ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
โปตลิยสูตร
[๑๐๐] ครั้งนั้นแล ปริพาชกชื่อโปตลิยะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง ที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกัน ไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามโปตลิย- *ปริพาชกว่า ดูกรโปตลิยะ บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๔ จำพวก

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๑๘.

เป็นไฉน คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กล่าวติเตียนบุคคลผู้ควรติเตียนตาม ความเป็นจริง โดยกาลอันควร เป็นผู้ไม่กล่าวสรรเสริญบุคคลผู้ควรสรรเสริญตาม ความเป็นจริง โดยกาลอันควรจำพวก ๑ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กล่าว สรรเสริญบุคคลผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริง โดยกาลอันควร ไม่กล่าว ติเตียนบุคคลผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง โดยกาลอันควรจำพวก ๑ บุคคลบาง คนในโลกนี้ ไม่กล่าวติเตียนบุคคลผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง โดยกาลอันควร ทั้งไม่กล่าวสรรเสริญผู้ที่ควรสรรเสริญตามความเป็นจริง โดยกาลอันควรจำพวก ๑ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กล่าวติเตียนบุคคลผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง โดยกาลอันควร ทั้งเป็นผู้กล่าวสรรเสริญบุคคลผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริง โดยกาลอันควรจำพวก ๑ ดูกรโปตลิยะ บุคคล ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ใน โลก ดูกรโปตลิยะ บรรดาบุคคล ๔ จำพวกนี้แล ท่านชอบใจบุคคลจำพวกไหน ว่า เป็นผู้งามกว่า และประณีตกว่า โปตลิยปริพาชกกราบทูลว่า ท่านพระโคดม บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๔ จำพวกเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลก นี้ เป็นผู้กล่าวติเตียนบุคคลผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง โดยกาลอันควร แต่ ไม่กล่าวสรรเสริญบุคคลผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริง โดยกาลอันควรจำพวก ๑ ฯลฯ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กล่าวติเตียนบุคคลผู้ควรติเตียนตามความ เป็นจริง โดยกาลอันควร ทั้งเป็นผู้กล่าวสรรเสริญบุคคลผู้ควรสรรเสริญตามความ เป็นจริง โดยกาลอันควรจำพวก ๑ บุคคล ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก บรรดาบุคคล ๔ จำพวกนี้ ข้าพเจ้าชอบใจบุคคลผู้ไม่กล่าวติเตียน บุคคลผู้ควร ติเตียนตามความเป็นจริง โดยกาลอันควร และไม่กล่าวสรรเสริญบุคคลที่ควร สรรเสริญตามความเป็นจริง โดยกาลอันควรว่า เป็นผู้งามกว่า และประณีตกว่า บุคคล ๔ จำพวกนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะมีความงาม คือ อุเบกขา ฯ พ. ดูกรโปตลิยะ บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๔ จำพวก เป็นไฉน ฯลฯ บรรดาบุคคล ๔ จำพวกนี้ บุคคลผู้กล่าวติเตียนบุคคลที่ควร ติเตียนตามความเป็นจริง โดยกาลอันควร และผู้สรรเสริญบุคคลที่ควรสรรเสริญ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๑๙.

ตามความเป็นจริง โดยกาลอันควรนี้ เป็นผู้งามกว่า และประณีตกว่าบุคคล ๔ จำพวกนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะมีความงาม คือ ความเป็นผู้รู้จักกาลในอัน ควรติเตียนและสรรเสริญนั้นๆ ฯ โป. ท่านพระโคดม บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ฯลฯ ท่านพระโคดม บรรดาบุคคล ๔ จำพวกนี้ ข้าพเจ้าชอบใจบุคคลที่กล่าวติเตียน บุคคลที่ควรติเตียนตามความเป็นจริง โดยกาลอันควร และกล่าวสรรเสริญบุคคล ที่ควรสรรเสริญตามความเป็นจริง โดยกาลอันควรว่า เป็นผู้งามกว่า และประณีต กว่าบุคคล ๔ จำพวกนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะมีความงาม คือ ความเป็น ผู้รู้กาลในอันติเตียนและสรรเสริญนั้นๆ ข้าแต่พระโคดม ภาษิตของพระองค์ แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ท่านพระโคดม ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของ ที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปไว้ในเวลามืดด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุ จักเห็นรูปได้ ฉะนั้น ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดม กับทั้งพระธรรมและ ภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบอสุรวรรคที่ ๕
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อสุรสูตร ๒. สมาธิสูตรที่ ๑ ๓. สมาธิสูตรที่ ๒ ๔. สมาธิสูตรที่ ๓ ๕. ฉลาวาตสูตร ๖. ราคสูตร ๗. นิสันติสูตร ๘. อัตตหิตสูตร ๙. สิกขาสูตร ๑๐. โปตลิยสูตร ฯ
จบทุติยปัณณาสก์
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ บรรทัดที่ ๒๗๓๖-๒๗๘๙ หน้าที่ ๑๑๗-๑๑๙. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=21&A=2736&Z=2789&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=21&siri=100              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=100              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [100] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=21&item=100&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=8508              The Pali Tipitaka in Roman :- [100] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=21&item=100&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=8508              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ https://84000.org/tipitaka/read/?index_21              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i091-e.php#sutta10 https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i091-e2.php#sutta10 https://suttacentral.net/an4.100/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :