ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
ยัญญสูตรที่ ๙
[๓๔๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามแห่ง ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ฯ ก็โดยสมัยนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ตระเตรียมการบูชามหายัญ โคผู้ ๕๐๐ ตัว ลูกโคผู้ ๕๐๐ ตัว ลูกโคตัวเมีย ๕๐๐ ตัว แพะ ๕๐๐ ตัว และ แกะ ๕๐๐ ตัว ถูกนำไปผูกไว้ที่หลักเพื่อบูชายัญ แม้ชนบางคนของพระเจ้า ปเสนทิโกศลนั้น เป็นทาส คนใช้หรือกรรมกรที่มีอยู่ แม้ชนเหล่านั้นถูกอาชญา ถูกภัยคุกคาม มีหน้านองด้วยน้ำตาร้องไห้พลาง กระทำบริกรรมไปพลาง ฯ [๓๕๐] ครั้งนั้นแล พวกภิกษุหลายรูปครองผ้าเรียบร้อยแล้วในเวลาเช้า ถือบาตรและจีวรเข้าไปสู่กรุงสาวัตถี เพื่อบิณฑบาต กลับจากบิณฑบาตในเวลาหลัง ภัตแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ได้นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ ภิกษุเหล่านั้นนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วันนี้พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ตระเตรียมการบูชามหายัญ โคผู้ ๕๐๐ ตัว ลูกโคผู้ ๕๐๐ ตัว ลูกโคตัวเมีย ๕๐๐ ตัว แพะ ๕๐๐ ตัว และ แกะ ๕๐๐ ตัว ถูกนำไปผูกไว้ที่หลักเพื่อบูชายัญ แม้ชนบางคนของพระเจ้า ปเสนทิโกศลนั้น เป็นทาส คนใช้ หรือกรรมกร ที่มีอยู่ ชนแม้เหล่านั้นถูกอาชญา ถูกภัยคุกคาม มีหน้านองด้วยน้ำตาร้องไห้พลาง กระทำบริกรรมไปพลาง ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๐๙.

[๓๕๑] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงได้ ตรัสพระคาถาเหล่านี้ในเวลานั้นว่า มหายัญที่มีการตระเตรียมมาก มีการฆ่าแพะ แกะ โค และ สัตว์ชนิดต่างๆ คือ อัศวเมธ ๑- ปุริสเมธ ๒- สัมมาปาสะ ๓- วาชเปยยะ ๔- นิรัคคฬะ ๕- มหายัญเหล่านั้น เป็นยัญไม่มี ผลมาก (เพราะ) พระพุทธเจ้าเป็นต้นผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ผู้ดำเนินปฏิปทาอันชอบ ย่อมไม่เข้าไปใกล้ยัญนั้น ฯ @๑. อัศวเมธ ได้แก่การฆ่าม้าบูชายัญ แต่ชื่อนี้หมายความกว้างกว่านั้น คือ หมาย @ถึงยัญที่บูชาด้วยสมบัติทุกอย่าง เว้นที่ดินแลคน ซึ่งเขาตั้งเสายัญ ๒๑ เสา สำหรับผูก @ปศุสัตว์ที่จะต้องฆ่าประมาณ ๕๙๗ ชนิด เพื่อบูชายัญ แล้วทำการบูชาอยู่หลายวันกว่าจะ @เสร็จพิธี แต่ฉบับพม่าเพี้ยนไปเป็น สสฺสเมธํ แปลว่าสัสสเมธ เป็นยัญในพระพุทธศาสนา @ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระเจ้ามหาวิชิตราชในกูฏทันตสูตร หมายความว่าการเก็บค่า @นาตามธัญญาหารที่สำเร็จผลสิบส่วน เก็บไว้เป็นส่วนหลวงส่วนหนึ่ง นี่เป็นสังคหวัตถุ @ประการหนึ่งของพระเจ้าจักรพรรดิ ไม่ตรงกับเรื่องในพระสูตรนี้ ฯ @๒. ปุริสเมธ ได้แก่การฆ่าคนบูชายัญ แต่ความจริงหมายเฉพาะยัญที่บูชาด้วย @สมบัติต่างๆ อย่างอัศวเมธนั้น แต่รวมที่ดินเข้าด้วย แต่ในพระพุทธศาสนา หมายถึงการ @พระราชทานทรัพย์เป็นเบี้ยเลี้ยงและบำเหน็จบำนาญแก่ทวยหาญทุก ๖ เดือน เป็นสังคห- @วัตถุของพระเจ้าจักรพรรดิประการหนึ่ง ฯ @๓. สัมมาปาสะ ได้แก่การผูกสัตว์บูชายัญ โดยเขาทำพิธีเหวี่ยงท่อนไม้สำหรับ @ต้อนสัตว์เข้าไปที่หลักบูชาเพลิงทั้งคู่ แล้วร่ายเวทตรงที่ท่อนไม้นั้นตก ทำการบูชาตามพิธี @ผู้บูชาต้องเป็นคนได้เดินทางย้อนไปตามแม่น้ำสรัสดีแล้วด้วย จึงจะเข้าพิธีได้ แต่ที่ใน @พระพุทธศาสนาจัดเป็นสังคหวัตถุของพระเจ้าจักรพรรดิ หมายถึงการเรียกหนังสือสาร @กรรมธรรม์กู้แต่ชาวเมืองที่ขัดสนแล้วพระราชทานทรัพย์ให้กู้ โดยไม่เรียกดอกเบี้ยเป็น @เวลา ๓ ปี ฯ @๔. วาชเปยยะ ได้แก่ยัญอีกชนิดหนึ่งซึ่งเขาผูกปศุสัตว์ ๑๗ ชนิดบูชา แต่ที่เป็น @สังคหวัตถุของพระเจ้าจักรพรรดิ หมายถึงการตรัสพระวาจาอันอ่อนหวาน เป็นที่ดูดดื่มน้ำ @ใจของประชาชน ฯ @๕. นิรัคคฬะ ได้แก่ยัญที่ไม่ต้องมีหลักยัญสำหรับบูชา หมายถึงพิธีชนิดเดียวกับ @อัศวเมธ แต่บูชาด้วยสมบัติทุกอย่าง ไม่มียกเว้นอะไร ฉะนั้นจึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า @สรรพเมธ แต่ที่ในพระพุทธศาสนาจัดเป็นสังคหวัตถุของพระเจ้าจักรพรรดิ หมายถึงผลที่ @พระมหากษัตริย์สงเคราะห์ด้วยสังคหวัตถุ ๔ ข้างต้นนั้น ที่เป็นเหตุให้รัฐมั่งคั่งสมบูรณ์ @ไม่มีโจรผู้ร้ายและประชาราษฎร์บันเทิงใจเป็นอยู่ อย่างที่กล่าวว่า ประตูเรือนไม่ต้องลงลิ่ม @กลอนระวังก็ได้ฉะนั้น ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๑๐.

ส่วนยัญใด มีการตระเตรียมน้อย ไม่มีการฆ่า แพะ แกะ โค และสัตว์ชนิดต่างๆ ซึ่งบุคคลบูชาสืบตระกูลทุกเมื่อ พระพุทธเจ้าเป็นต้นผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ผู้ดำเนินปฏิปทา อันชอบ ย่อมเข้าไปใกล้ยัญนั้น ฯ ผู้มีปัญญาควรบูชายัญนั้น ยัญนั้นเป็นยัญมีผลมาก เมื่อบุคคล บูชายัญนั้นนั่นแหละ ย่อมมีแต่ความดี ไม่มีความชั่วช้า เลวทราม ยัญก็เป็นยัญอย่างไพบูลย์ และเทวดาย่อม เลื่อมใส ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ บรรทัดที่ ๒๔๒๖-๒๔๘๕ หน้าที่ ๑๐๘-๑๑๐. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=2426&Z=2485&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=15&siri=120              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=349              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [349-351] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=15&item=349&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=3504              The Pali Tipitaka in Roman :- [349-351] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=15&item=349&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=3504              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i322-e.php#sutta9 https://suttacentral.net/sn3.9/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :