ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก
เอกาสนทายกเถราปทานที่ ๓
ว่าด้วยผลแห่งการแต่งอาสนะบูชา
[๑๓] มีภูเขาลูกหนึ่งชื่อกสิกะ อยู่ในที่ไม่ไกลจากภูเขาหิมวันต์ เราสร้าง อาศรมอย่างสวยงาม สร้างบรรณศาลาไว้ที่ภูเขานั้น เรามีนามชื่อว่า นารทะ แต่คนทั้งหลายเรียกเราว่า กัสสปะ ในกาลนั้น เราแสวง หาทางบริสุทธิ์อยู่ที่ภูเขากสิกะ พระชินสัมพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตระ ทรงรู้จบธรรมทั้งปวง ทรงใคร่ต่อวิเวก ได้เสด็จมาทาง อากาศ เราเห็นพระรัศมีของพระองค์ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ กำลังเสด็จมาที่ชายป่า จึงตบแต่งเตียงไม้แล้วปูลาดหนังสัตว์ ครั้น ตบแต่งอาสนะเสร็จแล้ว จึงประนมกรอัญชลีขึ้นเหนือเศียรเกล้า ประกาศถึงความโสมนัสแล้ว ได้กราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เป็นปราชญ์ นำสัตว์ออกจากโลก ขอพระองค์ผู้เป็นดังศัลยแพทย์ รักษาความเดือดร้อน ได้โปรดประทานการรักษาแก่ข้าพระองค์ ผู้อันความกำหนัดครอบงำเถิด ข้าแต่พระมุนี ชนเหล่าใดมีความต้อง การด้วยบุญ มองดูพระองค์ผู้เป็นพระพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐสุด ชนเหล่านั้นย่อมถึงความสำเร็จแห่งประโยชน์อันยั่งยืน พึงเป็นผู้ไม่ แก่ ข้าพระองค์หามีไทยธรรมเพื่อพระองค์ไม่ เพราะข้าพระองค์ บริโภคผลไม้ที่หล่นเอง ข้าพระองค์มีแต่อาสนะนี้ ขอเชิญประทับ นั่งบนเตียงไม้เถิด พระผู้มีพระภาคผู้ไม่มีความสะดุ้งเหมือนราชสีห์ ได้ประทับนั่งบนเตียงไม้แล้ว ทรงยับยั้งอยู่ครู่หนึ่ง แล้วได้ตรัส อย่างนี้ว่า ท่านจงเบาใจอย่าได้กลัวเลย แก้วมณีที่สว่างไสว ควรยินดี ท่านได้แล้ว ความปรารถนาที่ท่านได้ตั้งไว้ จักสำเร็จทุก ประการก็เพราะอาสนะ บุญที่ได้บำเพ็ญไว้ดีแล้ว ในเขตบุญอันยอด เยี่ยมหาน้อยไม่เลย อันผู้ที่ตั้งจิตไว้ดีแล้ว สามารถจะรื้อตนขึ้นได้ เพราะอาสนทานนี้ และเพราะการตั้งเจตนาไว้ ท่านจะไม่ไปสู่ วินิบาตตลอดแสนกัป จักได้เป็นจอมเทพเสวยราชสมบัติในเทว- โลก ๕๐ ครั้ง จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช ๘๐ ครั้ง จักได้เป็น พระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์ โดยคณนานับมิได้ พระสัมพุทธเจ้า ผู้มีพระนามว่าปทุมุตระ เป็นนักปราชญ์ ครั้นตรัสดังนี้แล้ว ได้ เสด็จขึ้นสู่นภากาศ ปานดังว่าพญาหงส์ในอัมพร ฉะนั้น ยานช้าง ยานม้า รถ คานหาม เราได้สิ้นทุกอย่าง นี้เป็นผลของอาสนะ อันหนึ่ง ในเมื่อเราเข้าป่าแล้วต้องการที่นั่ง บัลลังก์ดุจว่ารู้ความดำริ ของเรา ตั้งขึ้นใกล้ๆ ในเมื่อเราอยู่ท่ามกลางน้ำต้องการที่นั่ง บัลลังก์ ดังจะรู้ความดำริของเรา ตั้งขึ้นใกล้ๆ เราเข้าถึงกำเนิดใดๆ คือ เป็น เทวดาหรือมนุษย์ ในกำเนิดนั้นๆ บัลลังก์ตั้งแสน ย่อมแวดล้อม เราอยู่ทุกเมื่อ เราท่องเที่ยวอยู่ในสองภพ คือ ในเทวดาและมนุษย์ และเกิดในสองสกุล คือกษัตริย์และพราหมณ์ เราถวายอาสนะ อันหนึ่งในเขตบุญอันยอดเยี่ยม รู้ทั่วถึงบัลลังก์ คือ ธรรมแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่ ในกัปที่แสน แต่กัปนี้ เราได้ถวายทานใด ในกาลนั้น ด้วยทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้ก็เป็นผลของอาสนะ อันหนึ่ง เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ... พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จ แล้วดังนี้. ทราบว่า ท่านพระเอกาสนทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ เอกาสนทายกเถราปทาน.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ บรรทัดที่ ๔๓๙-๔๘๒ หน้าที่ ๑๙-๒๑. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=33&A=439&Z=482&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=33&A=439&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=33&siri=13              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33&i=13              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=33&A=551              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=33&A=551              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_33              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/tha-ap425/en/walters

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]