ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
ยวกลาปิสูตร
[๓๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฟ่อนข้าวเหนียวบุคคลกองไว้ในหนทางใหญ่ ๔ แพร่ง ทีนั้นบุรุษ ๖ คนถือไม้คานมา บุรุษเหล่านั้นพึงฟาดฟ่อนข้าวเหนียวด้วย ไม้คาน ๖ อัน ฟ่อนข้าวเหนียวนั้นถูกบุรุษเหล่านั้นฟาดกระหน่ำอยู่ด้วยไม้คาน ๖ อันอย่างนี้แล ทีนั้นบุรุษคนที่ ๗ ถือไม้คานมาฟาดฟ่อนข้าวเหนียวนั้นด้วยไม้คาน อันที่ ๗ ฟ่อนข้าวเหนียวนั้นถูกบุรุษฟาดกระหน่ำอยู่ด้วยไม้คานอันที่ ๗ อย่างนี้แล แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้ว ก็ฉันนั้นแล ถูกรูปอัน เป็นที่พอใจและไม่เป็นที่พอใจกระทบจักษุ ฯลฯ ถูกธรรมารมณ์อันเป็นที่พอใจและ ไม่เป็นที่พอใจกระทบใจ ถ้าว่าปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วนั้น ย่อมคิดเพื่อเกิดต่อไป ปุถุชนนั้นเป็นโมฆบุรุษ เป็นผู้ถูกอายตนะกระทบกระหน่ำแล้ว เหมือนฟ่อนข้าว เหนียวถูกบุรุษฟาดกระหน่ำด้วยไม้คานอันที่ ๗ ฉะนั้นแล ฯ
จบสูตรที่ ๑๑
เทวาสุรสังคามสูตร
[๓๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว สงครามเทวดากับอสูร ได้ประชิดกันแล้ว ครั้งนั้นแล ท้าวเวปจิตติจอมอสูรตรัสเรียกอสูรทั้งหลายว่า ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลายว่า ถ้าเมื่อสงครามเทวดากับอสูรประชิดกันแล้ว พวก อสูรพึงชนะ พวกเทวดาพึงปราชัยไซร้ เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายพึงจองจำ ท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทวดานั้นด้วยเครื่องจองจำ ๕ ประการ แล้วพึงนำมายังอสูรบุรี ในสำนักของเรา ฝ่ายท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทวดา ก็ได้ตรัสเรียกเทวดาทั้งหลาย ผู้อยู่ในชั้นดาวดึงส์มาว่า ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ถ้าเมื่อสงครามเทวดากับอสูร ประชิดกันแล้ว พวกเทวดาพึงชนะ พวกอสูรพึงปราชัยไซร้ เพราะฉะนั้น ท่าน ทั้งหลายพึงจองจำท้าวเวปจิตติจอมอสูรนั่นด้วยเครื่องจองจำ ๕ ประการ แล้วพึงนำ มายังเทวสภาชื่อสุธรรมา ในสำนักของเรา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ในสงครามนั้น พวกเทวดาชนะ ทีนั้นแล เทวดาทั้งหลายผู้อยู่ในชั้นดาวดึงส์ จองจำท้าวเวปจิตติ จอมอสูรด้วยเครื่องจองจำ ๕ ประการ แล้วนำมายังเทวสภาชื่อสุธรรมา ในสำนัก ของท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทวดา ฯ [๓๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า ท้าวเวปจิตติจอมอสูรถูกจองจำด้วย เครื่องจองจำ ๕ ประการ อยู่ที่ประตูในเทวสภาชื่อสุธรรมานั้น ก็ในกาลใดแล ท้าว เวปจิตติจอมอสูรดำริอย่างนี้ว่าเทวดาทั้งหลายตั้งอยู่ในธรรมแล อสูรทั้งหลายไม่ตั้ง อยู่ในธรรม บัดนี้เราจะไปเทพนคร ในกาลนั้น ท้าวเวปจิตติจอมอสูรย่อมพิจารณา เห็นตนพ้นจากเครื่องจองจำ ๕ ประการ และก็ย่อมเป็นผู้อิ่มเอิบพรั่งพร้อม บำเรอ อยู่ด้วยกามคุณ ๕ อันเป็นทิพย์ เมื่อใดแล ท้าวเวปจิตติจอมอสูรดำริอย่างนี้ว่า อสูรทั้งหลายตั้งอยู่ในธรรมแล เทวดาทั้งหลายไม่ตั้งอยู่ในธรรม บัดนี้เราจักไป อสูรบุรี ในที่นั้นแล เมื่อนั้น ท้าวเวปจิตติจอมอสูรพิจารณาเห็นตนถูกจองจำด้วย เครื่องจองจำ ๕ ประการ และย่อมเสื่อมจากกามคุณ ๕ อันเป็นทิพย์ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เครื่องจองจำของท้าวเวปจิตติจอมอสูรละเอียดอย่างนี้แล บุคคลผู้อัน มารผูกแล้ว สำคัญอยู่ซึ่งเครื่องผูกแห่งมารว่า ละเอียดกว่าเครื่องจองจำของท้าว เวปจิตติจอมอสูรนั้น บุคคลไม่สำคัญเครื่องจองจำของมารว่าละเอียดกว่านั้น ย่อม พ้นจากมารผู้มีใจบาป ฯ [๓๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสำคัญด้วยตัณหา ท่านกล่าวด้วยบทว่า อสฺมิ (เราเป็น) ความสำคัญด้วยทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อยมหมสฺมิ (นี้เป็น เรา) ความสำคัญด้วยสัสสตทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า ภวิสฺสํ (เราจักเป็น) ความ สำคัญด้วยอุจเฉททิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า น ภวิสฺสํ (เราจักไม่เป็น) ความสำคัญ ด้วยสัสสตทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า รูปี ภวิสฺสํ (เราจักมีรูป) ความสำคัญด้วย อุจเฉททิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อรูปี ภวิสฺสํ (เราจักไม่มีรูป) ความสำคัญ ด้วยสัสสตทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า สญฺญี ภวิสฺสํ (เราจักมีสัญญา) ความ สำคัญด้วยอุจเฉททิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อสญฺญี ภวิสฺสํ (เราจักไม่มีสัญญา) ความสำคัญด้วยทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า เนวสญฺญินาสญฺญี ภวิสฺสํ (เราจักมีสัญญา ก็หามิได้ ไม่มีสัญญาก็หามิได้) ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสำคัญเป็นโรค เป็นดัง หัวฝี เป็นดังลูกศร เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงศึกษาว่า เราจักมีใจไม่ สำคัญอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ [๓๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความหวั่นไหวด้วยตัณหา ท่านกล่าวด้วยบทว่า อสฺมิ (เราเป็น) ความหวั่นไหวด้วยทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อยมหมสฺมิ (นี้เป็น เรา) ความหวั่นไหวด้วยสัสสตทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า ภวิสฺสํ (เราจักเป็น) ความหวั่นไหวด้วยอุจเฉททิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า น ภวิสฺสํ (เราจักไม่เป็น) ความหวั่นไหวด้วยสัสสตทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า รูปี ภวิสฺสํ (เราจักมีรูป) ความหวั่นไหวด้วยอุจเฉททิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อรูปี ภวิสฺสํ (เราจักไม่มี รูป) ความหวั่นไหวด้วยสัสสตทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า สญฺญี ภวิสฺสํ (เราจัก มีสัญญา) ความหวั่นไหวด้วยอุจเฉททิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อสญฺญี ภวิสฺสํ (เราจักไม่มีสัญญา) ความหวั่นไหวด้วยทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า เนวสญฺญินา- สญฺญี ภวิสฺสํ (เราจักมีสัญญาก็หามิได้ ไม่มีสัญญาก็หามิได้) ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความหวั่นไหวเป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เพราะเหตุนั้นแล เธอ ทั้งหลายพึงศึกษาว่า เราจักมีใจไม่ถูกกิเลสให้หวั่นไหวอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอ ทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ [๓๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความดิ้นรนด้วยตัณหา ท่านกล่าวด้วยบทว่า อสฺมิ (เราเป็น) ความดิ้นรนด้วยทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อยมหมสฺมิ (นี้เป็น เรา) ฯลฯ ความดิ้นรนด้วยอุจเฉททิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อสญฺญีภ ภวิสฺสํ (เราจักไม่มีสัญญา) ความดิ้นรนด้วยทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า เนวสญฺญินาสญฺญี ภวิสฺสํ (เราจักมีสัญญาก็หามิได้ ไม่มีสัญญาก็หามิได้) ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความ ดิ้นรนเป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงศึกษา ว่า เราจักมีใจไม่ถูกกิเลส ให้ดิ้นรนอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษา อย่างนี้แล ฯ [๓๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเนิ่นช้าด้วยตัณหา ท่านกล่าวด้วยบท ว่า อสฺมิ (เราเป็น) ความเนิ่นช้าด้วยทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อยมหมสฺมิ (นี้เป็นเรา) ฯลฯ ความเนิ่นช้าด้วยอุจเฉททิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อสญฺญี ภวิสฺสํ (เราจักไม่มีสัญญา) ความเนิ่นช้าด้วยทิฐิท่านกล่าวด้วยบทว่า เนวสญฺญินา- *สญฺญี ภวิสฺสํ (เราจักมีสัญญาก็หามิได้ ไม่มีสัญญาก็หามิได้) ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเนิ่นช้าเป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึง ศึกษาว่า เราจักมีใจไม่เนิ่นช้าอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ [๓๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความถือตัวด้วยตัณหา ท่านกล่าวด้วยบทว่า อสฺมิ (เราเป็น) ความถือตัวด้วยทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อยมหมสฺมิ (นี้เป็นเรา) ความถือตัวด้วยสัสสตทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า ภวิสฺสํ (เราจักเป็น) ความถือ ตัวด้วยอุจเฉททิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า น ภวิสฺสํ (เราจักไม่เป็น) ความถือตัวด้วย สัสสตทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า รูปี ภวิสฺสํ (เราจักมีรูป) ความถือตัวด้วย อุจเฉททิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อรูปี ภวิสฺสํ (เราจักไม่มีรูป) ความถือตัว ด้วยสัสสตทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า สญฺญี ภวิสฺสํ (เราจักมีสัญญา) ความถือ ตัวด้วยอุจเฉททิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อสญฺญี ภวิสฺสํ (เราไม่มีสัญญา) ความ ถือตัวด้วยทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า เนวสญฺญินาสญฺญี ภวิสฺสํ (เราจักมีสัญญา ก็หามิได้ ไม่มีสัญญาก็หามิได้) ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความถือตัวเป็นโรค เป็นดัง หัวฝี เป็นดังลูกศร เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักมีใจ กำจัดมานะออกได้อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๑๒
จบอาสีวิสวรรคที่ ๔
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อาสีวิสสูตร ๒. รถสูตร ๓. กุมมสูตร ๔. ทารุขันธสูตรที่ ๑ ๕. ทารุขันธสูตรที่ ๒ ๖. อวัสสุตสูตร ๗. ทุกขธรรมสูตร ๘. กึสุกสูตร ๙. วีณาสูตร ๑๐. ฉัปปาณสูตร ๑๑. ยวกลาปิสูตร ๑๒. เทวาสุรสังคามสูตร ฯ
รวมวรรคที่มีในจตุปัณณาสก์ คือ
๑. นันทิขยวรรค ๒. สัฏฐินยวรรค ๓. สมุททวรรค ๔. อาสีวีสวรรค ฯ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ บรรทัดที่ ๕๓๙๒-๕๔๙๒ หน้าที่ ๒๓๒-๒๓๖. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=18&A=5392&Z=5492&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=18&siri=194              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=351              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [351-358] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=18&item=351&items=8              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=2913              The Pali Tipitaka in Roman :- [351-358] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=18&item=351&items=8              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=2913              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ https://84000.org/tipitaka/read/?index_18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i309-e.php#sutta11 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn35/sn35.207.than.html https://suttacentral.net/sn35.248/en/sujato https://suttacentral.net/sn35.248/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :