ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
ผัสสายตนสูตรที่ ๓
[๘๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ไม่ทราบชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่ง ผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง พรหมจรรย์อันเธอไม่อยู่จบแล้ว เธอเป็นผู้ไกล จากธรรมวินัยนี้ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นผู้ฉิบหายแล้วในธรรม วินัยนี้ เพราะข้าพระองค์ไม่ทราบชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบาย เครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง ฯ พ. ดูกรภิกษุ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือ ไม่เที่ยง ฯ ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในจักษุ แม้ในหู แม้ในจมูก แม้ในลิ้น แม้ในกาย แม้ในใจ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณ หยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
จบสูตรที่ ๑๑
จบมิคชาลวรรคที่ ๒
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. มิคชาลสูตรที่ ๑ ๒. มิคชาลสูตรที่ ๒ ๓. สมิทธิสูตรที่ ๑ ๔. สมิทธิสูตรที่ ๒ ๕. สมิทธิสูตรที่ ๓ ๖. สมิทธิสูตรที่ ๔ ๗. อุปเสนสูตร ๘. อุปวาณสูตร ๙. ผัสสายตนสูตรที่ ๑ ๑๐. ผัสสายตนสูตรที่ ๒ ๑๑. ผัสสายตนสูตรที่ ๓ ฯ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ บรรทัดที่ ๙๙๐-๑๐๒๖ หน้าที่ ๔๔-๔๕. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=18&A=990&Z=1026&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=18&siri=53              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=87              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [87] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=18&item=87&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=381              The Pali Tipitaka in Roman :- [87] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=18&item=87&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=381              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ https://84000.org/tipitaka/read/?index_18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i066-e.php#sutta11 https://suttacentral.net/sn35.73/en/sujato https://suttacentral.net/sn35.73/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :