ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๖ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๓ ธาตุกถา-ปุคคลบัญญัติปกรณ์
สัตตกนิทเทส
[บุคคล ๗ จำพวก]
[๑๔๘] บุคคลจมแล้วคราวเดียว ย่อมจมอยู่นั่นเอง เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ประกอบแล้วด้วยอกุศลธรรมอันดำโดย ส่วนเดียว บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า บุคคลจมแล้วคราวเดียว ย่อมจมอยู่นั่นเอง บุคคลโผล่ขึ้นแล้ว จมลงอีก เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมโผล่ขึ้นในกุศลธรรมคือสัทธาอันดี ย่อมโผล่ ขึ้นในกุศลธรรมคือหิริอันดี ย่อมโผล่ขึ้นในกุศลธรรมคือโอตตัปปะอันดี ย่อมโผล่ ขึ้นในกุศลธรรมคือวิริยะอันดี ย่อมโผล่ขึ้นในกุศลธรรมคือปัญญาอันดี สัทธา ของบุคคลนั้นย่อมไม่ตั้งอยู่ได้ ย่อมไม่เจริญ ย่อมเสื่อมไปถ่ายเดียว หิริของ บุคคลนั้นไม่ตั้งอยู่ได้ ย่อมไม่เจริญ ย่อมเสื่อมไปถ่ายเดียว โอตตัปปะของ บุคคลนั้น ย่อมไม่ตั้งอยู่ได้ ย่อมไม่เจริญ ย่อมเสื่อมไปโดยถ่ายเดียว วิริยะ ของบุคคลนั้นย่อมไม่ตั้งอยู่ได้ ย่อมไม่เจริญ ย่อมเสื่อมไปถ่ายเดียว ปัญญา ของบุคคลนั้น ย่อมไม่ตั้งอยู่ได้ ย่อมไม่เจริญ ย่อมเสื่อมไปถ่ายเดียว บุคคล อย่างนี้ชื่อว่า โผล่ขึ้นแล้ว จมลงอีก บุคคลโผล่ขึ้นแล้ว หยุดอยู่ เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมโผล่ขึ้นในกุศลธรรมคือสัทธาอันดี ใน กุศลธรรมคือหิริอันดี ในกุศลธรรมคือโอตตัปปะอันดี ในกุศลธรรมคือวิริยะอันดี ในกุศลธรรมคือปัญญาอันดี สัทธาของบุคคลนั้น ไม่เสื่อม ไม่เจริญ คงตั้งอยู่ หิริของบุคคลนั้น ไม่เสื่อม ไม่เจริญ คงตั้งอยู่ โอตตัปปะของบุคคลนั้น ไม่เสื่อม ไม่เจริญ คงตั้งอยู่ วิริยะของบุคคลนั้น ไม่เสื่อม ไม่เจริญ คงตั้งอยู่ ปัญญา ของบุคคลนั้น ไม่เสื่อม ไม่เจริญ คงตั้งอยู่ บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า โผล่ขึ้นแล้ว หยุดอยู่ บุคคลโผล่ขึ้นแล้ว เหลียวมองดู เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ โผล่ขึ้นในกุศลธรรมคือสัทธาอันดี ในกุศลธรรม คือหิริอันดี ในกุศลธรรมคือโอตตัปปะอันดี ในกุศลธรรมคือวิริยะอันดี ใน กุศลธรรมคือปัญญาอันดี บุคคลนั้นเป็นพระโสดาบัน เป็นผู้มีอันไม่ตกไปใน อบายภูมิเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง เป็นผู้มีความตรัสรู้เป็นที่ในเบื้องหน้า เพราะ สัญโญชน์ ๓ สิ้นไปแล้ว บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า โผล่ขึ้นแล้ว เหลียวมองดู บุคคลโผล่ขึ้นแล้ว ว่ายข้ามไป เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมโผล่ขึ้นในกุศลธรรมคือสัทธาอันดี ใน กุศลธรรมคือหิริอันดี ในกุศลธรรมคือโอตตัปปะอันดี ในกุศลธรรมคือวิริยะอันดี ในกุศลธรรมคือปัญญาอันดี บุคคลนั้นชื่อว่า เป็นพระสกทาคามี เพราะสัญโญชน์ ๓ สิ้นไปแล้ว เพราะราคะ โทสะ และโมหะ เบาบางลง มาสู่โลกนี้อีกเพียง ครั้งเดียวเท่านั้น ย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า โผล่ขึ้นแล้ว ว่ายข้ามไป บุคคลโผล่ขึ้นแล้วและว่ายไปถึงที่ตื้นพอหยั่งถึงแล้ว เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมโผล่ขึ้นในกุศลธรรมคือสัทธาอันดี ใน กุศลธรรมคือหิริอันดี ในกุศลธรรมคือโอตตัปปะอันดี ในกุศลธรรมคือวิริยะอันดี ในกุศลธรรมคือปัญญาอันดี บุคคลนั้นเป็นอุปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิย- *สัญโญชน์ ๕ สิ้นไปแล้ว จะปรินิพพานในเทวโลกนั้น เป็นผู้มีอันไม่กลับมาจาก เทวโลกนั้นเป็นธรรมดา บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า โผล่ขึ้นแล้วและว่ายไปถึงที่ตื้นพอ หยั่งถึงแล้ว บุคคลโผล่ขึ้นและว่ายข้ามไปถึงฝั่งแล้ว เป็นพราหมณ์ยืนอยู่ บนบก เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมโผล่ขึ้นในกุศลธรรมคือสัทธาอันดี ย่อมโผล่ ขึ้นในกุศลธรรมคือหิริอันดี ย่อมโผล่ขึ้นในกุศลธรรมคือโอตตัปปะอันดี ย่อมโผล่ ขึ้นในกุศลธรรมคือวิริยะอันดี ย่อมโผล่ขึ้นในกุศลธรรมคือปัญญาอันดี บุคคล นั้นรู้ยิ่งด้วยตนเองแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว เข้าถึงแล้วซึ่งเจโตวิมุติ ซึ่งปัญญาวิมุติ ชื่อว่าหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปแล้ว สำเร็จอิริยาบถอยู่ใน ทิฏฐธรรมเทียว บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า โผล่ขึ้นและว่ายข้ามไปถึงฝั่งแล้วเป็น พราหมณ์ยืนอยู่บนบก [๑๔๙] บุคคลผู้เป็นอุภโตภาควิมุต เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกต้องวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย สำเร็จอิริยาบถอยู่ และอาสวะทั้งหลายของบุคคลนั้น สิ้นไปแล้วเพราะเห็นด้วยปัญญา นี้เรียกว่า บุคคลผู้เป็นอุภโตภาควิมุต บุคคลผู้เป็นปัญญาวิมุต บุคคลผู้เป็นกายสักขี บุคคลผู้เป็นทิฐิ- *ปัตตะ บุคคลผู้เป็นสัทธาวิมุต บุคคลผู้เป็นธัมมานุสารี เป็นไฉน? และ บุคคลผู้เป็นสัทธานุสารี เป็นไฉน สัทธินทรีย์ของบุคคลใด ผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้ง โสดาปัตติผลมีประมาณ ยิ่ง อบรมอริยมรรค มีสัทธาเป็นตัวนำ มีสัทธาเป็นประธาน นี้เรียกว่า บุคคล ผู้เป็นสัทธานุสารี บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล ชื่อว่าสัทธานุสารี ผู้ตั้งอยู่แล้วในผล ชื่อว่าสัทธาวิมุต ด้วยประการดังนี้แล
สัตตกนิทเทส จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๖ บรรทัดที่ ๔๗๙๖-๔๘๕๙ หน้าที่ ๑๙๕-๑๙๗. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=36&A=4796&Z=4859&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=36&A=4796&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=36&siri=33              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=36&i=663              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=36&A=4657              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=2618              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=36&A=4657              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=2618              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_36              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pp2.7/en/law

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]