ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๒
สัฏฐินิบาตชาดก
๑. โสณกชาดก
เรื่องพระราชาจะพระราชทานรางวัลแก่ผู้พบโสณกกุมาร
[๖๖] เราจะให้ทรัพย์ร้อยหนึ่งแก่ใครๆ ผู้ได้ยินข่าวแล้วมาบอกแก่เราใครพบ โสณกะผู้สหายเคยเล่นมาด้วยกันแล้วบอกแก่เรา เราจะให้ทรัพย์พันหนึ่ง แก่ผู้ที่พบโสณกะนั้น ลำดับนั้น มาณพน้อยมีผมห้าแหยมได้กราบทูลพระ ราชาว่า พระองค์จงทรงประทานทรัพย์ร้อยหนึ่ง แก่ข้าพระองค์ผู้ได้ยิน ข่าวแล้วมากราบทูล ข้าพระองค์พบโสณกะพระสหายเคยเล่นมาด้วยกัน แล้ว จึงกราบทูลแด่พระองค์ ขอพระองค์จงทรงประทานทรัพย์พันหนึ่ง แก่ข้าพระองค์ผู้พบโสณกะ. [๖๗] โสณกกุมารนั้นอยู่ในชนบท แว่นแคว้นหรือนิคมไหนท่านได้พบโสณก กุมาร ณ ที่ไหน เราถามแล้ว ขอท่านจงบอกเนื้อความนั้นแก่เรา. [๖๘] ขอเดชะ ต้นรังใหญ่หลายต้นมีลำต้นตรง มีสีเขียวเหมือนเมฆเป็นที่ชอบ ใจน่ารื่นรมย์ อันอาศัยกันและกัน ตั้งอยู่ในภาคพื้นพระราชอุทยานใน แว่นแคว้นของพระองค์นั่นเอง พระโสณกะเมื่อสัตว์โลกมีความยึดมั่น เป็นผู้ไม่ยึดมั่น เมื่อสัตว์โลกถูกไฟเผา เป็นผู้ดับแล้ว เพ่งฌานอยู่ที่โคน แห่งต้นรังเหล่านั้น. [๖๙] ลำดับนั้นแล พระราชารับสั่งให้ทำทางให้ราบเรียบแล้ว เสด็จไปยังที่อยู่ ของพระโสณกะพร้อมด้วยจาตุรงคเสนา เมื่อเสด็จประพาสไปในไพร วันก็เสด็จถึงภูมิภาคแห่งอุทยาน ได้ทอดพระเนตรเห็นพระโสณกะ ผู้ นั่งอยู่เมื่อสัตว์โลกถูกไฟเผาเป็นผู้ดับแล้ว. [๗๐] ภิกษุนี้เป็นคนกำพร้าหนอ ศีรษะโล้น ครองผ้าสังฆาฏิ ไม่มีมารดา ไม่มีบิดา นั่งเข้าฌานอยู่ที่โคนต้นไม้ ฯ [๗๑] พระโสณกะได้ฟังพระดำรัสนี้แล้ว จึงได้ทูลว่า ดูกรมหาบพิตรบุคคลผู้ถูก ต้องธรรมด้วยนามกาย ไม่ชื่อว่าเป็นคนกำพร้าผู้ใดในโลกนี้นำเสียซึ่ง ธรรม อนุวัตตามอธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเป็นคนกำพร้า เป็นคนลามก มีบาป กรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า ขอถวายพระพร ฯ [๗๒] มหาชนรู้จักนามของข้าพเจ้าว่า อรินทมะ และรู้จักข้าพเจ้าว่าพระเจ้ากาสี ดูกรท่านโสณกะ การอยู่เป็นสุข ย่อมมีแก่ท่านผู้อยู่ในที่นี้แลหรือ ฯ [๗๓] ความเจริญย่อมมีแก่ภิกษุผู้ไม่มีทรัพย์ ไม่มีเรือนทุกเมื่อ (คือ) ทรัพย์และ ข้าวเปลือก ย่อมไม่เข้าไปในฉาง ในหม้อและในกระเช้าของภิกษุเหล่า นั้น ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้แสวงหาอาหารอันสำเร็จแล้ว มีวัตรอันงาม เยียวยาอัตภาพให้เป็นไปด้วยบิณฑบาตนั้น ข้อที่ ๒ ความเจริญย่อมมีแก่ ภิกษุผู้ไม่มีทรัพย์ ไม่มีเรือน (คือ) ภิกษุพึงบริโภคบิณฑบาต ที่ไม่มีโทษ และกิเลสอะไรๆ ย่อมไม่ประทุษร้าย ข้อที่ ๓ ความเจริญย่อมมีแก่ภิกษุ ผู้ไม่มีทรัพย์ ไม่มีเรือน (คือ) ภิกษุบริโภคบิณฑบาตอันดับแล้ว และ กิเลสอะไรย่อมไม่ประทุษร้าย ข้อที่ ๔ ความเจริญย่อมมีแก่ภิกษุผู้ไม่มี ทรัพย์ไม่มีเรือน ผู้หลุดพ้นแล้ว เที่ยวไปในแว่นแคว้น ไม่มีความข้อง ข้อที่ ๕ ความเจริญย่อมมีแก่ภิกษุผู้ไม่มีทรัพย์ไม่มีเรือน (คือ) เมื่อไฟ ไหม้พระนครอยู่ อะไรๆ หน่อยหนึ่งของภิกษุนั้นย่อมไม่ไหม้ ข้อที่ ๖ ความเจริญย่อมมีแก่ภิกษุผู้ไม่มีทรัพย์ ไม่มีเรือน (คือ) เมื่อโจรปล้น แว่นแคว้นอะไรๆ หน่อยหนึ่งของภิกษุนั้นก็ไม่หาย ข้อที่ ๗ ความ เจริญย่อมมีแก่ภิกษุผู้ไม่มีทรัพย์ ไม่มีเรือน (คือ) ภิกษุผู้มีวัตรงามถือ บาตรและจีวร ไปสู่หนทางที่พวกโจรรักษาหรือไปสู่หนทางที่มีอันตราย อื่นๆ ย่อมไปได้โดยสวัสดี ข้อที่ ๘ ความเจริญย่อมมีแก่ภิกษุผู้ไม่ มีทรัพย์ ไม่มีเรือน (คือ) ภิกษุจะหลีกไปยังทิศใดๆ ก็ไม่มีห่วงใยไป ยังทิศนั้นๆ. [๗๔] ข้าแต่ภิกษุ ท่านสรรเสริญความเจริญเป็นอันมากของภิกษุเหล่านั้น ส่วนข้าพเจ้ายังกำหนัดในกามทั้งหลาย จะกระทำอย่างไร กามทั้งหลาย ทั้งที่เป็นของมนุษย์ ทั้งที่เป็นของทิพย์เป็นที่รักของข้าพเจ้า เมื่อเป็น เช่นนั้น ข้าพเจ้าจะได้โลกทั้งสองด้วยเหตุไรหนอ. [๗๕] นรชนผู้กำหนัดในกาม ยินดีในกาม หมกมุ่นอยู่ในกาม กระทำบาป กรรมแล้วย่อมเข้าถึงทุคติ ส่วนนรชนเหล่าใด ละกามทั้งหลายออกไป แล้ว เป็นผู้ไม่มีภัยแต่ไหนๆ บรรลุความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งเกิดขึ้น นรชนเหล่านั้นย่อมไม่ไปสู่ทุคติดูกรพระเจ้าอรินทมะ อาตมภาพจักแสดง อุปมาถวายมหาบพิตรขอมหาบพิตรจงทรงสดับข้ออุปมานั้น บัณฑิตบาง พวกในโลกนี้ย่อมรู้เนื้อความได้ด้วยข้ออุปมา กาตัวหนึ่งเป็นสัตว์มีปัญญา น้อยไม่มีความคิด เห็นซากศพช้างลอยอยู่ในห้วงน้ำใหญ่ในแม่น้ำคงคา จึงคิดว่า ยานนี้เราได้แล้วหนอ และซากศพช้างนี้จักเป็นอาหารมิใช่น้อย ใจของกาตัวนั้นยินดีแล้วในซากศพช้างนั้น ตลอดคืนและวัน เมื่อกาจิก กินเนื้อช้างดื่มน้ำมีรสเหมาะส่วน เห็นต้นไม้อันใหญ่ในป่า ก็ไม่บินไป แม่น้ำคงคามีปรกติไหลลงสู่มหาสมุทร พัดเอากาตัวนั้นผู้ประมาทยินดี ในซากศพช้างไปสู่มหาสมุทร ซึ่งเป็นที่ไปไม่ได้แห่งนกทั้งหลาย กานั้น มีอาหารหมดแล้ว ตกลงในน้ำ ไปข้างหลัง ข้างหน้า ข้างเหนือ ข้างใต้ ไม่ได้ ไปไม่ถึงเกาะ สิ้นกำลังจมลงในท่ามกลางสมุทร อันเป็นที่ไป ไม่ได้แห่งนกทั้งหลาย ฝูงปลา จระเข้ มังกร และปลาร้าย ที่เกิดใน มหาสมุทร ก็ข่มเหง ฮุบกินกานั้นผู้มีปีกฉิบหายดิ้นรนอยู่ ดูกรมหา- บพิตร ฉันนั้นเหมือนกันแล พระองค์ก็ดี ชนเหล่าอื่นผู้ยังบริโภคกาม ก็ดี ถ้ายังกำหนัดในกามอยู่ ไม่ละทิ้งกามเสีย นักปราชญ์ทั้งหลายรู้ว่า ชนเหล่านั้นมีปัญญาเสมอกับกา ดูกรมหาบพิตร อุปมานี้แสดงอรรถ อย่างชัดแจ้ง อาตมภาพแสดงถวายมหาบพิตรแล้ว จักทรงทำหรือไม่ ก็จะปรากฏด้วยเหตุนั้น. [๗๖] บุคคลผู้อนุเคราะห์พึงกล่าวคำหนึ่งหรือสองคำไม่พึงกล่าวยิ่งไปกว่านั้น เปรียบเหมือนทาสในสำนักแห่งนาย. [๗๗] พระโสณกปัจเจกพุทธเจ้า ผู้มีปัญญานับไม่ได้ ครั้นทูลดังนี้แล้วพร่ำสอน บรมกษัตริย์ในอากาศแล้วหลีกไป. [๗๘] บุคคลผู้อภิเศกท่านผู้สมควรให้เป็นกษัตริย์ เป็นรัชทายาทและบุคคลผู้ ถึงความฉลาด เหล่านี้อยู่ที่ไหน เราจักมอบราชสมบัติ เราไม่ต้องการ ด้วยราชสมบัติ เราจักบวชในวันนี้แหละ ใครเล่าจะพึงรู้ความตายในวัน พรุ่งนี้ เราจะไม่โง่เขลาตกอยู่ในอำนาจแห่งกามทั้งหลายเหมือนกา [๗๙] พระโอรสหนุ่มของพระองค์ ทรงพระนามว่าทีฆาวุ จะทรงบำรุงรัฐให้ เจริญได้มีอยู่ ขอพระองค์ทรงอภิเศกพระโอรสนั้นในพระราชสมบัติ พระราชโอรสจักเป็นพระราชาของข้าพระบาททั้งหลาย. [๘๐] ท่านทั้งหลาย จงรีบเชิญทีฆาวุกมารผู้บำรุงรัฐให้เจริญมาเถิดเราจักอภิเศก ในราชสมบัติ เธอจักเป็นพระราชาของท่านทั้งหลาย. [๘๑] ลำดับนั้น พวกอำมาตย์ได้ไปเชิญทีฆาวุราชกุมารผู้บำรุงรัฐให้เจริญมาเฝ้า พระราชาทอดพระเนตรเห็นเอกอัครโอรสผู้น่าปลื้มพระทัยนั้น จึงตรัสว่า ลูกรักเอ๋ย คามเขตหกหมื่นบริบูรณ์โดยประการทั้งปวง ลูกจงบำรุงเขา พ่อขอมอบราชสมบัติให้ลูก พ่อจักบวชในวันนี้แหละ ใครเล่าจะพึงรู้ ความตายในวันพรุ่งนี้ พ่อจะไม่ยอมเป็นคนโง่เขลาตกอยู่ในอำนาจแห่ง กามทั้งหลายเหมือนกา ช้างหกหมื่นเชือก ประดับด้วยเครื่องอลังการ ปวงทั้ง มีสายรัดล้วนทองคำ เป็นช้างใหญ่มีร่างกายปกปิด ด้วยเครื่อง คลุมล้วนทองคำ อันนายควาญช้างผู้ถือโตมรและขอขึ้นกำกับ ลูกรักเอ๋ย ลูกจงบำรุงช้างเหล่านั้น พ่อขอมอบราชสมบัติให้ลูก พ่อจักบวชในวันนี้ แหละ ใครเล่าจะพึงรู้ความตายในวันพรุ่งนี้ พ่อจะไม่ยอมเป็นคนโง่เขลา ตกอยู่ในอำนาจแห่งกามทั้งหลายเหมือนกา ม้าหกหมื่นตัว ประดับด้วย เครื่องอลังการทั้งปวง เป็นม้าสินธพอาชาไนยโดยกำเนิด เป็นพาหนะ เร็วอันนายสารถีผู้ถือแส้และธนูขึ้นกำกับ ลูกรักเอ๋ย ลูกจงบำรุงม้าเหล่า นั้น พ่อขอมอบราชสมบัติให้ลูก พ่อจักบวชในวันนี้แหละ ใครเล่าจะ พึงรู้ความตายในวันพรุ่งนี้ พ่อจะไม่ยอมเป็นคนโง่เขลาตกอยู่ในอำนาจ แห่งกามทั้งหลายเหมือนกา รถหกหมื่นคัน หุ้มเกราะไว้ดีแล้ว มีธงอัน ยกขึ้นแล้ว หุ้มด้วยหนังเสือเหลืองก็มี หุ้มด้วยหนังเสือโคร่งก็มี ประดับ ด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง อันนายสารถีถือแล่งธนูสวมเกราะขึ้นประจำ ลูกรักเอ๋ย ลูกจงบำรุงรถเหล่านั้น พ่อขอมอบราชสมบัติให้ลูก พ่อจัก บวชในวันนี้แหละ ใครเล่าจะพึงรู้ความตายในวันพรุ่งนี้ พ่อจะไม่เป็น คนโง่เขลาตกอยู่ในอำนาจแห่งกามทั้งหลายเหมือนกา โคนมหกหมื่นตัว มีสีแดง ประกอบด้วยโคจ่าฝูงตัวประเสริฐ ลูกรักเอ๋ย ลูกจงบำรุงโค เหล่านั้น พ่อขอมอบราชสมบัติให้ลูก พ่อจักบวชในวันนี้แหละ ใคร เล่าจะพึงรู้ความตายในวันพรุ่งนี้ พ่อจะไม่ยอมเป็นคนโง่เขลาตกอยู่ใน อำนาจแห่งกามทั้งหลายเหมือนกา สตรีหมื่นหกพันประดับด้วยเครื่อง อลังการทั้งปวง มีผ้าและอาภรณ์อันวิจิตร สวมกุณฑลแก้วมณี ลูกรัก เอ๋ย ลูกจงบำรุงสตรีเหล่านั้น พ่อขอมอบราชสมบัติให้ลูก พ่อจักบวช ในวันนี้แหละ ใครเล่าจะพึงรู้ความตายในวันพรุ่งนี้ พ่อจักไม่ยอมเป็น คนโง่เขลาตกอยู่ในอำนาจแห่งกามทั้งหลายเหมือนกา. [๘๒] ข้าแต่พระบิดา หม่อมฉันได้สดับว่า เมื่อหม่อมฉันเป็นเด็กๆ พระชนนี ทิวงคต หม่อมฉันไม่อาจจะเป็นอยู่ห่างพระบิดาได้ ลูกช้างย่อมติดตาม หลังช้างป่า ผู้เที่ยวอยู่ในที่มีภูเขาเดินลำบาก เสมอบ้างไม่เสมอบ้าง ฉันใด หม่อมฉันจะอุ้มบุตรธิดาติดตามไปข้างหลัง จักเป็นผู้อันพระ- บิดาเลี้ยงง่าย จักไม่เป็นผู้อันพระบิดาเลี้ยงยาก ฉันนั้น. [๘๓] อันตรายทำเรือที่แล่นอยู่ในมหาสมุทร ของพวกพ่อค้าผู้แสวงหาทรัพย์ ให้จมลงในมหาสมุทรนั้น พวกพ่อค้าพึงถึงความพินาศ ฉันใด ลูกรัก เอ๋ย เจ้านี้เป็นผู้กระทำอันตรายให้แก่พ่อฉันนั้นเหมือนกัน. [๘๔] ท่านทั้งหลาย จงพาราชกุมารนี้ไปให้ถึงปราสาทอันยังความยินดีให้เจริญ เถิด พวกนางกัญญาผู้มีมือประดับด้วยทองคำจักยังกุมารให้รื่นรมย์ใน ปราสาทนั้น เหมือนนางเทพอัปสรยังท้าวสักกะให้รื่นรมย์ ฉะนั้น และกุมารนี้จักรื่นรมย์ด้วยนางกัญญาเหล่านั้น. [๘๕] ลำดับนั้น อำมาตย์ทั้งหลายจึงเชิญพระราชกุมารไปยังปราสาทอันยังความ ยินดีให้เจริญ พวกนางกัญญาเห็นทีฆาวุกุมารผู้ยังรัฐให้เจริญนั้นแล้ว จึงพากันทูลว่า พระองค์เป็นเทวดาหรือคนธรรพ์ หรือว่าเป็นท้าว- สักกปุรินททะ พระองค์เป็นใคร หรือเป็นโอรสของใคร หม่อมฉัน ทั้งหลายจะรู้จักพระองค์ได้อย่างไร. [๘๖] เราไม่ใช่เทวดา ไม่ใช่คนธรรพ์ ไม่ใช่ท้าวสักกะปุรินททะเราเป็นโอรส ของพระเจ้ากาสี ชื่อทีฆาวุผู้ยังรัฐให้เจริญ เธอทั้งหลายจงบำเรอเรา ขอ ความเจริญจงมีแก่เธอทั้งหลายเราจะเป็นสามีของเธอทั้งหลาย. [๘๗] พวกนางกัญญาในปราสาทนั้น ได้ทูลถามพระเจ้าทีฆาวุผู้บำรุงรัฐนั้นว่า พระราชาเสด็จไปถึงไหนแล้ว พระราชาเสด็จจากที่นี้ไปไหนแล้ว. [๘๘] พระราชาทรงก้าวล่วงเสียซึ่งเปือกตม ประดิษฐานอยู่บนบกเสด็จดำเนิน ไปสู่ทางใหญ่อันไม่มีหนาม ไม่มีรกชัฏ ส่วนเราเป็นผู้ดำเนินไปสู่ทางอัน ให้ถึงทุคติ มีหนาม รกชัฏ เป็นเครื่องไปสู่ทุคติ. [๘๙] ข้าแต่พระราชา พระองค์เสด็จมาดีแล้วเหมือนราชสีห์มาสู่ถ้ำ ฉะนั้น ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ขอพระองค์จงทรงอนุศาสน์พวกหม่อมฉัน ขอ พระองค์ทรงเป็นอิสราธิบดีของพวกหม่อมฉันทั้งปวงเถิด.
จบโสณกชาดกที่ ๑

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๘ บรรทัดที่ ๔๕๒-๕๙๔ หน้าที่ ๑๙-๒๔. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=28&A=452&Z=594&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=28&siri=4              ศึกษาอรรถกถาชาดกนี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=28&i=66              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [66-89] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=28&item=66&items=24              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=42&A=1637              The Pali Tipitaka in Roman :- [66-89] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=28&item=66&items=24              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=42&A=1637              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ https://84000.org/tipitaka/read/?index_28              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ja529/en/francis

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :