ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
ธัมมัญญูสูตร
[๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ เป็นผู้ ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ธรรม ๗ ประ การเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นธัมมัญญู รู้จักธรรม ๑ อัตถัญญู รู้จักอรรถ ๑ อัตตัญญู รู้จักตน ๑ มัตตัญญู รู้จักประมาณ ๑ กาลัญญู รู้จักกาล ๑ ปริสัญญู รู้จักบริษัท ๑ ปุคคลปโรปรัญญู รู้จักเลือก คบคน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นธัมมัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ธรรม คือ สุตตะ เคยยะ ไวยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ หากภิกษุไม่พึงรู้จักธรรม คือ สุตตะ ... เวทัลละ เราก็ ไม่พึงเรียกว่าเป็นธัมมัญญู แต่เพราะภิกษุรู้ธรรม คือ สุตตะ ... เวทัลละ ฉะนั้นเราจึงเรียกว่าเป็นธัมมัญญู ด้วยประการฉะนี้ ฯ ก็ภิกษุเป็นอัตถัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักเนื้อความ แห่งภาษิตนั้นๆ ว่า นี้เป็นเนื้อความแห่งภาษิตนี้ๆ หากภิกษุไม่พึงรู้เนื้อความ แห่งภาษิตนั้นๆ ว่า นี้เป็นเนื้อความแห่งภาษิตนี้ๆ เราก็ไม่พึงเรียกว่าเป็น อัตถัญญู แต่เพราะภิกษุรู้เนื้อความแห่งภาษิตนั้นๆ ว่า นี้เป็นเนื้อความแห่ง ภาษิตนี้ๆ ฉะนั้น เราจึงเรียกว่าเป็นอัตถัญญู ภิกษุเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู ด้วยประการฉะนี้ ฯ ก็ภิกษุเป็นอัตตัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักตนว่า เรา เป็นผู้มีศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ปฏิภาณ เพียงเท่านี้ ถ้าภิกษุไม่ พึงรู้จักตนว่า เราเป็นผู้มีศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ปฏิภาณ เพียงเท่านี้ เราก็ไม่พึงเรียกว่าเป็นอัตตัญญู แต่เพราะภิกษุรู้จักตนว่า เราเป็นผู้มีศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ปฏิภาณ เพียงเท่านี้ ฉะนั้น เราจึงเรียกว่าเป็นอัตตัญญู ภิกษุเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู อัตตัญญู ด้วยประการฉะนี้ ฯ ก็ภิกษุเป็นมัตตัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ รู้จักประมาณในการรับ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร หากภิกษุไม่พึงรู้จัก ประมาณในการรับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เราก็ ไม่พึงเรียกว่าเป็นมัตตัญญู แต่เพราะภิกษุรู้จักประมาณในการรับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ฉะนั้น เราจึงเรียกว่าเป็นมัตตัญญู ภิกษุเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู อัตตัญญู มัตตัญญู ด้วยประการฉะนี้ ฯ ก็ภิกษุเป็นกาลัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักกาลว่า นี้ เป็นกาลเรียน นี้เป็นกาลสอบถาม นี้เป็นกาลประกอบความเพียร นี้เป็นกาล หลีกออกเร้น หากภิกษุไม่พึงรู้จักกาลว่า นี้เป็นกาลเรียน นี้เป็นกาลสอบถาม นี้เป็นกาลประกอบความเพียร นี้เป็นกาลหลีกออกเร้น เราไม่พึงเรียกว่าเป็น กาลัญญู แต่เพราะภิกษุรู้จักกาลว่า นี้เป็นกาลเรียน นี้เป็นกาลสอบถาม นี้เป็น กาลประกอบความเพียร นี้เป็นกาลหลีกออกเร้น ฉะนั้น เราจึงเรียกว่าเป็น กาลัญญู ภิกษุเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู อัตตัญญู มัตตัญญู กาลัญญู ด้วย ประการฉะนี้ ฯ ก็ภิกษุเป็นปริสัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักบริษัทว่า นี้ บริษัทกษัตริย์ นี้บริษัทคฤหบดี นี้บริษัทสมณะ ในบริษัทนั้น เราพึงเข้าไปหา อย่างนี้ พึงยืนอย่างนี้ พึงทำอย่างนี้ พึงนั่งอย่างนี้ พึงนิ่งอย่างนี้ หากภิกษุไม่รู้ จักบริษัทว่า นี้บริษัทกษัตริย์ ... พึงนิ่งอย่างนี้ เราก็ไม่พึงเรียกว่าเป็นปริสัญญู แต่เพราะภิกษุรู้จักบริษัทว่า นี้บริษัทกษัตริย์ ... พึงนิ่งอย่างนี้ ฉะนั้น เราจึง เรียกว่าเป็นปริสัญญู ภิกษุเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู อัตตัญญู มัตตัญญู กาลัญญู ปริสัญญู ด้วยประการฉะนี้ ฯ ก็ภิกษุเป็นปุคคลปโรปรัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้รู้จัก บุคคลโดยส่วน ๒ คือ บุคคล ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่งต้องการเห็นพระ อริยะ พวกหนึ่งไม่ต้องการเห็นพระอริยะ บุคคลที่ไม่ต้องการเห็นพระอริยะ พึง ถูกติเตียนด้วยเหตุนั้นๆ บุคคลที่ต้องการเห็นพระอริยะ พึงได้รับความ สรรเสริญด้วยเหตุนั้นๆ บุคคลที่ต้องการเห็นพระอริยะก็มี ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่ง ต้องการจะฟังสัทธรรม พวกหนึ่งไม่ต้องการฟังสัทธรรม บุคคลที่ไม่ต้องการฟัง สัทธรรม พึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้นๆ บุคคลที่ต้องการฟังสัทธรรม พึงได้รับ ความสรรเสริญด้วยเหตุนั้นๆ บุคคลที่ต้องการฟังสัทธรรมก็มี ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่งตั้งใจฟังธรรม พวกหนึ่งไม่ตั้งใจฟังธรรม บุคคลที่ไม่ตั้งใจฟังธรรม พึงถูก ติเตียนด้วยเหตุนั้นๆ บุคคลที่ตั้งใจฟังธรรม พึงได้รับความสรรเสริญด้วยเหตุ นั้นๆ บุคคลที่ตั้งใจฟังธรรมก็มี ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่งฟังแล้วทรงจำธรรมไว้ พวกหนึ่งฟังแล้วไม่ทรงจำธรรมไว้ บุคคลที่ฟังแล้วไม่ทรงจำธรรมไว้ พึงถูกติเตียน ด้วยเหตุนั้นๆ บุคคลที่ฟังแล้วทรงจำธรรมไว้พึงได้รับความสรรเสริญด้วยเหตุนั้นๆ บุคคลที่ฟังแล้วทรงจำธรรมไว้ก็มี ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่งพิจารณาเนื้อความ แห่งธรรมที่ทรงจำไว้ พวกหนึ่งไม่พิจารณา เนื้อความแห่งธรรม ที่ทรงจำไว้ บุคคลที่ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ พึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้นๆ บุคคลที่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ พึงได้รับความสรรเสริญด้วย เหตุนั้นๆ บุคคลที่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ก็มี ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่งรู้อรรถรู้ธรรมแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม พวกหนึ่งหารู้อรรถรู้ธรรม แล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่ บุคคลที่หารู้อรรถรู้ธรรมปฏิบัติธรรมสมควร แก่ธรรมไม่ พึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้นๆ บุคคลที่รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม พึงได้รับความสรรเสริญ ด้วยเหตุนั้นๆ บุคคลที่รู้อรรถรู้ธรรม แล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ก็มี ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่งปฏิบัติเพื่อ ประโยชน์ของตน ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น พวกหนึ่งปฏิบัติทั้งเพื่อ ประโยชน์ตนและเพื่อประโยชน์ผู้อื่น บุคคลที่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติ เพื่อประโยชน์ผู้อื่น พึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้นๆ บุคคลที่ปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์ ตนและเพื่อประโยชน์ผู้อื่น พึงได้รับความสรรเสริญด้วยเหตุนั้นๆ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้รู้จักบุคคลโดยส่วน ๒ ฉะนี้แล ภิกษุเป็นบุคคลปโรปรัญญู อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล เป็นผู้ ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ฯ
จบสูตรที่ ๔

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ บรรทัดที่ ๒๓๘๕-๒๔๕๙ หน้าที่ ๑๐๔-๑๐๗. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=23&A=2385&Z=2459&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=23&siri=65              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=65              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [65] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=23&item=65&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=4537              The Pali Tipitaka in Roman :- [65] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=23&item=65&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=4537              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_23              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i062-e.php#sutta4 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an07/an07.064.than.html https://suttacentral.net/an7.68/en/sujato https://suttacentral.net/an7.68/en/thanissaro

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :