ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔๓ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑๐ ปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๔
ปัจจยวาร
[๑๒๔] จิตตสัมปยุตตธรรม อาศัยจิตสัมปยุตตธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย มี ๓ นัย เหมือนกับปฏิจจวาร. จิตตวิปปยุตตถรรม อาศัยจิตตวิปปยุตตธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย มี ๑ นัย เหมือนกับปฏิจจวาร. จิตตสัมปยุตตธรรม อาศัยจิตตวิปปยุตตธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นจิตตสัมปยุตตธรรม อาศัยหทัยวัตถุ ปฏิสนธิ. จิตตสัมปยุตตธรรม และจิตตวิปปยุตตธรรม อาศัยจิตตวิปปยุตตธรรม เกิดขึ้น เพราะ เหตุปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นจิตตสัมปยุตตธรรม อาศัยหทัยวัตถุ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัย มหาภูตรูปทั้งหลาย ปฏิสนธิ. จิตตสัมปยุตตธรรม อาศัยจิตตสัมปยุตตธรรม และจิตตวิปปยุตตธรรม เกิดขึ้น เพราะ เหตุปัจจัย คือ ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นจิตตสัมปยุตตธรรม และหทัยวัตถุ ขันธ์ ๒ ฯลฯ ปฏิสนธิ. จิตตวิปปยุตตธรรม อาศัยจิตตสัมปยุตตธรรม และจิตตวิปยุตตธรรม เกิดขึ้น เพราะ เหตุปัจจัย คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นจิตตสัมปยุตตธรรม และมหาภูตรูป ทั้งหลาย ปฏิสนธิ. จิตตสัมปยุตตธรรม และจิตตวิปปยุตตธรรม อาศัยจิตตสัมปยุตตธรรม และ จิตตวิปปยุตตธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย คือ ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นจิตตสัมปยุตตธรรม และหทัยวัตถุ ขันธ์ ๒ ฯลฯ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นจิตตสัมปยุตตธรรม และมหาภูตรูปทั้งหลาย ปฏิสนธิ. [๑๒๕] จิตตสัมปยุตตธรรม อาศัยจิตตสัมปยุตตธรรม เกิดขึ้น เพราะอารัมมณปัจจัย มี ๑ นัย เหมือนกับปฏิจจวาร. จิตตสัมปยุตตธรรม อาศัยจิตตวิปปยุตตธรรม เกิดขึ้น เพราะอารัมมณปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลาย ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ อาศัยจักขายตนะ กายายตนะ ฯลฯ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นจิตตสัมปยุตตธรรม อาศัยหทัยวัตถุ ปฏิสนธิ. จิตตสัมปยุตตธรรม อาศัยจิตตสัมปยุตตธรรม และจิตตวิปปยุตตธรรม เกิดขึ้น เพราะ อารัมมณปัจจัย คือ ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๑ ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ และจักขายตนะ ขันธ์ ๒ ฯลฯ ที่สหรคตด้วยกายวิญญาณ ฯลฯ ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นจิตตสัมปยุตตธรรม และ หทัยวัตถุ ขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ. [๑๒๖] ในเหตุปัจจัย มีวาระ ๙ ในอารัมมณปัจจัย มี " ๓ ในอธิปติปัจจัย มี " ๙ ในอนันตรปัจจัย มี " ๓ ในสมนันตรปัจจัย มี " ๓ ในสหชาตปัจจัย มี " ๙ ในอัญญมัญญปัจจัย มี " ๖ ในนิสสยปัจจัย มี " ๙ ในอุปนิสสยปัจจัย มี " ๓ ในปุเรชาตปัจจัย มี " ๓ ในอาเสวนปัจจัย มี " ๓ ในกัมมปัจจัย มี " ๙ ฯลฯ ในอวิคตปัจจัย มี " ๙. [๑๒๗] จิตตสัมปยุตตธรรม อาศัยจิตตสัมปยุตตธรรม เกิดขึ้น ไม่ใช่เพราะเหตุปัจจัย มี ๓ นัย เหมือนกับปฏิจจวาร. จิตตวิปปยุตตธรรม อาศัยจิตตวิปปยุตตธรรม เกิดขึ้น ไม่ใช่เพราะเหตุปัจจัย คือ มหาภูตรูป ๑ ตลอดถึงอสัญญสัตว์. จิตตสัมปยุตตธรรม อาศัยจิตตวิปปยุตตธรรม เกิดขึ้น ไม่ใช่เพราะเหตุปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ อาศัยจักขายตนะ กายายตนะ ฯลฯ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นจิตตสัมปยุตตธรรม ซึ่งเป็นอเหตุกะ อาศัยหทัยวัตถุ ปฏิสนธิ โมหะ ที่ สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ อาศัยหทัยวัตถุ. จิตตสัมปยุตตธรรม และจิตตวิปยุตตธรรม อาศัยจิตตวิปปยุตตธรรม เกิดขึ้น ไม่ใช่ เพราะเหตุปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นจิตตสัมปยุตตธรรม ซึ่งเป็นอเหตุกะ อาศัยหทัยวัตถุ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลาย ปฏิสนธิ. จิตตสัมปยุตตธรรม อาศัยจิตตสัมปยุตตธรรม และจิตตวิปปยุตตธรรม เกิดขึ้น ไม่ใช่เพราะเหตุปัจจัย คือ ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๑ ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ และจักขายตนะ ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๑ ที่สหรคตด้วยกายวิญญาณและกายายตนะ ฯลฯ ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็น จิตตสัมปยุตตธรรม ซึ่งเป็นอเหตุกะ และหทัยวัตถุ ขันธ์ ๒ ฯลฯ ในอเหตุกปฏิสนธิขณะ โมหะ ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ อาศัย ขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ และหทัยวัตถุ. พึงกระทำหัวข้อปัจจัย ๒ ข้อดังกล่าวมาแล้ว ทั้งปวัตติ และปฏิสนธิ.
ฯลฯ
[๑๒๘] ในปัจจัยที่ไม่ใช่เหตุปัจจัย มีวาระ ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อารัมมณปัจจัย มี " ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อธิปติปัจจัย มี " ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อนันตรปัจจัย มี " ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่สมนันตรปัจจัย มี " ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อุปนิสสยปัจจัย มี " ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่ปุเรชาตปัจจัย มี " ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่ปัจฉาชาตปัจจัย มี " ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อาเสวนปัจจัย มี " ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่กัมมปัจจัย มี " ๔ ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิปากปัจจัย มี " ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อาหารปัจจัย มีวาระ ๑ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อินทริยปัจจัย มี " ๑ ในปัจจัยที่ไม่ใช่ฌานปัจจัย มี " ๔ ในปัจจัยที่ไม่ใช่มัคคปัจจัย มี " ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่สัมปยุตตปัจจัย มี " ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิปปยุตตปัจจัย มี " ๒ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อัตถิปัจจัย มี " ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิคตปัจจัย มี " ๓. [๑๒๙] ในปัจจัยที่ไม่ใช่อารัมมณปัจจัย กับเหตุปัจจัย มีวาระ ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่กัมมปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิปปยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๑ ในปัจจัยที่ไม่ใช่นัตถิปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓. [๑๓๐] ในอารัมมณปัจจัย กับปัจจัยที่ไม่ใช่เหตุปัจจัย มีวาระ ๓ ฯลฯ ในมัคคปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ ฯลฯ ในอวิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๙.
นิสสยวาร เหมือนกับปัจจยวาร.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๔๓ บรรทัดที่ ๑๙๓๒-๒๐๒๘ หน้าที่ ๗๖-๗๙. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=43&A=1932&Z=2028&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=43&A=1932&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=43&siri=13              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=43&A=1405              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=43&A=1405              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_43

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]