ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
สูกรขาตาสูตร
ธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะ
[๑๐๕๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ถ้ำสูกรขาตา เขาคิชฌกูฏ ใกล้ พระนครราชคฤห์ ณ ที่นั้น พระองค์ตรัสเรียกท่านพระสารีบุตรแล้วตรัสถามว่า ดูกรสารีบุตร ภิกษุผู้ขีณาสพเห็นอำนาจประโยชน์อะไรหนอ จึงประพฤตินอบน้อมอย่างยิ่งในตถาคต หรือใน ศาสนาของตถาคต. [๑๐๕๓] ท่านสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุผู้ขีณาสพ เห็นธรรม เป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม จึงประพฤตินอบน้อมอย่างยิ่งในพระตถาคต หรือในศาสนา ของพระตถาคต. [๑๐๕๔] พ. ถูกละๆ สารีบุตร ภิกษุผู้ขีณาสพ เห็นธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะ อันยอดเยี่ยม จึงประพฤตินอบน้อม ในตถาคต หรือในศาสนาของตถาคต [๑๐๕๕] ดูกรสารีบุตร ก็ธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะ อันยอดเยี่ยม ที่ภิกษุขีณาสพ เห็นอยู่ จึงประพฤตินอบน้อมอย่างยิ่ง ในตถาคต หรือในศาสนาของตถาคตนั้น เป็นไฉน? [๑๐๕๖] สา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุผู้ขีณาสพในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัทธินทรีย์ อันให้ถึงความสงบ ให้ถึงความตรัสรู้ ย่อมเจริญวิริยินทรีย์ ... สตินทรีย์ ... สมาธินทรีย์ ... ปัญญินทรีย์ อันให้ถึงความสงบ ให้ถึงความตรัสรู้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมเป็นแดนเกษม จากโยคะอันยอดเยี่ยมนี้แล ที่ภิกษุผู้ขีณาสพเห็นอยู่ จึงประพฤตินอบน้อมอย่างยิ่งในตถาคต หรือในศาสนาของพระตถาคต [๑๐๕๗] พ. ถูกละๆ สารีบุตร ธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะ อันยอดเยี่ยมนี้แล ที่ภิกษุผู้ขีณาสพเห็นอยู่ จึงประพฤตินอบน้อมอย่างยิ่งในตถาคต หรือในศาสนาของตถาคต. [๑๐๕๘] ดูกรสารีบุตร การนอบน้อมอย่างยิ่ง ที่ภิกษุผู้ขีณาสพประพฤติในตถาคต หรือในศาสนาของตถาคต เป็นไฉน? [๑๐๕๙] สา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุผู้ขีณาสพในธรรมวินัยนี้ มีความเคารพ ยำเกรงในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในการศึกษา ในสมาธิ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การนอบน้อมอย่างยิ่งแล ที่ภิกษุผู้ขีณาสพประพฤติ ในพระตถาคต หรือในศาสนาของตถาคต. [๑๐๖๐] พ. ถูกละๆ สารีบุตร การนอบน้อมอย่างยิ่งนี้แล ที่ภิกษุผู้ขีณาสพประพฤติ ในตถาคต หรือในศาสนาของตถาคต.
จบ สูตรที่ ๘

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๖๐๘๙-๖๑๑๖ หน้าที่ ๒๕๓-๒๕๔. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=6089&Z=6116&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=19&siri=239              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1052              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [1052-1060] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=19&item=1052&items=9              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=7110              The Pali Tipitaka in Roman :- [1052-1060] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=19&item=1052&items=9              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=7110              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ https://84000.org/tipitaka/read/?index_19              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/sn48.58/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :