ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             [๔๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติข้อปฏิบัติอันดียิ่งของ
สมณะ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง มีอภิชฌามาก ก็ละอภิชฌาเสียได้ มีจิตพยาบาท
ก็ละพยาบาทเสียได้ มีความมักโกรธ ก็ละความมักโกรธเสียได้ มีความผูกโกรธ ก็ละความผูก-
*โกรธเสียได้ มีความลบหลู่ ก็ละความลบหลู่เสียได้ มีความตีเสมอ ก็ละความตีเสมอเสียได้
มีความริษยา ก็ละความริษยาเสียได้ มีความตระหนี่ ก็ละความตระหนี่เสียได้ มีความโอ้อวด
ก็ละความโอ้อวดเสียได้ มีมายา ก็ละมายาเสียได้ มีความปรารถนาลามก ก็ละความปรารถนา
ลามกเสียได้ มีความเห็นผิด ก็ละความเห็นผิดเสียได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะละเสียได้ซึ่งกิเลส
อันเป็นมลทิน เป็นโทษ เป็นดังว่าน้ำฝาดของสมณะ อันเป็นเหตุให้เกิดในอบาย มีวิบากอันตน
พึงเสวยในทุคติเหล่านี้แล เราจึงกล่าวว่า ภิกษุนั้นเป็นผู้ปฏิบัติข้อปฏิบัติอันดียิ่งของสมณะ ภิกษุ
นั้นย่อมพิจารณาเห็นตนบริสุทธิ์ พ้นแล้วจากอกุศลธรรมอันลามกทั้งปวงนี้ เมื่อเธอพิจารณาเห็น
ตนบริสุทธิ์ พ้นแล้วจากอกุศลธรรมอันลามกทั้งปวงนี้ ปราโมทย์ก็เกิด เมื่อเธอเกิดปราโมทย์แล้ว
ปีติก็เกิด เมื่อเธอมีใจประกอบด้วยปีติแล้ว นามกายก็สงบ เธอมีนามกายสงบแล้ว ก็เสวยสุข
เมื่อเธอมีสุข จิตก็ตั้งมั่น เธอมีจิตสหรคตด้วยเมตตา แผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่ แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่าง
นั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น และเธอมีจิตสหรคตด้วยเมตตา
อันกว้างขวาง เป็นส่วนใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกหมดทุกส่วน
โดยประการทั้งปวง ในที่ทั้งปวง ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง มีจิตสหรคตด้วยกรุณา ...
มีจิตสหรคตด้วยมุทิตา ... มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขา แผ่ไปสู่ทิศ ๑ อยู่ แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น
แผ่ไปสู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น และเธอก็มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขา อัน
กว้างขวาง เป็นส่วนใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกหมดทุกส่วน
โดยประการทั้งปวง ในที่ทั้งปวง ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ดูกรภิกษุทั้งหลาย สระโบก-
*ขรณี มีน้ำใสจืด เย็น สะอาด มีท่าอันดี น่ารื่นรมย์ ถ้าบุรุษมาแต่ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก
ทิศเหนือ ทิศใต้ และจากที่ไหนๆ อันความร้อนแผดเผา เร่าร้อน ลำบาก ระหาย อยากดื่มน้ำ
เขามาถึงสระโบกขรณีนั้นแล้ว ก็บรรเทาความอยากดื่มน้ำ และความกระวนกระวายเพราะความ
ร้อนเสียได้ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ากุลบุตรออกจากสกุลกษัตริย์มาบวชเป็นบรรพชิต
เธอมาถึงธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว เจริญเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขาอย่างนั้น
ย่อมได้ความสงบจิต ณ ภายใน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เรากล่าวว่าเป็นผู้ปฏิบัติข้อปฏิบัติอันดียิ่ง
ของสมณะ ถ้ากุลบุตรออกจากสกุลพราหมณ์ ... ถ้ากุลบุตรออกจากสกุลแพศย์ ... ถ้ากุลบุตรออก
จากสกุลศูทร ... ถ้ากุลบุตรออกจากสกุลไหนๆ ก็ตาม มาบวชเป็นบรรพชิต เธอมาถึงธรรมวินัย
ที่ตถาคตประกาศแล้ว เจริญเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขาอย่างนั้น ย่อมได้ความสงบจิต
ณ ภายใน เรากล่าวว่า กุลบุตรนั้นเป็นผู้ปฏิบัติข้อปฏิบัติอันดียิ่งของสมณะ ถ้ากุลบุตรออกจาก
สกุลกษัตริย์บวชเป็นบรรพชิต เธอทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ
เพราะสิ้นอาสวะ ด้วยความรู้ยิ่ง โดยตนเองเขาถึงพร้อมแล้วอยู่ในชาตินี้ เรากล่าวว่า เป็นสมณะ
เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลาย ถ้ากุลบุตรออกจากสกุลพราหมณ์ ... ถ้ากุลบุตรออกจากสกุลแพศย์ ...
ถ้ากุลบุตรออกจากสกุลศูทร ... ถ้ากุลบุตรออกจากสกุลไหนๆ ก็ตาม บวชเป็นบรรพชิต ทำให้
แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะสิ้นอาสวะด้วยความรู้ยิ่ง โดยตนเอง
เข้าถึงพร้อมแล้วในชาตินี้ เรากล่าวว่า เป็นสมณะ เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลาย.
             พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มี
พระภาคแล้วแล.
จบ จูฬอัสสปุรสูตร ที่ ๑๐
จบ มหายมกวรรค ที่ ๔
รวมพระสูตรในวรรคนี้มี ๑๐ สูตร คือ
๑. จูฬโคสิงคสาลสูตร ๒. มหาโคสิงคสาลสูตร ๓. มหาโคปาลสูตร ๔. จูฬโคปาลสูตร ๕. จูฬสัจจกสูตร ๖. มหาสัจจกสูตร ๗. จูฬตัณหาสังขยสูตร ๘. มหาตัณหาสังขยสูตร ๙. มหาอัสสปุรสูตร ๑๐. จูฬอัสสปุรสูตร ฯ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ บรรทัดที่ ๘๘๒๐-๘๘๖๖ หน้าที่ ๓๖๒-๓๖๓. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=8820&Z=8866&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=12&siri=40              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=479              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [482] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=12&item=482&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=8&A=5960              The Pali Tipitaka in Roman :- [482] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=12&item=482&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=8&A=5960              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ https://84000.org/tipitaka/read/?index_12              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/12i479-e1.php# https://suttacentral.net/mn40/en/sujato https://suttacentral.net/mn40/en/horner

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :