ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
อรติสูตรที่ ๒
[๗๓๐] สมัยหนึ่ง ท่านวังคีสะ อยู่ที่อัคคาฬวเจดีย์ เขตเมืองอาฬวี กับท่านพระนิโครธกัปปะผู้เป็นอุปัชฌาย์ โดยสมัยนั้นแล ท่านพระนิโครธกัปปะ กลับจากบิณฑบาตในเวลาปัจฉาภัต ย่อมเข้าไปสู่วิหาร ย่อมออกในเวลาเย็นบ้าง ในวันรุ่งขึ้นหรือในเวลาภิกษาจารบ้าง ฯ [๗๓๑] ก็โดยสมัยนั้นแล ความกระสันย่อมบังเกิดขึ้น ความกำหนัด ย่อมรบกวนจิตของท่านพระวังคีสะ ลำดับนั้น ท่านพระวังคีสะมีความคิดดังนี้ว่า ไม่เป็นลาภของเราหนอ ไม่ใช่ลาภของเราหนอ เราได้ชั่วเสียแล้วหนอ เราไม่ได้ ดีเสียแล้วหนอ ที่เราเกิดความกระสันขึ้นแล้ว ที่ความกำหนัดรบกวนจิตเรา เรา จะได้เหตุที่คนอื่นๆ จะพึงบรรเทาความกระสันแล้วยังความยินดีให้เกิดขึ้นแก่เรา ในความกำหนัดที่เกิดขึ้นแล้วนี้แต่ที่ไหน อย่ากระนั้นเลย เราพึงบรรเทาความ กระสันแล้ว ยังความยินดีให้เกิดขึ้นแก่ตนด้วยตนเองเถิด ฯ [๗๓๒] ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะบรรเทาความกระสันแล้ว ยังความ ยินดีให้เกิดขึ้นแก่ตนด้วยตนเอง ได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ในเวลานั้นว่า บุคคลใดละความไม่ยินดี (ในศาสนา) และความยินดี (ใน กามคุณทั้งหลาย) และวิตกอันอาศัยเรือนโดยประการทั้งปวง แล้ว ไม่พึงทำป่าใหญ่คือกิเลสในอารมณ์ไหนๆ เป็นผู้ไม่ มีป่าคือกิเลส เป็นผู้ไม่น้อมใจไปแล้ว ผู้นั้นแลชื่อว่าเป็น ภิกษุ ฯ รูปอย่างใดอย่างหนึ่งในโลกนี้ ที่ตั้งอยู่บนแผ่นดินก็ดี ทั้งตั้ง อยู่ในเวหาสก็ดี ที่อยู่ในแผ่นดินก็ดี ย่อมทรุดโทรม เป็น ของไม่เที่ยงทั้งหมด บุคคลทั้งหลายผู้สำนึกตน ย่อมถึงความ ตกลงอย่างนี้เที่ยวไป ฯ ชนทั้งหลายเป็นผู้ติดแล้ว ในอุปธิทั้งหลายคือ ในรูปอันตน เห็นแล้ว ในเสียงอันตนได้ฟังแล้ว ในกลิ่นและรสอันตน ได้กระทบแล้ว และในโผฏฐัพพารมณ์อันตนรู้แล้ว ท่านจง บรรเทาความพอใจในกามคุณ ๕ เหล่านั้น เป็นผู้ไม่หวั่นไหว บุคคลใดไม่ติดอยู่ในกามคุณ ๕ เหล่านั้น บัณฑิตทั้งหลาย เรียกบุคคลนั้นว่า เป็นมุนี ฯ วิตกของคนทั้งหลายอาศัยปิยรูปสาตรูป ๖๐ เป็นอันมาก ตั้งลงแล้วโดยไม่เป็นธรรมในหมู่ปุถุชน บุคคลไม่พึงถึงวังวน กิเลสในอารมณ์ไหนๆ และบุคคลผู้ไม่พูดจาชั่วหยาบ จึง ชื่อว่าเป็นภิกษุ ฯ บัณฑิตผู้มีจิตตั้งมั่นแล้วตลอดกาลนาน ผู้ไม่ลวงโลก ผู้มี ปัญญาแก่กล้า ผู้ไม่ทะเยอทะยาน เป็นมุนี ผู้ถึงบทอันระงับ แล้ว อาศัยพระนิพพาน เป็นผู้ดับกิเลสได้แล้ว ย่อมรอคอย กาล (เป็นที่ปรินิพพาน) ดังนี้ ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ บรรทัดที่ ๖๐๒๒-๖๐๕๘ หน้าที่ ๒๕๙-๒๖๐. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=6022&Z=6058&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=15&siri=210              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=730              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [730-732] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=15&item=730&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=6633              The Pali Tipitaka in Roman :- [730-732] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=15&item=730&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=6633              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i727-e.php#sutta2 https://suttacentral.net/sn8.2/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :