ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก
กณิการวรรคที่ ๕๑
ตีณิกณิการปุปผิยเถราปทานที่ ๑
ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกกรรณิการ์
[๙๑] พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสุเมธะ มีพระมหาปุริสลักษณะอัน ประเสริฐ ๓๒ ประการ พระองค์ทรงประสงค์ความสงัด จึงเสด็จ ไปป่าหิมพานต์ พระมุนีผู้เลิศ ประกอบด้วยพระกรุณา เป็นอุดม บุรุษเสด็จถึงป่าหิมพานต์แล้ว ประทับนั่งขัดสมาธิ ครั้งนั้น เราเป็น วิทยาธรสัญจรไปในอากาศ เราถือตรีศูลซึ่งกระทำไว้ดีแล้วเหาะไป พระพุทธเจ้าส่องสว่างอยู่ในป่า เหมือนกับไฟบนยอดภูเขา เหมือน พระจันทร์ในวันเพ็ญและเหมือนต้นพระยารังที่มีดอกบาน เราออก จากป่าเหาะไปตามพระรัศมีพระพุทธเจ้า เห็นคล้ายกับสีของไฟที่ ไหม้ไม้อ้อ ยังจิตให้เลื่อมใส เราเลือกเก็บดอกไม้อยู่ ได้เห็นดอก กรรณิการ์ที่มีกลิ่นหอมจึงเก็บเอามา ๓ ดอก บูชาพระพุทธเจ้าผู้ ประเสริฐสุด ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า ครั้งนั้น ดอกไม้ของ เราทั้ง ๓ ดอกเอาขั้วขึ้นเอากลีบลงทำเป็นเงา (บัง) แด่พระศาสดา ด้วยกรรมที่ได้ทำไว้ดีแล้วนั้น และด้วยการตั้งเจตน์จำนง เราละร่าง มนุษย์แล้ว ได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ วิมานของเราสูง ๖๐ โยชน์ กว้าง ๓๐ โยชน์ อันบุญกรรมทำให้อย่างสวยงามในดาวดึงส์นั้น ปรากฏชื่อว่า กรรณิการ์ แล่งธนูตั้งพัน ลูกคลีหนัง ๗ ลูก คนถือธง สำเร็จด้วยสีเขียวใบไม้ หิ้งแขวนตั้งแสนปรากฏในปราสาทของเรา บัลลังก์ สำเร็จด้วยทองก็มี สำเร็จด้วยแก้วมณีก็มี สำเร็จด้วยแก้ว ทับทิมก็มี สำเร็จด้วยแก้วผลึกก็มี ตามแต่จะต้องการปรารถนา ที่นอนมีค่ามากยัดด้วยนุ่น มีผ้าลาดลายรูปสัตว์ต่างๆ มีราชสีห์เป็นต้น ผ้าลาดมีชายเดียว มีหมอนพร้อม ปรากฏว่ามีอยู่ในปราสาทของเรา ในเวลาที่เราปรารถนาจะออกจากภพเที่ยวจาริกไปในเทวโลก ย่อม เป็นผู้อันหมู่เทวดาแวดล้อมไป เราสถิตอยู่ภายใต้ดอกไม้ เบื้องบน เรามีดอกไม้เป็นเครื่องกำบัง สถานที่โดยรอบร้อยโยชน์ ถูกคลุม ด้วยดอกกรรณิการ์ดนตรี ๖ หมื่นบำรุงทั้งเช้าและเย็น ไม่เกียจคร้าน แวดล้อมเราเป็นนิตย์ ตลอดคืนตลอดวัน เรารื่นรมย์ด้วยการฟ้อน การขับและด้วยกังสดาล เครื่องประโคม เป็นผู้มักมากด้วยกาม บันเทิงอยู่ด้วยความยินดีในการเล่น ครั้งนั้น เราบริโภคและดื่มใน วิมานนั้นบันเทิงอยู่ในไตรทศ เราพร้อมด้วยหมู่นางเทพอัปสร บันเทิงอยู่ในวิมานอันสูงสุด เราได้เสวยราชสมบัติในเทวโลก ๕๐๐ ครั้งได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๑๐๐ ครั้ง และได้เป็นพระเจ้าประเทศ ราชอันไพบูลย์ โดยคณนานับมิได้ เมื่อเรายังท่องเที่ยวอยู่ในภพ น้อยภพใหญ่ ย่อมได้โภคทรัพย์มากมาย ความบกพร่องในโภคทรัพย์ ไม่มีแก่เราเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา เราท่องเที่ยวอยู่ในสองภพ คือ ในความเป็นเทวดาและในความเป็นมนุษย์ คติอื่นไม่รู้จัก นี้ เป็นผลแห่งพุทธบูชา เราเกิดในสองสกุล คือ ในสกุลกษัตริย์ หรือสกุลพราหมณ์ย่อมไม่เกิดในสกุลอันต่ำทรามนี้ เป็นผลแห่ง พุทธบูชา ยานช้าง ยานม้า และวอคานหามนี้ เราได้ทุกสิ่งทุก อย่างทีเดียว นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา หมู่ทาส หมู่ทาสี และ นารีที่ประดับประดาแล้ว เราได้ทุกอย่างทีเดียว นี้เป็นผลแห่ง พุทธบูชา ผ้าแพร ผ้าขนสัตว์ ผ้าเปลือกไม้ ผ้าฝ้าย เราได้ทุก ชนิด นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา ผ้าใหม่ ผลไม้ใหม่ โภชนะมีรส อันเลิศใหม่ๆ เราได้ทุกชนิด นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา คำว่าเชิญ เคี้ยวสิ่งนี้ เชิญบริโภคสิ่งนี้ เชิญนอนบนที่นอนนี้ เราได้ ทั้งนั้น นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา เราเป็นผู้อันเขาบูชาในที่ทุกสถาน เรามียศใหญ่ยิ่ง มีศักดิ์ใหญ่ มีบริษัทไม่แตกแยกทุกเมื่อ เราเป็น ผู้อุดมกว่าหมู่ญาติ นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา เราไม่รู้จักหนาว ไม่รู้จักร้อน ไม่มีความกระวนกระวาย อนึ่ง ทุกข์ทางจิตย่อมไม่มี ในหทัยของเราเลย เราเป็นผู้มีผิวพรรณดังทองคำ เที่ยวไปในภพ น้อยภพใหญ่ ความเป็นผู้มีวรรณะผิดแผกไป เราไม่รู้จักเลย นี้เป็น ผลแห่งพุทธบูชา เราอันกุศลมูลตักเตือนแล้ว จึงจุติจากเทวโลก มาเกิดในสกุลพราหมณ์มหาศาลอันมั่งคั่ง ในพระนครสาวัตถี ละกามคุณ ๕ ออกบวชเป็นบรรพชิต เรามีอายุได้ ๗ ขวบแต่กำเนิด ได้บรรลุอรหัต พระพุทธเจ้าผู้มีพระปัญญาจักษุ ทรงทราบถึงคุณ ของเรา จึงรับสั่งให้เราอุปสมบท เรายังหนุ่มก็ควรบูชา นี้เป็นผล แห่งพุทธบูชา ทิพยจักษุของเราบริสุทธิ์ เราฉลาดในสมาธิ ถึงความ บริบูรณ์แห่งอภิญญา นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา เราบรรลุปฏิสัมภิทา ฉลาดแหลมในอิทธิบาท ถึงความบริบูรณ์ในพระสัทธรรม นี้เป็น ผลแห่งพุทธบูชา ในกัปที่สามหมื่น เราได้บูชาพระพุทธเจ้าใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา เรา เผากิเลสทั้งหลายแล้ว ... พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระตีณิกณิการปุปผิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ ตีณิกณิการปุปผิยเถราปทาน.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ บรรทัดที่ ๒๑๑๕-๒๑๘๐ หน้าที่ ๙๔-๙๖. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=33&A=2115&Z=2180&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=33&A=2115&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=33&siri=91              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33&i=91              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=33&A=2734              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=33&A=2734              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_33              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/tha-ap503/en/walters

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]