอรรถว่าพระโยคาวจร เมื่อละกามฉันทะ ย่อมอธิษฐานจิตด้วยสามารถเนกขัมมะ เมื่อละพยาบาท ย่อม อธิษฐานจิตด้วยสามารถความไม่พยาบาท ฯลฯ เมื่อละสรรพกิเลส ย่อมอธิษฐาน จิตด้วยสามารถอรหัตมรรค นี้เป็นอธิษฐานพละ ฯ [๖๒๖] สมถพละเป็นไฉน ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วย สามารถเนกขัมมะ เป็นสมถพละ ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วย สามารถความไม่พยาบาท เป็นสมถพละ ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถอาโลกสัญญาเป็นสมถพละ ฯลฯ ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก เป็นสมถพละ ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาเห็นความ สละคืนหายใจเข้า เป็นสมถพละ ฯ ชื่อว่าสมถพละ ในคำว่า สมถพลํ นี้ เพราะอรรถว่ากระไร ฯ ชื่อว่าสมถพละ เพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่นไหวไปในนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน เพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่นไหวไปในวิตกวิจารด้วยทุติยฌาน เพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่นไหวไปในปีติด้วยตติยฌาน เพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่นไหวไปในสุข และทุกข์ด้วยจตุตถฌาน เพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่นไหวไปในรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา ด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ เพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่นไหว ไปในวิญญาณัญจายตนสัญญา ด้วยอากิญจัญญายตนสมาบัติ เพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่นไหวไปในอากิญจัญญายตนสัญญา ด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ เพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่นไหว ไม่เอนเอียง ไม่กวัดแกว่งไปในอุทธัจจะ ใน กิเลสอันสหรคตด้วยอุทธัจจะและในขันธ์ นี้เป็นสมถพละ ฯ [๖๒๗] วิปัสสนาพละเป็นไฉน อนิจจานุปัสสนา เป็นวิปัสสนาพละ ทุกขานุปัสสนา เป็นวิปัสสนาพละ ฯลฯ ปฏินิสสัคคานุปัสสนาเป็นวิปัสสนาพละ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป เป็นวิปัสสนาพละ ฯลฯ การพิจารณาเห็น ความสละคืนในรูป เป็นวิปัสสนาพละ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ในจักษุ ฯลฯ ในชราและมรณะ เป็น วิปัสสนาพละ การพิจารณาเห็นทุกข์ในชราและมรณะ เป็นวิปัสสนาพละ การ พิจารณาเห็นความสละคืนในชราและมรณะ เป็นวิปัสสนาพละ ฯ ชื่อว่า วิปัสสนาพละ ในคำว่า วิปสฺสนาพลํ นี้ เพราะอรรถว่ากระไร ฯ ชื่อว่า วิปัสสนาพละ เพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่นไหวไปในนิจจสัญญา ด้วยอนิจจานุปัสสนา เพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่นไหวไปในสุขสัญญา ด้วยทุกขา- *นุปัสสนา เพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่นไหวไปในความเพลิดเพลิน ด้วยนิพพิทา- *นุปัสสนา เพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่นไหวไปในราคะ ด้วยวิราคานุปัสสนา เพราะ อรรถว่า จิตไม่หวั่นไหวไปในสมุทัย ด้วยนิโรธานุปัสสนา เพราะอรรถว่า จิตไม่ หวั่นไหวไปในความถือมั่น ด้วยปฏินิสสัคคานุปัสสนา เพราะอรรถว่า จิตไม่ หวั่นไหว ไม่เอนเอียง ไม่กวัดแกว่งไปในอวิชชา ในกิเลสอันสหรคตด้วย อวิชชา และในขันธ์ นี้เป็นวิปัสสนาพละ ฯ [๖๒๘] เสกขพละ ๑๐ อเสกขพละ ๑๐ เป็นไฉน ชื่อว่า เสกขพละ เพราะพระเสขะยังต้องศึกษาสัมมาทิฐิ ชื่อว่าอเสกขพละ เพราะพระอเสขะศึกษา ในสัมมาทิฐินั้นเสร็จแล้ว ชื่อว่าเสกขพละ เพราะพระเสขะยังต้องศึกษาสัมมา- *สังกัปปะ ชื่อว่าอเสกขพละ เพราะพระอเสขะศึกษาในสัมมาสังกัปปะนั้น เสร็จแล้ว ชื่อว่าเสกขพละ เพราะพระเสขะยังต้องศึกษาสัมมาวาจา ฯลฯ สัมมา- *กัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณ ฯลฯ สัมมาวิมุติ ชื่อว่าอเสกขพละ เพราะพระอเสขะศึกษาในสัมมาวาจา สัมมา- *กัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณ สัมมาวิมุติ นั้นเสร็จแล้ว เสกขพละ ๑๐ อเสกขพละ ๑๐ นี้ ฯ [๖๒๙] ขีณาสวพละ ๑๐ เป็นไฉน ภิกษุขีณาสพในศาสนานี้ เป็นผู้ เห็นด้วยดีซึ่งสังขารทั้งปวง โดยความเป็นของไม่เที่ยง ด้วยปัญญาอันชอบ ตาม ความเป็นจริง แม้ข้อที่ภิกษุขีณาสพเป็นผู้เห็นด้วยดีซึ่งสังขารทั้งปวง โดยความ เป็นของไม่เที่ยงด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงนี้ เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพ ซึ่งภิกษุขีณาสพได้อาศัยปฏิญาณความสิ้นอาสวะว่า อาสวะทั้งหลายของเราสิ้น ไปแล้ว ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุขีณาสพเป็นผู้เห็นด้วยดีซึ่งกามทั้งหลายว่า เปรียบ ด้วยหลุมถ่านเพลิง ด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง แม้ข้อที่ภิกษุขีณาสพ เห็นด้วยดีซึ่งกามทั้งหลายว่า เปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง ด้วยปัญญาอันชอบตาม ความเป็นจริงนี้ ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพ ซึ่งภิกษุขีณาสพได้อาศัยปฏิญาณ ความสิ้นอาสวะว่า อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นไปแล้ว ฯ อีกประการหนึ่ง จิตของภิกษุขีณาสพเป็นธรรมชาติโน้มไป น้อมไป เอนไปในวิเวก ยินดีในเนกขัมมะ ตั้งอยู่ในวิเวก สิ้นสูญไปจากธรรมทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะ โดยประการทั้งปวง แม้ข้อที่จิตของภิกษุขีณาสพเป็น ธรรมชาติโน้มไป น้อมไป เอนไปในวิเวก ตั้งอยู่ในวิเวก ยินดีในเนกขัมมะ สิ้นสูญไปจากธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะโดยประการทั้งปวงนี้ ก็เป็น กำลังของภิกษุขีณาสพ ซึ่งภิกษุขีณาสพได้อาศัยปฏิญาณความสิ้นอาสวะว่า อาสวะ ทั้งหลายของเราสิ้นไปแล้ว ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุขีณาสพเป็นผู้เจริญสติปัฏฐาน ๔ เจริญดีแล้ว แม้ข้อที่ภิกษุขีณาสพเป็นผู้เจริญสติปัฏฐาน ๔ เจริญดีแล้วนี้ ก็เป็นกำลังของ พระขีณาสพ ซึ่งพระขีณาสพได้อาศัยปฏิญาณความสิ้นอาสวะว่า อาสวะทั้งหลาย ของเราสิ้นไปแล้ว ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุขีณาสพเป็นผู้เจริญสัมมัปปธาน ๔ ฯลฯ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ ฯลฯ อริยมรรค มีองค์ ๘ เจริญดีแล้ว แม้ข้อที่ภิกษุขีณาสพเป็นผู้เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เจริญดีแล้วนี้ ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพ ซึ่งภิกษุขีณาสพได้อาศัยปฏิญาณความสิ้นอาสวะว่า อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นไปแล้ว นี้เป็นกำลังของพระขีณาสพ ๑๐ ฯ [๖๓๐] อิทธิพละ ๑๐ เป็นไฉน ฤทธิ์เพราะการอธิษฐาน ๑ ฤทธิ์ที่ แผลงได้ต่างๆ ๑ ฤทธิ์ที่สำเร็จด้วยใจ ๑ ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณ ๑ ฤทธิ์ที่แผ่ ไปด้วยสมาธิ ๑ ฤทธิ์ของพระอริยะ ๑ ฤทธิ์ที่เกิดแต่ผลกรรม ๑ ฤทธิ์ของท่าน ผู้มีบุญ ๑ ฤทธิ์ที่สำเร็จมาแต่วิชชา ๑ ชื่อว่าฤทธิ์ ด้วยความว่าสำเร็จเพราะเหตุ แห่งการประกอบโดยชอบในส่วนนั้นๆ อิทธิพละ ๑๐ นี้ ฯ [๖๓๑] ตถาคตพละ ๑๐ เป็นไฉน พระตถาคตในโลกนี้ย่อมทรงทราบ ซึ่งฐานะโดยเป็นฐานะ และอฐานะโดยเป็นอฐานะตามความเป็นจริง แม้ข้อที่ พระตถาคตทรงทราบฐานะโดยเป็นฐานะ และอฐานะโดยเป็นอฐานะ ตามความ เป็นจริงนี้ เป็นกำลังของพระตถาคต ซึ่งพระตถาคตได้ทรงอาศัยปฏิญาณฐานะ ของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศพรหมจักร ฯ อีกประการหนึ่ง พระตถาคตย่อมทรงทราบซึ่งผลแห่งกรรมสมาทาน ทั้งที่ เป็นส่วนอดีต อนาคตและปัจจุบัน โดยฐานะ โดยเหตุ ตามความเป็นจริง แม้ ข้อที่พระตถาคตทรงทราบซึ่งผลแห่งกรรมสมาทาน ทั้งที่เป็นส่วนอดีต อนาคต และปัจจุบัน โดยฐานะ โดยเหตุ ตามความเป็นจริงนี้ ก็เป็นกำลังของ พระตถาคต ฯลฯ ฯ อีกประการหนึ่ง พระตถาคตย่อมทรงทราบปฏิปทาเครื่องให้ถึงประโยชน์ ทั้งปวง ตามความเป็นจริง แม้ข้อที่พระตถาคตทรงทราบปฏิปทาเครื่องให้ถึง ประโยชน์ทั้งปวง ตามความเป็นจริงนี้ ก็เป็นกำลังของพระตถาคต ฯลฯ ฯ อีกประการหนึ่ง พระตถาคตย่อมทรงทราบโลกธาตุต่างๆ โดยความเป็น อเนกธาตุ ตามความเป็นจริง แม้ข้อที่พระตถาคตทรงทราบโลกธาตุต่างๆ โดย ความเป็นอเนกธาตุ ตามความเป็นจริงนี้ ก็เป็นกำลังของพระตถาคต ฯลฯ ฯ อีกประการหนึ่ง พระตถาคตย่อมทรงทราบความที่สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มี อัธยาศัยต่างๆ กัน ตามความเป็นจริง แม้ข้อที่พระตถาคตทรงทราบความที่สัตว์ ทั้งหลายเป็นผู้มีอัธยาศัยต่างๆ กัน ตามความเป็นจริงนี้ ก็เป็นกำลังของพระ ตถาคต ฯลฯ ฯ อีกประการหนึ่ง พระตถาคตย่อมทรงทราบความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ ของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่น ตามความเป็นจริง แม้ข้อที่พระตถาคตทรงทราบ ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์อื่นและบุคคลอื่น ตามความเป็นจริงนี้ ก็เป็นกำลังของพระตถาคต ฯลฯ อีกประการหนึ่ง พระตถาคตย่อมทรงทราบความเศร้าหมอง ความ ผ่องแผ้ว ความออก แห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิและสมาบัติ ตามความเป็นจริง แม้ข้อที่พระตถาคตทรงทราบความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว ความออก แห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิและสมาบัติ ตามความเป็นจริงนี้ ก็เป็นกำลังของพระตถาคต ฯลฯ ฯ อีกประการหนึ่ง พระตถาคตย่อมทรงระลึกถึงชาติก่อนๆ ได้เป็นอันมาก คือ ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ ย่อมทรงระลึกถึงชาติก่อนๆ ได้เป็น อันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศด้วยประการดังนี้ แม้ข้อที่พระตถาคต ทรงระลึกถึงชาติก่อนๆ ได้เป็นอันมาก คือ ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ นี้ ก็เป็นกำลังของพระตถาคต ฯลฯ ฯ อีกประการหนึ่ง พระตถาคตทรงพิจารณาเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ แม้ข้อที่พระตถาคตทรงพิจารณา เห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์นี้ ก็เป็นกำลังของพระตถาคต ฯลฯ ฯ อีกประการหนึ่ง พระตถาคตทรงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุต อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ แม้ข้อที่พระตถาคตทรงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหา อาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึง อยู่นี้ ก็เป็นกำลังของพระตถาคต ซึ่งพระตถาคตได้ทรงอาศัยทรงปฏิญาณฐานะ ของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศพรหมจักร ตถาคตพละ ๑๐ นี้ ฯ [๖๓๒] ชื่อว่าสัทธาพละ ชื่อว่าวิริยพละ ชื่อว่าสติพละ ชื่อว่า สมาธิพละ ชื่อว่าปัญญาพละ ชื่อว่าหิริพละ ชื่อว่าโอตตัปปพละ ชื่อว่าปฏิ- *สังขานพละ ชื่อว่าตถาคตพละ เพราะอรรถว่ากระไร ฯ ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหวไปในความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ชื่อว่าวิริยพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหวไปในความเกียจคร้าน ชื่อว่าสติพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหวไปในความประมาท ชื่อว่าสมาธิพละ เพราะอรรถว่า ไม่หวั่นไหวไปในอุทธัจจะ ชื่อว่าปัญญาพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหวไปใน อวิชชา ชื่อว่าหิริพละ เพราะอรรถว่า ละอายอกุศลธรรมอันลามก ชื่อว่า โอตตัปปพละ เพราะอรรถว่า เกรงกลัวอกุศลธรรมอันลามก ชื่อว่าปฏิสังขานพละ เพราะอรรถว่า พิจารณากิเลสทั้งหลายด้วยญาณ ชื่อว่าภาวนาพละ เพราะอรรถว่า ธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้น มีกิจเป็นอันเดียวกัน ชื่อว่าอนวัชชพละ เพราะอรรถว่า ในเนกขัมมะนั้นไม่มีโทษน้อยหนึ่ง ชื่อว่าสังคาหพละ เพราะอรรถว่า พระโยคาวจรย่อมสะกดจิตไว้ด้วยเนกขัมมะเป็นต้นนั้น ชื่อว่าขันติพละ เพราะ อรรถว่า เนกขัมมะเป็นต้นย่อมอดทนต่อนิวรณ์มีกามฉันทะเป็นต้น ชื่อว่า ปัญญัตติพละ เพราะอรรถว่า พระโยคาวจรตั้งจิตไว้ด้วยเนกขัมมะเป็นต้น ชื่อว่า นิชฌัตติพละ เพราะอรรถว่าพระโยคาวจรย่อมเพ่งจิตด้วยเนกขัมมะเป็นต้น ชื่อว่า อิสริยพละ เพราะอรรถว่า พระโยคาวจรย่อมให้จิตเป็นไปตามอำนาจด้วย เนกขัมมะเป็นต้น ชื่อว่าอธิษฐานพละ เพราะอรรถว่า พระโยคาวจรย่อมตั้งจิตไว้มั่น ด้วยเนกขมมะเป็นต้น ชื่อว่าสมถพละ เพราะอรรถว่า จิตมีอารมณ์เดียวด้วย เนกขัมมะเป็นต้น ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะอรรถว่า พระโยคาวจรย่อมพิจารณา เห็นธรรมที่เกิดในภาวนานั้น ชื่อว่าเสกขพละ เพราะอรรถว่า พระเสขะยังต้อง ศึกษาในสัมมาทิฐิเป็นต้นนั้น ชื่อว่าอเสกขพละ เพราะความที่พระอเสขะศึกษาใน สัมมาทิฐิเป็นต้นนั้นเสร็จแล้ว ชื่อว่าขีณาสวพละ เพราะอรรถว่า อาสวะทั้งหลาย สิ้นไปแล้วด้วยความเห็นด้วยดีนั้น ชื่อว่าอิทธิพละ เพราะอรรถว่า ฤทธิ์ย่อม สำเร็จเพราะการอธิษฐานเป็นต้น เพราะเหตุแห่งการประกอบโดยชอบในส่วนนั้นๆ ชื่อว่าตถาคตพละ เพราะอรรถว่าเป็นกำลังหาประมาณมิได้ ฉะนี้แล ฯ
จบพลกถา
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๙๒๙๙-๙๕๑๓ หน้าที่ ๓๘๖-๓๙๔. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=9299&Z=9513&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=31&siri=78              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=621              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [621-632] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=31&item=621&items=12              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=48&A=5990              The Pali Tipitaka in Roman :- [621-632] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=31&item=621&items=12              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=48&A=5990              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ https://84000.org/tipitaka/read/?index_31

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :