ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑

หน้าที่ ๒๕๗.

ปวารณาขันธกะ
เรื่องภิกษุหลายรูป
[๒๒๔] โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ภิกษุมากรูปด้วยกัน ซึ่งเคยเห็นร่วมคบหา กันมา จำพรรษาอยู่ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในโกศลชนบท จึงภิกษุเหล่านั้นได้ปรึกษากันว่า ด้วยวิธี อย่างไรหนอ พวกเราจึงพร้อมเพรียงกัน ปรองดองกัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และ จะไม่ต้องลำบากด้วยบิณฑบาต ครั้นแล้วได้ปรึกษากันต่อไปว่า หากพวกเราจะไม่พึงทักทาย จะไม่พึงปราศรัยซึ่งกันและกัน รูปใดบิณฑบาตกลับจากบ้านก่อน รูปนั้นพึงปูอาสนะ จัดหาน้ำ ล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ ล้างภาชนะสำหรับถ่ายบิณฑบาตเตรียมตั้งไว้ จัดตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ไว้ รูปใดบิณฑบาตกลับจากบ้านทีหลัง หากอาหารที่รูปก่อนฉันแล้วยังมีเหลือ ถ้าต้องการ พึงฉัน ถ้าไม่ต้องการ ก็พึงเททิ้งเสียในสถานอันปราศจากของสีเขียวสด หรือเทล้างเสียในน้ำที่ ปราศจากตัวสัตว์ รูปนั้นพึงรื้ออาสนะ พึงเก็บน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ล้าง ภาชนะสำหรับถ่ายบิณฑบาตเก็บไว้ เก็บน้ำฉัน น้ำใช้ กวาดหอฉัน รูปใดเห็นหม้อน้ำฉัน หม้อ น้ำใช้ หม้อน้ำชำระ ว่างเปล่า รูปนั้นพึงจัดหาไว้ หากภิกษุนั้นไม่สามารถ พึงกวักมือเรียกเพื่อน มาช่วยเหลือกัน แต่ไม่พึงเปล่งวาจาเพราะเหตุนั้นเลย ด้วยวิธีอย่างนี้แล พวกเราจึงจะพร้อมเพรียง กัน ปรองดองกัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และจะไม่ต้องลำบากด้วยบิณฑบาต. ครั้นแล้วภิกษุเหล่านั้น ไม่ทักทาย ไม่ปราศรัยต่อกันและกัน ภิกษุรูปใดบิณฑบาตกลับจากบ้าน ก่อน ภิกษุรูปนั้นปูอาสนะ จัดหาน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ ล้างภาชนะสำหรับ ถ่ายบิณฑบาต เตรียมตั้งไว้ จัดตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ไว้ ภิกษุรูปใดบิณฑบาตกลับจากบ้านทีหลัง หาก อาหารที่รูปก่อนฉันแล้วยังมีเหลือ ถ้าต้องการ ก็ฉัน ถ้าไม่ต้องการก็เททิ้งเสียในสถานที่อัน ปราศจากของเขียวสด หรือเทล้างเสียในน้ำอันปราศจากตัวสัตว์ ภิกษุรูปนั้นรื้ออาสนะ เก็บน้ำ ล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ล้างภาชนะสำหรับถ่ายบิณฑบาตเก็บไว้ เก็บน้ำฉันน้ำใช้

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๕๘.

กวาดหอฉัน ภิกษุรูปใดเห็นหม้อน้ำฉัน หม้อน้ำใช้ หรือหม้อน้ำชำระว่างเปล่า ภิกษุรูปนั้นก็ จัดหาไว้ หากภิกษุนั้นไม่สามารถ ก็กวักมือเรียกเพื่อนภิกษุมาช่วยเหลือกัน แต่ไม่เปล่งวาจา เพราะเหตุนั้นเลย.
ธรรมเนียมเข้าเฝ้าพระพุทธองค์
[๒๒๕] ก็การที่ภิกษุทั้งหลายออกพรรษาแล้ว เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค นั่นเป็นประเพณี. ครั้นภิกษุเหล่านั้นจำพรรษาโดยล่วงไตรมาศแล้วเก็บงำเสนาสนะถือบาตรจีวร หลีกไปโดยมรรคา อันจะไปสู่พระนครสาวัตถี ถึงพระนครสาวัตถีและพระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี โดยลำดับแล้ว เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. อนึ่ง การที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงปราศรัยกับพระอาคันตุกะทั้งหลาย นั่นเป็นพุทธประเพณี. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุเหล่านั้นว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ร่างกายของ พวกเธอยังพอทนได้หรือ ยังพอให้เป็นไปได้หรือ พวกเธอเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ปรองดองกัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต หรือ? ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ยังพอทนได้ พระพุทธเจ้าข้า ยังพอให้เป็นไปได้ พระพุทธเจ้าข้า อนึ่ง พวกข้าพระพุทธเจ้าเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ปรองดองกัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษา เป็นผาสุก และไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต พระพุทธเจ้าข้า.
พุทธประเพณี
พระตถาคตทั้งหลาย ทรงทราบอยู่ ย่อมตรัสถามก็มี ทรงทราบอยู่ ย่อมไม่ตรัสถามก็มี ทรงทราบกาลแล้วตรัสถาม ทรงทราบกาลแล้วไม่ตรัสถาม พระตถาคตทั้งหลาย ย่อมตรัสถามสิ่งที่ ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ตรัสถามสิ่งที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ในสิ่งที่ไม่ประกอบด้วย ประโยชน์ พระองค์ทรงกำจัดด้วยข้อปฏิบัติ. พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมทรงสอบถาม ภิกษุทั้งหลายด้วยอาการ ๒ อย่าง คือ จักทรงแสดงธรรมอย่างหนึ่ง จักทรงบัญญัติสิกขาบทแก่ พระสาวกทั้งหลายอย่างหนึ่ง. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุเหล่านั้นว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเป็นผู้ พร้อมเพรียงกัน ปรองดองกัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต ด้วยวิธีการอย่างไร?

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๕๙.

ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระพุทธเจ้า บรรดาที่นั่งเฝ้า ณ ที่นี้ เป็นภิกษุซึ่งเคยเห็นคบหากันมา จำนวนมากด้วยกัน ได้จำพรรษาอยู่ในอาวาสแห่งหนึ่ง ใน โกศลชนบท พวกข้าพระพุทธเจ้าเหล่านั้นได้ปรึกษากันว่า ด้วยวิธีอย่างไรหนอ พวกเราจึงจะ พร้อมเพรียงกัน ปรองดองกัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และจะไม่ต้องลำบากด้วย บิณฑบาต พวกข้าพระพุทธเจ้านั้นได้ปรึกษากันต่อไปว่า หากพวกเราจะไม่พึงทักทาย จะไม่พึง ปราศรัยซึ่งกันและกัน รูปใดบิณฑบาตกลับจากบ้านก่อน รูปนั้นพึงปูอาสนะ จัดหาน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ ล้างภาชนะสำหรับถ่ายบิณฑบาต เตรียมตั้งไว้ จัดตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ไว้ รูปใดบิณฑบาตกลับจากบ้านทีหลัง หากอาหารที่รูปก่อนฉันแล้วยังมีเหลือ ถ้าต้องการ พึงฉัน ถ้าไม่ต้องการ ก็พึงเททิ้งเสียในสถานอันปราศจากของเขียวสด หรือเทล้างเสียในน้ำ ที่ปราศจากตัวสัตว์ รูปนั้นพึงรื้ออาสนะ เก็บน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ล้างภาชนะ สำหรับถ่ายบิณฑบาตเก็บไว้ เก็บน้ำฉันน้ำใช้ กวาดหอฉัน รูปใดเห็นหม้อน้ำฉัน หม้อน้ำใช้ หม้อน้ำชำระว่างเปล่า รูปนั้นพึงจัดหาไว้ หากภิกษุนั้นไม่สามารถ พึงกวักมือเรียกเพื่อนมา ช่วยเหลือกัน แต่ไม่พึงเปล่งวาจาเพราะเหตุนั้นเลย ด้วยวิธีอย่างนี้แล พวกเราจึงจะพร้อมเพรียง กัน ปรองดองกัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และจะไม่ต้องลำบากด้วยบิณฑบาต พระพุทธเจ้าข้า ครั้นแล้วพวกข้าพระพุทธเจ้าจึงไม่ทักทาย ไม่ปราศรัยต่อกันและกัน ภิกษุรูปใด บิณฑบาตกลับจากบ้านก่อน ภิกษุรูปนั้นย่อมปูอาสนะไว้ จัดหาน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้อง เช็ดเท้าไว้ ล้างภาชนะสำหรับถ่ายบิณฑบาต เตรียมตั้งไว้ จัดตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ไว้ ภิกษุรูปใด บิณฑบาตกลับจากบ้านทีหลัง หากอาหารที่รูปก่อนฉันแล้วยังมีเหลือ ถ้าต้องการก็ฉัน ถ้าไม่ ต้องการ ก็เททิ้งเสียในสถานอันปราศจากของเขียวสด หรือเทล้างเสียในน้ำอันปราศจากตัวสัตว์ ภิกษุรูปนั้นย่อมรื้ออาสนะ เก็บน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ล้างภาชนะสำหรับ ถ่ายบิณฑบาตเก็บไว้ เก็บน้ำฉันน้ำใช้ กวาดหอฉัน ภิกษุรูปใดเห็นหม้อน้ำฉัน หม้อน้ำใช้ หรือหม้อน้ำชำระว่างเปล่า ภิกษุรูปนั้นก็จัดหาไว้ หากภิกษุรูปนั้นไม่สามารถก็กวักมือเรียกเพื่อน มาช่วยเหลือกัน แต่ไม่พึงเปล่งวาจาเพราะเหตุนั้นเลย ด้วยวิธีอย่างนี้แล พวกข้าพุทธเจ้าจึงเป็น ผู้พร้อมเพรียงกัน ปรองดองกัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และไม่ต้องลำบากด้วย บิณฑบาต พระพุทธเจ้าข้า.

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๖๐.

ทรงติเตียน
[๒๒๖] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า โมฆบุรุษพวกนี้เป็นผู้อยู่จำพรรษาไม่ผาสุกเลย ยังยืนยันว่าอยู่จำพรรษาเป็นผาสุก ข่าวว่า โมฆบุรุษ พวกนี้เป็นผู้อยู่จำพรรษาอย่างปศุสัตว์อยู่ร่วมกันแท้ๆ ยังยืนยันว่าอยู่จำพรรษาเป็นผาสุก ข่าวว่า โมฆบุรุษพวกนี้เป็นผู้อยู่จำพรรษา อย่างแพะอยู่ร่วมกันแท้ๆ ยังยืนยันว่าอยู่จำพรรษาเป็นผาสุก ข่าวว่า โมฆบุรุษพวกนี้เป็นผู้อยู่จำพรรษาอย่างคนประมาทอยู่ร่วมกันแท้ๆ ยังยืนยันว่าอยู่จำพรรษา เป็นผาสุก.
ทรงห้ามมูควัตร ติตถิยสมาทาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุไฉน โมฆบุรุษพวกนี้จึงได้ถือมูควัตร ซึ่งพวกเดียรถีย์ถือกัน การกระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้น นั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส .... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสมาทานมูควัตร ที่พวกเดียรถีย์สมาทานกัน รูปใดสมาทาน ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระพุทธานุญาตปวารณา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายอยู่จำพรรษา แล้วปวารณาด้วยเหตุ ๓ สถาน คือ ด้วยได้เห็น ๑ ด้วยได้ฟัง ๑ ด้วยสงสัย ๑ การปวารณานั้นจักเป็นวิธีเหมาะสมเพื่อว่ากล่าว กันและกัน เป็นวิธีออกจากอาบัติ เป็นวิธีเคารพพระวินัยของพวกเธอ.
วิธีปวารณา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงปวารณา อย่างนี้:- ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
สัพพสังคาหิกาญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า วันนี้เป็นวันปวารณา ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงปวารณา. ภิกษุผู้เถระพึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลีแล้วกล่าวปวารณา อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๖๑.

เตวาจิกาปวารณา
เธอทั้งหลาย ฉันปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอเธอทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวฉัน ฉันเห็นอยู่จักทำคืนเสีย เธอทั้งหลาย แม้ครั้งที่สอง ฉันปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอเธอทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวฉัน ฉันเห็นอยู่จักทำคืนเสีย เธอทั้งหลาย แม้ครั้งที่สาม ฉันปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอเธอทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวฉัน ฉันเห็นอยู่จักทำคืนเสีย. ภิกษุผู้นวกะพึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลีแล้วกล่าวปวารณา อย่างนี้ ว่าดังนี้:- ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเห็นอยู่จักทำคืนเสีย ท่านเจ้าข้า แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเห็นอยู่จักทำ คืนเสีย ท่านเจ้าข้า แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเห็นอยู่จักทำ คืนเสีย.
พระพุทธานุญาตให้นั่งกระโหย่งปวารณา
[๒๒๗] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์เมื่อภิกษุผู้เถระทั้งหลายนั่งกระโหย่งปวารณาอยู่ ยังนั่งอยู่บนอาสนะ. บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์ เมื่อภิกษุผู้เถระทั้งหลายนั่งกระโหย่งปวารณาอยู่ จึงได้นั่งอยู่บนอาสนะเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพระฉัพพัคคีย์ เมื่อภิกษุผู้เถระทั้งหลายนั่งกระโหย่งปวารณาอยู่ ยังนั่งบนอาสนะ จริงหรือ? ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๖๒.

พระผู้มีพระภาคทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษพวกนั้น เมื่อภิกษุ ผู้เถระทั้งหลายนั่งกระโหย่งปวารณาอยู่ จึงได้นั่งอยู่บนอาสนะเล่า การกระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้น นั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส .... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา รับสั่งกะ ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบรรดาภิกษุผู้เถระนั่งกระโหย่งปวารณาอยู่ ภิกษุไม่พึงนั่ง บนอาสนะ รูปใดนั่งต้องอาบัติทุกกฏ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทุกรูปนั่งกระโหย่ง ปวารณา. สมัยต่อมา พระเถระรูปหนึ่งชรา ทุพพลภาพ นั่งกระหย่งรอคอยอยู่ จนกว่าภิกษุทั้งหลาย จะปวารณาเสร็จทุกรูป ได้เป็นลมล้มลง. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นั่ง กระโหย่งในระหว่างที่ยังปวารณา และอนุญาตให้ภิกษุปวารณาแล้วนั่งบนอาสนะ.
วันปวารณามี ๒
[๒๒๘] ครั้งนั้นแล ภิกษุทั้งหลายสงสัยว่า วันปวารณามีกี่วัน? จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย วันปวารณานี้มี ๒ คือ วัน ๑๔ ค่ำ วัน ๑๕ ค่ำ ดูกรภิกษุทั้งหลาย วันปวารณามี ๒ เท่านี้แล.
อาการที่ทำปวารณามี ๔
ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายสงสัยว่า อาการที่ทำปวารณามีเท่าไรหนอ? จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาการที่ทำ ปวารณานี้มี ๔ คือ การทำปวารณาเป็นวรรคโดยอธรรม ๑ การทำปวารณาพร้อมเพรียงกันโดย อธรรม ๑ การทำปวารณาเป็นวรรคโดยธรรม ๑ การทำปวารณาพร้อมเพรียงกันโดยธรรม ๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในการทำปวารณา ๔ นั้น การทำปวารณานี้ใดเป็นวรรคโดยอธรรม การทำปวารณาเห็นปานนั้น ไม่ควรทำ และเราก็ไม่อนุญาต. การทำปวารณานี้ใดที่พร้อมเพรียงกันโดยอธรรม การทำปวารณาเห็นปานนั้น ไม่ควรทำ และเราก็ไม่อนุญาต. การทำปวารณานี้ใดที่เป็นวรรคโดยธรรม การทำปวารณาเห็นปานนั้น ไม่ควรทำ และ เราก็ไม่อนุญาต.

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๖๓.

การทำปวารณานี้ใดที่พร้อมเพรียงกันโดยธรรม การทำปวารณาเห็นปานนั้น ควรทำ และเราก็อนุญาต. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล พวกเธอพึงทำในใจว่า จักทำปวารณากรรม ชนิดที่พร้อมเพรียงกันโดยธรรม ดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้แล.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ บรรทัดที่ ๖๒๘๒-๖๔๓๒ หน้าที่ ๒๕๗-๒๖๓. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=4&A=6282&Z=6432&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=4&siri=70              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=4&i=224              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [224-228] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=4&item=224&items=5              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=3442              The Pali Tipitaka in Roman :- [224-228] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=4&item=224&items=5              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=3442              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ https://84000.org/tipitaka/read/?index_4              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/04i224-e.php# https://suttacentral.net/pli-tv-kd4/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-kd4/en/horner-brahmali

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :