ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๑๐. โสตวสูตร
[๑๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชาประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ ย่อมควรแก่พระราชา ควรเป็นช้างทรง ถึงการนับว่าเป็นราชพาหนะทีเดียว องค์ ๕ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชาในโลกนี้เป็นสัตว์ เชื่อฟัง ๑ เป็นสัตว์ฆ่าได้ ๑ เป็นสัตว์รักษาได้ ๑ เป็นสัตว์อดทนได้ ๑ เป็น สัตว์ไปได้ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ช้างของพระราชาเป็นสัตว์เชื่อฟังอย่างไร ช้างของ พระราชาในโลกนี้ ย่อมตั้งใจ ใฝ่ใจ สำรวมใจ เงี่ยโสตฟังเหตุการณ์ที่ควาญช้าง ให้กระทำ คือ เหตุการณ์ที่เคยกระทำหรือไม่เคยกระทำ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ช้าง ของพระราชาเป็นสัตว์เชื่อฟังอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ช้างของพระราชาเป็น สัตว์ฆ่าได้อย่างไร ช้างของพระราชาในโลกนี้ เข้าสงครามแล้ว ย่อมฆ่าช้างบ้าง

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๖๕.

ฆ่าควาญช้างบ้าง ฆ่าม้าบ้าง ฆ่าคนขี่ม้าบ้าง ทำลายรถบ้าง ฆ่าพลรถบ้าง ฆ่าพล เดินเท้าบ้าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชาเป็นสัตว์ฆ่าได้อย่างนี้แล ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ก็ช้างของพระราชาเป็นสัตว์รักษาได้อย่างไร ช้างของพระราชาในโลกนี้ เข้าสู่สงครามแล้ว ย่อมรักษากายเบื้องหน้า กายเบื้องหลัง เท้าหน้า เท้าหลัง ศีรษะ หู งา งวง หาง ควาญช้าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชาเป็นสัตว์รักษาได้ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ช้างของพระราชาเป็นสัตว์อดทนได้อย่างไร ช้าง ของพระราชาในโลกนี้ เข้าสงครามแล้ว ย่อมอดทนต่อการประหารด้วยหอก ต่อ การถูกลูกศร ต่อการถูกง้าว ต่อเสียงกลอง บัณเฑาะว์ สังข์ มโหระทึกที่กระ หึ่ม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชาเป็นสัตว์อดทนได้อย่างนี้แล ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ก็ช้างของพระราชาเป็นสัตว์ไปได้อย่างไร ช้างของพระราชาในโลกนี้ ย่อมเป็นสัตว์ไปสู่ทิศที่ควาญช้างไสไป คือ ทิศที่เคยไปหรือทิศที่ยังไม่เคยไปได้ โดยเร็วพลัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชาเป็นสัตว์ไปได้อย่างนี้แล ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชาประกอบด้วยองค์ ๕ ประการนี้แล ย่อมควรแก่ พระราชา ควรเป็นช้างทรง ถึงการนับว่าเป็นราชพาหนะทีเดียว ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ก็ฉันนั้นเหมือน กัน ย่อมเป็นผู้ควรแก่ของคำนับ ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควร แก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ธรรม ๕ ประการ เป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้เชื่อฟัง ๑ เป็นผู้ฆ่าได้ ๑ เป็นผู้รักษา ได้ ๑ เป็นผู้อดทนได้ ๑ เป็นผู้ไปได้ ๑ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้เชื่อฟังอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม ตั้งใจ ใฝ่ใจ สำรวมใจ เงี่ยโสตลงฟังธรรม ในเมื่อผู้อื่นแสดงธรรมวินัยที่ ตถาคตประกาศแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้เชื่อฟังอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้ฆ่าได้อย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม อดกลั้น ละ บรรเทา กำจัด ทำให้สิ้นไป ให้ถึงซึ่งความไม่มีแห่งกามวิตก ที่เกิดขึ้นแล้ว ... พยาบาทวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ... วิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๖๖.

ย่อมอดกลั้น ละ บรรเทา กำจัด ทำให้สิ้นไป ให้ถึงซึ่งความไม่มีแห่งอกุศล ธรรมที่ลามกทั้งหลาย ที่เกิดขึ้นแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ฆ่าได้อย่างนี้ แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้รักษาได้อย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็น รูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่ถือโดยนิมิต ย่อมไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติ เพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว พึงเป็นเหตุให้ธรรมอันเป็นบาปอกุศล คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ย่อมรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมใน จักขุนทรีย์ ฟังเสียงด้วยหู ดมกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะ ด้วยกาย รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมไม่ถือโดยนิมิต ย่อมไม่ถือโดย อนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว พึงเป็นเหตุ ให้ธรรมอันเป็นบาปอกุศล คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ย่อมรักษา มนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้รักษาได้ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้อดทนได้อย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้อดทนได้ต่อเย็น ร้อน หิว ระหาย สัมผัสแห่ง เหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน เป็นผู้อดทนได้ต่อคำหยาบระคาย เป็นผู้อดทนได้ต่อทุกข เวทนาทางร่างกายที่บังเกิดขึ้นแล้ว อันกล้า แข็ง เผ็ดร้อน ไม่เป็นที่ชื่นใจ ไม่ เป็นที่ชอบใจ สามารถปลิดชีพเสียได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้อดทนได้ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้ไปได้อย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้ไปสู่ทิศที่ไม่เคยไปตลอดกาลนานนี้ คือ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิกิเลสทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นที่สำรอก เป็นที่ดับ หาเครื่องเสียบแทงมิได้ โดยเร็วพลัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ไปได้อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรของ คำนับ ควรของต้อนรับควรแก่ทักขิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบราชวรรคที่ ๔
-----------------------------------------------------

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๖๗.

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. จักกสูตร ๒. อนุวัตตนสูตร ๓. ราชสูตร ๔. ยัสสทิส สูตร ๕. ปัตถนาสูตรที่ ๑ ๖. ปัตถนาสูตรที่ ๒ ๗. อัปปสุปติสูตร ๘. ภัตตาทกสูตร ๙. อักขมสูตร ๑๐. โสตวสูตร ฯ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ บรรทัดที่ ๓๗๗๘-๓๘๔๔ หน้าที่ ๑๖๔-๑๖๗. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=3778&Z=3844&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=140              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=140              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [140] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=22&item=140&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=1207              The Pali Tipitaka in Roman :- [140] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=22&item=140&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=1207              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ https://84000.org/tipitaka/read/?index_22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i131-e.php#sutta10 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an05/an05.140.than.html https://suttacentral.net/an5.140/en/sujato https://suttacentral.net/an5.140/en/thanissaro

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :