ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
             [๓๑๑] 	อะไรเล่าเป็นทรัพย์เครื่องปลื้มใจอันประเสริฐที่สุดของบุรุษใน
                          โลกนี้ อะไรเล่าที่บุคคลประพฤติดีแล้วย่อมนำความสุขมาให้
                          อะไรเล่าเป็นรสยังประโยชน์ให้สำเร็จกว่ารสทั้งหลาย นัก
                          ปราชญ์ทั้งหลาย ได้กล่าวชีวิตของบุคคลผู้เป็นอยู่อย่างไรว่า
                          ประเสริฐที่สุด ฯ
             พระผู้มีพระภาคตรัสตอบด้วยพระคาถาว่า
                          ศรัทธาเป็นทรัพย์ เครื่องปลื้มใจอันประเสริฐที่สุดของบุรุษใน
                          โลกนี้ ธรรมที่บุคคลประพฤติดีแล้วย่อมนำความสุขมาให้
                          สัจจะแลเป็นรสยังประโยชน์ให้สำเร็จกว่ารสทั้งหลาย นัก
                          ปราชญ์ทั้งหลายกล่าวชีวิตของบุคคลผู้เป็นอยู่ด้วยปัญญาว่าประ
                          เสริฐที่สุด ฯ
             บุคคลย่อมข้ามโอฆะได้อย่างไร บุคคลย่อมข้ามอรรณพได้
             อย่างไร บุคคลย่อมล่วงทุกข์ได้อย่างไร ย่อมบริสุทธิ์ได้
             อย่างไร ฯ
                          บุคคลย่อมข้ามโอฆะได้ด้วยศรัทธา ย่อมข้ามอรรณพได้
                          ด้วยความไม่ประมาท ย่อมล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร ย่อม
                          บริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญา ฯ
             บุคคลย่อมได้ปัญญาอย่างไร ย่อมหาทรัพย์ได้อย่างไร ย่อม
             ได้ชื่อเสียงอย่างไร ย่อมผูกมิตรทั้งหลายไว้ได้อย่างไร บุคคล
             ละจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่นแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศกอย่างไร ฯ
                          บุคคลเชื่อธรรมของพระอรหันต์ทั้งหลาย เพื่อบรรลุนิพพาน
                          เป็นผู้ไม่ประมาท มีปัญญาเป็นเครื่องสอดส่อง ฟังอยู่ด้วยดี
                          ย่อมได้ปัญญา บุคคลผู้มีธุระ กระทำสมควร มีความหมั่น

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๓๑.

ย่อมหาทรัพย์ได้ บุคคลย่อมได้ชื่อเสียงด้วยสัจจะ ผู้ให้ย่อม ผูกมิตรไว้ได้ ผู้ใดมีศรัทธาอยู่ครองเรือน มีธรรม ๔ ประการ นี้ คือ สัจจะ ธรรมะ ธิติ จาคะ ผู้นั้นแลละจากโลกนี้ ไปแล้วย่อมไม่เศร้าโศก ถ้าว่าเหตุแห่งการได้ชื่อเสียงยิ่งไป กว่าสัจจะก็ดี เหตุแห่งการได้ปัญญายิ่งไปกว่าทมะก็ดี เหตุ แห่งการผูกมิตรยิ่งไปกว่าจาคะก็ดี เหตุแห่งการหาทรัพย์ ได้ยิ่งไปกว่าขันติก็ดี มีอยู่ในโลกนี้ไซร้ เชิญท่านถามสมณ- พราหมณ์เป็นอันมากแม้เหล่าอื่นดูเถิด ฯ บัดนี้ ข้าพระองค์จะพึงถามสมณพราหมณ์เป็นอันมากทำไม เล่า วันนี้ ข้าพระองค์ทราบชัดประโยชน์อันเป็นไปในภพ หน้า พระพุทธเจ้าเสด็จมาสู่เมืองอาฬวีเพื่อประทับอยู่ เพื่อ ประโยชน์แก่ข้าพระองค์หนอ วันนี้ ข้าพระองค์ทราบชัด พระทักขิไณยบุคคลผู้เลิศ ที่บุคคลถวายทานแล้วเป็นทาน มีผลมาก ข้าพระองค์จักนอบน้อมพระสัมพุทธเจ้า และ ความที่พระธรรมเป็นธรรมดี เที่ยวไปจากบ้านสู่บ้าน จากเมืองสู่เมือง ฯ
จบอาฬวกสูตรที่ ๑๐
วิชยสูตรที่ ๑๑
[๓๑๒] ถ้าว่าบุคคลเที่ยวไป ยืนอยู่ นั่ง นอน คู้เข้าหรือเหยียดออก นั่นเป็นความเคลื่อนไหวของกาย กายประกอบแล้วด้วย กระดูกและเอ็นฉาบด้วยหนังและเนื้อ ปกปิดด้วยผิว เต็ม ด้วยไส้ อาหาร มีก้อนตับ มูตร หัวใจ ปอด ม้าม ไต น้ำมูก น้ำลาย เหงื่อ มันข้น เลือด ไขข้อ ดี เปลวมัน

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๓๒.

อันปุถุชนผู้เป็นพาล ย่อมไม่เห็นตามความเป็นจริง อนึ่ง ของ อันไม่สะอาดย่อมไหลออกจากช่องทั้งเก้าของกายนี้ทุกเมื่อ คือ ขี้ตาจากตา ขี้หูจากหู และน้ำมูกจากจมูก บางคราวย่อม สำรอกออกจากปาก ดีและเสลดย่อมสำรอกออก เหงื่อและ หนองฝีซึมออกจากกาย อนึ่ง อวัยวะเบื้องสูงของกายนี้เป็น โพลง เต็มด้วยมันสมอง คนพาลถูกอวิชชาหุ้มห่อแล้ว ย่อม สำคัญกายนั้นโดยความเป็นของสวยงาม ก็เมื่อใด เขาตาย ขึ้นพอง มีสีเขียว ถูกทิ้งไว้ในป่า เมื่อนั้น ญาติทั้งหลาย ย่อมไม่ห่วงใย สุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอก หมาป่า หมู่หนอน กา แร้ง และสัตว์เหล่าอื่น ย่อมกัดกินกายนั้น ภิกษุ ในศาสนานี้ ได้ฟังพระพุทธพจน์แล้ว มีความรู้ชัด เธอ ย่อมกำหนดรู้กายนี้ ย่อมเห็นตามความเป็นจริงทีเดียว สรีระ ที่มีวิญญาณนี้เหมือนสรีระที่ตายแล้วนั่น สรีระที่ตายแล้วนั้น เหมือนสรีระที่มีวิญญาณนี้ ภิกษุพึงคลายความพอใจในกาย เสียทั้งภายในและภายนอก ภิกษุนั้นมีความรู้ชัดในศาสนา นี้ ไม่ยินดีแล้วด้วยฉันทราคะ ได้บรรลุอมฤตบท สงบ ดับไม่จุติ กายนี้มีสองเท้า ไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น อันบุคคล บริหารอยู่ เต็มไปด้วยซากศพต่างๆ ถ่ายของไม่สะอาด มีน้ำลายและน้ำมูกเป็นต้นให้ไหลออกจากทวารทั้งเก้า และ ขับเหงื่อไคลให้ไหลออกจากขุมขนนั้นๆ ผู้ใดพึงสำคัญเพื่อ ยกย่องตัวหรือพึงดูหมิ่นผู้อื่น จักมีอะไร นอกจากการไม่เห็น อริยสัจ ฯ
จบวิชยสูตรที่ ๑๑

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๓๓.

มุนีสูตรที่ ๑๒
[๓๑๓] ภัยเกิดแต่ความเชยชม ธุลีคือราคะ โทสะ และโมหะ ย่อมเกิดแต่ที่อยู่ ที่อันมิใช่ที่อยู่และความไม่เชยชมนี้แล พระพุทธเจ้าผู้เป็นมุนีทรงเห็น (เป็นความเห็นของมุนี) ผู้ใดตัดกิเลสที่เกิดแล้ว ไม่พึงปลูกให้เกิดขึ้นอีก เมื่อกิเลส นั้นเกิดอยู่ ก็ไม่พึงให้หลั่งไหลเข้าไป บัณฑิตทั้งหลายกล่าว ผู้นั้นว่าเป็นมุนีเอก เที่ยวไปอยู่ ผู้นั้นเป็นผู้แสวงหาคุณ อันใหญ่ ได้เห็นสันติบท ผู้ใดกำหนดรู้ที่ตั้งแห่งกิเลส ฆ่าพืชไม่ทำยางแห่งพืชให้หลั่งไหลเข้าไป ผู้นั้นแลเป็นมุนี มีปรกติเห็นที่สุดแห่งความสิ้นไปแห่งชาติ ละอกุศลวิตกเสีย แล้ว ไม่เข้าถึงการนับว่าเป็นเทวดาหรือมนุษย์ ผู้ใดรู้ชัดภพ อันเป็นที่อาศัยอยู่ทั้งปวง ไม่ปรารถนาภพอันเป็นที่อาศัยอยู่ เหล่านั้นแม้ภพหนึ่ง ผู้นั้นแลเป็นมุนี ปราศจากกำหนัด ไม่ยินดีแล้ว ไม่ก่อกรรม เป็นผู้ถึงฝั่งโน้นแล้วแล อนึ่ง ผู้ครอบงำธรรมได้ทั้งหมด รู้แจ้งธรรมทุกอย่าง มีปัญญาดี ไม่เข้าไปติด (ไม่เกี่ยวเกาะ) ในธรรมทั้งปวง ละธรรมได้ ทั้งหมด น้อมไปแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา นักปราชญ์ ย่อมประกาศว่าเป็นมุนี อนึ่ง ผู้มีกำลังคือปัญญาประกอบด้วย ศีลและวัตร มีจิตตั้งมั่น ยินดีในฌาน มีสติ หลุดพ้นจาก เครื่องข้อง ไม่มีกิเลสดุจหลักตอ ไม่มีอาสวะ นักปราชญ์ ย่อมประกาศว่าเป็นมุนี หรือผู้เป็นมุนี (มีปัญญา) ไม่ ประมาท เที่ยวไปผู้เดียว ไม่หวั่นไหวเพราะนินทาและ สรรเสริญ ไม่สะดุ้งหวาดเพราะโลกธรรม เหมือนราชสีห์ ไม่สะดุ้งหวาดเพราะเสียง ไม่ข้องอยู่ในตัณหาและทิฐิ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๓๔.

เหมือนลมไม่ข้องอยู่ในตาข่าย ไม่ติดอยู่กับโลก เหมือน ดอกบัวไม่ติดอยู่กับน้ำ เป็นผู้นำ ไม่ใช่ผู้ที่ใครๆ อื่นจะพึง นำไปได้ นักปราชญ์ย่อมประกาศว่าเป็นมุนี หรือแม้ผู้ใดไม่ถึง ความยินดีหรือยินร้าย ในเรื่องที่ผู้อื่นกล่าววาจาด้วยอำนาจ การชมหรือการติ เหมือนเสามีอยู่ที่ท่าเป็นที่ลงอาบน้ำ ผู้นั้น ปราศจากราคะ มีอินทรีย์ตั้งมั่นดีแล้ว นักปราชญ์ย่อมประกาศ ว่าเป็นมุนี หรือแม้ผู้ใดแลดำรงตนไว้ซื่อตรงดุจกระสวย เกลียดชังแต่กรรมที่เป็นบาป พิจารณาเห็นกรรมทั้งที่ไม่เสมอ และที่เสมอ (ทั้งผิดทั้งชอบ) ผู้นั้นนักปราชญ์ย่อมประกาศว่า เป็นมุนี หรือแม้ผู้ใดยังหนุ่มแน่นหรือปูนกลาง สำรวมตน ไม่ทำบาป เป็นมุนี มีจิตห่างจากบาป ไม่โกรธง่าย ไม่ว่าร้าย ใครๆ ผู้นั้นนักปราชญ์ย่อมประกาศว่าเป็นมุนี หรือแม้ ผู้ใดอาศัยอาหารที่ผู้อื่นให้เป็นอยู่ ได้ก้อนข้าวแต่ส่วนที่ดี ส่วนปานกลางหรือส่วนที่เหลือ ไม่อาจจะกล่าวชม ทั้งไม่ กล่าวทับถมให้ทายกตกต่ำ ผู้นั้นนักปราชญ์ย่อมประกาศว่า เป็นมุนี หรือแม้ผู้ใดไม่หมกมุ่นอยู่ในรูปแห่งหญิงอะไรๆ ที่กำลังเป็นสาวเป็นผู้รู้เที่ยวไปอยู่ ปราศจากความยินดีใน เมถุน ไม่กำหนัด หลุดพ้นแล้วจากความมัวเมาประมาท ผู้นั้นนักปราชญ์ย่อมประกาศว่าเป็นมุนี หรือแม้ผู้รู้จักโลก เห็นปรมัตถประโยชน์ ข้ามพ้นโอฆะและสมุทร เป็นผู้คงที่ ตัดกิเลสเครื่องร้อยรัดได้ขาดแล้ว อันทิฐิหรือตัณหาอาศัยไม่ ได้แล้ว ไม่มีอาสวะ ผู้นั้นนักปราชญ์ย่อมประกาศว่าเป็นมุนี คนทั้งสองไม่เสมอกัน มีที่อยู่และความเป็นอยู่ไกลกัน คือ คฤหัสถ์เลี้ยงลูกเมีย ส่วนภิกษุไม่ยึดถือว่าเป็นของเรา

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๓๕.

มีวัตรงาม คฤหัสถ์ไม่สำรวมเพราะบั่นรอนสัตว์อื่น ภิกษุเป็น มุนี สำรวมเป็นนิตย์ รักษาสัตว์มีชีวิตไว้ นกยูงมีสร้อยคอ เขียว บินไปในอากาศ ยังสู้ความเร็วของหงส์ไม่ได้ในกาล ไหนๆ ฉันใด คฤหัสถ์ทำตามภิกษุผู้เป็นมุนี สงัดเงียบ เพ่งอยู่ในป่าไม่ได้ ฉันนั้น ฯ
จบมุนีสูตรที่ ๑๒
จบอุรควรรคที่ ๑
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อุรคสูตร ๒. ธนิยสูตร ๓. ขัคควิสาณสูตร ๔. กสิภารทวาช- *สูตร ๕. จุนทสูตร ๖. ปราภวสูตร ๗. วสลสูตร ๘. เมตตสูตร ๙. เหมวตสูตร ๑๐. อาฬวกสูตร ๑๑. วิชยสูตร ๑๒. มุนีสูตร บัณฑิต เรียกว่าอุรควรรค ฯ
-----------------------------------------------------

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๓๖.

สุตตนิบาต จูฬวรรคที่ ๒
รตนสูตรที่ ๑

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๗๕๓๑-๗๖๖๓ หน้าที่ ๓๓๐-๓๓๖. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=7531&Z=7663&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=237              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=310              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [311-314] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=25&item=311&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=28&A=5838              The Pali Tipitaka in Roman :- [311-314] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=25&item=311&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=28&A=5838              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_25              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/25i294-e.php#sutta10 https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/snp/snp.1.10.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/snp/snp.1.10.piya.html https://suttacentral.net/snp1.10/en/mills https://suttacentral.net/snp1.10/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :