ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
ปัญญาวรรค วิปัสสนากถา
สาวัตถีนิทานบริบูรณ์
[๗๓๑] ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหนอ พิจารณาเห็นสังขาร ไรๆ โดยความเป็นของเที่ยงอยู่ จักเป็นผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ ข้อนี้ไม่ เป็นฐานะที่จะมีได้ ผู้ไม่ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อไม่ย่างลงสู่สัมมัตตติยาม จักทำให้แจ้งซึ่งโสดา- *ปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตผล ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหนอ พิจารณาเห็นสังขารทั้งปวงโดยความเป็นของไม่ เที่ยงอยู่ จักเป็นผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ผู้ประกอบ ด้วยอนุโลมขันติ จักย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ผู้ย่างลงสู่ สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตผล ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ฯ [๗๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหนอ พิจารณาเห็นสังขารไรๆ โดยความเป็นสุข จักเป็นผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ผู้ไม่ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่ จะมีได้ เมื่อไม่ย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตผล ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหนอ พิจารณาเห็นสังขารทั้งปวงโดยความเป็นทุกข์อยู่ จักเป็นผู้ประกอบ ด้วยอนุโลมขันติ ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักย่างลงสู่ สัมมัตตนิยาม ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ผู้ย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งซึ่ง โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตผล ข้อนี้เป็นฐานะที่ มีได้ ฯ [๗๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหนอ พิจารณาเห็นธรรมไรๆ โดยความเป็นอัตตาอยู่ จักเป็นผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่ จะมีได้ ผู้ไม่ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม ข้อนี้ไม่เป็น ฐานะที่จะมีได้ เมื่อไม่ย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตผล ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุนั้นหนอ พิจารณาเห็นธรรมไรๆ โดยความเป็นอนัตตาอยู่ จักเป็น ผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ผู้ย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำ ให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตผล ข้อนี้เป็น ฐานะที่มีได้ ฯ [๗๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหนอ พิจารณาเห็นนิพพานโดย ความเป็นทุกข์อยู่ จักเป็นผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ผู้ไม่ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมี ได้ เมื่อไม่ย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตผล ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ นั้นหนอ พิจารณาเห็นนิพพานโดยความเป็นสุขอยู่ จักเป็นผู้ประกอบด้วยอนุโลม ขันติ ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ผู้ย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตผล ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ฯ [๗๓๕] ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการเท่าไร ย่างลงสู่สัมมัตต นิยามด้วยอาการเท่าไร ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการ ๔๐ ย่างลงสู่สัมมัตต นิยามด้วยอาการ ๔๐ ฯ ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการ ๔๐ เป็นไฉน ย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม ด้วยอาการ ๔๐ เป็นไฉน ฯ ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ๑ เป็นทุกข์ ๑ เป็นโรค ๑ เป็นดังหัวฝี ๑ เป็นดังลูกศร ๑ เป็นความลำบาก ๑ เป็นอาพาธ ๑ เป็นอย่างอื่น ๑ เป็นของชำรุด ๑ เป็นเสนียด ๑ เป็นอุบาทว์ ๑ เป็นภัย ๑ เป็นอุปสรรค ๑ เป็นความหวั่นไหว ๑ เป็นของผุพัง ๑ เป็นของไม่ยั่งยืน ๑ เป็นของไม่มีอะไรต้านทาน ๑ เป็นของไม่มีอะไรป้องกัน ๑ เป็นของไม่เป็น ที่พึ่ง ๑ เป็นของว่าง ๑ เป็นของเปล่า ๑ เป็นของสูญ ๑ เป็นอนัตตา ๑ เป็น โทษ ๑ เป็นของมีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ๑ เป็นของหาสาระมิได้ ๑ เป็น มูลแห่งความลำบาก ๑ เป็นดังเพชฌฆาต ๑ เป็นความเสื่อมไป ๑ เป็นของ มีอาสวะ ๑ เป็นของอันปัจจัยปรุงแต่ง ๑ เป็นเหยื่อแห่งมาร ๑ เป็นของมีความ เกิดเป็นธรรมดา ๑ เป็นของมีความแก่เป็นธรรมดา ๑ เป็นของมีความป่วยไข้ เป็นธรรมดา ๑ เป็นของมีความตายเป็นธรรมดา ๑ เป็นของมีความเศร้าโศกเป็น ธรรมดา ๑ เป็นของมีความร่ำไรเป็นธรรมดา ๑ เป็นของมีความคับแค้นใจเป็น ธรรมดา ๑ เป็นของมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา ๑ เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับ แห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานเที่ยง ย่อมย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม เมื่อพิจารณาเห็น เบญจขันธ์โดยความเป็นทุกข์ ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความ ดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานเป็นสุข ย่อมย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม เมื่อพิจารณา เห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นโรค ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์ เป็นนิพพานไม่มีฝี ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นดังลูกศร ... เมื่อ พิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีลูกศร ... เมื่อพิจารณา เห็นเบญจขันธ์โดยความลำบาก ... เมื่อพิจารณาเห็นว่าความดับแห่งเบญจขันธ์เป็น นิพพานไม่มีความลำบาก ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นอาพาธ ... เมื่อพิจารณาเห็นว่าความดับแห่งเบญจขันธ์ เป็นนิพพานไม่มีอาพาธ ... เมื่อ พิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นอื่น ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่ง เบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีสิ่งอื่นเป็นปัจจัย ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดย ความเป็นของชำรุด ... เมื่อพิจารณาเห็นว่าความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่ มีความชำรุดเป็นธรรมดา ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นเสนียด ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีเสนียด ... เมื่อ พิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นอุบาทว์ ... เมื่อพิจารณาเห็นว่าความดับแห่ง เบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีอุบาทว์ ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็น ภัย ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานอันไม่มีภัย ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นอุปสรรค ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความ ดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีอุปสรรค ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดย ความเป็นของหวั่นไหว ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็น นิพพานไม่มีความหวั่นไหว ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของ ผุพัง ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความ ผุพัง ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของไม่ยั่งยืน ... เมื่อพิจารณา เห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานมีความยั่งยืน ... เมื่อพิจารณาเห็น เบญจขันธ์โดยความเป็นของไม่มีอะไรต้านทาน ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับ แห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานเป็นที่ต้านทาน ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความ เป็นของไม่มีอะไรป้องกัน ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็น นิพพานเป็นที่ป้องกัน ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของไม่มี ที่พึ่ง ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานเป็นที่พึ่ง ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของว่าง ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความ ดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่ว่าง ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความ เป็นของเปล่า ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่ เปล่า ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของสูญ ... เมื่อพิจารณาเห็น ว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานสูญอย่างยิ่ง ... เมื่อพิจารณาเห็น เบญจขันธ์โดยความเป็นอนัตตา ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์ เป็นนิพพานเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็น โทษ ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีโทษ ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของแปรปรวนเป็นธรรมดา ... เมื่อ พิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานมีความไม่แปรปรวนเป็น ธรรมดา ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของหาสาระมิได้ ... เมื่อ พิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานมีสาระ ... เมื่อพิจารณาเห็น เบญจขันธ์โดยความเป็นมูลแห่งความลำบาก ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับ แห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีมูลแห่งความลำบาก ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ โดยความเป็นดังเพชฌฆาต ... เมื่อพิจารณาเห็นว่าความดับแห่งเบญจขันธ์เป็น นิพพานไม่เป็นดังเพชฌฆาต ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของ เสื่อมไป ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความ เสื่อมไป ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของมีอาสวะ ... เมื่อ พิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีอาสวะ ... เมื่อพิจารณา เห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของอันปัจจัยปรุงแต่ง ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความ ดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ โดยความเป็นเหยื่อแห่งมาร ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็น นิพพานไม่เป็นเหยื่อแห่งมาร ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของมี ความเกิดเป็นธรรมดา ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพาน ไม่มีความเกิด ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของมีความแก่เป็น ธรรมดา ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความ แก่ ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของมีความป่วยไข้เป็นธรรมดา ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความป่วยไข้ ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของมีความตายเป็นธรรมดา ... เมื่อ พิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความตาย ... เมื่อ พิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของมีความเศร้าโศกเป็นธรรมดา ... เมื่อ พิจารณาเห็นว่าความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความเศร้าโศก ... เมื่อ พิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของมีความร่ำไรเป็นธรรมดา ... เมื่อพิจารณา เห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความร่ำไร ... เมื่อพิจารณาเห็น เบญจขันธ์โดยความเป็นของมีความคับแค้นเป็นธรรมดา ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความคับแค้น ย่อม ย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของมีความเศร้า หมองเป็นธรรมดา ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่ง เบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความเศร้าหมอง ย่อมย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม ฯ [๗๓๖] การพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็น อนิจจานุปัสนา โดยความเป็นทุกข์ เป็นทุกขานุปัสนา โดยความเป็นโรค เป็น ทุกขานุปัสนา โดยความเป็นดังหัวฝี เป็นทุกขานุปัสนา โดยความเป็นดังลูกศร เป็นทุกขานุปัสนา โดยความเป็นความลำบาก เป็นทุกขานุปัสนา โดยความเป็น อาพาธ เป็นทุกขานุปัสนา โดยความเป็นอย่างอื่น เป็นทุกขานุปัสนา โดยความ เป็นของชำรุด เป็นทุกขานุปัสนา โดยความเป็นเสนียด เป็นทุกขานุปัสนา โดยความเป็นอุบาทว์ เป็นทุกขาปัสนา โดยความเป็นภัย เป็นทุกขานุปัสนา โดยความเป็นอุปสรรค เป็นทุกขานุปัสนา โดยความเป็นของหวั่นไหว เป็น อนิจจานุปัสนา โดยความเป็นของผุพัง เป็นอนิจจานุปัสนา โดยความเป็นของไม่ ยั่งยืน เป็นอนิจจานุปัสนา โดยความเป็นของไม่มีอะไรต้านทาน เป็นทุกขานุ- *ปัสนา โดยความเป็นของไม่มีอะไรป้องกัน เป็นทุกขานุปัสนา โดยความเป็น ของไม่มีที่พึ่ง เป็นทุกขานุปัสนา โดยความเป็นของว่าง เป็นทุกขานุปัสนา โดยความเป็นของเปล่า เป็นอนัตตานุปัสนา โดยความเป็นของสูญ เป็นอนัตตา- *นุปัสนา โดยความเป็นอนัตตา เป็นอนัตตานุปัสนา โดยความเป็นโทษ เป็น ทุกขานุปัสนา โดยความเป็นของมีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เป็นอนิจจานุปัสนา โดยความเป็นของหาสาระมิได้ เป็นอนัตตานุปัสนา โดยความเป็นมูลแห่งความ ลำบาก เป็นทุกขานุปัสนา โดยความเป็นดังเพชฌฆาต เป็นทุกขานุปัสนา โดย เป็นความเสื่อมไป เป็นอนิจจานุปัสนา โดยความเป็นของมีอาสวะ เป็นทุกขานุ- *ปัสนา โดยเป็นของมีปัจจัยปรุงแต่ง เป็นอนิจจานุปัสนา โดยความเป็นเหยื่อ แห่งมาร เป็นทุกขานุปัสนา โดยความเป็นของมีความเกิดเป็นธรรมดา เป็น ทุกขานุปัสนา โดยความเป็นของมีความแก่เป็นธรรมดา เป็นทุกขานุปัสนา โดยความเป็นของมีความป่วยไข้เป็นธรรมดา เป็นทุกขานุปัสนา โดยความเป็น ของมีความตายเป็นธรรมดา เป็นอนิจจานุปัสนา โดยความเป็นของมีความ เศร้าโศกเป็นธรรมดา เป็นทุกขานุปัสนา โดยความเป็นของมีความร่ำไรเป็นธรรมดา เป็นทุกขานุปัสนา โดยความเป็นของมีความคับแค้นเป็นธรรมดา เป็นทุกขานุปัสนา โดยความเป็นของมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา เป็นทุกขานุปัสนา ฯ ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการ ๔๐ นี้ ย่อมย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม ด้วยอาการ ๔๐ นี้ ฯ ภิกษุผู้ได้อนุโลมขันติด้วยอาการ ๔๐ นี้ ผู้ย่างลงสู่สัมมัตตนิยามด้วย อาการ ๔๐ นี้ มีอนิจจานุปัสนาเท่าไร มีทุกขานุปัสนาเท่าไร มีอนัตตานุปัสนา เท่าไร ฯ ท่านกล่าวว่า มีอนิจจานุปัสนา ๕๐ มีทุกขานุปัสนา ๑๒๕ มีอนัตตานุปัสนา ๒๕ ฉะนี้แล ฯ
จบวิปัสสนากถา ฯ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๑๐๘๑๒-๑๐๙๗๔ หน้าที่ ๔๕๓-๔๕๙. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=10812&Z=10974&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=31&A=10812&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=31&siri=88              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=731              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=31&A=12608              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=48&A=8284              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=31&A=12608              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=48&A=8284              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_31

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]