ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
พกสูตรที่ ๔
[๕๖๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ฯ ก็สมัยนั้นแล พกพรหมได้เกิดทิฐิอันชั่วช้าเห็นปานดังนี้ว่า ฐานะแห่ง พรหมนี้เที่ยง ยั่งยืน ติดต่อกัน คงที่ มีความไม่เคลื่อนไหวเป็นธรรมดา ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุปบัติ ก็แหละอุบายเป็นเครื่องออกไปอันยิ่งอย่างอื่น จากฐานะแห่งพรหมนี้ไม่มี ฯ [๕๖๗] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบความปริวิตกแห่งใจของ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๙๙.

พกพรหมด้วยพระทัยแล้ว ทรงหายไปในพระเชตวันวิหารแล้วได้ปรากฏในพรหม- *โลกนั้น เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังพึงเหยียดออกซึ่งแขนที่คู้เข้า หรือคู้เข้าซึ่ง แขนที่เหยียดออก ฉะนั้น ฯ พกพรหมได้เห็นพระผู้มีพระภาคกำลังเสด็จมาแต่ไกลทีเดียว ครั้นแล้วได้ กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ขอพระองค์จงเสด็จมาเถิด ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พระองค์เสด็จมาดีแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ นาน เทียวแลพระองค์ได้กระทำปริยายเพื่อการเสด็จมา ณ พรหมโลกนี้ ข้าแต่พระองค์ ผู้นิรทุกข์ ก็ฐานะแห่งพรหมนี้เที่ยง ยั่งยืน ติดต่อกัน คงที่ มีความไม่เคลื่อน ไหวเป็นธรรมดา ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุปบัติ ก็อุบายเป็นเครื่อง ออกไปอันยิ่งอย่างอื่นจากฐานะแห่งพรหมนี้ไม่มี ฯ [๕๖๘] เมื่อพกพรหมกล่าวเช่นนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสคำนี้กะ พกพรหมว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย พกพรหมนั้นถึงความโง่เขลาแล้วหนอ ท่านผู้ เจริญทั้งหลาย พกพรหมนั้นถึงความโง่เขลาแล้วหนอ พกพรหมกล่าวฐานะแห่ง พรหมที่เป็นของไม่เที่ยงเลยว่าเที่ยง กล่าวฐานะแห่งพรหมที่เป็นของไม่ยั่งยืนเลยว่า ยั่งยืน กล่าวฐานะแห่งพรหมที่เป็นของไม่ติดต่อกันเลยว่าติดต่อกัน กล่าวฐานะแห่ง พรหมที่เป็นของไม่คงที่เลยว่าคงที่ กล่าวฐานะแห่งพรหมที่เป็นของความเคลื่อนไหว เป็นธรรมดาทีเดียวว่า มีความไม่เคลื่อนไหวเป็นธรรมดา และกล่าวฐานะแห่ง พรหมอันเป็นที่เกิดแก่ ตาย และเป็นที่จุติและอุปบัติแห่งตนว่า ฐานะแห่งพรหมนี้ ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุปบัติ ก็แหละย่อมกล่าวอุบายเป็นเครื่องออก ไปอันยิ่งอย่างอื่นซึ่งมีอยู่ว่าไม่มี ดังนี้ ฯ [๕๖๙] พกพรหมทูลว่า ข้าแต่พระโคดม พวกข้าพระองค์ ๗๒ คน บังเกิดในพรหม โลกนี้เพราะบุญกรรม ยังอำนาจให้เป็นไป ล่วงชาติชราได้ แล้ว การอุปบัติในพรหมโลก ซึ่งถึงฝั่งไตรเภทนี้เป็นที่สุด แล้ว ชนมิใช่น้อยย่อมปรารถนาเป็นดังพวกข้าพระองค์ ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๐๐.

[๕๗๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพกพรหม ท่านสำคัญอายุใดว่ายาว ก็อายุนั้นสั้น ไม่ ยาวเลย ดูกรพรหม เรารู้อายุหนึ่งแสนนิรัพพุท ๑- ของท่าน ได้ดี ฯ [๕๗๑] พกพรหมทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระองค์ตรัสว่า เราเป็นผู้มีปรกติเห็น ไม่มีที่สิ้นสุด ล่วงชาติชราและความโศกได้แล้วดังนี้ อะไร เป็นศีลวัตรเก่าแก่ของข้าพระองค์หนอ ขอพระองค์จงตรัส บอกศีลวัตรซึ่งข้าพระองค์ควรรู้แจ้งชัด ฯ [๕๗๒] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ๑. ข้อที่ท่านยังมนุษย์เป็นอันมาก ผู้ซึ่งกระหายน้ำอันแดด แผดเผาแล้ว ในฤดูร้อนให้ได้ดื่มน้ำกิน เป็นศีลวัตรเก่าแก่ ของท่าน เรายังระลึกได้อยู่ ประดุจหลับแล้วและตื่นขึ้น ฉะนั้น ฯ ๒. ข้อที่ท่านช่วยปลดเปลื้องประชุมชน ซึ่งถูกโจรจับพาไป อยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคา เป็นศีลวัตรเก่าแก่ของท่าน เรายังระลึก ได้อยู่ประดุจหลับแล้วและตื่นขึ้น ฉะนั้น ฯ ๓. ข้อที่ท่านข่มขี่ด้วยกำลัง แล้วช่วยปลดเปลื้องเรือซึ่งถูก นาคผู้ร้ายกาจจับไว้ในกระแสของแม่น้ำคงคา เพราะความ เอ็นดูในหมู่มนุษย์ ข้อนั้นเป็นศีลวัตรเก่าแก่ของท่าน เรายัง ระลึกได้อยู่ ประดุจหลับแล้วและตื่นขึ้น ฉะนั้น ฯ ๔. และเราได้เป็นอันเตวาสิกของท่าน นามว่ากัปปมาณพ เราได้เข้าใจท่านแล้วว่า มีความรู้ชอบ มีวัตร ข้อนั้นเป็น @๑. นิรัพพุท เป็นสังขยาซึ่งมีจำนวนสูญ ๖๘ สูญ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๐๑.

ศีลวัตรเก่าแก่ของท่าน เรายังระลึกได้อยู่ ประดุจหลับแล้ว และตื่นขึ้น ฉะนั้น ฯ พกพรหมทูลว่า พระองค์ทรงทราบอายุนี้ของข้าพระองค์แน่แท้ แม้สิ่งอื่นๆ พระองค์ก็ทรงทราบได้ เพราะพระองค์เป็นพระพุทธเจ้า ฉะนั้น อานุภาพอันรุ่งโรจน์ของพระองค์นี้ จึงยังพรหมโลก ให้สว่างไสวตั้งอยู่ ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ บรรทัดที่ ๔๕๙๐-๔๖๕๓ หน้าที่ ๑๙๘-๒๐๑. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=4590&Z=4653&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=15&siri=175              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=566              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [566-572] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=15&item=566&items=7              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=5125              The Pali Tipitaka in Roman :- [566-572] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=15&item=566&items=7              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=5125              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i555-e.php#sutta4 https://suttacentral.net/sn6.4/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :