ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๔ กถาวัตถุปกรณ์
ทานกถา
[๑๑๓๙] สกวาที ทาน คือ เจตสิกธรรม หรือ? ปรวาที ถูกแล้ว ส. จะให้เจตสิกธรรมแก่คนอื่นๆ ก็ได้ หรือ? @๑. ที. สี. ข้อ ๓๔๐ หน้า ๒๗๔ ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. จะให้เจตสิกธรรมแก่คนอื่นๆ ก็ได้ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. จะให้ผัสสะแก่คนอื่นๆ ก็ได้ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. จะให้เวทนา ฯลฯ สัญญา เจตนา สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ฯลฯ ปัญญา แก่คนอื่นๆ ก็ได้หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๑๔๐] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ทาน คือเจตสิกธรรม หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. ทาน มีผลไม่น่าปรารถนา มีผลไม่น่าใคร่ มีผลไม่เป็นที่ฟูใจ มีผลแสลง มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก หรือ? ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ป. ทานมีผลน่าปรารถนา มีผลน่าใคร่ มีผลเป็นที่ฟูใจ มีผลไม่แสลง มี สุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก มิใช่หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. หากว่า ทาน มีผลน่าปรารถนา มีผลน่าใคร่ มีผลเป็นที่ฟูใจ มีผลไม่ แสลง มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าว ว่า ทาน คือ เจตสิกธรรม ส. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ทานมีผลน่าปรารถนา (และ) ทานก็คือจีวร หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. จีวร มีผลน่าปรารถนา มีผลน่าใคร่ มีผลเป็นที่ฟูใจ มีผลไม่แสลง มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ทานมีผลน่าปรารถนา (และ) ทานก็คือ บิณฑ- บาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร มีผลน่าปรารถนา มีผลน่าใคร่ มีผลเป็นที่ฟูใจ มีผลไม่แสลง มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๑๔๑] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ทาน คือ เจตสิกธรรม หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ธรรมเหล่านี้ คือ ศรัทธา หิริและทานที่เป็น กุศล ไปตามสัตบุรุษ ธรรม ๓ ประการนี้แล สัตบุรุษทั้งหลาย กล่าวว่า เป็นทางไปสู่เทวโลกเพราะบุคคลไปสู่เทวโลกได้ด้วยธรรม ๓ ประการนี้ ดังนี้ ๑- เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. ถ้าอย่างนั้น ทาน ก็คือ เจตสิกธรรม น่ะสิ [๑๑๔๒] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ทาน คือ เจตสิกธรรม หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทาน ๕ ประการนี้ เป็นทานใหญ่ ปรากฏว่าเลิศ ปรากฏโดยราตรี ปรากฏว่าเป็นวงค์ เป็นธรรมเก่าแก่ อันสมณพราหมณ์ผู้รู้ทั้งหลายมิได้ลบล้างไม่เคย ลบล้าง ไม่รังเกียจอยู่ จักไม่รังเกียจ ไม่คัดค้านแล้ว ทาน ๕ เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ละปาณา- ติบาต เป็นผู้เว้นขาดแล้วจากปาณาติบาต อริยสาวกผู้เว้นขาดแล้วจาก @๑. อํ. อฏฺฐก. ข้อ ๑๒๒ หน้า ๒๔๐ ปาณาติบาต ชื่อว่า ให้อภัย ให้ความเป็นผู้ไม่มีเวร ให้ความไม่ เบียดเบียนแก่สัตว์หาประมาณมิได้ ครั้นให้อภัย ให้ความเป็นผู้ไม่ มีเวร ให้ความไม่เบียดเบียน แก่สัตว์หาประมาณมิได้แล้ว ย่อม เป็นผู้มีส่วนแห่งความไม่มีภัย ความไม่มีเวร ความไม่เบียดเบียน หาประมาณมิได้ นี้เป็นทานข้อแรก ซึ่งเป็นทานใหญ่ ปรากฏว่าเลิศ ปรากฏโดยราตรี ปรากฏว่าเป็นวงศ์ เป็นธรรมเก่าแก่ อันสมณ- พราหมณ์ผู้รู้ทั้งหลายมิได้ลบล้าง ไม่เคยลบล้าง ไม่รังเกียจอยู่ จัก ไม่รังเกียจ ไม่คัดค้านแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก อริยสาวก ละอทินนาทาน ฯลฯ ละกาเมสุมิจฉาจาร ฯลฯ ละมุสาวาท ฯลฯ ละฐานะอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทคือดื่มสุราเมรัย เป็นผู้ เว้นขาดแล้วจากฐานะอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท คือดื่มน้ำเมา กล่าวคือสุราเมรัย อริยสาวกผู้เว้นขาดแล้วจากฐานะอันเป็นที่ตั้งแห่ง ความประมาท คือดื่มน้ำเมากล่าวคือสุราเมรัย ชื่อว่า ให้อภัย ให้ ความไม่มีเวร ให้ความไม่เบียดเบียนแก่สัตว์หาประมาณมิได้ ครั้น ให้อภัย ให้ความไม่มีเวร ให้ความไม่เบียดเบียนแก่สัตว์หาประ มาณมิได้แล้ว ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งความไม่มีภัย ความไม่มีเวร ความไม่เบียดเบียนหาประมาณมิได้ นี้เป็นทานข้อคำรบ ๕ ซึ่งเป็น ทานใหญ่ ปรากฏว่าเลิศ ปรากฏโดยราตรี ปรากฏว่าเป็นวงศ์ เป็น ธรรมเก่าแก่ อันสมณพราหมณ์และผู้รู้ทั้งหลาย มิได้ลบล้าง ไม่ เคยเลยล้าง ไม่รังเกียจอยู่ จักไม่รังเกียจ ไม่คัดค้านแล้ว ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ทาน ๕ ประการนี้แล เป็นทานใหญ่ ปรากฏว่าเลิศ ปรากฏว่าโดยราตรีปรากฏว่าเป็นวงศ์ เป็นธรรมเก่าแก่ อันสมณ พราหมณ์ทั้งหลาย มิได้ลบล้าง ไม่เคยลบล้าง ไม่รังเกียจอยู่ จักไม่ รังเกียจ ไม่คัดค้านแล้วดังนี้ ๑- เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ? @๑. อํ. อฏฺฐก. ข้อ ๑๒๙ หน้า ๒๕๐ ส. ถูกแล้ว ป. ถ้าอย่างนั้น ทาน ก็คือ เจตสิกธรรม น่ะสิ [๑๑๔๓] ส. ไม่พึงกล่าวว่า ทาน คือ เทยยธรรม หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมให้ข้าว ให้ น้ำ ให้ผ้า ให้ยาน ให้ดอกไม้ ให้ของหอม ให้เครื่องลูบไล้ ให้ที่นอน ให้ที่พัก ให้เครื่องประทีป ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ถ้าอย่างนั้น ทานคือเทยยธรรมน่ะสิ [๑๑๔๔] ป. ทาน คือ เทยยธรรม หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. เทยยธรรม มีผลน่าปรารถนา มีผลน่าใคร่ มีผลเป็นที่ฟูใจ มีผลไม่แสลง มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก หรือ? ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ป. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ทานมีผลน่าปรารถนา (และ) ทาน ก็คือ จีวร หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. จีวร มีผลน่าปรารถนา มีผลน่าใคร่ มีผลเป็นที่ฟูใจ มีผลไม่แสลง มีสุข เป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก หรือ? ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ป. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ทานมีผลน่าปรารถนา (และ) ทานก็คือ บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร มีผลน่าปรารถนา มีผลน่าใคร่ มีผลเป็นที่ฟูใจ มีผลไม่แสลง มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก หรือ? ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ป. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ทาน คือ เทยยธรรม
ทานกถา จบ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๗ บรรทัดที่ ๑๑๑๒๖-๑๑๒๓๓ หน้าที่ ๔๖๒-๔๖๗. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=11126&Z=11233&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=37&A=11126&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=86              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1139              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=37&A=7357              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=5019              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=37&A=7357              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=5019              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv7.4/en/aung-rhysdavids

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]