ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
อสังขตสังยุตต์ วรรคที่ ๒
[๖๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสังขตะ และทางที่จะให้ถึง อสังขตะแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อสังขตะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่าอสังขตะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน คือสมถะ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ ถึงอสังขตะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังขตะและทางที่จะให้ถึงอสังขตะ เราแสดงแล้ว แก่เธอทั้งหลาย ดังนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย กิจใดอันศาสดาพึงแสวงหาประโยชน์ เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์ พึงทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้นอันเราอาศัยความอนุเคราะห์ทำ แล้วแก่เธอทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเพ่ง อย่าประมาท อย่าได้เป็นผู้เดือดร้อนในภายหลังเลย นี้เป็น อนุศาสนีของเรา เพื่อเธอทั้งหลาย ฯ [๖๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสังขตะและทางที่จะให้ถึง อสังขตะแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อสังขตะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่า อสังขตะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน คือ วิปัสสนา นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังขตะและทางที่จะให้ ถึงอสังขตะ เราแสดงแล้วแก่เธอทั้งหลาย ดังนี้แล ฯลฯ นี้เป็นอนุศาสนีของ เราเพื่อเธอทั้งหลาย ฯ [๖๘๗] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน คือ สมาธิมีทั้งวิตกวิจาร นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ [๖๘๘] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน คือ สมาธิไม่มีวิตก มีแต่วิจาร นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ [๖๘๙] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน คือ สมาธิไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ [๖๙๐] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน คือ สุญญตสมาธิ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ [๖๙๑] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน คือ อนิมิตตสมาธิ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ [๖๙๒] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน คือ อัปปณิหิตสมาธิ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ [๖๙๓] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ นี้ เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ [๖๙๔] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสใน โลกเสียได้ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ [๖๙๕] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ นี้ เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ [๖๙๖] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก เสียได้ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ [๖๙๗] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังความพอใจให้เกิดขึ้น พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อยังธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ [๖๙๘] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังความพอใจให้เกิดขึ้น พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อละธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้น แล้ว นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ [๖๙๙] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังความพอใจให้เกิดขึ้น พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อยังธรรมอันเป็นกุศลที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ [๗๐๐] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังความพอใจให้เกิดขึ้น พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อความตั้งอยู่ ความไม่เลอะเลือน ความเพิ่มพูน ความไพบูลย์ ความเจริญ ความบริบูรณ์ แห่งธรรมอันเป็นกุศล ที่เกิดขึ้นแล้ว นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ [๗๐๑] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิ และปธานสังขาร นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ [๗๐๒] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิ และปธานสังขาร นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ [๗๐๓] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิ และปธานสังขาร นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ [๗๐๔] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิมังสาสมาธิ และปธานสังขาร นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ [๗๐๕] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัทธินทรีย์ อันอาศัยวิเวก อาศัย วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ [๗๐๖] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญวิริยินทรีย์อันอาศัยวิเวก อาศัย วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ [๗๐๗] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสตินทรีย์อันอาศัยวิเวก อาศัย วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ [๗๐๘] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสมาธินทรีย์อันอาศัยวิเวก อาศัย วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ [๗๐๙] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญปัญญินทรีย์อันอาศัยวิเวก อาศัย วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ [๗๑๐] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัทธาพละอันอาศัยวิเวก อาศัย วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ [๗๑๑] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญวิริยพละอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ [๗๑๒] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกร- *ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติพละอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ [๗๑๓] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกร- *ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสมาธิพละอันอาศัยวิเวก อาศัย วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ [๗๑๔] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกร- *ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญปัญญาพละอันอาศัยวิเวก อาศัย วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ [๗๑๕] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกร- *ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัย วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ [๗๑๖] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญธรรม- *วิจยสัมโพชฌงค์ ... วิริยสัมโพชฌงค์ ... ปีติสัมโพชฌงค์ ... ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ... สมาธิสัมโพชฌงค์... อุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ [๗๑๗] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกร- *ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ [๗๑๘] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกร- *ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาสังกัปปะ ... สัมมาวาจา ... สัมมากัมมันตะ ... สัมมาอาชีวะ ... สัมมาวายามะ ... สัมมาสติอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึง อสังขตะ ... ฯ [๗๑๙] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัย วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังขตะและทางที่จะให้ถึงอสังขตะ เราแสดงแล้วแก่เธอ ทั้งหลาย ดังนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย กิจใดอันศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์ พึงกระทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้นอันเราอาศัยความอนุเคราะห์ กระทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเพ่ง อย่าประมาท อย่าได้เป็นผู้มีความเดือดร้อน ในภายหลังเลย นี้เป็นอนุศาสนีของเราเพื่อเธอทั้งหลาย ฯ [๗๒๐] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงที่สุดและทางที่จะให้ถึงที่สุด แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ที่สุดเป็นไฉน ฯลฯ [๗๒๑] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันหาอาสวะมิได้ และ ทางที่จะให้ถึงธรรมอันหาอาสวะมิได้แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ก็ธรรมอันหาอาสวะมิได้เป็นไฉน ฯลฯ [๗๒๒] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่จริงแล และทางที่ จะให้ถึงธรรมที่จริงแท้แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่จริงแท้เป็นไฉน ฯลฯ [๗๒๓] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันเป็นฝั่ง และทาง ที่จะให้ถึงธรรมอันเป็นฝั่งแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันเป็นฝั่งเป็นไฉน ฯลฯ [๗๒๔] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันละเอียด และทาง ที่จะให้ถึงธรรมอันละเอียดแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันละเอียดเป็นไฉน ฯลฯ [๗๒๕] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันเห็นได้แสนยาก และทางที่จะให้ถึงธรรมอันเห็นได้แสนยากแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันเห็นได้แสนยากเป็นไฉน ฯลฯ [๗๒๖] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันไม่คร่ำคร่า และ ทางที่จะให้ถึงธรรมอันไม่คร่ำคร่าแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ก็ธรรมอันไม่คร่ำคร่าเป็นไฉน ฯลฯ [๗๒๗] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันยั่งยืน และทางที่ จะให้ถึงธรรมอันยั่งยืนแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันยั่งยืนเป็นไฉน ฯลฯ [๗๒๘] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันไม่ทรุดโทรม และ ทางที่จะให้ถึงธรรมอันไม่ทรุดโทรมแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ก็ธรรมอันไม่ทรุดโทรมเป็นไฉน ฯลฯ [๗๒๙] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันใครๆ ไม่พึงเห็น ด้วยจักษุวิญญาณ และทางที่จะให้ถึงธรรมอันใครๆ ไม่พึงเห็นด้วยจักษุวิญญาณ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันใครๆ ไม่พึง เห็นด้วยจักษุวิญญาณเป็นไฉน ฯลฯ [๗๓๐] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันไม่มีกิเลสเครื่อง ให้เนิ่นช้า และทางที่จะให้ถึงธรรมอันไม่มีกิเลสเครื่องให้เนิ่นช้าแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันไม่มีกิเลสเครื่องให้เนิ่นช้า เป็นไฉน ฯลฯ [๗๓๑] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันสงบ และทางที่จะ ให้ถึงธรรมอันสงบแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรม อันสงบเป็นไฉน ฯลฯ [๗๓๒] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันไม่ตาย และทาง ที่จะให้ถึงธรรมอันไม่ตายแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันไม่ตายเป็นไฉน ฯลฯ [๗๓๓] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันประณีต และทาง ที่จะให้ถึงธรรมอันประณีตแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันประณีตเป็นไฉน ฯลฯ [๗๓๔] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันเยือกเย็น และ ทางที่จะให้ถึงธรรมอันเยือกเย็นแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ก็ธรรมอันเยือกเย็นเป็นไฉน ฯลฯ [๗๓๕] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันปลอดภัย และ ทางที่จะให้ถึงธรรมอันปลอดภัยแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ก็ธรรมอันปลอดภัยเป็นไฉน ฯลฯ [๗๓๖] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา และ ทางที่จะให้ถึงธรรมเป็นที่สิ้นตัณหาแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ก็ธรรมเป็นที่สิ้นตัณหาเป็นไฉน ฯลฯ [๗๓๗] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันอัศจรรย์ และ ทางที่จะให้ถึงธรรมอันอัศจรรย์แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ก็ธรรมอันอัศจรรย์เป็นไฉน ฯลฯ [๗๓๘] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันไม่เคยมีเคยเป็น และทางที่จะให้ถึงธรรมอันไม่เคยมีเคยเป็นแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันไม่เคยมีเคยเป็นเป็นไฉน ฯลฯ [๗๓๙] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความไม่มีทุกข์ และทางที่ จะให้ถึงความไม่มีทุกข์แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความไม่มีทุกข์เป็นไฉน ฯลฯ [๗๔๐] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันหาทุกข์มิได้ และ ทางที่จะให้ถึงธรรมอันหาทุกข์มิได้แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ก็ธรรมอันหาทุกข์มิได้เป็นไฉน ฯลฯ [๗๔๑] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงนิพพาน และทางที่จะให้ ถึงนิพพานแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็นิพพาน เป็นไฉน ฯลฯ [๗๔๒] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันหาความเบียดเบียน มิได้ และทางที่จะให้ถึงธรรมอันหาความเบียดเบียนมิได้แก่เธอทั้งหลาย เธอ ทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันหาความเบียดเบียนมิได้เป็นไฉน ฯลฯ [๗๔๓] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันปราศจากความ กำหนัด และทางที่จะให้ถึงธรรมอันปราศจากความกำหนัดแก่เธอทั้งหลาย เธอ ทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันปราศจากความกำหนัดเป็นไฉน ฯลฯ [๗๔๔] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความบริสุทธิ์ และทางที่ จะให้ถึงความบริสุทธิ์แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความบริสุทธิ์เป็นไฉน ฯลฯ [๗๔๕] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความพ้น และทางที่จะให้ ถึงความพ้นแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความพ้น เป็นไฉน ฯลฯ [๗๔๖] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันหาความอาลัยมิได้ และทางที่จะให้ถึงธรรมอันหาความอาลัยมิได้แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันหาความอาลัยมิได้เป็นไฉน ฯลฯ [๗๔๗] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจะแสดงที่พึ่ง และทางที่จะให้ถึง ที่พึ่งแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ที่พึ่งเป็นไฉน ฯลฯ [๗๔๘] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงที่เร้น และทางที่จะให้ถึง ที่เร้นแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ที่เร้นเป็นไฉน ฯลฯ [๗๔๙] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงที่ต้านทาน และทางที่จะให้ ถึงที่ต้านทานแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ที่ต้านทาน เป็นไฉน ฯลฯ [๗๕๐] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสรณะ และทางที่จะให้ถึง สรณะแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สรณะ เป็นไฉน ฯลฯ [๗๕๑] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า และทางที่จะให้ถึงธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้าแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้าเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความ สิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่า ธรรมเป็นที่ไปใน เบื้องหน้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้าเป็นไฉน ทางที่จะให้ถึงธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า คือ กายคตาสติ นี้เรียกว่า ทางที่จะให้ ถึงธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า และทางที่จะให้ถึงธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า เราแสดงแล้วแก่เธอทั้งหลาย ดังนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย กิจใดอันศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์ พึงทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั่นอันเราอาศัยความอนุเคราะห์ ทำแล้ว แก่เธอทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเพ่ง อย่าประมาท อย่าได้เป็นผู้มีความเดือดร้อนในภายหลังเลย นี้เป็นอนุศาสนีของเราเพื่อเธอทั้งหลาย (พึงขยายความให้พิสดารเหมือนอย่าง อสังขตะ)
จบวรรคที่ ๒
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อสังขตสูตร ๒. อันตสูตร ๓. อนาสวสูตร ๔. สัจจสูตร ๕. ปารสูตร ๖. นิปุณสูตร ๗. สุทุทฺทสสูตร ๘. อชัชชรสูตร ๙. ธุวสูตร ๑๐. อปโลกินสูตร ๑๑. อนิทัสสนสูตร ๑๒. นิปปปัญจ- *สูตร ๑๓. สันตสูตร ๑๔. อมตสูตร ๑๕. ปณีตสูตร ๑๖. สิวสูตร ๑๗. เขมสูตร ๑๘. ตัณหักขยสูตร ๑๙. อัจฉริยสูตร ๒๐. อัพภุตสูตร ๒๑. อนีติกสูตร ๒๒. อนีติกธรรมสูตร ๒๓. นิพพานสูตร ๒๔. อัพยา- *ปัชฌสูตร ๒๕. วิราคสูตร ๒๖. สุทธิสูตร ๒๗. มุตติสูตร ๒๘. อนาลยสูตร ๒๙. ทีปสูตร ๓๐. เลณสูตร ๓๑. ตาณสูตร ๓๒. สรณสูตร ๓๓. ปรายนสูตร ฯ
จบอสังขตสังยุตต์
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ บรรทัดที่ ๙๐๗๙-๙๓๒๗ หน้าที่ ๓๙๒-๔๐๒. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=18&A=9079&Z=9327&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=18&siri=281              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=685              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [685-751] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=18&item=685&items=67              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=3794              The Pali Tipitaka in Roman :- [685-751] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=18&item=685&items=67              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=3794              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ https://84000.org/tipitaka/read/?index_18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i685-e.php# https://suttacentral.net/sn43.12/en/sujato https://suttacentral.net/sn43.12/en/bodhi https://suttacentral.net/sn43.13/en/sujato https://suttacentral.net/sn43.13/en/bodhi https://suttacentral.net/sn43.43/en/sujato https://suttacentral.net/sn43.43/en/bodhi https://suttacentral.net/sn43.44/en/sujato https://suttacentral.net/sn43.44/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :