ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
ปฏิปทาสูตรที่ ๓
[๑๗๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ที่พักก่อด้วยอิฐ ชื่อนาทิกะ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย มรณสติอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เธอทั้งหลายย่อมเจริญมรณสติ หรือหนอ ฯ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งกราบทูลพระผู้มีพระภาค ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมเจริญมรณสติ ฯ พ. ดูกรภิกษุ ก็เธอเจริญมรณสติอย่างไร ฯ ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในการเจริญมรณสติ นี้ ข้าพระองค์มีความ คิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่คืนหนึ่งวันหนึ่ง พึงมนสิการถึงคำสอนของ พระผู้มีพระภาค เราได้กระทำคำสอนของพระผู้มีพระภาคเป็นอันมากหนอ ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เจริญมรณสติอย่างนี้แล ฯ ภิกษุแม้อีกรูปหนึ่งกราบทูลพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ แม้ข้าพระองค์ก็เจริญมรณสติ ฯ พ. ดูกรภิกษุ ก็เธอเจริญมรณสติอย่างไร ฯ ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในการเจริญมรณสตินี้ ข้าพระองค์มีความ คิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ตลอดวันหนึ่ง พึงมนสิการถึงคำสอนของ พระผู้มีพระภาค เราได้กระทำคำสอนของพระผู้มีพระภาคเป็นอันมากหนอ ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เจริญมรณสติอย่างนี้แล ฯ ภิกษุแม้อีกรูปหนึ่งกราบทูลพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ แม้ข้าพระองค์ก็เจริญมรณสติ ฯ พ. ดูกรภิกษุ ก็เธอเจริญมรณสติอย่างไร ฯ ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในการเจริญมรณสตินี้ ข้าพระองค์มีความคิด อย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่เพียงครึ่งวัน พึงมนสิการถึงคำสอนของพระผู้มี พระภาค เราได้กระทำคำสอนของพระผู้มีพระภาคเป็นอันมากหนอ ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ข้าพระองค์เจริญมรณสติอย่างนี้แล ฯ ภิกษุแม้อีกรูปหนึ่งกราบทูลพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ แม้ข้าพระองค์ก็เจริญมรณสติ ฯ พ. ดูกรภิกษุ ก็เธอเจริญมรณสติอย่างไร ฯ ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในการเจริญมรณสตินี้ ข้าพระองค์มีความคิด อย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่เพียงชั่วเวลาบริโภคบิณฑบาตมื้อหนึ่ง พึง มนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราได้ทำคำสอนของพระผู้มีพระภาคเป็น อันมากหนอ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เจริญมรณสติอย่างนี้แล ฯ ภิกษุแม้อีกรูปหนึ่งกราบทูลพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ แม้ข้าพระองค์ก็เจริญมรณสติ ฯ พ. ดูกรภิกษุ ก็เธอเจริญมรณสติอย่างไร ฯ ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในการเจริญมรณสตินี้ ข้าพระองค์มีความ คิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ชั่วเวลาบริโภคบิณฑบาตครึ่งหนึ่ง พึง มนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราได้กระทำคำสอนของพระผู้มีพระภาค เป็นอันมากหนอ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เจริญมรณสติอย่างนี้แล ฯ ภิกษุแม้อีกรูปหนึ่งกราบทูลพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ แม้ข้าพระองค์ก็เจริญมรณสติ ฯ พ. ดูกรภิกษุ ก็เธอเจริญมรณสติอย่างไร ฯ ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในการเจริญมรณสตินี้ ข้าพระองค์มีความ คิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ชั่วเวลาเคี้ยวข้าว ๔-๕ คำแล้วกลืนกิน พึง มนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราได้กระทำคำสอนของพระผู้มีพระภาค เป็นอันมากหนอ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เจริญมรณสติอย่างนี้แล ฯ ภิกษุแม้อีกรูปหนึ่งกราบทูลพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ แม้ข้าพระองค์ก็เจริญมรณสติ ฯ พ. ดูกรภิกษุ ก็เธอเจริญมรณสติอย่างไร ฯ ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในการเจริญมรณสตินี้ ข้าพระองค์มีความ คิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ชั่วเวลาเคี้ยวข้าวได้คำหนึ่งแล้วกลืนกิน พึง มนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราได้กระทำคำสอนของพระผู้มีพระภาค เป็นอันมากหนอ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เจริญมรณสติอย่างนี้แล ฯ ภิกษุแม้อีกรูปหนึ่งกราบทูลพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ แม้ข้าพระองค์ก็เจริญมรณสติ ฯ พ. ดูกรภิกษุ ก็เธอเจริญมรณสติอย่างไร ฯ ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในการเจริญมรณสตินี้ ข้าพระองค์มีความ คิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ชั่วเวลาหายใจออกแล้วหายใจเข้า หรือหาย ใจเข้าแล้วหายใจออก พึงมนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราได้กระทำ คำสอนของพระผู้มีพระภาคเป็นอันมากหนอ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ เจริญมรณสติอย่างนี้แล ฯ เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะภิกษุเหล่า นั้นว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดเจริญมรณสติอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ ตลอดคืนหนึ่งวันหนึ่ง พึงมนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราได้กระทำคำ สอนของพระผู้มีพระภาคเป็นอันมากหนอ ภิกษุใดเจริญมรณสติอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ตลอดวันหนึ่ง พึงมนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราได้กระ ทำคำสอนของพระผู้มีพระภาคเป็นอันมากหนอ ภิกษุใดเจริญมรณสติอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ครึ่งวัน พึงมนสิการคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราได้กระทำ คำสอนของพระผู้มีพระภาคเป็นอันมากหนอ ภิกษุใดเจริญมรณสติอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ชั่วเวลาบริโภคบิณฑบาตมื้อหนึ่ง พึงมนสิการถึงคำสอนของพระผู้ มีพระภาค เราได้กระทำคำสอนของพระผู้มีพระภาคเป็นอันมากหนอ ภิกษุใดเจริญ มรณสติอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ชั่วเวลาบริโภคบิณฑบาตครึ่งหนึ่ง พึง มนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราได้กระทำคำสอนของพระผู้มีพระภาค เป็นอันมากหนอ และภิกษุใดเจริญมรณสติอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ชั่วเวลา เคี้ยวข้าวได้ ๔-๕ คำแล้วกลืนกิน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านี้เรากล่าวว่าเป็น ผู้ประมาทอยู่ เจริญมรณสติเพื่อความสิ้นอาสวะช้า ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนภิกษุใดเจริญมรณสติอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึง เป็นอยู่ชั่วเวลาเคี้ยวข้าวคำหนึ่งแล้วกลืนกิน พึงมนสิการถึงคำสอนของพระผู้มี- *พระภาค เราได้กระทำคำสอนของพระผู้มีพระภาคเป็นอันมากหนอ และภิกษุใด เจริญมรณสติอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ชั่วเวลาหายใจออกแล้วหายใจเข้า หรือหายใจเข้าแล้วหายใจออก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านี้เรากล่าวว่าไม่ ประมาทอยู่ ย่อมเจริญมรณสติเพื่อความสิ้นอาสวะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้น แหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักไม่เป็นผู้ประมาทอยู่ จัก เจริญมรณสติเพื่อความสิ้นอาสวะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษา อย่างนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๓

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ บรรทัดที่ ๖๖๘๐-๖๗๖๘ หน้าที่ ๒๘๙-๒๙๒. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=23&A=6680&Z=6768&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=23&siri=146              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=170              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [170] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=23&item=170&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=6305              The Pali Tipitaka in Roman :- [170] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=23&item=170&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=6305              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_23              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i168-e.php#sutta3 https://suttacentral.net/an8.73/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :