ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
ปัจจนิกสูตรที่ ๖
[๗๐๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในพระเชตวัน อารามของ ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้น พราหมณ์มีนามว่า ปัจจนิกสาตะ สำนักอยู่ในกรุงสาวัตถี ปัจจนิกสาตพราหมณ์มีความดำริว่า อย่า กระนั้นเลย เราพึงเข้าไปเฝ้าพระสมณโคดมยังที่ประทับเถิด พระสมณโคดมจัก ตรัสคำใดๆ เราจักเป็นข้าศึกคำนั้นๆ ดังนี้ ฯ [๗๐๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จจงกรมอยู่ในที่แจ้ง ลำดับนั้น ปัจจนิกสาตพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้ว เดินตามพระผู้มี- *พระภาคซึ่งกำลังเสด็จจงกรมอยู่ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ขอท่านพระสมณะ จงตรัสธรรม ฯ [๗๐๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า คำอันเป็นสุภาษิต อันบุคคลผู้ยินดีจะเป็นข้าศึก มีจิตเศร้า หมอง มากไปด้วยความแข่งดี จะเห็นแจ้งด้วยดีไม่ได้ ส่วนว่าบุคคลใด กำจัดความแข่งดีและความไม่เลื่อมใส แห่งใจ ถอนความอาฆาตได้แล้ว ผู้นั้นแลพึงรู้คำอันเป็น สุภาษิต ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๕๐.

[๗๐๔] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสเช่นนี้แล้ว ปัจจนิกสาตพราหมณ์กราบ ทูลพระผู้มีพระภาคว่า ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ท่านพระ- *โคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย ดุจหงายภาชนะที่คว่ำ เปิดของที่ปิดไว้ บอกทางแก่คนหลงทาง ส่องประทีปในที่ มืด ด้วยหวังว่าคนมีจักษุจะมองเห็นรูปได้ ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้าพระองค์นี้ขอ ถึงพระผู้มีพระภาค กับพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระองค์จงทรงจำข้า พระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้น ไป ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ บรรทัดที่ ๕๗๘๕-๕๘๐๘ หน้าที่ ๒๔๙-๒๕๐. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=5785&Z=5808&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=15&siri=202              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=701              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [701-704] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=15&item=701&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=6528              The Pali Tipitaka in Roman :- [701-704] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=15&item=701&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=6528              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i671-e.php#sutta6 https://suttacentral.net/sn7.16/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :