ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้า
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
พระสูตรที่ไม่รวมเข้าในวรรค
[๓๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๖ ประการ เป็นผู้ไม่ควร เพื่อพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ชอบ การงาน ๑ ความเป็นผู้ชอบคุย ๑ ความเป็นผู้ชอบหลับ ๑ ความเป็นผู้ชอบ คลุกคลีด้วยหมู่คณะ ๑ ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๑ ความ เป็นผู้ไม่รู้ประมาณในโภชนะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๖ ประการ นี้แล เป็นผู้ไม่ควรเพื่อพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ [๓๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการ เป็นผู้ควรเพื่อ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ชอบการ งาน ๑ ความเป็นผู้ชอบคุย ๑ ความเป็นผู้ชอบหลับ ๑ ความเป็นผู้ชอบคลุกคลี ด้วยหมู่คณะ ๑ ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๑ ความเป็นผู้ไม่ รู้ประมาณในโภชนะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้ ควรเพื่อพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ [๓๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๖ ประการ เป็นผู้ไม่ควร เพื่อพิจารณาเห็นกายในกายเป็นภายในอยู่ ฯลฯ เพื่อพิจารณาเห็นกายในกายเป็นภายนอกอยู่ ฯลฯ เพื่อพิจารณาเห็นกายในกายทั้งกายในภายนอกอยู่ ฯลฯ [๓๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๖ ประการ เป็นผู้ไม่ควร เพื่อพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ ฯลฯ เพื่อพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายเป็นภายในอยู่ ฯลฯ เพื่อพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายเป็นภายนอกอยู่ ฯลฯ เพื่อพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ ฯลฯ [๓๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๖ ประการ เป็นผู้ไม่ควร เพื่อพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ เพื่อพิจารณาเห็นจิตในจิตเป็นภายในอยู่ ฯลฯ เพื่อพิจารณาเห็นจิตในจิตเป็นภายนอกอยู่ ฯลฯ เพื่อพิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งในภายในทั้งในภายนอกอยู่ ฯลฯ [๓๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๖ ประการ เป็นผู้ไม่ควร เพื่อพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ ฯลฯ เพื่อพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายเป็นภายในอยู่ ฯลฯ เพื่อพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายเป็นภายนอกอยู่ ฯลฯ เพื่อพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ชอบการงาน ... ความเป็นผู้ไม่รู้ประมาณใน โภชนะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้ไม่ควรเพื่อ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๖ ประการ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อพิจารณา เห็นธรรมในธรรมทั้งหลายเป็นภายในอยู่ ฯลฯ เพื่อพิจารณาเห็นธรรมในธรรม ทั้งหลายเป็นภายนอกอยู่ ฯลฯ เพื่อพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายทั้งภายใน ภายนอกอยู่ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ชอบการงาน ... ความ เป็นผู้ไม่รู้ประมาณในโภชนะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๖ ประการ นี้แล เป็นผู้ไม่ควรเพื่อพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายทั้งภายในภายนอก อยู่ ฯ [๓๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการ เป็นผู้ควรเพื่อ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายทั้งภายในภายนอกอยู่ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ชอบการงาน ฯลฯ ความเป็นผู้ไม่รู้ประมาณในโภชนะ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้ควรเพื่อพิจารณาเห็นธรรมในธรรม ทั้งหลายทั้งภายในภายนอกอยู่ ฯ [๓๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตปุสสคฤหบดีประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เป็นผู้พึงปลงใจเชื่อในพระตถาคต เห็นอมตธรรม ทำให้แจ้งอมตธรรมอยู่ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ๑ ความ เลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ๑ ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ๑ อริยศีล ๑ อริยญาณ ๑ อริยวิมุติ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตปุสสคฤหบดีประกอบ ด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้พึงปลงใจเชื่อในพระตถาคต เห็นอมตธรรม ทำ ให้แจ้งอมตธรรมอยู่ ฯ [๓๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัลลิกคฤหบดี อนาถบิณฑิกสุทัตตคฤหบดี จิตตคฤหบดีชาวมัจฉิกาสัณฑนคร หัตถกคฤหบดีชาวเมืองอาฬวี เจ้าศากยะ พระนามว่ามหานามะ อุคคคฤหบดีชาวเมืองเวสาลี อุคคตคฤหบดี สูรอัมพัฏฐ- *คฤหบดี ชีวกโกมารภัจ นกุลบิดาคฤหบดี ตวกัณณกคฤหบดี ปูรณคฤหบดี อิสิทัตตคฤหบดี สันธานคฤหบดี วิชยคฤหบดี วัชชิยมหิตคฤหบดี เมณฑก- *คฤหบดี วาเสฏฐอุบาสก อริฏฐอุบาสก สาทัตตอุบาสก ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เป็นผู้ปลงใจเชื่อในพระตถาคต เห็นอมตธรรม ทำให้แจ้งซึ่งอมต- *ธรรมอยู่ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวใน พระพุทธเจ้า ๑ ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ๑ ความเลื่อมใสอัน ไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ๑ อริยศีล ๑ อริยญาณ ๑ อริยวิมุติ ๑ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย สาทัตตอุบาสกประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้ปลงใจเชื่อใน พระตถาคต เห็นอมตธรรม ทำให้แจ้งอมตธรรมอยู่ ฯ [๓๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการ อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อ รู้ยิ่งราคะ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ ทัสสนานุตตริยะ ๑ สวนานุตตริยะ ๑ ลาภานุตตริยะ ๑ สิกขานุตตริยะ ๑ ปาริจริยานุตตริยะ ๑ อนุสสตานุตตริยะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการนี้ อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อรู้ยิ่งราคะ ฯ [๓๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการ อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อรู้ ยิ่งราคะ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ พุทธานุสสติ ๑ ธัมมานุสสติ ๑ สังฆานุสสติ ๑ สีลานุสสติ ๑ จาคานุสสติ ๑ เทวตานุสสติ ๑ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการนี้แล อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อรู้ยิ่งราคะ ฯ [๓๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการ อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อรู้ ยิ่งราคะ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ อนิจจสัญญา ๑ อนิจเจทุกขสัญญา ๑ ทุกเขอนัตตสัญญา ๑ ปหานสัญญา ๑ วิราคสัญญา ๑ นิโรธสัญญา ๑ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการนี้แล อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อรู้ยิ่งราคะ ฯ [๔๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการ อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อ กำหนดรู้ราคะ ฯลฯ เพื่อความสิ้นไปรอบแห่งราคะ เพื่อละราคะ เพื่อสิ้นไป แห่งราคะ เพื่อเสื่อมไปแห่งราคะ เพื่อความคลายกำหนัดราคะ เพื่อดับราคะ เพื่อสละราคะ เพื่อปล่อยวางราคะ ฯลฯ [๔๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการ อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อ รู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไปรอบ เพื่อละ เพื่อสิ้นไป เพื่อเสื่อมไป เพื่อคลายไป เพื่อดับ เพื่อสละ เพื่อปล่อยวาง ซึ่งโทสะ โมหะ โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปฬาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเถยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการนี้แล อันภิกษุพึงให้เจริญ เพื่อปล่อยวางปมาทะ ฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้จบลงแล้ว ภิกษุเหล่านั้นชื่นชม ยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล ฯ
จบฉักกนิบาต
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ บรรทัดที่ ๑๐๕๗๔-๑๐๖๖๕ หน้าที่ ๔๖๒-๔๖๕. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=10574&Z=10665&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=368              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=388              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [388-401] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=22&item=388&items=14              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=3536              The Pali Tipitaka in Roman :- [388-401] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=22&item=388&items=14              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=3536              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ https://84000.org/tipitaka/read/?index_22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i388-e.php# http://www.buddha-vacana.org/sutta/anguttara/06/an06-118.html https://suttacentral.net/an6.117/en/sujato https://suttacentral.net/an6.118/en/sujato https://suttacentral.net/an6.119/en/sujato https://suttacentral.net/an6.120-139/en/sujato https://suttacentral.net/an6.140/en/sujato https://suttacentral.net/an6.141/en/sujato https://suttacentral.net/an6.142/en/sujato https://suttacentral.net/an6.143-169/en/sujato https://suttacentral.net/an6.170-649/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้า

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :