ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒
สิกขาบทวิภังค์
[๖๗] บทว่า อนึ่ง ... เฉพาะภิกษุ ความว่า เพื่อประโยชน์ของภิกษุคือทำภิกษุให้ เป็นอารมณ์แล้วใคร่จะให้ภิกษุครอง บทว่า สองคน คือสองคนด้วยกัน. ที่ชื่อว่า ผู้มิให้ญาติ คือ ไม่ใช่คนเนื่องถึงกัน ทางมารดาก็ดี ทางบิดาก็ดี ตลอด ๗ ชั่วอายุของบุรพชนก. ที่ชื่อว่า พ่อเจ้าเรือน ได้แก่บุรุษผู้ครอบครองเรือน. ที่ชื่อว่า แม่เจ้าเรือน ได้แก่สตรีผู้ครอบครองเรือน. ที่ชื่อว่า ทรัพย์สำหรับจ่ายจีวร ได้แก่ เงิน ทอง แก้วมณี แก้วมุกดา แก้วลาย แก้วผลึก ผ้า หรือฝ้าย. บทว่า ด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรเหล่านี้ คือ ด้วยทรัพย์ที่เขาจัดหาไว้เฉพาะ. บทว่า จ่าย คือ แลกเปลี่ยน. บทว่า ให้ครอง คือ จักถวาย. คำว่า ถ้าภิกษุนั้น ... ในสำนักของเขา ได้แก่ ภิกษุที่เขาทั้งสองคนตระเตรียมทรัพย์ สำหรับจ่ายจีวรไว้ถวายเฉพาะ. บทว่า เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน คือ เป็นผู้อันเขาไม่ได้บอกไว้ก่อนว่า ท่านเจ้าข้า ท่านจะต้องการจีวรเช่นไร ผมจักจ่ายจีวรเช่นไรถวายท่าน. บทว่า เข้าไปหาแล้ว คือ ไปถึงเรือนแล้ว เข้าไปหาในที่แห่งใดแห่งหนึ่ง. บทว่า ถึงการกำหนดในจีวร คือ กำหนดว่า ขอให้ยาว ขอให้กว้าง ขอให้เนื้อแน่น หรือขอให้เนื้อละเอียด. บทว่า ด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรเหล่านี้ คือ ด้วยทรัพย์ที่เขาจัดหาไว้เฉพาะ. บทว่า เช่นนั้นหรือเช่นนี้ คือ ยาวหรือกว้าง เนื้อแน่นหรือเนื้อละเอียด. บทว่า จ่าย คือ แลกเปลี่ยน. บทว่า ยังรูปให้ครอง คือ จงให้. บทว่า ทั้งสองคนรวมกัน คือ รวมทรัพย์ทั้งสองรายเข้าเป็นรายเดียวกัน. บทว่า ถือเอาความเป็นผู้ใคร่ในจีวรดี คือมีความประสงค์ผ้าที่ดี ต้องการผ้าที่มี ราคาแพง เขาจ่ายจีวร ยาวก็ดี กว้างก็ดี เนื้อแน่นก็ดี เนื้อละเอียดก็ดี ตามคำของเธอเป็นทุกกฏใน ประโยคที่เขาจ่าย, เป็นนิสสัคคีย์ด้วยได้จีวรมา. ต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล ภิกษุพึงเสียสละจีวรนั้น อย่างนี้:-
วิธีเสียสละ
เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระหย่งประนมมือกล่าวอย่างนี้ว่า:- ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน ข้าพเจ้าเข้าไป หาเจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติทั้งหลาย ถึงการกำหนดในจีวรเป็นของจำจะสละ, ข้าพเจ้า สละจีวรผืนนี้แก่สงฆ์. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละ ให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:- ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า. จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้เป็นของจำ จะสละ, เธอสละแล้วแก่สงฆ์. ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว, สงฆ์พึงให้จีวรผืน นี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.ฯ
เสียสละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่ พรรษากว่า นั่งกระหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า:- ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน, ข้าพเจ้าเข้า ไปหาเจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติทั้งหลาย ถึงการกำหนดในจีวรเป็นของจำจะสละ, ข้าพเจ้า สละจีวรผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสีย สละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:- ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า. จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ, เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย. ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว, ท่าน ทั้งหลายพึงให้จีวรผืนนี้ แก่ภิกษุชื่อนี้.ฯ
เสียสละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า:- ท่าน จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน, ข้าพเจ้าเข้าไปหาเจ้า เรือนผู้มิใช่ญาติทั้งหลาย ถึงการกำหนดในจีวร เป็นของจำจะสละ, ข้าพเจ้าสละจีวร ผืนนี้แก่ท่าน. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละ แล้วให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้จีวรผืนนี้แก่ท่าน ดังนี้.ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒ บรรทัดที่ ๑๔๐๒-๑๔๖๒ หน้าที่ ๕๙-๖๑. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=1402&Z=1462&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=2&siri=9              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=66              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [67] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=2&item=67&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=4241              The Pali Tipitaka in Roman :- [67] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=2&item=67&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=4241              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ https://84000.org/tipitaka/read/?index_2              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-np9/en/brahmali

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :