ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑ ธรรมสังคณีปกรณ์
คันถโคจฉกะ
[๗๓๖] ธรรมเป็นคันถะ เป็นไฉน? คันถะ ๔ คือ อภิชฌากายคันถะ พยาปาทกายคันถะ สีลัพพตปรามาสกายคันถะ อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ. [๗๓๗] บรรดาคันถะ ๔ นั้น อภิชฌากายคันถะ เป็นไฉน? ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความคล้อยตามอารมณ์ ความยินดี ความเพลิดเพลิน ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน ความกำหนัดนักแห่งจิต ความอยาก ความสยบ ความหมกมุ่น ความใคร่ ความรักใคร่ ความข้องอยู่ ความจมอยู่ ธรรมชาติผู้คร่าไป ธรรมชาติ ผู้หลอกลวง ธรรมชาติผู้ยังสัตว์ให้เกิด ธรรมชาติผู้ยังสัตว์ให้เกิดพร้อม ธรรมชาติอันร้อยรัด ธรรมชาติอันมีข่าย ธรรมชาติอันกำซาบใจ ธรรมชาติอันซ่านไป ธรรมชาติเหมือนเส้นด้าย ธรรมชาติอันแผ่ไป ธรรมชาติผู้ประมวลมา ธรรมชาติเป็นเพื่อนสอง ปณิธาณ ธรรมชาติผู้นำไป สู่ภพ ตัณหาเหมือนป่า ตัณหาเหมือนดง ความเกี่ยวข้อง ความเยื่อใย ความห่วงใย ความ ผูกพัน ความหวัง กิริยาที่หวัง ภาวะที่หวัง ความหวังรูป ความหวังเสียง ความหวังกลิ่น ความหวังรส ความหวังโผฏฐัพพะ ความหวังลาภ ความหวังทรัพย์ ความหวังบุตร ความหวังชีวิต ธรรมชาติผู้กระซิบ ธรรมชาติผู้กระซิบทั่ว ธรรมชาติผู้กระซิบยิ่ง การกระซิบ กิริยาที่กระซิบ ความ ที่กระซิบ การละโมบ กิริยาที่ละโมบ ความละโมบ ธรรมชาติเป็นเหตุซมซานไป ภาวะที่ใคร่ อารมณ์ดีๆ ความกำหนัดในฐานะอันไม่ควร ความโลภเกินพอดี ความติดใจ กิริยาที่ติดใจ ความปรารถนา ความกระหยิ่มใจ ความปรารถนานัก กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ตัณหา ในรูปภพ ตัณหาในอรูปภพ ตัณหาในนิโรธ [คือราคะที่สหรคตด้วยอุจเฉททิฏฐิ] รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา โอฆะ โยคะ คันถะ อุปาทาน อาวรณ์ นิวรณ์ เครื่องปิดบัง เครื่องผูก อุปกิเลส อนุสัย ปริยุฏฐาน ตัณหาเหมือนเถาวัลย์ ความปรารถนามีวัตถุอย่างต่างๆ รากเหง้าแห่งทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ แดนเกิดแห่งทุกข์ บ่วงแห่งมาร เบ็ดแห่งมาร แดนแห่งมาร ตัณหาเหมือนแม่น้ำ ตัณหาเหมือนข่าย ตัณหาเหมือนเชือกผูก ตัณหาเหมือนสมุทร อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ อันใด นี้เรียกว่า อภิชฌากายคันถะ. [๗๓๘] พยาปาทกายคันถะ เป็นไฉน? อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้กระทำความเสื่อมเสียแก่เรา อาฆาตย่อมเกิดขึ้น ได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสียแก่เรา อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้จักทำความ เสื่อมเสียแก่เรา อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ทำความเสื่อมเสีย ฯลฯ กำลังทำความ เสื่อมเสีย ฯลฯ จักทำความเสื่อมเสียแก่คนที่รักที่ชอบพอของเรา อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ทำความเจริญ ฯลฯ กำลังทำความเจริญ ฯลฯ จักทำความเจริญแก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ ชอบพอของเรา หรืออาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ในฐานะอันใช่เหตุ จิตอาฆาต ความขัดเคือง ความ กระทบกระทั่ง ความแค้น ความเคือง ความขุ่นเคือง ความพลุ่งพล่าน โทสะ ความคิด ประทุษร้าย ความขุ่นจิต ธรรมชาติที่ประทุษร้ายใจ โกรธ กิริยาที่โกรธ ภาวะที่โกรธ มีลักษณะ เช่นว่านี้ อันใด [และ] การคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย ความคิดประทุษร้าย การ คิดปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย ความคิดปองร้าย ความโกรธ ความแค้น ความดุร้าย ความ ปากร้าย ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต นี้เรียกว่า พยาปาทกายคันถะ. [๗๓๙] สีลัพพตปรามาสกายคันถะ เป็นไฉน? ความเห็นว่า ความบริสุทธิ์ย่อมมีได้ด้วยศีล ด้วยพรต ด้วยศีลพรตของสมณพราหมณ์ ในภายนอกแต่ศาสนานี้ ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปรแห่งทิฏฐิ สัญโญชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความ ยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ การถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า สีลัพพตปรามาสกายคันถะ. [๗๔๐] อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ เป็นไฉน? ความเห็นว่า โลกเที่ยง นี้แหละจริง อย่างอื่นเปล่า ดังนี้ก็ดี ว่าโลกไม่เที่ยง นี้แหละ จริง อย่างอื่นเปล่า ดังนี้ก็ดี ว่าโลกมีที่สุด นี้แหละจริง อย่างอื่นเปล่า ดังนี้ก็ดี ว่าโลกไม่มี ที่สุด นี้แหละจริง อย่างอื่นเปล่า ดังนี้ก็ดี ว่าชีพอันนั้นสรีระก็อันนั้น นี้แหละจริง อย่างอื่น เปล่า ดังนี้ก็ดี ว่าชีพเป็นอื่นสรีระก็เป็นอื่น นี้แหละจริง อย่างอื่นเปล่า ดังนี้ก็ดี ว่าสัตว์ยัง เป็นอยู่เบื้องหน้าแต่มรณะ นี้แหละจริง อย่างอื่นเปล่า ดังนี้ก็ดี ว่าสัตว์ไม่เป็นอยู่เบื้องหน้าแต่ มรณะ นี้แหละจริง อย่างอื่นเปล่า ดังนี้ก็ดี ว่าสัตว์ยังเป็นอยู่ก็มีไม่เป็นอยู่ก็มีเบื้องหน้าแต่มรณะ นี้แหละจริง อย่างอื่นเปล่า ดังนี้ก็ดี ว่าสัตว์ยังเป็นอยู่ก็ไม่ใช่ ไม่เป็นอยู่ก็ไม่ใช่เบื้องหน้าแต่ มรณะ นี้แหละจริง อย่างอื่นเปล่า ดังนี้ก็ดี ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดาร คือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปรแห่งทิฏฐิ สัญโญชน์คือทิฏฐิ ความ ยึดถือ ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิเป็นบ่อเกิด แห่งความพินาศ การถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า อิทังสัจจาภินิเวสกาย- *คันถะ. มิจฉาทิฏฐิแม้ทุกอย่าง เว้นสีลัพพตปรามาสกายคันถะ จัดเป็นอิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ. สภาวะธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นคันถะ. [๗๔๑] ธรรมไม่เป็นคันถะ เป็นไฉน? เว้นคันถธรรมเหล่านั้นเสีย กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรมที่เหลือ ซึ่งเป็น กามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตตระ คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นคันถะ. [๗๔๒] ธรรมเป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นไฉน? กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะ ที่เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร คือ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของ คันถะ. ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นไฉน? มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม ไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ. [๗๔๓] ธรรมสัมปยุตด้วยคันถะ เป็นไฉน? ธรรมเหล่าใด สัมปยุตด้วยคันถธรรมเหล่านั้น คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยคันถะ. ธรรมวิปปยุตจากคันถะ เป็นไฉน? ธรรมเหล่าใด วิปปยุตจากคันถธรรมเหล่านั้น คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากคันถะ. [๗๔๔] ธรรมเป็นคันถะและเป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นไฉน? คันถธรรมเหล่านั้นนั่นเอง ชื่อว่า ธรรมเป็นคันถะและเป็นอารมณ์ของคันถะ. ธรรมเป็นอารมณ์ของคันถะแต่ไม่เป็นคันถะ เป็นไฉน? ธรรมเหล่าใด เป็นอารมณ์ของคันถะโดยคันถธรรมเหล่านั้น เว้นคันถธรรมเหล่านั้นเสีย คือ กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็น อารมณ์ของคันถะแต่ไม่เป็นคันถะ. [๗๔๕] ธรรมเป็นคันถะและสัมปยุตด้วยคันถะ เป็นไฉน? สีลัพพตปรามาสกายคันถะ เป็นคันถะ และสัมปยุตด้วยคันถะ โดยอภิชฌากายคันถะ อภิชฌากายคันถะ เป็นคันถะ และสัมปยุตด้วยคันถะ โดยสีลัพพตปรามาสกายคันถะ อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ เป็นคันถะ และสัมปยุตด้วยคันถะ โดยอภิชฌากายคันถะ อภิชฌากายคันถะ เป็นคันถะ และสัมปยุตด้วยคันถะ โดยอิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นคันถะและสัมปยุตด้วยคันถะ. ธรรมสัมปยุตด้วยคันถะแต่ไม่เป็นคันถะ เป็นไฉน? ธรรมเหล่าใด สัมปยุตด้วยคันถธรรมเหล่านั้น เว้นคันถธรรมเหล่านั้นเสีย คือ เวทนา- *ขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยคันถะแต่ไม่เป็นคันถะ. [๗๔๖] ธรรมวิปปยุตจากคันถะแต่เป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นไฉน? ธรรมเหล่าใด วิปปยุตจากคันถธรรมเหล่านั้น คือกุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากคันถะแต่เป็นอารมณ์ของคันถะ. ธรรมวิปปยุตจากคันถะและไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นไฉน? มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม วิปปยุตจากคันถะและไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ.
คันถโคจฉกะ จบ
-----------------------------------------------------
โอฆ-โยคโคจฉกะ
[๗๔๗] ธรรมเป็นโอฆะ เป็นไฉน? ฯลฯ ธรรมเป็นโยคะ เป็นไฉน? ฯลฯ
โอฆ-โยคโคจฉกะ จบ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ บรรทัดที่ ๖๔๖๘-๖๕๗๑ หน้าที่ ๒๕๘-๒๖๒. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=34&A=6468&Z=6571&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=34&A=6468&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=34&siri=58              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=34&i=736              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=34&A=5835              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=53&A=10816              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=34&A=5835              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=53&A=10816              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_34              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ds2.3.2/en/caf_rhysdavids#pts-vp-en304

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]