ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
             [๕๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่ง ๓ อย่างนี้ ปิดบังไว้จึงเจริญ เปิด
เผยไม่เจริญ ๓ อย่างเป็นไฉน คือ มาตุคาม ปิดบังเอาไว้จึงจะงดงาม เปิดเผย
ไม่งดงาม ๑ มนต์ของพราหมณ์ ปิดบังเข้าไว้จึงรุ่งเรือง เปิดเผยไม่รุ่งเรือง ๑
มิจฉาทิฐิ ปิดบังไว้จึงเจริญ เปิดเผยไม่เจริญ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่ง ๓ อย่าง
นี้แล ปิดบังไว้จึงเจริญ เปิดเผยไม่เจริญ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่ง ๓ อย่างนี้
เปิดเผยจึงรุ่งเรือง ปิดบังไม่รุ่งเรือง ๓ อย่างเป็นไฉน คือ ดวงจันทร์ เปิดเผย
จึงรุ่งเรือง ปิดบังไม่รุ่งเรือง ๑ ดวงอาทิตย์ เปิดเผยจึงรุ่งเรือง ปิดบังไม่รุ่งเรือง ๑

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๑๙.

ธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศไว้แล้ว เปิดเผยจึงรุ่งเรือง ปิดบังไม่รุ่งเรือง ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่ง ๓ อย่างนี้แล เปิดเผยจึงรุ่งเรือง ปิดบังไม่รุ่งเรือง ฯ
เลขสูตร
[๕๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๓ จำพวกเป็นไฉน คือ บุคคลผู้เปรียบด้วยรอยขีดที่แผ่นหิน ๑ บุคคลผู้เปรียบ ด้วยรอยขีดที่แผ่นดิน ๑ บุคคลผู้เปรียบด้วยรอยขีดที่น้ำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้เปรียบด้วยรอยขีดที่แผ่นหินเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคน ในโลกนี้ โกรธเนืองๆ ทั้งความโกรธของเขานั้นนอนเนื่องอยู่ในสันดานนานนัก เปรียบเหมือนรอยขีดที่แผ่นหิน ไม่ลบเลือนเร็วเพราะลมหรือน้ำ ย่อมตั้งอยู่ยั่งยืน แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อม โกรธเนืองๆ ทั้งความโกรธของเขานั้นก็นอนเนื่องอยู่ในสันดานนานนัก นี้ เรียกว่า บุคคลผู้เปรียบด้วยรอยขีดที่แผ่นหิน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้เปรียบ ด้วยรอยขีดที่แผ่นดินเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ โกรธ เนืองๆ แต่ความโกรธของเขานั้นไม่นอนเนื่องอยู่ในสันดานนานนัก เปรียบ เหมือนรอยขีดที่แผ่นดิน ลบเลือนไปโดยเร็วเพราะลมและน้ำ ไม่ตั้งอยู่ยั่งยืน แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อม โกรธเนืองๆ แต่ความโกรธของเขานั้นไม่นอนเนื่องอยู่ในสันดานนานนัก นี้ เรียกว่า บุคคลผู้เปรียบด้วยรอยขีดที่แผ่นดิน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้เปรียบ ด้วยรอยขีดที่น้ำเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้จะถูกว่า ด้วยคำหนักๆ แม้จะถูกว่าด้วยคำหยาบๆ แม้จะถูกว่าด้วยคำที่ไม่พอใจ ก็คง สมานไมตรี กลมเกลียว ปรองดองกันอยู่ เปรียบเหมือนรอยขีดที่น้ำ จะขาด จากกันก็ประเดี๋ยวเดียวเท่านั้น ไม่ตั้งอยู่นาน แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้จะถูกว่าด้วยคำหนักๆ แม้จะถูก ว่าด้วยคำหยาบๆ แม้จะถูกว่าด้วยคำที่ไม่พอใจ ก็คงสมานไมตรีกลมเกลียว

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๒๐.

ปรองดองกันอยู่ นี้เรียกว่า บุคคลผู้เปรียบด้วยรอยขีดที่น้ำ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ
จบกุสินารวรรคที่ ๓
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. กุสินารสูตร ๒. ภัณฑนสูตร ๓. โคตมสูตร ๔. ภรัณฑุสูตร ๕. หัตถกสูตร ๖. กฏุวิยสูตร ๗. อนุรุทธสูตรที่ ๑ ๘. อนุรุทธสูตรที่ ๒ ๙. ปฏิจฉันนสูตร ๑๐. เลขสูตร ฯ
-----------------------------------------------------

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๒๑.

โยธาชีววรรคที่ ๔
โยธสูตร
[๕๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย นักรบอาชีพประกอบด้วยองค์ ๓ ประการสมควรแก่พระราชา เหมาะแก่พระราชา ถึงการนับว่าเป็นองค์ของพระราชา โดยแท้ องค์ ๓ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย นักรบอาชีพในโลกนี้ ยิง ลูกศรไปได้ไกล ๑ ยิงไม่พลาด ๑ ทำลายกายขนาดใหญ่ได้ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นักรบอาชีพประกอบด้วยองค์ ๓ ประการนี้แล สมควรแก่พระราชา เหมาะแก่ พระราชา ถึงการนับว่าเป็นองค์ของพระราชาโดยแท้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประ- *กอบด้วยธรรม ๓ ประการ ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็น นาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า องค์ ๓ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยิงลูกศรไปได้ไกล ๑ ยิงไม่พลาด ๑ ทำลายกายขนาดใหญ่ ได้ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุยิงลูกศรไปได้ไกลอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นรูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็น ปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ในที่ ไกลหรือในที่ใกล้ ทั้งหมดนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ย่อมพิจารณาเห็นเวทนา อย่างใดอย่างหนึ่ง ... ย่อมพิจารณาเห็นสัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ... ย่อมพิจารณา เห็นสังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง ... ย่อมพิจารณาเห็นวิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่ เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบ หรือละเอียด เลวหรือประณีต ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ ทั้งหมดนั้น ด้วยปัญญา อันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยิงลูกศรไปได้ไกลอย่างนี้แล ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุยิงไม่ผิดพลาดอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๒๒.

รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้ทุกข์เกิด นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติ ให้ถึงความดับทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยิงไม่ผิดพลาดอย่างนี้แล ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมทำลายกองอวิชชาใหญ่ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทำลายกายขนาดใหญ่ได้อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วย ธรรม ๓ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนา- *บุญอื่นยิ่งกว่า ฯ
ปริสสูตร
[๕๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๓ จำพวกนี้ ๓ จำพวกเป็นไฉน คือ บริษัทที่แนะนำได้ยาก ๑ บริษัทที่แนะนำได้ง่าย ๑ บริษัทที่แนะนำแต่พอ- *ประมาณก็รู้ได้ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๓ จำพวกนี้แล ฯ
มิตตสูตร

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๗๔๔๓-๗๕๑๖ หน้าที่ ๓๑๘-๓๒๒. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=20&A=7443&Z=7516&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=20&siri=176              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=571              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [571-575] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=20&item=571&items=5              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=6276              The Pali Tipitaka in Roman :- [571-575] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=20&item=571&items=5              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=6276              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ https://84000.org/tipitaka/read/?index_20              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i563-e.php#sutta9 https://suttacentral.net/an3.131/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :