ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔๑ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๘ มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๒ ปัจฉิมอนุโลมติกปัฏฐาน
ปัญหาวาร
[๒๐๗๓] อัชฌัตตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตตธรรม โดยเหตุปัจจัย คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมมปยุตตขันธ์ และจิตต- *สมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ [๒๐๗๔] พหิทธาธรรม เป็นปัจจัยแก่พหิทธาธรรม โดยเหตุปัจจัย คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นพหิทธาธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป ทั้งหลาย โดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ [๒๐๗๕] อัชฌัตตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตตธรรม โดยอารัมมณปัจจัย คือ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรมแล้ว พิจารณา กุศลกรรมนั้น กุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน ฯลฯ ออกจากฌาน ฯลฯ พระอริยะทั้งหลายออกจากมรรค พิจารณามรรค พิจารณาผล พิจารณากิเลสที่ละแล้ว พิจารณากิเลสที่ข่มแล้ว รู้ซึ่งกิเลสทั้งหลายที่เคยเกิดขึ้นแล้วในกาลก่อน จักขุที่เป็นอัชฌัตตธรรม ฯลฯ กาย รูป ฯลฯ โผฏฐัพพะ หทัยวัตถุ ฯลฯ พิจารณา เห็นขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตตธรรม โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความ เป็นอนัตตา ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภจักขุเป็นต้นนั้น ราคะ ฯลฯ โทมนัส เกิดขึ้น เห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ อากาสานัญจายตนะ เป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนะ โดยอารัมมณปัจจัย อากิญ- *จัญญายตนะ เป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะ โดยอารัมมณปัจจัย รูปายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ โดยอารัมมณปัจจัย ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตตธรรม เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ แก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่ยถากัมมุปคญาณ แก่อนาคตังสญาณ แก่อาวัชชนะ โดยอารัมมณปัจจัย [๒๐๗๖] อัชฌัตตธรรม เป็นปัจจัยแก่พหิทธาธรรม โดยอารัมมณปัจจัย คือ บุคคลอื่น พิจารณาเห็นจักขุที่เป็นอัชฌัตตธรรม ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ บุคคลพิจารณาเห็นขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตตธรรม โดยความเป็นของ ไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภ หทัยวัตถุเป็นต้นนั้น ราคะ ฯลฯ โทมนัส เกิดขึ้น เห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจิตที่เป็นอัชฌัตตธรรม โดยเจโตปริยญาณ รูปายตนะที่เป็นอัชฌัตตธรรม เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณที่เป็นพหิทธาธรรม โผฏ- *ฐัพพายตนะที่เป็นอัชฌัตตธรรม เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณที่เป็นพหิทธาธรรม โดยอารัมมณปัจจัย ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตตธรรม เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ แก่เจโตปริยญาณ แก่ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่ยถากัมมุปคญาณ แก่อนาคตังสญาณ แก่อาวัชชนะ โดยอารัมมณ- *ปัจจัย [๒๐๗๗] พหิทธาธรรม เป็นปัจจัยแก่พหิทธาธรรม โดยอารัมมณปัจจัย คือ บุคคลอื่น ให้ทาน ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ พิจารณากุศลกรรมนั้น พิจารณากุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน ออกจากฌาน ฯลฯ พระอริยะทั้งหลายออกจากมรรค ผล ฯลฯ พิจารณานิพพาน นิพพาน เป็นปัจจัยแก่โคตรภู แก่โวทาน แก่มรรค แก่ผล แก่อาวัชชนะ โดย อารัมมณปัจจัย พระอริยะทั้งหลายพิจารณากิเลสที่ละแล้ว กิเลสที่ข่มแล้ว ฯลฯ กิเลสทั้งหลายที่เคย เกิดขึ้นแล้วในกาลก่อน ฯลฯ บุคคลอื่น พิจารณาเห็นจักขุที่เป็นพหิทธาธรรม ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นพหิทธาธรรม โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัส เกิดขึ้น เห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจิตที่เป็นพหิทธาธรรม โดยเจโตปริยญาณ อากาสานัญจายตนะ เป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนะ โดยอารัมมณปัจจัย อากิญจัญ- *ญายตนะ เป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะ โดยอารัมมณปัจจัย ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นพหิทธาธรรม เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ แก่เจโตปริยญาณ แก่ อาวัชชนะ โดยอารัมมณปัจจัย [๒๐๗๘] พหิทธาธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตตธรรม โดยอารัมมณปัจจัย คือ พระอริยะทั้งหลายพิจารณานิพพาน นิพพาน เป็นปัจจัยแก่โคตรภู แก่โวทาน แก่มรรค แก่ผล แก่อาวัชชนะ โดย อารัมมณปัจจัย จักขุที่เป็นพหิทธาธรรม ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นพหิทธาธรรม โดย ความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัส เกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาต บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจิตที่เป็นพหิทธาธรรม โดยเจโตปริยญาณ รูปายตนะที่เป็นพหิทธาธรรม เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณที่เป็นอัชฌัตตธรรม โผฏ- *ฐัพพายตนะที่เป็นพหิทธาธรรม เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณที่เป็นอัชฌัตตธรรม ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นพหิทธาธรรม เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ แก่เจโตปริยญาณ แก่ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่ยถากัมมุปคญาณ แก่อนาคตังสญาณ แก่อาวัชชนะ โดยอารัมมณ- *ปัจจัย [๒๐๗๙] อัชฌัตตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตตธรรม โดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ สหชาตาธิปติ ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ กระทำกุศลกรรมนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้วพิจารณา กระทำกุศลกรรม ทั้งหลาย ที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อนให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ ออกจากฌาน กระทำฌานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ พระอริยะทั้งหลายออกจากมรรค กระทำมรรคให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ กระทำผลให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้วพิจารณา จักขุที่เป็นอัชฌัตตธรรม ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ บุคคลกระทำขันธ์ทั้งหลายที่เป็น อัชฌัตตธรรม ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำ จักขุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะ ฯลฯ ทิฏฐิ เกิดขึ้น ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิปติธรรมที่เป็นอัชฌัตตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต- *ขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอธิปติปัจจัย [๒๐๘๐] อัชฌัตตธรรม เป็นปัจจัยแก่พหิทธาธรรม โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลอื่น จักขุที่เป็นอัชฌัตตธรรม ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ กระทำขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตตธรรมให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ย่อม ยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำจักขุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะ เกิดขึ้น ทิฏฐิ เกิดขึ้น [๒๐๘๑] พหิทธาธรรม เป็นปัจจัยแก่พหิทธาธรรม โดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ สหชาตาธิปติ ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลอื่นให้ทาน ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ กระทำกุศลกรรมนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ กระทำกุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อนให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ ออกจากฌาน ฯลฯ พระอริยะทั้งหลายออกจากมรรค กระทำมรรคให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ กระทำผลให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ นิพพาน เป็นปัจจัยแก่โคตรภู แก่โวทาน แก่มรรค แก่ผล โดยอธิปติปัจจัย จักขุที่เป็นพหิทธาธรรม ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ บุคคลกระทำขันธ์ทั้งหลายที่เป็น พหิทธาธรรม ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำ จักขุเป็นต้นนั้นให้หนักแน่น ราคะ ฯลฯ ทิฏฐิ ฯลฯ เกิดขึ้น ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิปติธรรมที่เป็นพหิทธาธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต- *ขันธ์ จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอธิปติปัจจัย [๒๐๘๒] พหิทธาธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตตธรรม โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ พระอริยะทั้งหลายกระทำนิพพานให้เป็น อารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว พิจารณา นิพพาน เป็นปัจจัยแก่โคตรภู แก่โวทาน แก่มรรค แก่ผล โดยอธิปติปัจจัย จักขุที่เป็นพหิทธาธรรม ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ บุคคลกระทำขันธ์ทั้งหลายที่เป็น พหิทธาธรรม ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำ จักขุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะ ฯลฯ ทิฏฐิ เกิดขึ้น [๒๐๘๓] อัชฌัตตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตตธรรม โดยอนันตรปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตตธรรม ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็น อัชฌัตตธรรม ที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โคตรภู อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โวทาน โคตรภูเป็นปัจจัยแก่ มรรค โวทาน เป็นปัจจัยแก่มรรค มรรคเป็นปัจจัยแก่ผล ฯลฯ อนุโลม เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ของบุคคลผู้ออกจากนิโรธ เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ โดยอนันตรปัจจัย [๒๐๘๔] พหิทธาธรรม เป็นปัจจัยแก่พหิทธาธรรม โดยอนันตรปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นพหิทธาธรรม ที่เกิดก่อนๆ เท่านี้ที่ต่างกัน นอกจากนั้นมี อธิบายตามบาลีข้างต้นนั้นเอง [๒๐๘๕] อัชฌัตตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตตธรรม โดยสมนันตรปัจจัย เหมือน กับ อนันตรปัจจัย ฯลฯ เป็นปัจจัยโดย สหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดย อัญญมัญญปัจจัย เป็นปัจจัย โดย นิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดย อุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธาที่เป็นอัชฌัตตธรรมแล้ว ให้ทาน ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ ฌาน ฯลฯ วิปัสสนา ฯลฯ มรรค อภิญญา ฯลฯ ยังสมาบัติ ให้เกิดขึ้น ก่อมานะ ถือทิฏฐิ บุคคลเข้าไปอาศัยศีลที่เป็นอัชฌัตตธรรม ฯลฯ ปัญญา ราคะ ความปรารถนา สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย ฤดู โภชนะ ฯลฯ เสนาสนะแล้วให้ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น ฆ่าสัตว์ ทำลายสงฆ์ ศรัทธาที่เป็นอัชฌัตตธรรม ฯลฯ ปัญญา ราคะ ความปรารถนา สุขทางกาย ทุกข์ ทางกาย ฯลฯ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่เป็นอัชฌัตตธรรม แก่ปัญญา แก่ราคะ แก่ความ ปรารถนา แก่สุขทางกาย แก่ทุกข์ทางกาย แก่มรรค แก่ผลสมาบัติ โดยอุปนิสสยปัจจัย [๒๐๘๖] อัชฌัตตธรรม เป็นปัจจัยแก่พหิทธาธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอื่นเข้าไปอาศัยศรัทธาที่เป็นอัชฌัตตธรรม แล้วให้ทาน ฯลฯ ก่อมานะ ถือทิฏฐิ บุคคลอื่นเข้าไปอาศัยศีลที่เป็นอัชฌัตตธรรม ฯลฯ เสนาสนะแล้ว ให้ทาน ฯลฯ ฆ่าสัตว์ ทำลายสงฆ์ ศรัทธาที่เป็นอัชฌัตตธรรม ฯลฯ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่เป็นพหิทธาธรรม แก่ มรรค แก่ผลสมาบัติ โดยอุปนิสสยปัจจัย [๒๐๘๗] พหิทธาธรรม เป็นปัจจัยแก่พหิทธาธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอื่นเข้าไปอาศัยศรัทธาที่เป็นพหิทธาธรรม ฯลฯ ความปรารถนา สุขทางกาย ฯลฯ เสนาสนะแล้ว ให้ทาน ฯลฯ ทำลายสงฆ์ ศรัทธาที่เป็นพหิทธาธรรม ฯลฯ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่เป็นพหิทธาธรรม แก่ผลสมาบัติ โดยอุปนิสสยปัจจัย [๒๐๘๘] พหิทธาธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตตธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธาที่เป็นพหิทธาธรรมแล้ว ให้ทาน ฯลฯ ทำลายสงฆ์ ศรัทธาที่เป็นพหิทธาธรรม ฯลฯ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่เป็นอัชฌัตตธรรม แก่ผลสมาบัติ โดยอุปนิสสยปัจจัย [๒๐๘๙] อัชฌัตตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตตธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาต วัตถุปุเรชาต ที่เป็น อารัมมณปุเรชาต ได้แก่ จักขุที่เป็นอัชฌัตตธรรม ฯลฯ หทัยวัตถุ โดย ความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ฯลฯ โทมนัส เกิดขึ้น เห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ โดยปุเรชาตปัจจัย ที่เป็น วัตถุปุเรชาต ได้แก่ จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตตธรรม โดยปุเรชาต- *ปัจจัย [๒๐๙๐] อัชฌัตตธรรม เป็นปัจจัยแก่พหิทธาธรรม โดยปุเรชาตปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณปุเรชาต ได้แก่ บุคคลอื่น จักขุที่เป็นอัชฌัตตธรรม ฯลฯ หทัยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัส เกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รูปายตนะที่เป็นอัชฌัตตธรรม เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณที่เป็นพหิทธาธรรม โผฏฐัพ- *พายตนะที่เป็นอัชฌัตตธรรม เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณที่เป็นพหิทธาธรรม โดยปุเรชาตปัจจัย [๒๐๙๑] พหิทธาธรรม เป็นปัจจัยแก่พหิทธาธรรม โดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาต วัตถุปุเรชาต ที่เป็น อารัมมณปุเรชาต ได้แก่ บุคคลอื่น จักขุที่เป็นพหิทธาธรรม ฯลฯ หทัยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รูปายตนะ ที่เป็นพหิทธาธรรม เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณที่เป็นพหิทธาธรรม โผฏฐัพ- *พายตนะที่เป็นพหิทธาธรรม เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณที่เป็นพหิทธาธรรม ที่เป็น วัตถุปุเรชาต ได้แก่ จักขายตนะที่เป็นพหิทธาธรรม ฯลฯ กายายตนะ ฯลฯ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นพหิทธาธรรม โดยปุเรชาตปัจจัย [๒๐๙๒] พหิทธาธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตตธรรม โดยปุเรชาตปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณปุเรชาต ได้แก่ จักขุที่เป็นพหิทธาธรรม ฯลฯ หทัยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัส เกิดขึ้น เห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รูปายตนะที่เป็นพหิทธาธรรม เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณที่เป็นอัชฌัตตธรรม ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะที่เป็นพหิทธาธรรม เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณที่เป็นอัชฌัตตธรรม โดยปุเรชาต- *ปัจจัย [๒๐๙๓] อัชฌัตตธรรม และพหิทธาธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตตธรรม โดย ปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาต วัตถุปุเรชาต ได้แก่รูปายตนะที่เป็นพหิทธาธรรม และจักขายตนะที่เป็นอัชฌัตตธรรม เป็นปัจจัยแก่ จักขุวิญญาณที่เป็นอัชฌัตตธรรม โดยปุเรชาตปัจจัย โผฏฐัพพายตนะที่เป็นพหิทธาธรรม และ กายายตนะที่เป็นอัชฌัตตธรรม เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณที่เป็นอัชฌัตตธรรม รูปายตนะที่เป็น พหิทธาธรรม และหทัยวัตถุที่เป็นอัชฌัตตธรรม ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะที่เป็นพหิทธาธรรม และ หทัยวัตถุที่เป็นอัชฌัตตธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตตธรรม โดยปุเรชาตปัจจัย [๒๐๙๔] อัชฌัตตธรรม และพหิทธาธรรม เป็นปัจจัยแก่พหิทธาธรรม โดย ปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมณปุเรชาต วัตถุปุเรชาต ได้แก่รูปายตนะที่เป็นอัชฌัตตธรรม และจักขายตนะที่เป็นพหิทธาธรรม เป็นปัจจัยแก่ จักขุวิญญาณที่เป็นพหิทธาธรรม โดยปุเรชาตปัจจัย โผฏฐัพพายตนะที่เป็นอัชฌัตตธรรม และ กายายตนะที่เป็นพหิทธาธรรม ฯลฯ แก่โผฏฐัพพายตนะที่เป็นอัชฌัตตธรรม และหทัยวัตถุ ที่เป็น พหิทธาธรรม เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณที่เป็นพหิทธาธรรม โดยปุเรชาตปัจจัย รูปายตนะที่เป็น อัชฌัตตธรรม และหทัยวัตถุที่เป็นพหิทธาธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นพหิทธาธรรม โดยปุเรชาตปัจจัย [๒๐๙๕] อัชฌัตตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตตธรรม โดยปัจฉาชาตปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตตธรรม ที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้ ที่เกิดก่อน โดยปัจฉาชาตปัจจัย [๒๐๙๖] พหิทธาธรรม เป็นปัจจัยแก่พหิทธาธรรม โดยปัจฉาชาตปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นพหิทธาธรรม ที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้ ที่เกิดก่อน โดยปัจฉาชาตปัจจัย [๒๐๙๗] อัชฌัตตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตตธรรม โดยอาเสวนปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตตธรรม ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็น อัชฌัตตธรรม ที่เกิดหลังๆ โดยอาเสวนปัจจัย อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โคตรภู อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โวทาน โคตรภู เป็นปัจจัยแก่มรรค โวทาน เป็นปัจจัยแก่มรรค โดยอาเสวนปัจจัย [๒๐๙๘] พหิทธาธรรม เป็นปัจจัยแก่พหิทธาธรรม โดยอาเสวนปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เกิดก่อนๆ ฯลฯ เหมือนกับ อัชฌัตต นั่นเอง [๒๐๙๙] อัชฌัตตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตตธรรม โดยกัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต นานาขณิก ที่เป็น สหชาต ได้แก่ เจตนาที่เป็นอัชฌัตตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และ จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยกัมมปัจจัย ที่เป็น นานาขณิก ได้แก่ เจตนาที่เป็นอัชฌัตตธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นอัชฌัตตธรรม ซึ่งเป็นวิบาก และกฏัตตารูปทั้งหลาย โดยกัมมปัจจัย [๒๑๐๐] พหิทธาธรรม เป็นปัจจัยแก่พหิทธาธรรม โดยกัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต นานาขณิก ที่เป็น สหชาต ได้แก่ เจตนาที่เป็นพหิทธาธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และ จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยกัมมปัจจัย ที่เป็น นานาขณิก ได้แก่ เจตนาที่เป็นพหิทธาธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็น พหิทธาธรรม ซึ่งเป็นวิบาก และกฏัตตารูปทั้งหลาย โดยกัมมปัจจัย [๒๑๐๑] อัชฌัตตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตตธรรม โดยวิปากปัจจัย พึงใส่ให้ เต็ม เหมือนกับ ปฏิจจวาร [๒๑๐๒] อัชฌัตตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตตธรรม โดยอาหารปัจจัย คือ อาหารทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏ- *ฐานรูปทั้งหลาย โดยอาหารปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ กวฬิงการาหารที่เป็นอัชฌัตตธรรม เป็น ปัจจัยแก่กายที่เป็นอัชฌัตตธรรม โดยอาหารปัจจัย [๒๑๐๓] อัชฌัตตธรรม เป็นปัจจัยแก่พหิทธาธรรม โดยอาหารปัจจัย คือ กวฬิงการาหารที่เป็นอัชฌัตตธรรม เป็นปัจจัยแก่กายที่เป็นพหิทธาธรรม โดย อาหารปัจจัย [๒๑๐๔] พหิทธาธรรม เป็นปัจจัยแก่พหิทธาธรรม โดยอาหารปัจจัย พึงกระทำ ปวัตติ ปฏิสนธิ กวฬิงการาหารที่เป็นพหิทธาธรรม เป็นปัจจัยแก่กายที่เป็นพหิทธาธรรม โดยอาหารปัจจัย [๒๑๐๕] พหิทธาธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตตธรรม โดยอาหารปัจจัย คือ กวฬิงการาหารที่เป็นพหิทธาธรรม เป็นปัจจัยแก่กายที่เป็นอัชฌัตตธรรม โดย อาหารปัจจัย [๒๑๐๖] อัชฌัตตธรรม และพหิทธาธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตตธรรม โดย อาหารปัจจัย คือ กวฬิงการาหารที่เป็นอัชฌัตตธรรม และพหิทธาธรรมเป็นปัจจัยแก่กายที่เป็น อัชฌัตตธรรม โดยอาหารปัจจัย [๒๑๐๗] อัชฌัตตธรรม และพหิทธาธรรม เป็นปัจจัยแก่พหิทธาธรรม โดย อาหารปัจจัย คือ กวฬิงการาหารที่เป็นอัชฌัตตธรรม และกวฬิงการาหารที่เป็นพหิทธาธรรม เป็น ปัจจัยแก่กายที่เป็นพหิทธาธรรม โดยอาหารปัจจัย [๒๑๐๘] อัชฌัตตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตตธรรม โดยอินทริยปัจจัย อินทรีย์ทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตตธรรม ก็ดี รูปชีวิตินทรีย์ ก็ดี พึงให้พิสดาร เป็นปัจจัยโดย ฌานปัจจัย เป็นปัจจัยโดย มัคคปัจจัย เป็นปัจจัยโดย สัมปยุตตปัจจัย เป็นปัจจัยโดย วิปปยุตตปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต ปัจฉาชาต บทมาติกาทั้งหลาย ผู้มีปัญญา พึงให้พิสดาร [๒๑๐๙] พหิทธาธรรม เป็นปัจจัยแก่พหิทธาธรรม โดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต ปัจฉาชาต ฯลฯ [๒๑๑๐] อัชฌัตตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตตธรรม โดยอัตถิปัจจัย มี ๕ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต ปัจฉาชาต อาหาร อินทริย ที่เป็น สหชาต ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอัชฌัตตธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และ จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่หทัยวัตถุ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ทั้งหลาย มหาภูตรูป ๑ ฯลฯ ส่วนพวกอสัญญสัตว์ทั้งหลาย มหาภูตรูป ๑ เป็นปัจจัยแก่ มหาภูตรูป ๓ ที่เป็น ปุเรชาต ได้แก่ จักขุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ เหมือนกับ ปุเรชาตปัจจัย หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตตธรรม โดยอัตถิปัจจัย ที่เป็น ปัจฉาชาต ได้แก่ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตตธรรม และกวฬิงการาหารที่เป็น อัชฌัตตธรรม เป็นปัจจัยแก่กายนี้ รูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปทั้งหลาย [๒๑๑๑] อัชฌัตตธรรม เป็นปัจจัยแก่พหิทธาธรรม โดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ ปุเรชาต อาหาร ที่เป็น ปุเรชาต ได้แก่ บุคคลอื่นพิจารณาเห็นจักขุที่เป็นอัชฌัตตธรรม ฯลฯ หทัยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รูปายตนะที่เป็นอัชฌัตตธรรม ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณที่เป็น พหิทธาธรรม โดยอัตถิปัจจัย กวฬิงการาหาร ที่เป็นอัชฌัตตธรรม เป็นปัจจัยแก่กายที่เป็น พหิทธาธรรม โดยอัตถิปัจจัย [๒๑๑๒] พหิทธาธรรม เป็นปัจจัยแก่พหิทธาธรรม โดยอัตถิปัจจัย มี ๕ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต ปัจฉาชาต อาหาร อินทริย พหิทธาธรรมไม่มีอะไรแตกต่างกัน บทมาติกาทั้งหลาย พึงให้พิสดาร [๒๑๑๓] พหิทธาธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตตธรรม โดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ ปุเรชาต อาหาร ที่เป็น ปุเรชาต ได้แก่ จักขุที่เป็นพหิทธาธรรม ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ เห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รูปายตนะที่เป็นพหิทธาธรรม ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณที่เป็น อัชฌัตตธรรม โดยอัตถิปัจจัย กวฬิงการาหารที่เป็นพหิทธาธรรมเป็นปัจจัยแก่กายที่เป็นอัชฌัตต- *ธรรม โดยอัตถิปัจจัย [๒๑๑๔] อัชฌัตตธรรม และพหิทธาธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตตธรรม โดย อัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ ปุเรชาต อาหาร ที่เป็น ปุเรชาต ได้แก่ รูปายตนะที่เป็นพหิทธาธรรม และจักขุที่เป็นอัชฌัตตธรรม เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณที่เป็นอัชฌัตตธรรม โผฏฐัพพายตนะที่เป็นพหิทธาธรรม และกายายตนะ ที่เป็นอัชฌัตตธรรม เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณที่เป็น อัชฌัตตธรรม โดยอัตถิปัจจัย รูปายตนะ ที่เป็นพหิทธาธรรม และหทัยวัตถุที่เป็นอัชฌัตตธรรม ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะที่เป็น พหิทธาธรรม และหทัยวัตถุที่เป็นอัชฌัตตธรรมเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตตธรรม โดยอัตถิปัจจัย ที่เป็น อาหาร ได้แก่ กวฬิงการาหารที่เป็นอัชฌัตตธรรม และพหิทธาธรรม เป็น ปัจจัยแก่กายที่เป็นอัชฌัตตธรรม โดยอัตถิปัจจัย [๒๑๑๕] อัชฌัตตธรรม และพหิทธาธรรม เป็นปัจจัยแก่พหิทธาธรรม โดย อัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ ปุเรชาต อาหาร ที่เป็น ปุเรชาต ได้แก่ รูปายตนะที่เป็นอัชฌัตตธรรม และจักขายตนะที่เป็นพหิทธาธรรม เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณที่เป็นพหิทธาธรรม โดยอัตถิปัจจัย โผฏฐัพพายตนะที่เป็นอัชฌัตตธรรม และกายายตนะที่เป็นพหิทธาธรรม เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณที่เป็นพหิทธาธรรม โดยอัตถิปัจจัย รูปายตนะที่เป็นอัชฌัตตธรรม และหทัยวัตถุที่เป็นพหิทธาธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นพหิทธาธรรม โดยอัตถิปัจจัย โผฏฐัพพายตนะที่เป็นอัชฌัตตธรรม และหทัยวัตถุที่เป็น พหิทธาธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นพหิทธาธรรม โดยอัตถิปัจจัย ที่เป็น อาหาร ได้แก่ กวฬิงการาหารที่เป็นอัชฌัตตธรรม และกวฬิงการาหารที่เป็น พหิทธาธรรม เป็นปัจจัยแก่กายที่เป็นพหิทธาธรรม โดยอัตถิปัจจัย [๒๑๑๖] อัชฌัตตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตตธรรม โดยนัตถิปัจจัย เป็นปัจจัย โดย วิคตปัจจัย เป็นปัจจัยโดย อวิคตปัจจัย [๒๑๑๗] ในเหตุปัจจัย มีวาระ ๒ ในอารัมมณปัจจัย มี " ๔ ในอธิปติปัจจัย มี " ๔ ในอนันตรปัจจัย มี " ๒ ในสมนันตรปัจจัย มี " ๒ ในสหชาตปัจจัย ในอัญญมัญญปัจจัย ในนิสสยปัจจัย มีวาระ ๒ ในอุปนิสสยปัจจัย มี " ๔ ในปุเรชาตปัจจัย มี " ๖ ในปัจฉาชาตปัจจัย ในอาเสวนปัจจัย ในกัมมปัจจัย ในวิปากปัจจัย มีวาระ ๒ ในอาหารปัจจัย มี " ๖ ในอินทริยปัจจัย มี " ๒ ในฌานปัจจัย ในมัคคปัจจัย ในสัมปยุตตปัจจัย ในวิปปยุตตปัจจัย มีวาระ ๒ ในอัตถิปัจจัย มี " ๖ ในนัตถิปัจจัย มี " ๒ ในวิคตปัจจัย มี " ๒ ในอวิคตปัจจัย มี " ๖
พึงนับอย่างนี้
อนุโลม จบ
[๒๑๑๘] อัชฌัตตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตตธรรม โดยอารัมมณปัจจัย เป็น ปัจจัยโดย สหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดย อุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดย ปุเรชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดย ปัจฉาชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดย กัมมปัจจัย เป็นปัจจัยโดย อาหารปัจจัย เป็นปัจจัยโดย อินทริยปัจจัย [๒๑๑๙] อัชฌัตตธรรม เป็นปัจจัยแก่พหิทธาธรรม โดยอารัมมณปัจจัย เป็น ปัจจัยโดย อุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดย ปุเรชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดย อาหารปัจจัย [๒๑๒๐] พหิทธาธรรม เป็นปัจจัยแก่พหิทธาธรรม โดยอารัมมณปัจจัย เป็น ปัจจัยโดย สหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดย อุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดย ปุเรชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดย ปัจฉาชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดย กัมมปัจจัย เป็นปัจจัยโดย อาหารปัจจัย เป็นปัจจัยโดย อินทริยปัจจัย [๒๑๒๑] พหิทธาธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตตธรรม โดยอารัมมณปัจจัย เป็น ปัจจัยโดย อุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดย ปุเรชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดย อาหารปัจจัย [๒๑๒๒] อัชฌัตตธรรม และพหิทธาธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตตธรรม ฯลฯ มี ๒ อย่าง คือ ปุเรชาต อาหาร [๒๑๒๓] อัชฌัตตธรรมและพหิทธาธรรม เป็นปัจจัยแก่พหิทธาธรรม ฯลฯ มี ๒ อย่าง คือ ปุเรชาต อาหาร [๒๑๒๔] ในปัจจัยที่ไม่ใช่เหตุปัจจัย มีวาระ ๖ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อารัมมณปัจจัย มี " ๖ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อธิปติปัจจัย มี " ๖ ฯลฯ ในปัจจัยทั้งปวงพึงกระทำหัวข้อปัจจัย ๖ ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิปปยุตตปัจจัย มีวาระ ๖ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อัตถิปัจจัย มี " ๔ ในปัจจัยที่ไม่ใช่นัตถิปัจจัย มี " ๖ ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิคตปัจจัย มี " ๖ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อวิคตปัจจัย มี " ๔
พึงนับอย่างนี้
ปัจจนียะ จบ
[๒๑๒๕] ในปัจจัยที่ไม่ใช่อารัมมณปัจจัย กับเหตุปัจจัย มีวาระ ๒ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อธิปติปัจจัย กับ ฯลฯ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อนันตรปัจจัย กับ ฯลฯ ในปัจจัยที่ไม่ใช่สมนันตรปัจจัย กับ ฯลฯ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อัญญมัญญปัจจัย กับ ฯลฯ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อุปนิสสยปัจจัย กับ ฯลฯ มีวาระ ๒ ฯลฯ ในปัจจัยทั้งปวง กับ ฯลฯ มี " ๒ ในปัจจัยที่ไม่ใช่สัมปยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิปปยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ ในปัจจัยที่ไม่ใช่นัตถิปัจจัย กับ ฯลฯ ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มีวาระ ๒
พึงนับอย่างนี้
อนุโลมปัจจนียะ จบ
[๒๑๒๖] ในอารัมมณปัจจัย กับปัจจัยที่ไม่ใช่เหตุปัจจัย มีวาระ ๔ ในอธิปติปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๔
พึงกระทำการนับบทที่เป็นอนุโลม
ในอวิคตปัจจัย กับปัจจัยที่ไม่ใช่เหตุปัจจัย มีวาระ ๖
พึงนับอย่างนี้
ปัจจนียานุโลม จบ
ปัญหาวาร จบ
อัชฌัตตัตติกะ ที่ ๒๐ จบ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๔๑ บรรทัดที่ ๑๔๑๙๑-๑๔๕๗๑ หน้าที่ ๖๐๒-๖๑๘. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=41&A=14191&Z=14571&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=41&A=14191&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=41&siri=45              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=41&i=2073              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=41&A=11359              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=41&A=11359              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_41

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]