ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
             [๒๑๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมชื่อว่าเทวทหะ
ของสากยราชทั้งหลาย ในสักกชนบท ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุ
ทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวว่า ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖
อันภิกษุทั้งปวงเทียวควรทำ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แต่เราไม่กล่าวว่า ความไม่
ประมาทในผัสสายตนะ ๖ อันภิกษุทั้งปวงเทียวไม่ควรทำ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุเหล่าใดเป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลง
ภาระลงแล้ว มีประโยชน์ตนอันบรรลุโดยลำดับแล้ว มีสังโยชน์ในภพหมดสิ้นแล้ว
เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้โดยชอบ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ความไม่
ประมาทในผัสสายตนะ ๖ อันภิกษุเหล่านั้นไม่ควรทำ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร
เพราะเหตุว่า ความไม่ประมาทของภิกษุเหล่านั้น ไม่ควรแล้วเพื่อประมาทได้อีก
เพราะความไม่ประมาทนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แต่ว่าภิกษุเหล่าใด ยังเป็นเสขะ
ยังไม่บรรลุอรหัตผล ปรารถนาธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่ง
กว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖ อันภิกษุ
เหล่านั้นควรทำ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะเหตุว่า รูปทั้งหลายอันจะพึงรู้แจ้ง
ด้วยจักษุ อันเป็นที่รื่นรมย์ใจก็มี อันไม่เป็นที่รื่นรมย์ใจก็มี รูปเหล่านั้นถูกต้อง
แล้วๆ ย่อมไม่กลุ้มรุมจิตของบุคคลผู้ไม่ประมาทตั้งอยู่ เพราะการไม่ถูกกลุ้มรุม
จิต ความเพียรเป็นคุณอันบุคคลนั้นปรารภแล้ว ไม่ให้ย่อหย่อน สติเป็นธรรมชาติ
อันบุคคลนั้นเข้าไปตั้งไว้แล้ว ไม่ให้หลงลืม กายสงบ ไม่กระสับกระส่าย จิตตั้ง
มั่น มีอารมณ์อันเดียว ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทนี้แล
จึงกล่าวว่า ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖ อันภิกษุเหล่านั้นควรทำ ฯลฯ
ธรรมารมณ์อันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจอันเป็นที่รื่นรมย์ใจก็มี อันไม่เป็นที่รื่นรมย์ใจก็มี

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๔๐.

ธรรมารมณ์เหล่านั้นถูกต้องแล้วๆ ย่อมไม่กลุ้มรุมจิตของบุคคลผู้ไม่ประมาทตั้งอยู่ เพราะการไม่กลุ้มรุมจิต ความเพียรเป็นคุณอันบุคคลนั้นปรารภแล้ว ไม่ให้ย่อ หย่อน สติเป็นธรรมชาติอันบุคคลนั้นเข้าไปตั้งไว้แล้ว ไม่ให้หลงลืม กายสงบ ไม่กระสับกระส่าย จิตตั้งมั่น มีอารมณ์อันเดียว ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราเห็นผล แห่งความไม่ประมาทนี้แล จึงกล่าวว่า ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖ อัน ภิกษุเหล่านั้นควรทำ ฯ
จบสูตรที่ ๑
ขณสูตร

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ บรรทัดที่ ๓๒๒๕-๓๒๕๓ หน้าที่ ๑๓๙-๑๔๐. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=18&A=3225&Z=3253&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=18&siri=114              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=213              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [213-214] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=18&item=213&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=1107              The Pali Tipitaka in Roman :- [213-214] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=18&item=213&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=1107              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ https://84000.org/tipitaka/read/?index_18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i213-e.php# https://suttacentral.net/sn35.134/en/sujato https://suttacentral.net/sn35.134/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :