ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒
วรรคที่ ๗ ปาทุกาวรรค
ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑
[๘๖๒] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่บุคคลผู้สวมเขียงเท้า ...
พระอนุบัญญัติ
๒๐๖. ๖๑. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้ เจ็บไข้ สวมเขียงเท้า.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ผู้สวมเขียงเท้า ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ผู้เหยียบเขียงเท้าก็ดี ผู้สวมเขียงเท้าก็ดี ผู้สวมเขียงเท้าหุ้มส้นก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ.
-----------------------------------------------------
ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๒
[๘๖๓] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่บุคคลผู้สวมรองเท้า ...
พระอนุบัญญัติ
๒๐๗. ๖๒. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้ เจ็บไข้ สวมรองเท้า.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ผู้สวมรองเท้า ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ผู้เหยียบรองเท้าก็ดี ผู้สวมรองเท้าก็ดี ผู้สวมรองเท้าหุ้มส้นก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ.
-----------------------------------------------------
ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๓
[๘๖๔] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่บุคคลผู้นั่งในยาน ...
พระอนุบัญญัติ
๒๐๘. ๖๓. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้ เจ็บไข้ ไปในยาน.
สิกขาบทวิภังค์
ที่ชื่อว่า ยาน ได้แก่ คานหาม รถ เกวียน เตียงหาม วอ เปลหาม. อันภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้นั่งไปในยาน ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ผู้นั่งไปในยาน ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ.
-----------------------------------------------------
ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๔
[๘๖๕] สาวัตถีทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่บุคคลผู้อยู่บนที่นอน ...
พระอนุบัญญัติ
๒๐๙. ๖๔. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ ผู้เจ็บไข้ ผู้อยู่บนที่นอน.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ผู้อยู่บนที่นอน. ภิกษุใดอาศัยความไม่ เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้นอนอยู่ โดยที่สุดแม้บนพื้นดิน ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ.
-----------------------------------------------------
ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๕
[๘๖๖] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่บุคคลผู้นั่งรัดเข่า ...
พระอนุบัญญัติ
๒๑๐. ๖๕. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ ผู้เจ็บไข้นั่งรัดเข่า.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้นั่งรัดเข่า ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ แสดง ธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้นั่งรัดเข่าด้วยมือก็ดี ผู้นั่งรัดเข่าด้วยผ้าก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ.
-----------------------------------------------------
ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๖
[๘๖๗] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่บุคคลผู้โพกผ้าพัน ศีรษะ ...
พระอนุบัญญัติ
๒๑๑. ๖๖. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ ผู้เจ็บไข้พันศีรษะ.
สิกขาบทวิภังค์
ที่ชื่อว่า พันศีรษะ คือ พันไม่ให้เห็นปลายผม. อันภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้โพกผ้าพันศีรษะ ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้โพกผ้าพันศีรษะ ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ ให้เขาเปิดปลายผมจุกแล้วแสดง ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ.
-----------------------------------------------------
ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๗
[๘๖๘] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่บุคคลผู้ห่มผ้าคลุม ศีรษะ ...
พระอนุบัญญัติ
๒๑๒. ๖๗. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ ผู้เจ็บไข้คลุมศีรษะ.
สิกขาบทวิภังค์
ที่ชื่อว่า คลุมศีรษะ คือ ที่เขาเรียกกันว่าคลุมตลอดศีรษะ อันภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้คลุมศีรษะ ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้คลุมศีรษะ ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ ให้เขาเปิดผ้าคลุมศีรษะแล้วแสดง ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ.
-----------------------------------------------------
ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๘
[๘๖๙] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์อยู่ที่พื้นดินแสดงธรรมแก่บุคคลผู้นั่งอยู่ บนอาสนะ ...
พระอนุบัญญัติ
๒๑๓. ๖๘. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เรานั่งอยู่ที่พื้นดิน จักไม่แสดงธรรมแก่ คนไม่เจ็บไข้ ผู้นั่งบนอาสนะ.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุนั่งอยู่บนพื้น ไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้นั่งอยู่บนอาสนะ ภิกษุใดอาศัย ความไม่เอื้อเฟื้อ นั่งอยู่ที่พื้นดิน แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้นั่งอยู่บนอาสนะ ต้องอาบัติ ทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ.
-----------------------------------------------------
ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๙
[๘๗๐] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์นั่งอยู่บนอาสนะต่ำแสดงธรรมแก่ บุคคลผู้นั่งอยู่บนอาสนะสูง บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์นั่งอยู่บนอาสนะต่ำ จึงได้แสดงธรรมแก่บุคคลผู้นั่งอยู่บนอาสนะสูงเล่า แล้ว กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอนั่ง บนอาสนะต่ำ แสดงธรรมแก่บุคคลผู้นั่งอยู่บนอาสนะสูง จริงหรือ? พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอนั่งอยู่บน อาสนะต่ำจึงได้แสดงธรรมแก่บุคคลผู้นั่งอยู่บนอาสนะสูงเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่ เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่ เลื่อมใสแล้ว ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายดังต่อไปนี้:-
เรื่องภรรยาของบุรุษจัณฑาล
[๘๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ภรรยาของบุรุษจัณฑาลคนหนึ่งใน พระนครพาราณสีได้ตั้งครรภ์ นางได้บอกแก่สามีว่า นาย ดิฉันกำลังตั้งครรภ์ ดิฉันอยากรับ ประทานมะม่วง. สามีตอบว่า มะม่วงไม่มี เพราะไม่ใช่หน้ามะม่วง. นางกล่าวว่า ถ้าไม่ได้รับประทาน ดิฉันจักตาย. สมัยนั้น ต้นมะม่วงของหลวงมีผลไม่วาย มีอยู่ต้นหนึ่ง บุรุษจัณฑาลนั้นเดินเข้าไปที่ ต้นมะม่วงนั้น ครั้นแล้วได้ขึ้นไปแฝงอยู่บนต้นมะม่วงนั้น. พอดีพระเจ้าแผ่นดินได้เสด็จไปถึงต้น มะม่วงนั้น ครั้นแล้วประทับนั่งบนพระราชอาสน์สูง ทรงเรียนมนต์กับพราหมณ์ปุโรหิต บุรุษ จัณฑาลคิดว่า พระเจ้าแผ่นดินพระองค์นี้ ประทับนั่งบนพระราชอาสน์สูงเรียนมนต์ ชื่อว่าไม่เคารพ ธรรม และพราหมณ์คนนี้นั่งบนอาสนะต่ำ สอนมนต์แก่พระเจ้าแผ่นดินผู้ประทับนั่งบนพระราช อาสน์สูงก็ชื่อว่าไม่เคารพธรรม ส่วนเราผู้ลักมะม่วงของหลวง เพราะเหตุแห่งสตรีก็ชื่อว่าไม่เคารพ ธรรมเหมือนกัน แท้จริง การกระทำทั้งนี้ล้วนต่ำทรามทั้งนั้น ดังนี้แล้วไต่ลงมา ณ ระหว่าง พระเจ้าแผ่นดินและพราหมณ์ทั้งสองนั้นแล แล้วกล่าวคาถาขึ้นว่าดังนี้ ทั้งสองไม่รู้อรรถ ทั้งสองไม่รู้เห็นธรรม คือพราหมณ์ผู้สอนมนต์โดยไม่ เคารพธรรม และพระเจ้าแผ่นดินผู้ทรงเรียนมนต์โดยไม่เคารพธรรม. พราหมณ์นั้นกล่าวคาถาว่าดังนี้:- เพราะข้าวสุกแห่งข้าวสาลีอันขาวสะอาด ผสมกับแกงเนื้อ ข้าพเจ้าบริโภค แล้ว ฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงมิได้ประพฤติอยู่ในธรรม ที่เหล่าพระอริยะ สรรเสริญแล้ว. บุรุษจัณฑาลนั้นได้กล่าวสองคาถาว่าดังนี้:- ท่านพราหมณ์ เราติเตียนการได้ทรัพย์และการได้ยศ เพราะนั่นเป็นการ เลี้ยงชีพโดยความเป็นเหตุให้ตกต่ำ และเป็นการเลี้ยงชีพโดยทางที่ไม่ชอบ ธรรม จะประโยชน์อันใดด้วยการเลี้ยงชีพเช่นนั้น ท่านจงรีบออกไปเสียเถิด ท่านมหาพราหมณ์ แม้สัตว์ที่มีชีวิตเหล่าอื่นก็ยังหุงหากินได้ ความอาธรรม์ที่ ท่านได้ประพฤติมาแล้ว อย่าได้ทำลายท่านดุจก้อนหินทำลายหม้อน้ำฉะนั้น
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
[๘๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ในกาลครั้งนั้น พราหมณ์นั่งบนอาสนะต่ำสอนมนต์แก่ พระเจ้าแผ่นดินผู้ประทับนั่งบนพระราชอาสน์สูง ยังไม่เป็นที่พอใจของเรา ไฉนในกาลบัดนี้ จักพอใจที่ภิกษุนั่งบนอาสนะต่ำแล้วแสดงธรรมแก่คนนั่งบนอาสนะสูงเล่า การกระทำของพวก เธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชน ที่เลื่อมใสแล้ว ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระอนุบัญญัติ
๒๑๔. ๖๙. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เรานั่งบนอาสนะต่ำ จักไม่แสดง ธรรมแก่คนไม่เจ็บไข้ ผู้นั่งบนอาสนะสูง.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุผู้นั่งบนอาสนะต่ำ ไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้นั่งอยู่บนอาสนะสูง ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ นั่งบนอาสนะต่ำแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ผู้นั่งบนอาสนะสูง ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ.
-----------------------------------------------------
ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
[๘๗๓] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ยืนแสดงธรรมแก่บุคคลผู้นั่งอยู่ ...
พระอนุบัญญัติ
๒๑๕. ๗๐. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เรายืนอยู่จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่ เจ็บไข้ผู้นั่งอยู่.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุผู้ยืนอยู่ ไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้นั่งอยู่ ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ยืนแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้นั่งอยู่ ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ.
-----------------------------------------------------
ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑๑
[๘๗๔] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์เดินไปข้างหลัง แสดงธรรมแก่บุคคล ผู้เดินไปข้างหน้า ...
พระอนุบัญญัติ
๒๑๖. ๗๑. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราเดินไปข้างหลัง จักไม่แสดง ธรรมแก่คนไม่เจ็บไข้ ผู้เดินไปข้างหน้า.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุผู้เดินไปข้างหลัง ไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้เดินไปข้างหน้า ภิกษุใด อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อเดินไปข้างหลัง แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้เดินไปข้างหน้า ต้องอาบัติ ทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑๑ จบ.
-----------------------------------------------------
ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑๒
[๘๗๕] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์เดินไปนอกทาง แสดงธรรมแก่บุคคล ผู้เดินไปในทาง ...
พระอนุบัญญัติ
๒๑๗. ๗๒. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราเดินไปนอกทาง จักไม่แสดงธรรม แก่คนไม่เจ็บไข้ ผู้ไปอยู่ในทาง.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุผู้เดินไปนอกทาง ไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้เดินไปในทาง ภิกษุใด อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อเดินไปนอกทาง แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้เดินไปในทาง ต้องอาบัติ ทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑๒ จบ.
ธรรมเทศนาปฏิสังยุต ๑๖ สิกขาบท จบ.
-----------------------------------------------------
ปกิณกะ ๓ สิกขาบท
ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑๓
[๘๗๖] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ยืนถ่ายอุจจาระบ้าง ถ่ายปัสสาวะ บ้าง ...
พระอนุบัญญัติ
๒๑๘. ๗๓. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราไม่อาพาธ จักไม่ยืนถ่ายอุจจาระ หรือถ่ายปัสสาวะ.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุยืนอยู่ มิใช่ผู้อาพาธ ไม่พึงถ่ายอุจจาระ หรือถ่ายปัสสาวะ ภิกษุใดอาศัยความ ไม่เอื้อเฟื้อ มิใช่ผู้อาพาธ ยืนถ่ายอุจจาระก็ดี ยืนถ่ายปัสสาวะก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑๓ จบ.
-----------------------------------------------------
ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑๔
[๘๗๗] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ถ่ายอุจจาระบ้าง ถ่ายปัสสาวะบ้าง บ้วนเขฬะบ้าง ลงบนของสดเขียว ...
พระอนุบัญญัติ
๒๑๙. ๗๔. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราไม่อาพาธ จักไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะ บนของสดเขียว.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุมิใช่ผู้อาพาธ ไม่พึงถ่ายอุจจาระ หรือถ่ายปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะ ลงบนของ สดเขียว ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ มิใช่ผู้อาพาธ ถ่ายอุจจาระก็ดี ถ่ายปัสสาวะก็ดี บ้วนเขฬะก็ดี ลงบนของสดเขียว ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ ของที่ถ่ายลงในที่ปราศจากของสดเขียว แล้วไหลไปรดของสดเขียว ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑๔ จบ.
-----------------------------------------------------
ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑๕
[๘๗๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ถ่ายอุจจาระบ้าง ถ่ายปัสสาวะ บ้าง บ้วนเขฬะบ้าง ลงในน้ำ ชาวบ้านพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร จึงได้ถ่ายอุจจาระบ้าง ถ่ายปัสสาวะบ้าง บ้วนเขฬะบ้าง ลงในน้ำ เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า ภิกษุทั้งหลายได้ยินชาวบ้านพวกนั้นพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์ จึงได้ถ่ายอุจจาระบ้าง ถ่ายปัสสาวะบ้าง บ้วนเขฬะบ้าง ลงในน้ำเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาค.
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอถ่าย อุจจาระบ้าง ถ่ายปัสสาวะบ้าง บ้วนเขฬะบ้าง ลงในน้ำ จริงหรือ? พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงได้ถ่าย อุจจาระบ้าง ถ่ายปัสสาวะบ้าง บ้วนเขฬะบ้าง ลงในน้ำเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่ เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใส แล้ว ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๒๒๐. ๗๕. ก. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะ ในน้ำ. ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการ ฉะนี้. [๘๗๙] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุอาพาธทั้งหลาย รังเกียจอยู่ที่จะถ่ายอุจจาระบ้าง ถ่าย ปัสสาวะบ้าง บ้วนเขฬะบ้าง ลงในน้ำ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุ แรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้อาพาธ ถ่ายอุจจาระก็ดี ถ่ายปัสสาวะก็ดี บ้วนเขฬะก็ดี ลงในน้ำได้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระอนุบัญญัติ
๒๒๐. ๗๕. ข. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราไม่อาพาธ จักไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะ ในน้ำ.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุมิใช่ผู้อาพาธ ไม่พึงถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะ ลงในน้ำ ภิกษุใด อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ มิใช่ผู้อาพาธ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะ ลงในน้ำ ต้องอาบัติ ทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ ของที่ถ่ายไว้บนบกแล้วไหลลงสู่น้ำ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑๕ จบ.
วรรคที่ ๗ จบ.
ปกิณกะ ๓ สิกขาบท จบ.
-----------------------------------------------------
บทสรุป
ท่านทั้งหลาย ธรรมคือเสขิยะ ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้วแล ข้าพเจ้าขอถามท่านทั้งหลาย ในธรรมคือเสขิยะเหล่านั้นว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ? ข้าพเจ้าขอถามแม้ครั้งที่ สองว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ? ข้าพเจ้าขอถามแม้ครั้งที่สามว่า ท่านทั้งหลายเป็น ผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ? ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้ว ในธรรมคือเสขิยะเหล่านี้ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้แล.
เสขิยกัณฑ์ จบ.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒ บรรทัดที่ ๑๖๐๙๔-๑๖๓๙๒ หน้าที่ ๗๐๑-๗๑๔. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=16094&Z=16392&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=2&siri=141              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=862              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [862-879] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=2&item=862&items=18              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=10574              The Pali Tipitaka in Roman :- [862-879] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=2&item=862&items=18              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=10574              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ https://84000.org/tipitaka/read/?index_2              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk61 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk62 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk63 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk64 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk65 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk66 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk67 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk68 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk69 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk70 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk71 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk72 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk73 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk74 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk75

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :