ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒
เรื่องไม้เท้า
[๑๓๕] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งวางบาตรไว้ในสาแหรก แล้วห้อยไว้ที่ ไม้เท้า เดินผ่านไปทางประตูบ้านแห่งหนึ่งในเวลาพลบค่ำ ชาวบ้านบอกกันว่า พวกเรา นั่นโจรกำลังเดินไป ดาบของมันส่องแสงวาว แล้วตามไล่ไปจับตัวได้ รู้แล้วปล่อยไป ครั้นภิกษุนั้นไปถึงวัดแล้ว แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลายๆ ถาม ว่า ก็คุณถือไม้เท้ากับสาแหรกหรือ ภิกษุนั้นรับว่า ถูกแล้ว ขอรับ บรรดาภิกษุ ที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ภิกษุจึงได้ถือไม้

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๓.

เท้ากับสาแหรกเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคทรง ติเตียน ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงถือไม้เท้ากับสาแหรก รูปใดถือ ต้องอาบัติทุกกฏ ฯ [๑๓๖] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ปราศจากไม้เท้า ไม่สามารถจะ เดินไปไหนได้ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคๆ ตรัสว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติไม้เท้าแก่ภิกษุอาพาธ ฯ [๑๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงให้สมมติไม้เท้าอย่างนี้:- ภิกษุอาพาธนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุ ผู้แก่กว่า นั่งกระหย่งประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำขออย่างนี้ ว่าดังนี้:- ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าอาพาธ ไม่ใช้ไม้เท้าไม่สามารถไปไหนได้ ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้นขอทัณฑสมมติ กะสงฆ์ พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม ฯ [๑๓๘] ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ- *ทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจาให้ทัณฑสมมติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้รูปนี้อาพาธ ไม่ใช้ไม้เท้าไม่สามารถจะไปไหนได้ เธอขอทัณฑสมมติกะสงฆ์ ถ้า ความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้ทัณฑสมมติแก่ภิกษุมีชื่อนี้ นี้เป็นญัตติ ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้รูปนี้อาพาธ ไม่ใช้ไม้เท้าไม่สามารถจะไปไหนได้ เธอขอทัณฑสมมติกะสงฆ์ สงฆ์ ให้ทัณฑสมมติแก่ภิกษุมีชื่อนี้ การให้ทัณฑสมมติแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบ แก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้น พึงพูด

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๔.

ทัณฑสมมติ อันสงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่สงฆ์ เหตุ นั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้ ฯ [๑๓๙] สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ไม่ใช้สาแหรก ไม่สามารถ จะนำบาตรไปได้ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคๆ ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติสาแหรกแก่ภิกษุอาพาธ ฯ [๑๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงให้สมมติอย่างนี้ ภิกษุอาพาธนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้า ภิกษุผู้แก่กว่า นั่งกระโหย่งประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำขออย่างนี้ ว่าดังนี้:-
คำขอสิกกาสมมติ
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าอาพาธ ไม่มีสาแหรกไม่สามารถจะนำบาตรไปได้ ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้นขอสิกกาสมมติกะสงฆ์ พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม ฯ [๑๔๑] ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติย- *กรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจาให้สิกกาสมมติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้รูปนี้อาพาธ ไม่ใช้สาแหรกไม่สามารถจะนำบาตรไปได้ เธอขอสิกกาสมมติกะสงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้สิกกาสมมติแก่ภิกษุมี ชื่อนี้ นี้เป็นญัตติ ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้รูปนี้อาพาธ ไม่ใช้สาแหรกไม่สามารถจะนำบาตรไปได้ เธอขอสิกกาสมมติกะสงฆ์ สงฆ์ให้สิกกาสมมติแก่ภิกษุมีชื่อนี้ การให้สิกกาสมมติแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่าน ผู้นั้นพึงพูด

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๕.

สิกกาสมมติ อันสงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่สงฆ์ เหตุ นั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้ ฯ [๑๔๒] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ไม่ใช้ไม้เท้าไม่สามารถจะไปไหน ได้ และไม่ใช้สาแหรกไม่สามารถนำบาตรไปได้ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคๆ ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติไม้เท้าและ สาแหรกแก่ภิกษุอาพาธ ก็แล สงฆ์พึงให้สมมติอย่างนี้ ภิกษุอาพาธนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้า อุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุผู้แก่กว่า นั่งกระหย่งประคองอัญชลี แล้วกล่าว คำขออย่างนี้ ว่าดังนี้:-
คำขอทัณฑสิกกาสมมติ
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าอาพาธ ไม่ใช้ไม้เท้าไม่สามารถจะไปไหนได้ และ ไม่ใช้สาแหรกไม่สามารถจะนำบาตรไปได้ ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้นขอทัณฑสิกกา- *สมมติกะสงฆ์ พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม ฯ [๑๔๓] ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติย- *กรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจาให้ทัณฑสิกกาสมมติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้รูปนี้อาพาธ ไม่ใช้ไม้เท้าไม่สามารถจะเดินไปไหนได้ และไม่ใช้สาแหรกไม่ สามารถจะนำบาตรไปได้ เธอขอทัณฑสิกกาสมมติกะสงฆ์ ถ้าความ พร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้ทัณฑสิกกาสมมติแก่ภิกษุมีชื่อนี้ นี้เป็นญัตติ ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้รูปนี้อาพาธ ไม่ใช้ไม้เท้าไม่สามารถเดินไปไหนได้ และไม่ใช้สาแหรกไม่สามารถ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๖.

จะนำบาตรไปได้ เธอขอทัณฑสิกกาสมมติกะสงฆ์ สงฆ์ให้ทัณฑสิกกา- *สมมติแก่ภิกษุมีชื่อนี้ การให้ทัณฑสิกกาสมมติแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่ ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด ทัณฑสิกกาสมมติ อันสงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้ ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ บรรทัดที่ ๑๐๒๔-๑๑๐๗ หน้าที่ ๔๒-๔๖. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=7&A=1024&Z=1107&pagebreak=1 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=7&A=1024&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=7&siri=14              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=7&i=-135              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=7&A=1052              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=7&A=1052              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_7              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd15/en/brahmali#pli-tv-kd15:24.1.1 https://suttacentral.net/pli-tv-kd15/en/horner-brahmali#Kd.15.24

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]