ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
             [๑๐๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน
บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเจริญอินทรีย์ ๕ กระทำให้มาก ซึ่งอินทรีย์ ๕ ย่อมเป็นผู้น้อม
ไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.
             [๑๐๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเจริญอินทรีย์ ๕ กระทำให้มากซึ่งอินทรีย์ ๕
อย่างไรเล่า ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน? ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัทธินทรีย์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในการสละ ย่อมเจริญวิริยินทรีย์ ... สตินทรีย์ ... สมาธินทรีย์ ... ปัญญินทรีย์ อันอาศัยวิเวก
อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญอินทรีย์ ๕ กระทำ
ให้มากซึ่งอินทรีย์ ๕ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน.
             [๑๐๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ นี้ สังโยชน์อันเป็น
ส่วนเบื้องบน ๕ เป็นไฉน? คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ นี้แล.
             [๑๐๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ อันภิกษุพึงเจริญเพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ นี้แล อินทรีย์ ๕ เป็นไฉน? ดูกร-
*ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัทธินทรีย์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญปัญญินทรีย์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อม
ไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ นี้แล (อินทรีย์ที่อาศัยวิเวกเป็นต้น
พึงขยายความออกไปเหมือนมรรคสังยุต)
             [๑๐๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งลงสู่ทิศปราจีน บ่า
ไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเจริญอินทรีย์ ๕ กระทำให้มากซึ่งอินทรีย์ ๕ ย่อมเป็นผู้น้อม
ไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๖๒.

[๑๐๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเจริญอินทรีย์ ๕ กระทำให้มากซึ่งอินทรีย์ ๕ อย่างไรเล่า ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน? ภิกษุในธรรม วินัยนี้ ย่อมเจริญสัทธินทรีย์ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัด โมหะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญปัญญินทรีย์ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญอินทรีย์ ๕ กระทำให้มากซึ่งอินทรีย์ ๕ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน. [๑๐๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้ สังโยชน์อัน เป็นส่วนเบื้องบน ๕ เป็นไฉน? คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา ดูกร- *ภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้แล. [๑๐๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้แล อินทรีย์ ๕ เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัทธินทรีย์ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญปัญญินทรีย์ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะ เป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้แล (อินทรียสังยุตมีส่วนเหมือนในมรรคสังยุต)
จบ อินทรียสังยุต
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สัญโญชนาสูตร ๒. อนุสยสูตร ๓. อัทธานสูตร ๔. อาสวักขยสูตร ๕. ผลสูตรที่ ๑ ๖. ผลสูตรที่ ๒ ๗. สัตตานิสังสสูตร ๘. รุกขสูตรที่ ๑ ๙. รุกขสูตรที่ ๒ ๑๐. รุกขสูตรที่ ๓ ๑๑. รุกขสูตรที่ ๔.
จบ อินทรียสังยุต
-----------------------------------------------------

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๖๓.

๕. สัมมัปปธานสังยุต
ว่าด้วยสัมมัปปธาน ๔

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๖๒๖๐-๖๓๐๗ หน้าที่ ๒๖๑-๒๖๓. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=6260&Z=6307&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=19&siri=252              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1082              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [1082-1090] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=19&item=1082&items=9              The Pali Tipitaka in Roman :- [1082-1090] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=19&item=1082&items=9              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ https://84000.org/tipitaka/read/?index_19              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/sn48.71-82/en/sujato https://suttacentral.net/sn48.83-92/en/sujato https://suttacentral.net/sn48.93-104/en/sujato https://suttacentral.net/sn48.105-114/en/sujato https://suttacentral.net/sn48.115-124/en/sujato https://suttacentral.net/sn48.125-136/en/sujato https://suttacentral.net/sn48.137-146/en/sujato https://suttacentral.net/sn48.147-158/en/sujato https://suttacentral.net/sn48.159-168/en/sujato https://suttacentral.net/sn48.169-178/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :