ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
อาปัตติภยวรรคที่ ๕
[๒๔๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โฆสิตารามใกล้เมือง โกสัมพี ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย บังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า ดูกรอานนท์ อธิกรณ์นั้นระงับแล้วหรือ ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ อธิกรณ์นั้นจักระงับแต่ที่ไหน สัทธิวิหาริกของท่านพระอนุรุทธ์ชื่อว่าพาหิยะ ตั้งอยู่ในการทำลายสงฆ์ถ่ายเดียว เมื่อพระพาหิยะตั้งอยู่อย่างนั้นแล้ว ท่านพระ อนุรุทธ์ก็ไม่สำคัญที่จะพึงว่ากล่าวแม้สักคำเดียว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกร อานนท์ เมื่อไร อนุรุทธ์จะจัดการชำระอธิกรณ์ในท่ามกลางสงฆ์ อธิกรณ์ชนิด ใดก็ตามที่บังเกิดขึ้น เธอทั้งหลายกับสารีบุตรและโมคคัลลานะต้องระงับอธิกรณ์ ทั้งหมดนั้นมิใช่หรือ ดูกรอานนท์ ภิกษุผู้ลามก เล็งเห็นอำนาจประโยชน์ ๔ ประการนี้ ย่อมยินดีด้วยการทำลายสงฆ์ อำนาจประโยชน์ ๔ ประการเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุผู้ลามกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทุศีล มีบาปธรรม มีความประพฤติไม่ สะอาด น่ารังเกียจ มีการงานอันปกปิด มิใช่สมณะปฏิญาณว่าเป็นสมณะ ไม่ประพฤติ พรหมจรรย์ปฏิญาณว่าประพฤติพรหมจรรย์ เป็นคนเน่าใน ชุ่มด้วยกิเลส รุงรัง ด้วยโทษ เธอปริวิตกอย่างนี้ว่า ถ้าภิกษุทั้งหลายจักรู้เราว่า เป็นคนทุศีล มีบาป ธรรม... รุงรังด้วยโทษ จักเป็นผู้พร้อมเพรียงกันนาสนะเราเสีย แต่ภิกษุผู้เป็น พรรคพวกจักไม่นาสนะเรา ดูกรอานนท์ ภิกษุผู้ลามก เล็งเห็นอำนาจประโยชน์ที่ ๑ นี้ ย่อมยินดีด้วยการทำลายสงฆ์ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้ลามก มีความเห็นผิด ประกอบด้วยอันตคาหิก- *ทิฐิ เธอปริวิตกอย่างนี้ว่า ถ้าภิกษุทั้งหลายจักรู้เราว่ามีความเห็นผิด ประกอบด้วย อันตคาหิกทิฐิ จักเป็นผู้พร้อมเพรียงกันนาสนะเราเสีย แต่ภิกษุผู้เป็นพรรคพวก จักไม่นาสนะเรา ดูกรอานนท์ ภิกษุผู้ลามก เล็งเห็นอำนาจประโยชน์ข้อที่ ๒ นี้ ย่อมยินดีด้วยการทำลายสงฆ์ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้ลามก มีอาชีพผิด เลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาชีพ เธอ ย่อมปริวิตกอย่างนี้ว่า ถ้าภิกษุทั้งหลายจักรู้เราว่ามีอาชีพผิด เลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาชีพ จักเป็นผู้พร้อมเพรียงกันนาสนะเราเสีย แต่ภิกษุเป็นพรรคพวกจักไม่นาสนะเรา ดูกรอานนท์ ภิกษุผู้ลามก เล็งเห็นอำนาจประโยชน์ข้อที่ ๓ นี้ ย่อมยินดีด้วยการ ทำลายสงฆ์ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้ลามก ปรารถนาลาภ สักการะและความยกย่อง เธอปริวิตกอย่างนี้ว่า ถ้าภิกษุทั้งหลายจักรู้เราว่าปรารถนาลาภ สักการะและความ ยกย่อง จักพร้อมเพรียงกัน ไม่สักการะเคารพนับถือบูชาเรา แต่ภิกษุผู้เป็นพรรค พวกจักสักการะเคารพนับถือบูชาเรา ดูกรอานนท์ ภิกษุผู้ลามก เล็งเห็นอำนาจ ประโยชน์ข้อที่ ๔ นี้ ย่อมยินดีด้วยการทำลายสงฆ์ ดูกรอานนท์ ภิกษุผู้ลามก เล็งเห็นอำนาจประโยชน์ ๔ ประการนี้แล ย่อมยินดีด้วยการทำลายสงฆ์ ฯ [๒๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความกลัวต่ออาบัติ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนราชบุรุษจับโจรผู้ประพฤติ หยาบช้าได้แล้ว แสดงแก่พระราชา ด้วยกราบทูลว่า ขอเดชะ ผู้นี้เป็นผู้ประพฤติ หยาบช้าต่อพระองค์ ขอพระองค์จงทรงลงอาญาแก่เขา พระราชาจึงตรัสอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญท่านทั้งหลายจงไป จงมัดบุรุษนี้เอาแขนไพล่หลังให้มั่นคงด้วยเชือกอัน เหนียว โกนผมแล้วนำตระเวนไปตามถนนและตรอกด้วยบัณเฑาะว์มีเสียงหยาบ ออกทางประตูด้านใต้ แล้วจงตัดศีรษะทางด้านใต้แห่งนคร พวกราชบุรุษนั้นเอา แขนไพล่หลังให้มั่นคงด้วยเชือกอันเหนียวแล้วโกนผม นำตระเวนไปตามถนน และตรอกด้วยบัณเฑาะว์มีเสียงหยาบ แล้วนำออกทางประตูด้านใต้ ตัดศีรษะเสีย ทางด้านใต้แห่งนคร ในที่นั้น มีบุรุษผู้ยืนอยู่ ณ ที่ส่วนหนึ่ง กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ บุรุษนี้กระทำกรรมอันหยาบช้าน่าติเตียนถึงถูกตัดศีรษะ ราชบุรุษ ทั้งหลายจึงจับมัดแขนไพล่หลังให้มั่นคงด้วยเชือกอันเหนียว โกนศีรษะด้วยมีดโกน นำตระเวนไปตามถนนและตรอก ด้วยบัณเฑาะว์มีเสียงหยาบ แล้วนำออกทาง ประตูด้านใต้ ตัดศีรษะทางด้านใต้แห่งนคร เขาไม่ควรทำกรรมอันหยาบช้าเห็น ปานนี้จนถูกตัดศีรษะเลยหนอ ดังนี้ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้น เหมือนกัน ภิกษุหรือภิกษุณีบางรูป เข้าไปตั้งสัญญาคือความกลัวอันแรงกล้าอย่าง นั้นไว้ในธรรม คือ ปาราชิกทั้งหลาย ข้อนั้นเป็นอันหวังได้ว่า ผู้ที่ยังไม่ต้องธรรม คือ ปาราชิก จักไม่ต้อง หรือผู้ที่ต้องแล้วจักกระทำคืนตามธรรม ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษนุ่งผ้าดำ สยายผมห้อยสากไว้ที่ คอ เข้าไปหาหมู่มหาชนแล้วพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้าได้ ทำกรรมลามก น่าติเตียน ควรแก่การห้อยสาก ท่านทั้งหลายพอใจให้ข้าพเจ้า กระทำสิ่งใด ข้าพเจ้าจะกระทำสิ่งนั้น ในที่นั้น มีบุรุษยืนอยู่ ณ ที่ส่วนหนึ่ง กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย บุรุษนี้ได้กระทำกรรมอันลามก น่าติเตียน ควรแก่การห้อยสาก เขานุ่งผ้าดำ สยายผม ห้อยสากไว้ที่คอเข้าไปหาหมู่มหาชน แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้ากระทำกรรมอันลามก น่าติเตียน ควรแก่การห้อยสาก ท่านทั้งหลายพอใจให้ข้าพเจ้ากระทำสิ่งใด ข้าพเจ้าจะกระทำ สิ่งนั้น ดังนี้เขาไม่ควรกระทำกรรมอันเป็นบาป น่าติเตียน ควรแก่การห้อยสาก เห็นปานนั้นเลยหนอ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุหรือ ภิกษุณีบางรูป เข้าไปตั้งสัญญาคือความกลัวอันแรงกล้าอย่างนั้นไว้ในธรรม คือ สังฆาทิเสสทั้งหลาย ข้อนั้นเป็นอันหวังได้ว่า ผู้ที่ยังไม่ต้องธรรม คือ สังฆาทิเสส จักไม่ต้อง หรือผู้ที่ต้องแล้วจักกระทำคืนตามธรรม ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษนุ่งผ้าดำ สยายผมห้อยห่อขี้เถ้าไว้ที่ คอ เข้าไปหาหมู่มหาชน แล้วพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้าได้ กระทำกรรมอันลามก น่าติเตียน ควรแก่การห้อยห่อขี้เถ้า ท่านทั้งหลายพอใจจะ ให้ข้าพเจ้ากระทำสิ่งใด ข้าพเจ้าจะกระทำสิ่งนั้น ในที่นั้น มีบุรุษยืนอยู่ ณ ที่ส่วน หนึ่งกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย บุรุษนี้ได้กระทำกรรมอันลามก น่า ติเตียน ควรแก่การห้อยห่อขี้เถ้า เขานุ่งผ้าดำ สยายผมห้อยห่อขี้เถ้า เข้าไปหา หมู่มหาชนแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้าได้กระทำกรรมอัน ลามก น่าติเตียน ควรแก่การห้อยห่อขี้เถ้า ท่านทั้งหลายพอใจจะให้ข้าพเจ้าทำ สิ่งใด ข้าพเจ้าจะทำสิ่งนั้น เขาไม่ควรกระทำกรรมอันลามก ควรแก่การห้อยห่อ ขี้เถ้าเห็นปานนี้เลยหนอ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุ หรือภิกษุณีบางรูป เข้าไปตั้งสัญญาคือความกลัวอันแรงกล้าอย่างนั้นไว้ในธรรม คือ ปาจิตตีย์ทั้งหลาย ข้อนี้เป็นอันหวังได้ว่า ผู้ที่ยังไม่ต้องธรรม คือ ปาจิตตีย์ จักไม่ต้อง หรือผู้ที่ต้องแล้วจักกระทำคืนตามธรรม ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษนุ่งผ้าดำ สยายผมเข้าไปหาหมู่ มหาชน แล้วพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้าได้กระทำกรรมอัน ลามก น่าติเตียน ควรตำหนิ ท่านทั้งหลายพอใจให้ข้าพเจ้ากระทำสิ่งใด ข้าพเจ้า จะกระทำสิ่งนั้น ณ ที่นั้น มีบุรุษยืนอยู่ ณ ที่ส่วนหนึ่งกล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน ผู้เจริญทั้งหลาย บุรุษผู้นี้ได้กระทำกรรมอันลามก น่าติเตียน ควรตำหนิ เขานุ่งผ้า ดำ สยายผม เข้าไปหาหมู่มหาชนแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้า ได้กระทำกรรมอันลามก น่าติเตียน ควรตำหนิ ท่านทั้งหลายพอใจให้ข้าพเจ้า กระทำสิ่งใด ข้าพเจ้าจะกระทำสิ่งนั้น เขาไม่ควรกระทำกรรมอันลามก น่า ติเตียน ควรตำหนิ เห็นปานนั้น แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุหรือภิกษุณีบางรูป เข้าไปตั้งสัญญาคือ ความกลัวอันแรงกล้าอย่างนั้นไว้ใน ธรรม คือ ปาฏิเทสนียะทั้งหลาย ข้อนั้นพึงหวังได้ว่า ผู้ที่ยังไม่ต้องธรรม คือ ปาฏิเทสนียะ จักไม่ต้อง ผู้ที่ต้องแล้วจักกระทำคืนตามธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความกลัวต่ออาบัติ ๔ ประการนี้แล ฯ [๒๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมอยู่ประพฤติพรหมจรรย์นี้ อันมี สิกขาเป็นอานิสงส์ มีปัญญาเป็นยอด มีวิมุตติเป็นแก่น มีสติเป็นอธิปไตย ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็พรหมจรรย์มีสิกขาเป็นอานิสงส์อย่างไร สิกขา คือ อภิสมาจาร เราบัญญัติแก่สาวกทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ เพื่อความเลื่อมใสของผู้ที่ยังไม่เลื่อมใส เพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นของผู้ที่เลื่อมใสแล้ว สิกขา คือ อภิสมาจารเราบัญญัติแล้ว แก่สาวกเพื่อความเลื่อมใสของผู้ที่ยังไม่เลื่อมใส เพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นของผู้ที่ เลื่อมใสแล้ว ด้วยประการใดๆ สาวกนั้นเป็นผู้มีปรกติไม่ทำสิกขานั้นให้ขาด ไม่ให้ทะลุ ไม่ให้ด่าง ไม่ให้พร้อย ย่อมสมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ด้วยประการนั้นๆ อีกประการหนึ่ง สิกขาอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ เราบัญญัติแก่สาวก ทั้งหลาย เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ โดยประการทั้งปวง สิกขาอันเป็นเบื้องต้น แห่งพรหมจรรย์ เราบัญญัติแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ โดย ประการทั้งปวง ด้วยประการใดๆ สาวกนั้นเป็นผู้มีปรกติไม่ทำสิกขานั้นให้ขาด ไม่ให้ทะลุ ไม่ให้ด่าง ไม่ให้พร้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ด้วย ประการนั้นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์มีสิกขาเป็นอานิสงส์อย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็พรหมจรรย์มีปัญญาเป็นยอดอย่างไร ธรรมทั้งหลาย เราแสดงแล้วแก่สาวกทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ โดย ประการทั้งปวง ธรรมทั้งหลายเราแสดงแล้วแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อความสิ้นทุกข์ โดยชอบ โดยประการทั้งปวง ด้วยประการใดๆ ธรรมทั้งหมดนั้นอันสาวกพิจารณา ด้วยปัญญา ด้วยประการนั้นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์มีปัญญาเป็นยอด อย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็พรหมจรรย์มีวิมุตติเป็นแก่นอย่างไร ธรรมทั้งหลาย เราแสดงแก่สาวกทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ โดยประการ ทั้งปวง ธรรมทั้งหลายเราแสดงแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ โดยประการทั้งปวง ด้วยประการใดๆ ธรรมทั้งหมดนั้นเป็นธรรมอันวิมุตติถูกต้อง แล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์มีวิมุตติเป็นแก่นอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็พรหมจรรย์มีสติเป็นอธิปไตยอย่างไร สติอันภิกษุ ตั้งไว้ดีแล้วในภายในทีเดียวว่า เราจักบำเพ็ญอภิสมาจาริกสิกขาที่ยังไม่บริบูรณ์ให้ บริบูรณ์ หรือว่า จักอนุเคราะห์อภิสมาจาริกสิกขาอันบริบูรณ์แล้วไว้ ด้วยปัญญา ในฐานะนั้นๆ ดังนี้บ้าง สติอันภิกษุตั้งไว้ดีแล้วในภายในทีเดียวว่า เราจักบำเพ็ญ สิกขาอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือว่าจัก อนุเคราะห์สิกขาอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่บริบูรณ์แล้วไว้ ด้วยปัญญาใน ฐานะนั้นๆ ดังนี้บ้าง สติอันภิกษุตั้งไว้ดีแล้วในภายในทีเดียวว่า เราจักพิจารณาธรรม ที่เราไม่ได้พิจารณาแล้วด้วยปัญญาในฐานะนั้นๆ หรือว่า จักอนุเคราะห์ธรรมที่เรา พิจารณาแล้วได้ด้วยปัญญาในฐานะนั้นๆ ดังนี้บ้าง สติอันภิกษุตั้งไว้ดีแล้วในภายใน ทีเดียวว่า เราจักถูกต้องธรรมที่เราไม่ได้ถูกต้องด้วยวิมุตติ หรือว่า จักอนุเคราะห์ ธรรมที่เราถูกต้องแล้วด้วยปัญญาในฐานะนั้นๆ ดังนี้บ้าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์มีสติเป็นอธิปไตยอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ที่เรากล่าวว่า เราอยู่ ประพฤติพรหมจรรย์อันมีสิกขาเป็นอานิสงส์ มีปัญญาเป็นยอด มีวิมุตติเป็นแก่น มีสติเป็นอธิปไตย ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ [๒๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไสยา (การนอน) ๔ อย่างนี้ ๔ อย่าง เป็นไฉน คือ เปตไสยา (นอนอย่างคนตาย) ๑ กามโภคีไสยา (นอนอย่าง คนบริโภคกาม) ๑ สีหไสยา (นอนอย่างราชสีห์) ๑ ตถาคตไสยา (นอนอย่าง ตถาคต) ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เปตไสยาเป็นไฉน คนตายโดยมากนอนหงาย นี้เราเรียกว่าเปตไสยา ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กามโภคีไสยาเป็นไฉน คนบริโภคกามโดยมากนอน ตะแคงข้างซ้าย นี้เราเรียกว่ากามโภคีไสยา ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สีหไสยาเป็นไฉน สีหมฤคราชย่อมสำเร็จการนอน ข้างเบื้องขวา ซ้อนเท้าเลื่อมเท้า สอดหางเข้าในระหว่างโคนขา มันตื่นขึ้นแล้ว ยืดกายเบื้องหน้าแล้ว เหลียวดูกายเบื้องหลัง ถ้ามันเห็นความผิดแปลกหรือความ ละปรกติแห่งกาย มันย่อมเสียใจด้วยเหตุนั้น ถ้ามันไม่เห็นอะไรผิดปรกติ มันย่อม ดีใจด้วยเหตุนั้น นี้เราเรียกว่าสีหไสยา ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ตถาคตไสยาเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน นี้เราเรียกว่าตถาคตไสยา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไสยา (การนอน) ๔ อย่างนี้แล ฯ [๒๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถูปารหบุคคล ๔ จำพวกนี้ ๔ จำพวก เป็นไฉน คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑ พระปัจเจกพุทธะ ๑ สาวกของพระตถาคต ๑ พระเจ้าจักรพรรดิ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถูปารหบุคคล ๔ จำพวกนี้แล ฯ [๒๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความ เจริญแห่งปัญญา ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ สัปปุริสสังเสวะ การคบ สัปบุรุษ ๑ สัทธรรมสวนะ ฟังคำสั่งสอนของท่าน ๑ โยนิโสมนสิการ ทำไว้ ในใจโดยแยบคาย ๑ ธรรมานุธรรมปฏิปัตติ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญแห่ง ปัญญา ฯ [๒๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการ เป็นธรรมมีอุปการะมาก แก่มนุษย์ ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ สัปปุริสสังเสวะ ๑ สัทธรรมสวนะ ๑ โยนิโสมนสิการ ๑ ธรรมานุธรรมปฏิปัตติ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้แล เป็นธรรมมีอุปการะมากแก่มนุษย์ ฯ [๒๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โวหารอันมิใช่ของพระอริยะ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้กล่าวสิ่งที่ไม่ได้เห็นว่าเห็น ๑ ความเป็นผู้ กล่าวสิ่งที่ไม่ได้ฟังว่าได้ฟัง ๑ ความเป็นผู้กล่าวสิ่งที่ไม่ได้ทราบว่าได้ทราบ ๑ ความเป็นผู้กล่าวสิ่งที่ไม่ได้รู้ว่าได้รู้ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย โวหารอันไม่ใช่ของ พระอริยะ ๔ ประการนี้แล ฯ [๒๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยโวหาร ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้กล่าวสิ่งที่ไม่ได้เห็นว่าไม่ได้เห็น ๑ ความเป็นผู้กล่าวสิ่งที่ไม่ได้ ฟังว่าไม่ได้ฟัง ๑ ความเป็นผู้กล่าวสิ่งที่ไม่ได้ทราบว่าไม่ได้ทราบ ๑ ความเป็น ผู้กล่าวสิ่งที่ไม่ได้รู้ว่าไม่ได้รู้ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยโวหาร ๔ ประการ นี้แล ฯ [๒๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โวหารอันมิใช่ของพระอริยะ ๔ ประการ นี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้กล่าวสิ่งที่ได้เห็นว่าไม่ได้เห็น ๑ ความ เป็นผู้กล่าวสิ่งที่ได้ฟังว่าไม่ได้ฟัง ๑ ความเป็นผู้กล่าวสิ่งที่ได้ทราบว่าไม่ได้ทราบ ๑ ความเป็นผู้กล่าวสิ่งที่ได้รู้ว่าไม่ได้รู้ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย โวหารอันมิใช่ของพระ- *อริยะ ๔ ประการนี้แล ฯ [๒๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยโวหาร ๔ ประการนี้ ๔ ประการ เป็นไฉน คือ ความเป็นผู้กล่าวสิ่งที่ได้เห็นว่าได้เห็น ๑ ความเป็นผู้กล่าวสิ่งที่ได้ ฟังว่าได้ฟัง ๑ ความเป็นผู้กล่าวสิ่งที่ได้ทราบว่าได้ทราบ ๑ ความเป็นผู้กล่าวสิ่งที่ ได้รู้ว่าได้รู้ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยโวหาร ๔ ประการนี้แล ฯ
จบอาปัตติภยวรรคที่ ๕
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ บรรทัดที่ ๖๓๘๗-๖๕๖๘ หน้าที่ ๒๗๓-๒๘๐. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=21&A=6387&Z=6568&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=21&siri=141              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=243              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [243-253] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=21&item=243&items=11              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=10166              The Pali Tipitaka in Roman :- [243-253] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=21&item=243&items=11              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=10166              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ https://84000.org/tipitaka/read/?index_21              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i243-e.php# https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i243-e2.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an04/an04.245.than.html https://suttacentral.net/an4.243/en/sujato https://suttacentral.net/an4.244/en/sujato https://suttacentral.net/an4.245/en/thanissaro https://suttacentral.net/an4.245/en/sujato https://suttacentral.net/an4.246/en/sujato https://suttacentral.net/an4.247/en/sujato https://suttacentral.net/an4.248/en/sujato https://suttacentral.net/an4.249/en/sujato https://suttacentral.net/an4.250/en/sujato https://suttacentral.net/an4.251/en/sujato https://suttacentral.net/an4.252/en/sujato https://suttacentral.net/an4.253/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :