ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๖ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๖ จุลวรรค ภาค ๑
เรื่องมูลายปฏิกัสสนารหภิกษุ
[๓๓๔] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ยินดี การกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะมาให้ การนำ ที่นอนมาให้ การล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตร จีวร การถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของปกตัตตะภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุที่เป็นผู้ มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุทั้งหลายผู้ควรชักเข้าหา อาบัติเดิม จึงได้ยินดีการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม การนำ อาสนะมาให้ การนำที่นอนมาให้ การล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้อง เช็ดเท้า การรับบาตรจีวร การถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของปกตัตตะภิกษุทั้งหลายเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค ฯ
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
[๓๓๕] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ใน เพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุ ทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุทั้งหลายผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ยินดีการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะมาให้ การนำที่นอนมาให้ การล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การ รับบาตร จีวร การถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของปกตัตตะภิกษุทั้งหลาย จริงหรือ ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุ ทั้งหลายผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม จึงได้ยินดีการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะมาให้ การนำที่นอนมาให้ การล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรจีวร การถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของปกตัตตะ ภิกษุทั้งหลายเล่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำของพวกภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิมนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... ครั้นแล้ว ทรงทำธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ไม่พึงยินดีการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะ มาให้ การนำที่นอนมาให้ การล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรจีวร การถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของปกตัตตะภิกษุทั้งหลาย รูปใดยินดี ต้องอาบัติทุกกฏ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะมาให้ การนำที่นอนมาให้ การล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรจีวร การถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของภิกษุ ทั้งหลาย ผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิมด้วยกัน ตามลำดับผู้แก่พรรษา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกิจ ๕ อย่าง คือ อุโบสถ ปวารณา ผ้าอาบน้ำฝน การสละภัตร และการรับภัตร แก่ภิกษุทั้งหลายผู้ควรชักเข้าหา อาบัติเดิม ตามลำดับผู้แก่พรรษา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติวัตรแก่ภิกษุทั้งหลาย ผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม โดยประการที่ภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ต้อง ประพฤติทุกรูป ฯ
มูลายปฏิกัสสนารหวัตร
หมวดที่ ๑
[๓๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม พึง ประพฤติโดยชอบ วิธีประพฤติชอบในวัตรนั้น ดังนี้:- อันภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก ไม่พึงรับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี เป็นผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม เพราะอาบัติใด ไม่พึงต้องอาบัตินั้น ไม่พึงต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน ไม่พึงต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น ไม่พึงติกรรม ไม่พึงติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม ไม่พึงห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ ไม่พึงห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ ไม่พึงทำการไต่สวน ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์ ไม่พึงยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส ไม่พึงโจทภิกษุอื่น ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ ไม่พึงช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน ฯ
หมวดที่ ๒
[๓๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ไม่พึงไป ข้างหน้าแห่งปกตัตตะภิกษุ ไม่พึงนั่งข้างหน้าแห่งปกตัตตะภิกษุ พึงพอใจด้วยอาสนะสุดท้าย ที่นอนสุดท้าย วิหารสุดท้ายของสงฆ์ ที่สงฆ์จะพึงให้แก่เธอ ไม่พึงมีปกตัตตะภิกษุเป็นสมณะไปข้างหน้า หรือตามหลังเข้าไปสู่สกุล ไม่พึงสมาทานอารัญญิกธุดงค์ ไม่พึงสมาทานบิณฑปาติกธุดงค์ และ ไม่พึงให้เขานำบิณฑบาตมาส่ง เพราะปัจจัยนั้น ด้วยคิดว่า คนทั้งหลาย อย่ารู้เรา ฯ
หมวดที่ ๓
[๓๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ไม่พึง ออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่หาภิกษุมิได้ ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นที่มิใช่อาวาสที่หาภิกษุมิได้ ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุ มิได้ ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่หาภิกษุมิได้ ไม่พึงออกจากถิ่นที่มิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุมิได้ ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่หา ภิกษุมิได้ ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่หาภิกษุ มิได้ ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาส ที่หาภิกษุมิได้ ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่น มิใช่อาวาสที่หาภิกษุมิได้ ทั้งนี้ เว้นแต่ไปกับปกตัตตะภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย ฯ
หมวดที่ ๔
[๓๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ไม่พึงออก จากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานา- *สังวาส ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานา- *สังวาส ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็น นานาสังวาส ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาส ที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาส ที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่น มิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส ทั้งนี้ เว้นแต่ไปกับปกตัตตะภิกษุ เว้น แต่มีอันตราย ฯ
หมวดที่ ๕
[๓๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม พึงออก จากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุเป็นสมานสังวาส พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมาน- *สังวาส พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ เป็น สมานสังวาส พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มี ภิกษุ เป็นสมานสังวาส พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มี ภิกษุ เป็นสมานสังวาส พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่นมิใช่ อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส ทั้งนี้ ที่รู้ว่าอาจจะไปถึงในวันนี้เทียว ฯ
หมวดที่ ๖
[๓๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ไม่พึงอยู่ ในที่มุงอันเดียวกันในอาวาส กับปกตัตตะภิกษุ ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในถิ่นมิใช่อาวาส ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในอาวาสก็ดี ในถิ่นมิใช่อาวาสก็ดี กับ ปกตัตตะภิกษุ เห็นปกตัตตะภิกษุแล้วพึงลุกจากอาสนะ พึงนิมนต์ปกตัตตะภิกษุให้นั่ง ไม่พึงนั่งในอาสนะเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ เมื่อปกตัตตะภิกษุนั่ง ณ อาสนะต่ำ ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะสูง เมื่อปกตัตตะภิกษุนั่ง ณ พื้นดิน ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะ ไม่พึงจงกรมในที่จงกรมเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ เมื่อปกตัตตะภิกษุจงกรมอยู่ในที่จงกรมต่ำ ไม่พึงจงกรมในที่จงกรมสูง เมื่อปกตัตตะภิกษุจงกรม ณ พื้นดิน ไม่พึงจงกรมในที่จงกรม ฯ
หมวดที่ ๗
[๓๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ไม่พึงอยู่ ในที่มุงอันเดียวกันในอาวาส กับภิกษุผู้อยู่ปริวาส ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในถิ่นมิใช่อาวาส ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในอาวาสก็ดี ในถิ่นมิใช่อาวาสก็ดี ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะเดียวกัน กับภิกษุผู้อยู่ปริวาส ... กับภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ที่แก่พรรษากว่า ... กับภิกษุผู้ควรมานัต ... กับภิกษุผู้ประพฤติมานัต ... กับภิกษุผู้ควรอัพภาน เมื่อเธอนั่ง ณ อาสนะต่ำ ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะสูง เมื่อเธอนั่ง ณ พื้นดิน ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะ ไม่พึงจงกรมในที่จงกรมเดียวกัน เมื่อเธอจงกรมอยู่ในที่จงกรมต่ำ ไม่พึงจงกรมในที่จงกรมสูง เมื่อเธอจงกรม ณ พื้นดิน ไม่พึงจงกรมในที่จงกรม ฯ [๓๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสงฆ์มีภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิมเป็น ที่ ๔ พึงให้ปริวาส พึงชักเข้าหาอาบัติเดิม พึงให้มานัต สงฆ์ ๒๐ รูป ทั้งภิกษุ ผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิมนั้น พึงอัพภาน การกระทำดังนั้นใช้ไม่ได้ และไม่ ควรทำ ฯ
มูลายปฏิกัสสนารหวัตร จบ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๖ บรรทัดที่ ๓๗๙๒-๓๙๕๔ หน้าที่ ๑๖๓-๑๗๐. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=6&A=3792&Z=3954&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=6&A=3792&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=6&siri=17              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=6&i=-334              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=6&A=2782              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=6&A=2782              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_6              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd12/en/brahmali#pli-tv-kd12:4.1.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd12/en/horner-brahmali#BD.5.50

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]