ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
โลณกสูตร
[๕๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดแลพึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษนี้ทำบาป ไว้อย่างไรๆ เขาจะต้องเสวยกรรมนั้นอย่างนั้นๆ เมื่อเป็นเช่นนี้ การอยู่ประพฤติ พรหมจรรย์ของผู้นั้นย่อมมีไม่ได้ โอกาสที่จะทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบ ย่อม ไม่ปรากฏ ส่วนผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษนี้ทำกรรมที่จะต้องเสวยผลไว้ด้วย อาการใดๆ เขาจะต้องเสวยวิบากของกรรมนั้นด้วยอาการนั้นๆ เมื่อเป็นเช่นนี้ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ของผู้นั้นย่อมมีได้ โอกาสที่จะทำที่สุดแห่งทุกข์โดย ชอบย่อมปรากฏ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำบาปกรรมแม้เล็ก น้อย บาปกรรมนั้นก็นำเขาเข้านรก ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ ทำบาปกรรม เพียงเล็กน้อย เช่นนั้นแหละ บาปกรรมนั้นย่อมให้ผลทันตาเห็น แต่ส่วนน้อย ไม่ปรากฏ ปรากฏเฉพาะส่วนที่มาก บุคคลเช่นไร ทำบาปกรรมแม้เล็กน้อย บาปกรรมนั้นก็นำเขาเข้านรก ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา มีคุณน้อย มีอัตภาพเล็ก มีปรกติอยู่เป็นทุกข์ เพราะวิบากเล็กน้อย บุคคลเห็นปานนี้ ทำบาปกรรมแม้เล็ก น้อย บาปกรรมนั้นก็นำเขาเข้านรก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเช่นไรเล่า ทำ บาปกรรมเล็กน้อยเช่นนั้นเหมือนกัน บาปกรรมนั้นให้ผลทันตาเห็น แต่ส่วนน้อย ไม่ปรากฏ ปรากฏเฉพาะส่วนมาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้อบรมกาย อบรมศีล อบรมจิต อบรมปัญญา มีคุณไม่น้อย มีอัตภาพใหญ่ มีธรรมเป็นเครื่องอยู่หาประมาณมิได้ บุคคลเช่นนี้ทำบาปกรรมเล็กน้อยเช่นนั้น เหมือนกัน บาปกรรมนั้นให้ผลทันตาเห็น แต่ส่วนน้อยไม่ปรากฏ ปรากฏเฉพาะ แต่ส่วนมาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษพึงใส่ก้อนเกลือลงในขันใบ น้อย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน น้ำในขันเพียงเล็กน้อยนั้น พึง เค็มดื่มกินไม่ได้ เพราะก้อนเกลือโน้นใช่ไหม ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่าใช่ พระเจ้าข้า ฯ พ. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ฯ ภิ. เพราะในขันน้ำมีน้ำนิดหน่อย ฉะนั้นน้ำนั้นจึงเค็ม ดื่มไม่ได้ เพราะ ก้อนเกลือนี้ พระเจ้าข้า ฯ พ. เปรียบเหมือนบุรุษพึงใส่ก้อนเกลือลงในแม่น้ำคงคา เธอทั้งหลายจะ สำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน แม่น้ำคงคาพึงเค็ม ดื่มไม่ได้ เพราะก้อนเกลือโน้น หรือไม่ ฯ ภิ. หามิได้ พระเจ้าข้า ฯ พ. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ฯ ภิ. เพราะในแม่น้ำคงคานั้น มีห้วงน้ำใหญ่ ฉะนั้น ห้วงน้ำใหญ่นั้นจึง ไม่เค็ม ดื่มได้ เพราะก้อนเกลือโน้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำ บาปกรรมเพียงเล็กน้อย บาปกรรมนั้นก็นำเขาเข้านรก ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ ทำบาปกรรมเล็กน้อย เช่นนั้นเหมือนกัน บาปกรรมนั้นให้ผลทันตาเห็น ส่วน น้อยไม่ปรากฏ ปรากฏแต่เฉพาะส่วนมาก ... ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกจองจำเพราะทรัพย์กึ่ง กหาปณะบ้าง ถูกจองจำเพราะทรัพย์หนึ่งกหาปณะบ้าง ถูกจองจำเพราะทรัพย์ร้อย กหาปณะบ้าง ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ไม่ถูกจองจำแม้เพราะทรัพย์กึ่งกหาปณะ ไม่ถูกจองจำแม้เพราะทรัพย์หนึ่งกหาปณะ ไม่ถูกจองจำแม้เพราะทรัพย์ตั้งร้อย กหาปณะ ก็บุคคลเช่นไรเล่า ถูกจองจำเพราะทรัพย์กึ่งกหาปณะบ้าง ถูกจองจำ เพราะทรัพย์หนึ่งกหาปณะบ้าง ถูกจองจำเพราะทรัพย์ร้อยกหาปณะบ้าง ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคนขัดสน มีสิ่งของของตนน้อย มีโภค- *ทรัพย์น้อย บุคคลเช่นนี้ย่อมถูกจองจำเพราะทรัพย์กึ่งกหาปณะบ้าง ถูกจองจำ เพราะทรัพย์หนึ่งกหาปณะบ้าง ถูกจองจำเพราะทรัพย์ร้อยกหาปณะบ้าง บุคคลเช่น ไรเล่า ไม่ถูกจองจำแม้เพราะทรัพย์กึ่งกหาปณะ ไม่ถูกจองจำแม้เพราะทรัพย์หนึ่ง กหาปณะ ไม่ถูกจองจำแม้เพราะทรัพย์ร้อยกหาปณะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล บางคนในโลกนี้ เป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์เหลือเฟือ มีโภคะมากมาย บุคคลเช่นนี้ ย่อมไม่ถูกจองจำแม้เพราะทรัพย์กึ่งกหาปณะ ไม่ถูกจองจำแม้เพราะทรัพย์หนึ่ง กหาปณะ ไม่ถูกจองจำแม้เพราะทรัพย์ร้อยกหาปณะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุ ทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำบาปกรรมไว้เพียงเล็กน้อย บาปกรรมนั้นก็ นำเขาเข้านรก ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ ได้ทำบาปกรรมเล็กน้อยไว้เช่นนั้น เหมือนกัน บาปกรรมนั้นให้ผลทันตาเห็น ส่วนน้อยไม่ปรากฏ ปรากฏเฉพาะแต่ ส่วนมาก ฯลฯ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเจ้าของแกะหรือคนฆ่าแกะบางคน สามารถที่จะฆ่า หรือจองจำคนลักแกะ หรือเอาไฟเผา หรือทำตามที่ตนปรารถนา บางคนไม่สามารถที่จะฆ่า หรือจองจำคนลักแกะ หรือเอาไฟเผา หรือทำตามที่ ตนปรารถนาได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เจ้าของแกะหรือคนฆ่าแกะเช่นไรเล่า สามารถ ที่จะฆ่า หรือจองจำคนลักแกะ หรือเอาไฟเผา หรือทำตามที่ตนปรารถนา ดูกร- *ภิกษุทั้งหลาย เจ้าของแกะหรือคนฆ่าแกะบางคนในโลกนี้ เป็นคนขัดสน มีสิ่ง ของของตนน้อย มีโภคทรัพย์น้อย เจ้าของแกะหรือคนฆ่าแกะเช่นนี้ สามารถที่ จะฆ่า หรือจองจำคนลักแกะ หรือเอาไฟเผา หรือทำตามที่ตนปรารถนา ดูกร- *ภิกษุทั้งหลาย เจ้าของแกะหรือคนฆ่าแกะเช่นไรเล่า ไม่สามารถที่จะฆ่า หรือ จองจำคนลักแกะ หรือเอาไฟเผา หรือทำตามที่ตนปรารถนา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เจ้าของแกะหรือคนฆ่าแกะบางคนในโลกนี้ เป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะ เหลือเฟือ เป็นพระราชา หรือมหาอำมาตย์ของพระราชา เจ้าของแกะหรือคน ฆ่าแกะเช่นนี้ ไม่สามารถที่จะฆ่า หรือจองจำคนลักแกะ หรือเอาไฟเผา หรือ ทำตามที่ตนปรารถนา ความจริงเจ้าของแกะหรือคนฆ่าแกะนั้น อันคนผู้ประนมมือ ย่อมจะขอเขาได้ว่า ข้าแต่ท่าน ขอท่านจงให้แกะหรือทรัพย์ที่เป็นมูลค่าของแกะ แก่ฉันเถิด แม้ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำบาปกรรมแม้เพียงเล็กน้อย บาปกรรมนั้นย่อมนำเขาเข้านรก ส่วนบุคคลบางคน ในโลกนี้ ได้ทำบาปกรรมเล็กน้อยไว้เช่นนั้นเหมือนกัน บาปกรรมนั้นย่อมให้ผล ทันตาเห็น ส่วนน้อยไม่ปรากฏ ปรากฏแต่เฉพาะส่วนมาก ฯลฯ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดแลพึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษนี้ทำกรรมไว้อย่างไรๆ เขาจะต้องเสวยกรรมนั้นอย่างนั้นๆ เมื่อเป็นเช่นนี้ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ของผู้นั้นย่อมมีไม่ได้ โอกาสที่จะทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบย่อมไม่ปรากฏ ส่วน ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษนี้ทำกรรมที่จะต้องเสวยผลไว้ด้วยอาการใดๆ เขาจะ ต้องเสวยวิบากของกรรมนั้นด้วยอาการนั้นๆ เมื่อเป็นเช่นนี้ การอยู่ประพฤติ พรหมจรรย์ของผู้นั้นย่อมมีได้ โอกาสที่จะทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบย่อมปรากฏ ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๖๕๖๖-๖๖๔๖ หน้าที่ ๒๘๐-๒๘๓. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=20&A=6566&Z=6646&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=20&siri=145              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=540              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [540] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=20&item=540&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=5836              The Pali Tipitaka in Roman :- [540] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=20&item=540&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=5836              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ https://84000.org/tipitaka/read/?index_20              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i532-e.php#sutta9 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an03/an03.099.than.html https://suttacentral.net/an3.100/en/sujato https://suttacentral.net/an3.100/en/thanissaro

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :