ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒
สังฆราชี
[๔๐๔] ครั้งนั้น ท่านพระอุบาลีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถวายบังคม แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อท่านพระอุบาลีนั่งเรียบร้อยแล้วได้กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า พระองค์ตรัสว่า สังฆราชี สังฆราชี ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรเป็น สังฆราชี แต่ไม่เป็นสังฆเภท ด้วยเหตุเพียงเท่าไร เป็นทั้งสังฆราชี และสังฆเภท พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุบาลี ฝ่ายหนึ่งมีภิกษุหนึ่งรูป ฝ่ายหนึ่งมี ๒ รูป รูปที่ ๔ ประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่าน ทั้งหลายจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้ ดูกรอุบาลี แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ เป็น สังฆราชี แต่ไม่เป็นสังฆเภท ดูกรอุบาลี ฝ่ายหนึ่งมีภิกษุ ๒ รูป ฝ่ายหนึ่งก็มี ๒ รูป รูปที่ ๕ ประกาศ ให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้ จงชอบใจ สลากนี้ ดูกรอุบาลี แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ก็เป็นสังฆราชี แต่ไม่เป็นสังฆเภท ดูกรอุบาลี ฝ่ายหนึ่งมีภิกษุ ๒ รูป ฝ่ายหนึ่งมี ๓ รูป รูปที่ ๖ ประกาศ ให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้ จง ชอบใจสลากนี้ ดูกรอุบาลี แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ก็เป็นสังฆราชี แต่ไม่เป็นสังฆเภท ดูกรอุบาลี ฝ่ายหนึ่งมีภิกษุ ๓ รูป ฝ่ายหนึ่งก็มี ๓ รูป รูปที่ ๗ ประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้ ดูกรอุบาลี แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ก็เป็นสังฆราชี แต่ไม่เป็นสังฆเภท ดูกรอุบาลี ฝ่ายหนึ่งมีภิกษุ ๓ รูป ฝ่ายหนึ่งมี ๔ รูป รูปที่ ๘ ประกาศ ให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้ จงชอบใจ สลากนี้ ดูกรอุบาลี แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ก็เป็นสังฆราชี แต่ไม่เป็นสังฆเภท ดูกรอุบาลี ฝ่ายหนึ่งมีภิกษุ ๔ รูป ฝ่ายหนึ่งมี ๔ รูป รูปที่ ๙ ประกาศ ให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้ ดูกรอุบาลี แม้ด้วยเหตุอย่างนี้แล เป็นทั้งสังฆราชี และสังฆเภท ดูกรอุบาลี ภิกษุ ๙ รูป หรือเกินกว่า ๙ รูป เป็นทั้งสังฆราชี และ สังฆเภท ดูกรอุบาลี ภิกษุณีทำลายสงฆ์ย่อมไม่ได้ แต่พยายามเพื่อจะทำลายได้ สิกขมานา ก็ทำลายสงฆ์ไม่ได้ สามเณรก็ทำลายสงฆ์ไม่ได้ สามเณรีก็ทำลายสงฆ์ไม่ได้ อุบาสกก็ทำลายสงฆ์ไม่ได้ อุบาสิกาก็ทำลายสงฆ์ไม่ได้ แต่พยายามเพื่อจะทำลายได้ ดูกรอุบาลี ภิกษุปกตัตตะ มีสังวาสเสมอกัน อยู่ในสีมาเดียวกัน ย่อม ทำลายสงฆ์ได้ ฯ
สังฆเภท
[๔๐๕] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า พระพุทธเจ้าข้า พระองค์ตรัสว่า สังฆเภท สังฆเภท ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร สงฆ์จึงแตก พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ๑. ย่อมแสดงอธรรมว่า เป็นธรรม ๒. ย่อมแสดงธรรมว่า เป็นอธรรม ๓. ย่อมแสดงสิ่งไม่เป็นวินัยว่า เป็นวินัย ๔. ย่อมแสดงวินัยว่า ไม่เป็นวินัย ๕. ย่อมแสดงคำอันตถาคตมิได้ตรัสภาษิตไว้ว่า เป็นคำอันตถาคตตรัส ภาษิตไว้ ๖. ย่อมแสดงคำอันตถาคตตรัสภาษิตไว้ว่า เป็นคำอันตถาคตมิได้ตรัส ภาษิตไว้ ๗. ย่อมแสดงกรรมอันตถาคตมิได้ประพฤติมาว่า เป็นกรรมอันตถาคต ประพฤติมา ๘. ย่อมแสดงกรรมอันตถาคตประพฤติมาว่า เป็นกรรมอันตถาคตมิได้ ประพฤติมา ๙. ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตมิได้บัญญัติไว้ว่า เป็นสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้ ๑๐. ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้ว่า เป็นสิ่งที่ตถาคตมิได้บัญญัติไว้ ๑๑. ย่อมแสดงอนาบัติว่า เป็นอาบัติ ๑๒. ย่อมแสดงอาบัติว่า เป็นอนาบัติ ๑๓. ย่อมแสดงอาบัติเบาว่า เป็นอาบัติหนัก ๑๔. ย่อมแสดงอาบัติหนักว่า เป็นอาบัติเบา ๑๕. ย่อมแสดงอาบัติมีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติหาส่วนเหลือมิได้ ๑๖. ย่อมแสดงอาบัติหาส่วนเหลือมิได้ว่า เป็นอาบัติมีส่วนเหลือ ๑๗. ย่อมแสดงอาบัติชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ ๑๘. ย่อมแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติชั่วหยาบ พวกเธอย่อมประกาศให้แตกแยกกัน ด้วยวัตถุ ๑๘ ประการนี้ ย่อมแยก ทำอุโบสถ แยกทำปวารณา แยกทำสังฆกรรม ดูกรอุบาลี ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล สงฆ์เป็นอันแตกกันแล้ว
สังฆสามัคคี
[๔๐๖] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า พระพุทธเจ้าข้า พระองค์ตรัสว่า สังฆสามัคคี สังฆสามัคคี ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรสงฆ์จึงพร้อมเพรียงกัน พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ๑. ย่อมแสดงสิ่งที่ไม่เป็นธรรมว่า ไม่เป็นธรรม ๒. ย่อมแสดงสิ่งที่เป็นธรรมว่า เป็นธรรม ๓. ย่อมแสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่า มิใช่วินัย ๔. ย่อมแสดงสิ่งที่เป็นวินัยว่า เป็นวินัย ๕. ย่อมแสดงคำอันตถาคตมิได้ตรัสภาษิตไว้ว่า เป็นคำอันตถาคตมิได้ ตรัสภาษิตไว้ ๖. ย่อมแสดงคำอันตถาคต ตรัสภาษิตไว้ว่า เป็นคำอันตถาคตตรัส ภาษิตไว้ ๗. ย่อมแสดงกรรมอันตถาคตมิได้ประพฤติมาว่า เป็นกรรมอันตถาคต มิได้ประพฤติมา ๘. ย่อมแสดงกรรมอันตถาคตประพฤติมาแล้วว่า เป็นกรรมอันตถาคต ประพฤติมาแล้ว ๙. ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคต มิได้บัญญัติไว้ว่า เป็นสิ่งที่ตถาคตมิได้ บัญญัติไว้ ๑๐. ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้ว่า เป็นสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้ ๑๑. ย่อมแสดงอนาบัติว่า เป็นอนาบัติ ๑๒. ย่อมแสดงอาบัติว่า เป็นอาบัติ ๑๓. ย่อมแสดงอาบัติเบาว่า เป็นอาบัติเบา ๑๔. ย่อมแสดงอาบัติหนักว่า เป็นอาบัติหนัก ๑๕. ย่อมแสดงอาบัติมีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติมีส่วนเหลือ ๑๖. ย่อมแสดงอาบัติหาส่วนเหลือมิได้ว่า เป็นอาบัติหาส่วนเหลือมิได้ ๑๗. ย่อมแสดงอาบัติชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติชั่วหยาบ ๑๘. ย่อมแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ พวกเธอย่อมไม่ประกาศให้แตกแยกกันด้วยวัตถุ ๑๘ ประการนี้ ย่อมไม่ แยกทำอุโบสถ ย่อมไม่แยกทำปวารณา ย่อมไม่แยกทำสังฆกรรม ดูกรอุบาลี ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล สงฆ์เป็นอันพร้อมเพรียงกัน ฯ [๔๐๗] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า พระพุทธเจ้าข้า ก็ภิกษุนั้นทำลายสงฆ์ ผู้พร้อมเพรียงกันแล้ว จะได้รับผลอย่างไร พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุบาลี ภิกษุทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน แล้ว ย่อมได้รับผลชั่วร้าย ตั้งอยู่ชั่วกัป ย่อมไหม้ในนรกตลอดกัป ฯ
นิคมคาถา
[๔๐๘] ภิกษุทำลายสงฆ์ ต้องเกิดในอบาย ตกนรก อยู่ชั่วกัป ภิกษุผู้ยินดีในการแตกพวก ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมเสื่อมจาก ธรรมอันเกษมจากโยคะ ภิกษุทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันแล้ว ย่อมไหม้ในนรกตลอดกัป ฯ [๔๐๙] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า พระพุทธเจ้าข้า ก็ภิกษุสมานสงฆ์ที่ แตกกันแล้วให้พร้อมเพรียงกัน จะได้รับผลอย่างไร พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุบาลี ภิกษุสมานสงฆ์ที่แตกกันแล้วให้ พร้อมเพรียงกัน ย่อมได้บุญอันประเสริฐ ย่อมบันเทิงในสรวงสวรรค์ตลอดกัป ฯ
นิคมคาถา
[๔๑๐] ความพร้อมเพรียงของหมู่ เป็นเหตุแห่งสุข และการ สนับสนุนผู้พร้อมเพรียงกัน ก็เป็นเหตุแห่งสุข ภิกษุผู้ยินดีใน ความพร้อมเพรียงตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่เสื่อมจากธรรมอัน เกษมจากโยคะ ภิกษุสมานสงฆ์ ให้พร้อมเพรียงกันแล้ว ย่อมบันเทิงในสรวงสวรรค์ตลอดกัป ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ บรรทัดที่ ๔๐๗๘-๔๑๘๙ หน้าที่ ๑๖๙-๑๗๓. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=7&A=4078&Z=4189&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=7&A=4078&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=7&siri=55              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=7&i=404              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=7&A=4106              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=7&A=4106              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_7              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd17/en/brahmali#pli-tv-kd17:5.1.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd17/en/horner-brahmali#Kd.17.5

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]