ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส
ปสูรสุตตนิเทสนิทเทสที่ ๘
[๒๖๘] สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ย่อมกล่าวว่า ความหมดจดในธรรมนี้เท่านั้น ไม่กล่าวความหมดจดวิเศษในธรรมเหล่าอื่น อาศัยสิ่งใดแล้ว กล่าว สิ่งนั้น ว่างามในเพราะทิฏฐิของตนนั้น สมณพราหมณ์เป็นอันมาก เป็น ผู้ตั้งมั่นในสัจจะเฉพาะอย่างหนึ่งๆ.
ว่าด้วยความหมดจด
[๒๖๙] คำว่า สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ย่อมกล่าวว่า ความหมดจดย่อมมีในธรรมนี้เท่านั้น มีความว่า สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ย่อมกล่าว บอก พูด แสดง แถลง ซึ่งความหมดจด ความ หมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้นรอบ ในธรรมนี้เท่านั้น คือ ย่อมกล่าว บอก พูด แสดง แถลง ซึ่งความหมดจด ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้นรอบว่า โลกเที่ยง สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า ย่อมกล่าว บอก พูด แสดง แถลง ซึ่งความหมดจด ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น ความ พ้นวิเศษ ความพ้นรอบว่า โลกไม่เที่ยง สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า โลกมีที่สุด โลกไม่มี ที่สุด ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ชีพอย่างอื่น สรีระอย่างอื่น สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีก สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมไม่เป็นอีก สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีก ก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ย่อมกล่าวว่า ความหมดจดในธรรมนี้เท่านั้น. [๒๗๐] คำว่า ไม่กล่าวความหมดจดวิเศษในธรรมเหล่าอื่น มีความว่า สมณพราหมณ์ ทั้งหลายย่อมทิ้ง ทอดทิ้ง ละทิ้งวาทะอื่นทั้งหมด เว้นศาสดาธรรมที่ศาสดากล่าว คณะ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรคของตน ย่อมกล่าว บอก พูด แสดง แถลง อย่างนี้ว่า ศาสดานั้นไม่ใช่สัพพัญญู ธรรมไม่เป็นธรรมอันศาสดานั้นกล่าวดีแล้ว คณะสงฆ์ไม่เป็นผู้ปฏิบัติดี ทิฏฐิไม่เป็นทิฏฐิเจริญ ปฏิปทาไม่เป็นปฏิปทาอันศาสดาบัญญัติดีแล้ว มรรคไม่เป็นธรรมนำออกจากทุกข์ ความหมดจด ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ หรือความพ้นรอบ ย่อมไม่มี ในธรรมนั้น สัตว์ทั้งหลายย่อมไม่หมดจด ไม่หมดจดวิเศษ ไม่หมดจดรอบ ไม่พ้น ไม่พ้นวิเศษ หรือไม่พ้นรอบ ในเพราะธรรมทั้งหลายนั้น คือ ย่อมเป็นผู้เลว เลวทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่กล่าวความหมดจดวิเศษในธรรมเหล่าอื่น. [๒๗๑] คำว่า อาศัยสิ่งใดแล้ว กล่าวสิ่งนั้นว่างามในเพราะทิฏฐิของตนนั้น มีความว่า อาศัยสิ่งใด คือ อาศัย อาศัยด้วยดี พัวพัน เข้าถึง ติดใจ น้อมใจถึง สิ่งใด คือ ศาสดา ธรรมที่ศาสดากล่าว คณะสงฆ์ ทิฏฐิ ปฏิปทามรรคใด. คำว่า ในเพราะทิฏฐิของตนนั้น คือ ในเพราะทิฏฐิ ความควร ความชอบใจ ลัทธิของตน. คำว่า กล่าวสิ่งนั้นว่างาม คือ กล่าวสิ่งนั้น ว่าดี กล่าวว่าเป็นบัณฑิต กล่าวว่าเป็นนักปราชญ์ กล่าวว่าเป็นญาณ กล่าวว่าเป็นเหตุ กล่าวว่า เป็นลักษณะ กล่าวว่าเป็นการณะ กล่าวว่าเป็นฐานะ โดยลัทธิของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อาศัยสิ่งใดแล้ว กล่าวสิ่งนั้นว่างามในเพราะทิฏฐิของตนนั้น. [๒๗๒] คำว่า สมณพราหมณ์เป็นอันมาก เป็นผู้ตั้งมั่นในสัจจะเฉพาะอย่างหนึ่งๆ มีความว่า สมณพราหมณ์เป็นอันมาก ตั้งมั่น ตั้งอยู่เฉพาะ พัวพัน เข้าถึง ติดใจ น้อมใจไป ในสัจจะเฉพาะอย่างหนึ่งๆ เป็นอันมาก คือ ตั้งมั่น ตั้งอยู่เฉพาะ พัวพัน เข้าถึง ติดใจ น้อมใจ ไปว่า โลกเที่ยง สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า ตั้งมั่น ตั้งอยู่เฉพาะ พัวพัน เข้าถึง ติดใจ น้อมใจไปว่าโลกไม่เที่ยง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีก ก็หามิได้ สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สมณพราหมณ์เป็นอันมาก เป็นผู้ตั้งมั่นในสัจจะเฉพาะอย่างหนึ่งๆ. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ย่อมกล่าวว่า ความหมดจดย่อมมีในธรรมนี้ เท่านั้น ไม่กล่าวความหมดจดวิเศษในธรรมเหล่าอื่น อาศัยสิ่งใดแล้ว กล่าวสิ่งนั้นว่างามในเพราะทิฏฐิของตนนั้น สมณพราหมณ์เป็นอันมาก เป็นผู้ตั้งมั่นในสัจจะเฉพาะอย่างหนึ่ง ๆ. [๒๗๓] สมณพราหมณ์เหล่านั้น ใคร่วาทะ เข้าไปสู่บริษัท เป็นคู่ปรับ ย่อมมุ่งกันและกันว่าเป็นพาล สมณพราหมณ์เหล่านั้น อาศัยสิ่งอื่นแล้ว ย่อมกล่าวถ้อยคำคัดค้านกัน เป็นผู้ใคร่ความสรรเสริญ กล่าวว่าตน เป็นคนฉลาด.
ว่าด้วยการยกวาทะ
[๒๗๔] คำว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น ใคร่วาทะ เข้าไปสู่บริษัท มีความว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น ใคร่วาทะ คือ สมณพราหมณ์เหล่านั้น ใคร่วาทะ ต้องการวาทะ ประสงค์วาทะ มุ่งหมายวาทะ เที่ยวแสวงหาวาทะ. คำว่า เข้าไปสู่บริษัท คือ เข้าไป หยั่งลง เข้าถึง เข้าหา ขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คหบดีบริษัท สมณบริษัท เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น ใคร่วาทะ เข้าไปสู่บริษัท. [๒๗๕] คำว่า เป็นคู่ปรับ ย่อมมุ่งกันและกันว่าเป็นพาล มีความว่า เป็นคู่ปรับ คือ เป็นคนสองฝ่าย เป็นผู้ทำความทะเลาะกันสองฝ่าย ทำความหมายมั่นกันทั้งสองฝ่าย ทำความ อื้อฉาวกันทั้งสองฝ่าย ทำความวิวาทกันทั้งสองฝ่าย ก่ออธิกรณ์กันทั้งสองฝ่าย ทำวาทะกัน ทั้งสองฝ่าย โต้เถียงกันทั้งสองฝ่าย สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมมุ่งกันและกัน คือ ดู เห็น แลเห็น เพ่งดู พิจารณา เห็นกันและกันโดยความเป็นคนพาล เป็นคนเลว เป็นคนเลวทราม เป็นคนต่ำช้า เป็นคนลามก เป็นคนสกปรก เป็นคนต่ำต้อย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นคู่ปรับ ย่อมมุ่งกันและกันว่าเป็นพาล. [๒๗๖] คำว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น อาศัยสิ่งอื่นแล้ว ย่อมกล่าวถ้อยคำคัดค้านกัน มีความว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นอาศัย อาศัยด้วยดี พัวพัน เข้าถึง ติดใจ น้อมใจถึงสิ่งอื่น คือ ศาสดา ธรรมที่ศาสดากล่าว คณะสงฆ์ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรค. ความทะเลาะกัน ความหมายมั่น ความแก่งแย่ง ความวิวาท ความมุ่งร้าย เรียกว่า ถ้อยคำคัดค้านกัน. อีกอย่างหนึ่ง ถ้อยคำที่ ไม่มีน้ำมีนวล เรียกว่า ถ้อยคำคัดค้านกัน. สมณพราหมณ์เหล่านั้นย่อมกล่าว คือ พูด แสดง แถลง ซึ่งคำคัดค้านกัน ความทะเลาะ คำหมายมั่นกัน คำแก่งแย่งกัน คำวิวาทกัน คำมุ่งร้ายกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น อาศัยสิ่งอื่นแล้ว ย่อมกล่าวถ้อยคำคัดค้านกัน. [๒๗๗] คำว่า เป็นผู้ใคร่ความสรรเสริญ กล่าวว่าตนเป็นคนฉลาด มีความว่า เป็นผู้ใคร่ความสรรเสริญ คือ เป็นผู้ใคร่ความสรรเสริญ ต้องการความสรรเสริญ ประสงค์ ความสรรเสริญ มุ่งหมายความสรรเสริญ เที่ยวแสวงหาความสรรเสริญ. คำว่า กล่าวว่า ตนเป็นผู้ฉลาด คือ พูดว่าตนเป็นคนฉลาด พูดว่าตนเป็นบัณฑิต พูดว่าตนเป็นนักปราชญ์ พูดว่าตนเป็นผู้มีญาณ พูดว่าตนเป็นผู้มีเหตุ พูดว่าตนเป็นผู้มีลักษณะ พูดว่าตนเป็นผู้มีการณะ พูดว่าตนเป็นผู้มีฐานะ ด้วยลัทธิของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้ใคร่ความสรรเสริญ กล่าวว่า ตนเป็นผู้ฉลาด เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น ใคร่วาทะ เข้าไปสู่บริษัท เป็นคู่ปรับ ย่อมมุ่งกัน และกันว่าเป็นพาล สมณพราหมณ์เหล่านั้น อาศัยสิ่งอื่นแล้ว ย่อมกล่าวถ้อยคำคัดค้านกัน เป็นผู้ใคร่ความสรรเสริญ กล่าวว่า ตนเป็นคนฉลาด. [๒๗๘] ชนผู้ประกอบถ้อยคำในท่ามกลางบริษัท เมื่ออยากได้ความสรรเสริญ ย่อมเป็นผู้ลังเลใจ ย่อมเป็นผู้เก้อเขิน ในเมื่อถ้อยคำของตนถูกเขาค้าน ตกไป ย่อมขัดเคืองเพราะความติเตียน ย่อมเป็นผู้แสวงหาช่องทาง แก้ตัว.
ว่าด้วยแพ้วาทะแล้วขัดเคือง
[๒๗๙] คำว่า ชนผู้ประกอบถ้อยคำในท่ามกลางบริษัท มีความว่า ชนผู้ประกอบ คือ ประกอบทั่ว ประกอบเอื้อเฟื้อ ประกอบด้วยดี ประกอบพร้อม ในถ้อยคำของตน เพื่อกล่าว ในท่ามกลางขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คหบดีบริษัท สมณบริษัท เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ชนผู้ประกอบถ้อยคำในท่ามกลางบริษัท. [๒๘๐] คำว่า เมื่ออยากได้ความสรรเสริญ ย่อมเป็นผู้ลังเลใจ มีความว่า เมื่ออยากได้ ความสรรเสริญ คือ เมื่ออยากได้ ยินดี ปรารถนา ชอบใจ รักใคร่ ความสรรเสริญ คือ ความชม ความมีเกียรติ ความยกย่องคุณ. คำว่า ย่อมเป็นผู้ลังเลใจ คือ ก่อนแต่โต้ตอบ ย่อมเป็น ผู้มีความสงสัย ลังเลใจ คือ ก่อนแต่โต้ตอบ ย่อมเป็นผู้สงสัย ลังเลใจอย่างนี้ว่า เราจักมีชัย หรือไม่หนอ หรือเราจักปราชัย เราจักข่มเขาอย่างไร จักทำลัทธิของเราให้เชิดชูอย่างไร จักทำ ลัทธิของเราให้วิเศษอย่างไร จักทำลัทธิของเราให้วิเศษเฉพาะอย่างไร จักทำความผูกมัดเขาอย่างไร จักทำความปลดเปลื้องอย่างไร จักทำความตัดรอบวาทะเขาอย่างไร เราจักขนาบวาทะเขาไว้อย่างไร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่ออยากได้ความสรรเสริญ ย่อมเป็นผู้ลังเลใจ. [๒๘๑] คำว่า ย่อมเป็นผู้เก้อเขิน ในเมื่อถ้อยคำของตนถูกเขาค้านตกไป มีความว่า ชนผู้พิจารณาปัญหามีความเอ็นดูปรานี ย่อมคัดค้านให้ตกไป คือ ย่อมคัดค้านให้ตกไป คือ ย่อมคัดค้านโดยอรรถว่า คำที่ท่านกล่าวไม่ประกอบด้วยอรรถ ย่อมคัดค้านโดยพยัญชนะว่า คำที่ท่านกล่าวไม่ประกอบด้วยพยัญชนะ ย่อมคัดค้านโดยอรรถและพยัญชนะว่า คำที่ท่านกล่าว ไม่ประกอบทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ ย่อมคัดค้านว่า เนื้อความท่านชักมาไม่ดี พยัญชนะท่านยกขึ้นไม่ดี อรรถและพยัญชนะท่านชักมาไม่ดี ยกขึ้นไม่ดี ความข่มผู้อื่นท่านไม่กระทำ ความเชิดชูลัทธิ ท่านทำไม่ดี วาทะอันวิเศษท่านไม่กระทำ วาทะอันวิเศษเฉพาะท่านทำไม่ดี ความผูกมัดผู้อื่น ท่านไม่ทำ ความปลดเปลื้องท่านทำไม่ดี ความตัดรอบวาทะผู้อื่นท่านไม่ทำ ความขนาบวาทะผู้อื่น ท่านทำไม่ดี ท่านพูดชั่ว กล่าวชั่ว เจรจาชั่ว เปล่งวาจาชั่ว ภาษิตชั่ว. คำว่า ย่อมเป็นผู้เก้อเขิน ในเมื่อถ้อยคำของตนถูกเขาค้านตกไป คือ เมื่อถ้อยคำของตนถูกเขาค้านตกไป ย่อมเป็นผู้เก้อเขิน คือ อับอาย กระวนกระวาย ลำบากกาย ทุกข์ใจ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมเป็นผู้เก้อเขิน ในเมื่อถ้อยคำของตนถูกเขาค้านตกไป. [๒๘๒] คำว่า ย่อมขัดเคืองเพราะความติเตียน ย่อมเป็นผู้แสวงหาช่องทางแก้ตัว มี ความว่า เพราะความติเตียน คือ เพราะความนินทา ครหา ไม่ชมเชย ไม่สรรเสริญคุณ. คำว่า ย่อมขัดเคือง คือ ขัดเคือง ขัดใจ หมายแก้แค้น ย่อมทำความโกรธ ความเคือง ความไม่ ยินดีให้ปรากฏ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมขัดเคืองเพราะความติเตียน. คำว่า ย่อมเป็นผู้แสวง หาช่องทางแก้ตัว คือ ย่อมเป็นผู้แสวงหาช่องทางแก้ตัว แสวงหาความผิด ความพลั้ง ความ พลาด ความเผลอ และช่องทาง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมขัดเคืองเพราะความติเตียน ย่อม เป็นผู้แสวงหาช่องทางแก้ตัว. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ชนผู้ประกอบถ้อยคำในท่ามกลางบริษัท เมื่ออยากได้ความสรรเสริญ ย่อมเป็นผู้ลังเลใจ ย่อมเป็นผู้เก้อเขิน ในเมื่อถ้อยคำของตนถูกเขาค้าน ตกไป ย่อมขัดเคืองเพราะความติเตียน ย่อมเป็นผู้แสวงหาช่องทางแก้ตัว. [๒๘๓] ชนผู้พิจารณาปัญหา กล่าววาทะของชนนั้นว่าเลว คัดค้านให้ตกไป ชนนั้นมีวาทะเสื่อมไปแล้ว ย่อมรำพัน เศร้าโศก ทอดถอนใจอยู่ว่า เขา ล่วงเลยเรา.
ว่าด้วยถูกข่มด้วยวาทะแล้วเสียใจ
[๒๘๔] คำว่า กล่าววาทะของชนนั้นว่าเลว มีความว่า ชนผู้พิจารณาปัญหา ย่อม กล่าว บอก พูด แสดง แถลง ซึ่งวาทะของชนนั้นว่า เลว เลวทราม เสื่อมเสีย เสียหาย ไม่บริบูรณ์อย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กล่าววาทะของชนนั้นว่าเลว. [๒๘๕] คำว่า ชนผู้พิจารณาปัญหา ... คัดค้านให้ตกไป มีความว่า ชนผู้พิจารณา ปัญหา มีความเอ็นดูปราณี ย่อมคัดค้านให้ตกไป คือ ย่อมคัดค้านโดยอรรถว่า คำที่ท่านกล่าว ไม่ประกอบด้วยอรรถ ย่อมคัดค้านโดยพยัญชนะว่า คำที่ท่านกล่าวไม่ประกอบด้วยพยัญชนะ ย่อม คัดค้านโดยอรรถและพยัญชนะว่า คำที่ท่านกล่าวไม่ประกอบทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ ย่อมคัดค้านว่า เนื้อความท่านชักมาไม่ดี พยัญชนะท่านยกขึ้นไม่ดี อรรถและพยัญชนะท่านชักมาไม่ดี ยกขึ้นไม่ดี ความข่มผู้อื่นท่านไม่กระทำ ความเชิดชูลัทธิท่านทำไม่ดี วาทะอันวิเศษท่านไม่กระทำ วาทะอัน วิเศษเฉพาะท่านทำไม่ดี ความผูกมัดผู้อื่นท่านไม่ทำ ความปลดเปลื้องท่านทำไม่ดี ความตัดรอน วาทะผู้อื่นท่านไม่ทำ ความขนาบวาทะผู้อื่นท่านทำไม่ดี ท่านพูดชั่ว กล่าวชั่ว เจรจาชั่ว เปล่ง วาจาชั่ว ภาษิตชั่ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ชนผู้พิจารณาปัญหา ... คัดค้านให้ตกไป. [๒๘๖] คำว่า ชนนั้นมีวาทะเสื่อมไปแล้ว ย่อมรำพัน เศร้าโศก มีความว่า ย่อม รำพัน คือ เป็นผู้มีการพูดเพ้อ บ่นเพ้อ พร่ำเพ้อ อาการพร่ำเพ้อ ความเป็นแห่งอาการพร่ำเพ้อ เห็นปานนี้ว่า เหตุการณ์อื่น เรานึกคิดพิจารณาใคร่ครวญแล้ว เรามีพวกมาก มีบริษัทมาก มี บริวารมาก ก็บริษัทนี้ เป็นพวกแต่ไม่พร้อมเพรียงกัน การเจรจาปราศรัยจงมีเพื่อความพร้อม เพรียง เราจักทำลายเขาอีก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมรำพัน. คำว่า ย่อมเศร้าโศก คือ ย่อมเศร้าโศก ลำบากใจ รำพันบอกคร่ำครวญ ถึงความหลงใหลว่า เขามีชัย เราปราชัย เขา มีลาภ เราเสื่อมลาภ เขามียศ เราเสื่อมยศ เขาได้ความสรรเสริญ เราได้ความนินทา เขามีสุข เรามีทุกข์ เขาได้รับสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรง ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลาน- *ปัจจัยเภสัชบริขาร เราไม่ได้รับสักการะเคารพนับถือบูชายำเกรง ไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนา สนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมรำพัน เศร้าโศก. คำว่า มีวาทะ เสื่อมไปแล้ว คือ มีวาทะเสื่อมไปแล้ว มีวาทะเลวทราม มีวาทะเสื่อมรอบ มีวาทะอันเขาให้ เสื่อมรอบ มีวาทะไม่บริบูรณ์แล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ชนนั้นมีวาทะเสื่อมไปแล้ว ย่อมรำพัน เศร้าโศก. [๒๘๗] คำว่า ทอดถอนใจอยู่ว่า เขาล่วงเลยเราแล้ว มีความว่า ทอดถอนใจอยู่ว่า เขาล่วง ล้ำ เกิน เลย ล่วงเลย ซึ่งวาทะเราด้วยวาทะเขา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เขาล่วง เลยเราไปแล้ว แม้ด้วยประการอย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง ทอดถอนใจอยู่ว่า เขากดขี่ครอบงำย่ำยีวาทะ เราแล้ว ย่อมประพฤติ อยู่ เปลี่ยนอิริยาบถ หมุนไป รักษา เป็นไป ยังอัตภาพให้เป็นไป เพราะ ฉะนั้น จึงชื่อว่า เขาล่วงเลยเราไปแล้ว แม้ด้วยประการอย่างนี้. การพูดเพ้อ การบ่นเพ้อ การ พร่ำเพ้อ อาการพร่ำเพ้อ ความเป็นแห่งอาการพร่ำเพ้อ เรียกว่าทอดถอนใจอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทอดถอนใจอยู่ว่า เขาล่วงเลยเราแล้ว. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ชนผู้พิจารณาปัญหา กล่าววาทะของชนนั้นว่าเลว คัดค้านให้ตกไป ชน นั้นมีวาทะเสื่อมไปแล้ว ย่อมรำพัน เศร้าโศก ทอดถอนใจอยู่ว่า เขา ล่วงเลยเราแล้ว. [๒๘๘] ความวิวาทกันเหล่านี้ เกิดแล้วในสมณะทั้งหลาย ความยินดีและความ ยินร้าย ย่อมมีในเพราะความวิวาทเหล่านั้น บุคคลเห็นโทษแม้นี้แล้ว พึงงดเว้นการค้านกัน เพราะประโยชน์อื่นจากการได้ความสรรเสริญ ย่อม ไม่มี.
ว่าด้วยโทษของการวิวาท
[๒๘๙] คำว่า ความวิวาทกันเหล่านี้ เกิดแล้วในสมณะทั้งหลาย มีความว่า สมณะ ได้แก่ ชนบางเหล่า ผู้เป็นปริพาชกภายนอกศาสนานี้ ความทะเลาะกันเพราะทิฏฐิ ความหมาย มั่นกันเพราะทิฏฐิ ความแก่งแย่งกันเพราะทิฏฐิ ความวิวาทกันเพราะทิฏฐิ ความมุ่งร้ายกันเพราะ ทิฏฐิ เกิดแล้ว คือ เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏแล้วในสมณะทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความวิวาทกันเหล่านี้ เกิดแล้วในสมณะทั้งหลาย. [๒๙๐] คำว่า ความยินดีและความยินร้าย ย่อมมีในเพราะความวิวาทเหล่านั้น มีความ ว่า ย่อมมีความชนะและความแพ้ ลาภและความเสื่อมลาภ ยศและความเสื่อมยศ นินทาและ ความสรรเสริญ สุขและทุกข์ โสมนัสและโทมนัส อิฏฐารมณ์ และอนิฏฐารมณ์ ความปลอดโปร่ง และความกระทบกระทั่ง ความยินดีและความยินร้าย ความดีใจและความเสียใจ คือ จิตยินดี เพราะความชนะ จิตยินร้ายเพราะความแพ้ จิตยินดีเพราะลาภ จิตยินร้ายเพราะความเสื่อมลาภ จิตยินดีเพราะยศ จิตยินร้ายเพราะความเสื่อมยศ จิตยินดีเพราะสรรเสริญ จิตยินร้ายเพราะนินทา จิตยินดีเพราะสุข จิตยินร้ายเพราะทุกข์ จิตยินดีเพราะโสมนัส จิตยินร้ายเพราะโทมนัส จิตยินดี เพราะเฟื่องฟูขึ้น จิตยินร้ายเพราะตกอับ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความยินดีและความยินร้าย ย่อมมีในเพราะความวิวาทเหล่านั้น. [๒๙๑] คำว่า บุคคลเห็นโทษแม้นี้แล้ว พึงงดเว้นการคัดค้านกัน มีความว่า เห็น โทษแม้นี้แล้ว คือ เห็น พบ เทียบเคียง พิจารณา ทำให้แจ่มแจ้ง ทำให้เป็นแจ้งซึ่งโทษนั้น ในเพราะความทะเลาะกันเพราะทิฏฐิ ความหมายมั่นกันเพราะทิฏฐิ ความแก่งแย่งกันเพราะทิฏฐิ ความวิวาทกันเพราะทิฏฐิ ความมุ่งร้ายกันเพราะทิฏฐิ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เห็นโทษแม้นี้ แล้ว. คำว่า พึงงดเว้นการคัดค้านกัน คือ ความทะเลาะกัน ความหมายมั่นกัน ความแก่งแย่ง กัน ความวิวาทกัน ความมุ่งร้ายกัน เรียกว่าการคัดค้านกัน. อีกอย่างหนึ่ง ถ้อยคำที่ไม่มีน้ำมี นวล เรียกว่าถ้อยคำคัดค้านกัน. บุคคลไม่พึงทำถ้อยคำคัดค้านกัน คือ ไม่พึงทำความทะเลาะกัน ความหมายมั่นกัน ความแก่งแย่งกัน ความวิวาทกัน ความมุ่งร้ายกัน พึงละ บรรเทา ทำให้ สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง ซึ่งความทะเลาะกัน ความหมายมั่นกัน ความแก่งแย่งกัน ความวิวาท ความมุ่งร้ายกัน คือ พึงเป็นผู้งด เว้น เว้นขาด ออกไป สละ พ้น พ้นขาด พรากออกจากความทะเลาะกัน ความหมายมั่นกัน ความแก่งแย่งกัน ความวิวาทกัน และความ มุ่งร้ายกัน พึงเป็นผู้มีจิตกระทำให้ปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลเห็น โทษแม้นี้แล้ว พึงงดเว้นการคัดค้านกัน. [๒๙๒] คำว่า เพราะประโยชน์อื่นจากการได้ความสรรเสริญย่อมไม่มี มีความว่า ไม่ มีประโยชน์อื่นจากการได้ความสรรเสริญ คือ ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ทั้ง ๒ อย่าง ประโยชน์มีในชาตินี้ ประโยชน์มีในชาติหน้า ประโยชน์ตื้น ประโยชน์ลึก ประโยชน์ ลี้ลับ ประโยชน์ที่ปิดบัง ประโยชน์ที่ควรนำไป ประโยชน์ที่นำไปแล้ว ประโยชน์ไม่มีโทษ ประโยชน์ปราศจากกิเลส ประโยชน์อันบริสุทธิ์ ประโยชน์อย่างยิ่ง ย่อมไม่มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไป ได้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะประโยชน์อื่นจากการได้ความสรรเสริญย่อมไม่มี. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ความวิวาทกันเหล่านี้ เกิดแล้วในสมณะทั้งหลาย ความยินดีและความ ยินร้ายย่อมมีในเพราะความวิวาทเหล่านั้น บุคคลเห็นโทษแม้นี้แล้ว พึง งดเว้นการคัดค้านกัน เพราะประโยชน์อื่นจากการได้ความสรรเสริญย่อม ไม่มี. [๒๙๓] ก็หรือว่า บุคคลกล่าววาทะในท่ามกลางบริษัท ย่อมเป็นผู้ถูกสรรเสริญ ในเพราะทิฏฐินั้น บุคคลนั้นย่อมหัวเราะ และเฟื่องฟูขึ้นด้วยประโยชน์ ในความชนะนั้น เพราะบุคคลนั้น บรรลุประโยชน์นั้นแล้ว เป็นผู้สมใจนึก. [๒๙๔] คำว่า ก็หรือว่า ... ย่อมเป็นผู้ถูกสรรเสริญในเพราะทิฏฐินั้น มีความว่า คำว่า ในเพราะทิฏฐินั้น คือ บุคคลย่อมเป็นผู้อันชนหมู่มากสรรเสริญ ชมเชย ยกย่อง พรรณนาคุณใน เพราะทิฏฐิ ความความ ควรชอบใจลัทธิของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ก็หรือว่า ... ย่อมเป็นผู้ ถูกสรรเสริญในเพราะทิฏฐินั้น. [๒๙๕] คำว่า กล่าววาทะในท่ามกลางบริษัท มีความว่า กล่าว บอก พูด แถลง แสดง ให้รุ่งเรือง บัญญัติ กำหนดซึ่งวาทะของตนและวาทะอนุโลมแก่วาทะของตน ในท่าม กลางขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คหบดีบริษัท สมณบริษัท เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กล่าววาทะ ในท่ามกลางบริษัท. [๒๙๖] คำว่า บุคคลนั้นย่อมหัวเราะ และเฟื่องฟูขึ้นด้วยประโยชน์ในความชนะนั้น ความว่า บุคคลนั้น เป็นผู้ยินดี หัวเราะ ร่าเริง ชอบใจ มีความดำริบริบูรณ์ ด้วยประโยชน์ ในความชนะนั้น. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลนั้นหัวเราะจนเห็นฟัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคล นั้นย่อมหัวเราะ. คำว่า และเฟื่องฟูขึ้นด้วยประโยชน์ในความชนะนั้น คือ บุคคลนั้น เป็นผู้เฟื่องฟู ขึ้น คือ เห่อเหิมเป็นดุจธงชัย ยกย่องตนขึ้น ความที่จิตเป็นผู้ใคร่ยกไว้ดังธงยอด ด้วยประโยชน์ ในความชนะนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลนั้นย่อมหัวเราะ และเฟื่องฟูขึ้นด้วยประโยชน์ใน ความชนะนั้น. [๒๙๗] คำว่า เพราะบุคคลนั้น บรรลุประโยชน์นั้นแล้ว เป็นผู้สมใจนึก ความว่า บรรลุ คือ ถึง ได้ ประสบ ได้เฉพาะซึ่งประโยชน์นั้นแล้ว. คำว่า เป็นผู้สมใจนึก คือ สมเจตนา สมความดำริ สมดังวิญญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บรรลุประโยชน์นั้นแล้ว เป็นผู้สมใจนึก. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ก็หรือว่า บุคคลกล่าววาทะในท่ามกลางบริษัท ย่อมเป็นผู้ถูกสรรเสริญ ในเพราะทิฏฐินั้น บุคคลนั้นย่อมหัวเราะ และเฟื่องฟูขึ้นด้วยประโยชน์ ในความชนะนั้น เพราะบุคคลนั้น บรรลุประโยชน์นั้นแล้ว เป็นผู้สมใจนึก. [๒๙๘] ความเฟื่องฟู เป็นพื้นย่ำยีแห่งบุคคลนั้น บุคคลนั้นย่อมกล่าวความถือตัว และความดูหมิ่น บุคคลเห็นโทษแม้นั้นแล้ว ไม่ควรวิวาทกัน ผู้ฉลาด ย่อมไม่กล่าวความหมดจดเพราะวิวาทนั้น. [๒๙๙] คำว่า ความเฟื่องฟู เป็นพื้นย่ำยีแห่งบุคคลนั้น ความว่า ความเฟื่องฟู คือ ความเห่อเหิมเป็นดุจธงชัย ความยกย่องตนขึ้น ความที่จิตเป็นผู้ใคร่ยกไว้ดังธงยอดใด ความเฟื่องฟูนั้น เป็นพื้นย่ำยี คือ เป็นพื้นตัดรอน เป็นพื้นเบียดเบียน เป็นพื้นบีบคั้น เป็นพื้น อันตราย เป็นพื้นอุปสรรคแห่งบุคคลนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความเฟื่องฟู เป็นพื้นย่ำยีแห่ง บุคคลนั้น. [๓๐๐] คำว่า บุคคลนั้นย่อมกล่าวความถือตัวและความดูหมิ่น ความว่า บุคคลนั้นย่อม กล่าวความถือตัว และย่อมกล่าวความดูหมิ่น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าบุคคลนั้นย่อมกล่าวความ ถือตัวและความดูหมิ่น. [๓๐๑] คำว่า เห็นโทษแม้นั้นแล้ว ไม่ควรวิวาทกัน ความว่า เห็น พบ เทียบเคียง พิจารณา ทำให้แจ่มแจ้ง ทำให้แจ่มแจ้ง ทำให้เป็นแจ้งแล้วซึ่งโทษนั้น ในเพราะความทะเลาะ กันเพราะทิฏฐิ ความหมายมั่นกันเพราะทิฏฐิ ความแก่งแย่งกันเพราะทิฏฐิ ความวิวาทกันเพราะ ทิฏฐิ ความมุ่งร้ายกันเพราะทิฏฐิ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เห็นโทษแม้นั้นแล้ว. คำว่า ไม่ควร วิวาทกัน ความว่า ไม่พึงทำความทะเลาะ ความหมายหมั่น ความแก่งแย่งกัน ความวิวาทกัน ความมุ่งร้ายกัน คือ พึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีในภายหลังซึ่งความทะเลาะกัน ความหมายมั่นกัน ความแก่งแย่งกัน ความวิวาทกัน และความมุ่งร้ายกัน คือ พึงเป็นผู้งด เว้น เว้นขาด ออกไป สละ พ้นขาด พรากออกไปจากความทะเลาะกัน ความหมายมั่นกัน ความ แก่งแย่งกัน ความวิวาทกัน และความมุ่งร้ายกัน พึงเป็นผู้มีจิตกระทำให้ปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เห็นโทษแม้นั้นแล้ว ไม่ควรวิวาทกัน. [๓๐๒] ชื่อว่า ผู้ฉลาด ในคำว่า ผู้ฉลาดย่อมไม่กล่าวความหมดจดเพราะวิวาทนั้น ความว่า ผู้ฉลาดในขันธ์ ฉลาดในธาตุ ฉลาดในอายตนะ ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท ฉลาดใน สติปัฏฐาน ฉลาดในสัมมัปปธาน ฉลาดในอิทธิบาท ฉลาดในอินทรีย์ ฉลาดในพละ ฉลาดใน โพชฌงค์ ฉลาดในมรรค ฉลาดในผล ฉลาดในนิพพาน ผู้ฉลาดเหล่านั้น ย่อมไม่กล่าว ไม่บอก ไม่พูด ไม่แสดง ไม่แถลงถึงความหมดจด ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้นรอบ เพราะความทะเลาะกันเพราะทิฏฐิ ความหมายมั่นกันเพราะ ทิฏฐิ ความแก่งแย่งกันเพราะทิฏฐิ ความวิวาทกันเพราะทิฏฐิ ความมุ่งร้ายกันเพราะทิฏฐิ เพราะ ฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ฉลาดย่อมไม่กล่าวความหมดจดเพราะวิวาทนั้น. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่า ความเฟื่องฟู เป็นพื้นย่ำยีแห่งบุคคลนั้น บุคคลนั้นย่อมกล่าวความถือตัว และความดูหมิ่น บุคคลเห็นโทษแม้นั้นแล้ว ไม่ควรวิวาทกัน ผู้ฉลาด ย่อมไม่กล่าวความหมดจดเพราะวิวาทนั้น. [๓๐๓] คนกล้าที่พระราชาทรงชุบเลี้ยงด้วยของควรเคี้ยว ผู้คะนองปรารถนาคน กล้าที่เป็นศัตรู ย่อมพบคนกล้าที่เป็นศัตรู ฉันใด เจ้าทิฏฐิย่อมพบเจ้า ทิฏฐิ ฉันนั้น ดูกรปสูระ เจ้าทิฏฐิอยู่ที่ใด ท่านจงไปเสียจากที่นั้น กิเลส ทั้งหลายของตถาคตมิได้มีในเบื้องต้นเพื่อจะรบ. [๓๐๔] ชื่อว่า คนกล้า ในคำว่า คนกล้าที่พระราชาทรงชุบเลี้ยงด้วยของควรเคี้ยว คือ คนกล้า คนมีความเพียร คนต่อสู้ คนไม่ขลาด คนไม่หวาดเสียว คนไม่ครั่นคร้าม คนไม่หนี. คำว่า ที่พระราชาทรงชุบเลี้ยงด้วยของควรเคี้ยว ความว่า ผู้อันพระราชาทรงชุบเลี้ยง คือ พอกเลี้ยง บำรุงเพิ่มพูนให้เจริญแล้วด้วยของควรเคี้ยว ด้วยของควรบริโภคของพระราชา เพราะ ฉะนั้น จึงชื่อว่า คนกล้าที่พระราชาทรงชุบเลี้ยงด้วยของควรเคี้ยว. [๓๐๕] คำว่า ผู้คะนองปรารถนาคนกล้าที่เป็นศัตรู ย่อมพบคนกล้าที่เป็นศัตรู ฉันใด เจ้าทิฏฐิย่อมพบเจ้าทิฏฐิ ฉันนั้น ความว่า คนกล้านั้น ผู้คะนอง ปองท้าทาย บันลือลั่น ผู้ปรารถนา ยินดี มุ่งหวัง ประสงค์ พอใจ ซึ่งคนกล้าผู้เป็นศัตรู คือ บุรุษที่เป็นปฏิปักษ์ ศัตรูเป็นข้าศึก นักรบที่เป็นปฏิปักษ์ ย่อมพบ คือ ถึง เข้าถึง ซึ่งคนกล้าผู้เป็นศัตรู เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้คะนองปรารถนาคนกล้าที่เป็นศัตรู ย่อมพบคนกล้าที่เป็นศัตรู ฉันใด เจ้าทิฏฐิย่อมพบ เจ้าทิฏฐิ ฉันนั้น. [๓๐๖] คำว่า ดูกรท่านผู้กล้า เจ้าทิฏฐิอยู่ที่ใด ท่านจงไปเสียจากที่นั้น ความว่า เจ้าทิฏฐินั้นอยู่ที่ใด ท่านจงไป คือ จงดำเนิน เดินก้าวไปเสียจากที่นั้นนั่นแหละ เพราะเจ้าทิฏฐิ นั้นเป็นคนกล้าที่เป็นศัตรู เป็นบุรุษที่เป็นปฏิปักษ์ เป็นศัตรูที่เป็นข้าศึก เป็นนักรบที่เป็นปฏิปักษ์ ต่อท่าน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ดูกรท่านผู้กล้า เจ้าทิฏฐิอยู่ที่ใด ท่านจงไปเสียจากที่นั้น. [๓๐๗] คำว่า กิเลสทั้งหลายของตถาคตมิได้มีในเบื้องต้นเพื่อจะรบ ความว่า กิเลสเหล่า ใด อันทำความขัดขวาง ทำความเป็นข้าศึก ทำความเป็นเสี้ยนหนาม ทำความเป็นปฏิปักษ์ กิเลสเหล่านั้น มิได้มี คือ ย่อมไม่มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้ คือ เป็นบาปธรรมอันตถาคต ละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ ในเบื้องต้น คือ ที่โคนโพธิพฤกษ์. คำว่า เพื่อจะรบ คือ เพื่อประโยชน์ที่จะรบ เพื่อความทะเลาะ เพื่อความหมายมั่น เพื่อความแก่งแย่ง เพื่อความวิวาท เพื่อความมุ่งร้าย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กิเลสทั้งหลาย ของตถาคตมิได้มีในเบื้องต้นเพื่อจะรบ. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า คนกล้าที่พระราชาทรงชุบเลี้ยงด้วยของควรเคี้ยว ผู้คะนองปรารถนาคน กล้าที่เป็นศัตรู ย่อมพบคนกล้าที่เป็นศัตรู ฉันใด เจ้าทิฏฐิย่อมพบเจ้าทิฏฐิ ฉันนั้น ดูกรปสูระ เจ้าทิฏฐิอยู่ที่ใด ท่านจงไปเสียจากที่นั้น กิเลส ทั้งหลายของตถาคตมิได้มีในเบื้องต้นเพื่อจะรบ. [๓๐๘] ก็ชนเหล่าใดถือทิฏฐิแล้ว ย่อมวิวาทกัน และย่อมกล่าวว่า สิ่งนี้เท่านั้นจริง ดังนี้ ท่านจงกล่าวกับชนเหล่านั้น เพราะกิเลสที่ทำความขัดขวางกัน ในเมื่อวาทะเกิดแล้ว ย่อมไม่มีในที่นี้.
ว่าด้วยวิวาทกันเพราะทิฏฐิ
[๓๐๙] คำว่า ชนเหล่าใดถือทิฏฐิแล้ว ย่อมวิวาทกัน ความว่า ชนเหล่าใด ถือ คือ จับถือ ถือเอา ถือมั่น ยึดมั่นซึ่งทิฏฐิ ๖๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ย่อมวิวาทกัน คือ ทำความทะเลาะ ความหมายมั่น ความแก่งแย่ง ความวิวาท ความมุ่งร้ายกันว่า ท่านไม่รู้ ธรรมวินัยนี้ เรารู้ธรรมวินัยนี้ ท่านจักรู้ธรรมวินัยนี้ได้อย่างไร ท่านปฏิบัติผิด เราปฏิบัติชอบ คำของเรามีประโยชน์ คำของท่านไม่มีประโยชน์ คำที่ควรกล่าวก่อน ท่านกลับกล่าวทีหลัง คำที่ควรกล่าวทีหลัง ท่านกลับกล่าวก่อน คำที่คล่องแคล่วของท่านกลับขัดข้องไป เราใส่โทษ ท่านแล้ว ท่านถูกเราปราบแล้ว ท่านจงเที่ยวไป หรือจงแก้ไขเพื่อเปลื้องวาทะ ถ้าท่านสามารถ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ชนเหล่าใดถือทิฏฐิแล้ว ย่อมวิวาทกัน. [๓๑๐] คำว่า และย่อมกล่าวว่า สิ่งนี้เท่านั้นจริง ดังนี้ ความว่า ย่อมกล่าว คือ ย่อมบอก พูด แสดง แถลงว่า โลกเที่ยง สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า โลกไม่เที่ยง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า และย่อมกล่าวว่า สิ่งนี้เท่านั้นจริง ดังนี้. [๓๑๑] คำว่า ท่านจงกล่าวกับชนเหล่านั้น เพราะกิเลสที่ทำความขัดขวางกันในเมื่อ วาทะเกิดแล้ว ย่อมไม่มีในที่นี้ ความว่า ท่านจงกล่าวกับชนเหล่านั้น ผู้เป็นเจ้าทิฏฐิ คือ ท่าน จงทำความข่มด้วยความข่ม ทำกรรมตอบด้วยกรรมตอบ ทำกรรมแปลกด้วยกรรมแปลก ทำกรรม แปลกเฉพาะด้วยกรรมแปลกเฉพาะ ทำความผูกมัดด้วยความผูกมัด ทำความปลดเปลื้องด้วยความ ปลดเปลื้อง ทำความตัดด้วยความตัด ทำความขนาบด้วยความขนาบ ชนเหล่านั้น เป็นคนกล้า ที่เป็นศัตรู เป็นบุรุษที่เป็นปฏิปักษ์ เป็นศัตรูที่เป็นข้าศึก เป็นนักรบที่เป็นปฏิปักษ์ต่อท่าน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ท่านจงกล่าวกับชนเหล่านั้น. คำว่า เพราะกิเลสที่ทำความขัดขวางกันในเมื่อวาทะเกิดแล้ว ย่อมไม่มี ความว่า เมื่อ วาทะเกิดแล้ว เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏแล้ว กิเลสเหล่าใดที่ทำความขัดขวาง กัน ความขัดแย้งกัน ความเป็นเสี้ยนหนามกัน ความเป็นปฏิปักษ์กัน พึงทำความทะเลาะ หมายมั่น แก่งแย่ง วิวาท มุ่งร้ายกัน กิเลสเหล่านั้นย่อมไม่มี คือ ย่อมไม่มีพร้อม ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้ ย่อมเป็นบาปธรรมอันตถาคต ละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ท่านจงกล่าวกับชนเหล่านั้น เพราะกิเลส ที่ทำความขัดขวางกันในเมื่อวาทะเกิดแล้ว ย่อมไม่มีในที่นี้. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่า ชนเหล่าใดถือทิฏฐิแล้ว ย่อมวิวาทกัน และย่อมกล่าวว่า สิ่งนี้ เท่านั้นจริง ดังนี้ ท่านจงกล่าวกับชนเหล่านั้น เพราะกิเลสที่ทำความ ขัดขวางกันในเมื่อวาทะเกิดแล้ว ย่อมไม่มีในที่นี้. [๓๑๒] ก็พระอรหันตขีณาสพเหล่าใด กำจัดเสนาแล้ว ไม่กระทบทิฏฐิด้วยทิฏฐิ ย่อมเที่ยวไป ดูกรปสูระ ท่านจักได้อะไรในพระอรหันตขีณาสพเหล่านั้น ผู้ไม่มีความถือว่า สิ่งนี้ประเสริฐ.
ว่าด้วยมารเสนา
[๓๑๓] พึงทราบอธิบายในคำว่า ก็พระอรหันตขีณาสพเหล่าใด กำจัดเสนาแล้ว ... ย่อมเที่ยวไป ดังต่อไปนี้ มารเสนา เรียกว่าเสนา. กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ ความลวง ความโอ้อวด ความกระด้าง ความแข่งดี ความถือตัว ความดูหมิ่น ความเมา ความประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวง เป็นมารเสนา. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กิเลสกาม เรากล่าวว่าเป็นเสนาที่หนึ่งของท่าน ฯลฯ ส่วน (คนกล้าย่อมชนะได้) ครั้นชนะแล้ว ย่อมได้สุข ดังนี้. เมื่อใด มารเสนาทั้งหมด และ กิเลสอันทำความเป็นปฏิปักษ์ทั้งหมด อันบุคคลนั้นชนะแล้ว ไม่แพ้แล้ว ทำลายเสีย กำจัด เสีย ทำให้ไม่สู้หน้าแล้ว ด้วยอริยมรรค ๔ เมื่อนั้น บุคคลนั้นเรียกว่า เป็นผู้กำจัดเสนา. คำว่า เหล่าใด ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ. คำว่า ย่อมเที่ยวไป คือ ย่อมเที่ยวไป อยู่ เปลี่ยนอิริยาบถ ประพฤติ รักษา เป็นไป ให้อัตภาพเป็นไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ก็พระอรหันตขีณาสพเหล่าใด กำจัดเสนาแล้ว ย่อมเที่ยวไป. [๓๑๔] คำว่า ไม่กระทบทิฏฐิด้วยทิฏฐิ ความว่า ทิฏฐิ ๖๒ อันพระอรหันตขีณาสพ เหล่านั้นละแล้ว ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ พระอรหันตขีณาสพเหล่านั้น ไม่กระทบ คือ ไม่กระทั่ง ไม่บั่นรอน ไม่ทำลายทิฏฐิ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่กระทบทิฏฐิด้วยทิฏฐิ. [๓๑๕] คำว่า ดูกรปสูระ ท่านจักได้อะไรในพระอรหันตขีณาสพเหล่านั้น ความว่า ดูกรปสูระ ผู้กล้าหาญ ผู้เป็นบุรุษปฏิปักษ์ ผู้เป็นศัตรูปฏิปักษ์ ผู้เป็นนักรบปฏิปักษ์ ท่านจักได้ อะไรในพระอรหันตขีณาสพเหล่านั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ดูกรปสูระ ท่านจักได้อะไรใน พระอรหันตขีณาสพเหล่านั้น. [๓๑๖] คำว่า ผู้ไม่มีความถือว่า สิ่งนี้ประเสริฐ ความว่า ความถือ ความยึดมั่น ความติดใจ ความน้อมใจไปว่า สิ่งนี้ประเสริฐ คือ เลิศ เป็นใหญ่ วิเศษ เป็นประธานสูงสุด บวร ย่อมไม่มี คือ ย่อมไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้แก่พระอรหันตขีณาสพเหล่าใด คือ เป็นกิเลส อันพระอรหันตขีณาสพเหล่านั้นละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้ว ด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่มีความถือว่า สิ่งนี้ประเสริฐ. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ก็พระอรหันตขีณาสพเหล่าใด กำจัดเสนาแล้ว ไม่กระทบทิฏฐิด้วยทิฏฐิ ย่อมเที่ยวไป ดูกรปสูระ ท่านจักได้อะไรในพระอรหันตขีณาสพเหล่านั้น ผู้ไม่มีความถือว่า สิ่งนี้ประเสริฐ. [๓๑๗] ก็ท่านตรึกคิดถึงทิฏฐิทั้งหลายด้วยใจมาแล้ว ท่านมาแข่งคู่ด้วยพระพุทธ เจ้า ผู้มีปัญญาชื่อโธนา ท่านไม่อาจเพื่อเทียมทันได้เลย.
ว่าด้วยพระปัญญาของพระพุทธเจ้า
[๓๑๘] บทว่า อถ ในคำว่า ก็ท่านตรึก ... มาแล้ว เป็นบทสนธิ เป็นบทเกี่ยวเนื่อง เป็นบทบริบูรณ์ เป็นศัพท์ประชุมอักษร เป็นศัพท์ทำพยัญชนะให้สละสลวย บทว่า อถ นี้ เป็นลำดับบท. คำว่า ท่านตรึก ... มาแล้ว คือ ท่านตรึก ตรอง ดำริ คือ ตรึก ตรอง ดำริอย่างนี้ว่า เราจักมีชัยหรือไม่หนอ หรือเราจักปราชัย เราจักข่มเขาอย่างไร จักทำลัทธิ ของเราให้เชิดชูอย่างไร จักทำลัทธิของเราให้วิเศษอย่างไร จักทำลัทธิของเราให้วิเศษเฉพาะ อย่างไร จักทำความผูกพันเขาอย่างไร จักทำความปลดเปลื้องอย่างไร จักทำความตัดรอน วาทะเขาอย่างไร จักขนาบวาทะเขาอย่างไร ดังนี้ เป็นผู้มาแล้ว คือ เข้ามา มาถึง มา ประจวบแล้วกับเรา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ก็ท่านตรึก ... มาแล้ว. [๓๑๙] ชื่อว่า ใจ ในคำว่า คิดถึงทิฏฐิทั้งหลายด้วยใจ ความว่า ใจ คือ จิต ใจ มานัส หทัย ปัณฑระ มนะ มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณ ธาตุที่เกิดแต่ผัสสะเป็นต้นนั้น. ท่านคิดนึกถึงทิฏฐิทั้งหลายด้วยจิตว่า โลกเที่ยงบ้าง โลกไม่ เที่ยงบ้าง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ เพราะ ฉะนั้น จึงชื่อว่า คิดถึงทิฏฐิทั้งหลายด้วยใจ. [๓๒๐] พึงทราบอธิบายในคำว่า ท่านมาแข่งคู่ด้วยพระพุทธเจ้าผู้มีปัญญาชื่อโธนา ท่านไม่อาจเพื่อเทียมทันได้เลย ดังต่อไปนี้ ปัญญา เรียกว่าโธนา ได้แก่ ความรู้ ความรู้ทั่ว ฯลฯ ความไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม ความเห็นชอบ. เพราะเหตุไร ปัญญาจึงเรียกว่าโธนา. เพราะ ปัญญานั้น เป็นเครื่องกำจัด ล้าง ชำระ ซักฟอกซึ่งกายทุจริต ฯลฯ อกุสลาภิสังขารทั้งปวง. อีกอย่างหนึ่ง สัมมาทิฏฐิเป็นเครื่องกำจัด ล้าง ชำระ ซักฟอกซึ่งมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาวิมุติ เป็นเครื่องกำจัด ล้าง ชำระ ซักฟอกซึ่งมิจฉาวิมุติ. อีกอย่างหนึ่ง อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็น เครื่องกำจัด ล้าง ชำระ ซักฟอกซึ่งอกุศลทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวง. พระผู้มีพระภาคเข้าถึง เข้าถึงพร้อมแล้ว เข้าไป เข้าไปพร้อมแล้ว เข้าชิด เข้าชิดพร้อมแล้ว ประกอบแล้วด้วยธรรมทั้ง หลายอันเป็นเครื่องกำจัดนี้ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค จึงชื่อว่า มีปัญญาเป็นเครื่องกำจัด. พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงกำจัดราคะ บาป กิเลส ความเร่าร้อนเสียแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มีปัญญาเป็นเครื่องกำจัด. คำว่า ท่านมาแข่งคู่ด้วยพระพุทธเจ้าผู้มีปัญญาชื่อโธนา ท่านไม่อาจเพื่อเทียมทันได้เลย ความว่า ปสูรปริพาชก ไม่อาจมาแข่งคู่ คือ มาเพื่อถือคู่ เพื่อสนทนาปราศรัยโต้ตอบกับ ด้วยพระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระพุทธเจ้า ผู้มีปัญญาชื่อโธนา. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร. เพราะ ปสูรปริพาชกเป็นคนเลว ทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย. ส่วนพระผู้มีพระภาคพระ องค์นั้น เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ วิเศษ เป็นประธาน บวร. ปสูรปริพาชกไม่อาจมาแข่งคู่ คือ มาเพื่อถือคู่ เพื่อสนทนาปราศรัยโต้ตอบกับด้วยพระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระพุทธเจ้า ผู้มีปัญญา ชื่อโธนา เปรียบเหมือนกระต่ายไม่อาจมาแข่งคู่ คือ มาเพื่อถือคู่กับด้วยช้างใหญ่ซับมัน เหมือนสุนัขจิ้งจอกแก่ ไม่อาจมาแข่งคู่ คือ มาเพื่อถือคู่กับด้วยสีหะผู้เป็นมฤคราช เหมือนลูก โคตัวเล็กยังดื่มน้ำนม ไม่อาจมาแข่งคู่ คือ มาเพื่อถือคู่กับด้วยโคใหญ่ผู้มีกำลังมาก เหมือนกา ไม่ อาจมาแข่งคู่ คือ มาเพื่อถือคู่กับด้วยพวกครุฑเวนไตยโคตร เหมือนคนจัณฑาล ไม่อาจมาแข่งคู่ คือ มาเพื่อถือคู่กับด้วยพระเจ้าจักรพรรดิ และเหมือนปีศาจเล่นฝุ่น ไม่อาจมาแข่งคู่ คือ มาเพื่อถือ คู่กับด้วยพระอินทร์ผู้เทวราชา ฉะนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะปสูรปริพาชก มีปัญญาเลว มีปัญญาทราม มีปัญญาต่ำช้า มีปัญญาลามก มีปัญญาสกปรก มีปัญญาต่ำต้อย. เพราะพระผู้มี พระภาคพระองค์นั้น มีปัญญามาก มีปัญญากว้างขวาง มีปัญญารื่นเริง มีปัญญาแล่น มีปัญญา เฉียบแหลม มีปัญญาชำแรกกิเลส ผู้ฉลาดในประเภทปัญญา มีญาณแตกฉาน ทรงบรรลุ ปฏิสัมภิทาแล้ว ถึงแล้วซึ่งเวสารัชชญาณ ๔ ทรงทศพลญาณ เป็นบุรุษผู้องอาจ เป็นบุรุษสีหะ เป็น บุรุษนาค เป็นบุรุษอาชาไนย เป็นบุรุษนำธุระไปเป็นปกติ มีญาณหาที่สุดมิได้ มีเดชหาที่สุดมิได้ มียศหาที่สุดมิได้ เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีปัญญาเป็นทรัพย์ เป็นผู้นำ เป็นผู้นำไปวิเศษ เป็นผู้นำไปเนื่องๆ ให้รู้จักประโยชน์ ให้เพ่งพินิจ เป็นผู้เห็นประโยชน์ ให้แล่นไปด้วย ปสาทะ. พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นผู้ให้มรรคที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น ผู้ให้มรรคที่ยังไม่เกิด พร้อมให้เกิดพร้อม ผู้ตรัสบอกมรรคที่ยังไม่มีใครบอก ทรงรู้ซึ่งมรรค ทรงทราบซึ่งมรรค ทรง ฉลาดในมรรค. ก็แหละในบัดนี้ พระสาวกทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นผู้ดำเนิน ตามมรรคอยู่ เป็นผู้ประกอบด้วยสีลาทิคุณ ในภายหลัง. พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงรู้ ธรรมที่ควรรู้ ทรงเห็นธรรมที่ควรเห็น เป็นผู้มีพระจักษุ มีพระญาณ มีธรรมเป็นพรหม เป็นผู้ ตรัสบอก เป็นผู้แนะนำ เป็นผู้นำออกซึ่งอรรถ เป็นผู้ให้อมตธรรม เป็นพระธรรมสามี เป็น พระตถาคต. สิ่งที่ไม่รู้ สิ่งที่ไม่เห็น สิ่งที่ไม่ทราบชัด สิ่งที่ไม่ทำให้แจ้ง สิ่งที่มิได้ถูกต้องด้วย ปัญญา ย่อมไม่มีแก่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น. ธรรมทั้งปวง รวมทั้งอดีต อนาคต และ ปัจจุบัน ย่อมมาสู่คลองในมุขะคือพระญาณของพระผู้มีพระภาค ผู้ตรัสรู้แล้วโดยอาการทั้งปวง. ชื่อว่าประโยชน์ที่ควรแนะนำทุกๆ อย่าง อันชนควรรู้มีอยู่ ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ทั้ง ๒ อย่าง ประโยชน์ในชาตินี้ ประโยชน์ในชาติหน้า ประโยชน์ตื้น ประโยชน์ลึก ประโยชน์ที่ลี้ลับ ประโยชน์ปกปิด ประโยชน์ที่ควรแนะนำ ประโยชน์ที่บัณฑิตแนะนำแล้ว ประโยชน์ที่ไม่มีโทษ ประโยชน์ที่ไม่มีกิเลส ประโยชน์อันผ่องแผ้ว ประโยชน์อย่างยิ่ง ประโยชน์ทั้งหมดนั้น ย่อมเป็นไปในภายในพระพุทธญาณ. กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมทั้งหมด ย่อมเป็นไปตามพระญาณของพระผู้มีพระภาค ผู้ตรัสรู้แล้ว. พระญาณของพระผู้มีพระภาค ผู้ตรัส รู้แล้ว มิได้ขัดข้องในอดีต อนาคต ปัจจุบัน. บทธรรมที่ควรแนะนำเท่าใด พระญาณก็เท่านั้น พระญาณเท่าใด บทธรรมที่ควรแนะนำก็เท่านั้น พระญาณมีส่วนสุดรอบแห่งบทธรรมที่ควร แนะนำ บทธรรมที่ควรแนะนำก็มีส่วนสุดรอบแห่งพระญาณ. พระญาณย่อมไม่เป็นไปเกินบท ธรรมที่ควรแนะนำ ทางแห่งบทธรรมที่ควรแนะนำก็มิได้เกินพระญาณไป. ธรรมทั้งหลายนั้น มีความตั้งอยู่ในส่วนสุดรอบของกันและกัน. เมื่อชั้นผะอบ ๒ ชั้น ปิดสนิทพอดีกัน ชั้นผะอบ ข้างล่างก็ไม่เกินชั้นผะอบข้างบน ชั้นผะอบข้างบนก็ไม่เกินชั้นผะอบข้างล่าง ชั้นผะอบทั้ง ๒ มีความตั้งอยู่ในส่วนสุดรอบของกันและกัน ฉันใด บทธรรมที่ควรแนะนำก็ดี พระญาณก็ดี ของพระผู้มีพระภาค ผู้ตรัสรู้แล้ว มีความตั้งอยู่ในส่วนสุดรอบของกันและกัน บทธรรมที่ควร แนะนำเท่าใด พระญาณก็เท่านั้น พระญาณเท่าใด บทธรรมที่ควรแนะนำก็เท่านั้น พระญาณมี ส่วนสุดรอบแห่งบทธรรมที่ควรแนะนำ บทธรรมที่ควรแนะนำก็มีส่วนสุดรอบแห่งพระญาณ พระ ญาณย่อมไม่เป็นไปเกินบทธรรมที่ควรแนะนำ ทางแห่งบทธรรมที่ควรแนะนำก็มิได้เกินพระญาณไป ธรรมเหล่านั้น มีความตั้งอยู่ในที่สุดรอบของกันและกัน ฉันนั้น. พระญาณของพระผู้มีพระภาค ผู้ตรัสรู้แล้ว ย่อมเป็นไปในธรรมทั้งสิ้น. ธรรมทั้งสิ้น เนื่องด้วยความนึก เนื่องด้วยความหวัง เนื่องด้วยมนสิการ เนื่องด้วยจิตตุบาท แห่งพระผู้มีพระภาค ผู้ตรัสรู้แล้ว. พระญาณของพระผู้ มีพระภาค ผู้ตรัสรู้แล้ว ย่อมเป็นไปในสัตว์ทั้งปวง. พระผู้มีพระภาคย่อมทรงทราบอัธยาศัย อนุสัย จริต อธิมุติ แห่งสัตว์ทั้งปวง ย่อมทรงทราบซึ่งเหล่าสัตว์ผู้มีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักขุ มีกิเลส ธุลีมากในญาณจักขุ มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการทราม ผู้ควรแนะนำ ได้โดยง่าย ผู้แนะนำได้โดยยาก เป็นภัพพสัตว์ เป็นอภัพพสัตว์. โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ย่อมเป็นไปในภายในพระพุทธญาณ. ปลา และเต่าทุกชนิด รวมทั้งปลาติมิ ปลาติมิงคละ และปลาติมิติมิงคละ โดยที่สุด ย่อมเป็นไปใน ภายในมหาสมุทร ฉันใด โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้ง สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ย่อมเป็นไปในภายในพระพุทธญาณ ฉันนั้น. นกทุกชนิด รวมทั้งครุฑเวนไตยโคตร โดยที่สุด ย่อมเป็นไปในประเทศอากาศ ฉันใด พระพุทธสาวก ผู้เสมอด้วยพระสารีบุตรเถระโดยปัญญา ย่อมเป็นไปในประเทศแห่งพระพุทธญาณ ฉันนั้น. พระพุทธญาณ ย่อมแผ่คลุมปัญญาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายตั้งอยู่. พวกบัณฑิต ผู้เป็นกษัตริย์ พราหมณ์ คหบดี สมณะ มีปัญญาละเอียด รู้วาทะของผู้อื่น เหมือนนายขมังธนูยิงขนหางสัตว์แม่น เที่ยวไปดุจทำลายทิฏฐิของผู้อื่นด้วยปัญญาของตน บัณฑิตเหล่านั้น ปรุงแต่งปัญหาแล้ว เข้าไปเฝ้า พระตถาคต ทูลถามปัญหา. ปัญหาเหล่านั้น อันพระผู้มีพระภาคตรัสย้อนถามและตรัสแก้แล้ว เป็นปัญหามีเหตุที่ทรงแสดงออกและทรงสลัดออก. บัณฑิตเหล่านั้น ย่อมเลื่อมใสต่อพระผู้มี พระภาค. พระผู้มีพระภาคย่อมทรงไพโรจน์ยิ่งด้วยพระปัญญาในที่นั้นโดยแท้แล เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ท่านมาแข่งคู่ด้วยพระพุทธเจ้าผู้มีปัญญาชื่อโธนา ท่านไม่อาจเทียมทันได้เลย. เพราะ เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ก็ท่านตรึกคิดถึงทิฏฐิทั้งหลายด้วยใจมาแล้ว ท่านมาแข่งคู่ด้วยพระพุทธ เจ้า ผู้มีปัญญาชื่อโธนา ท่านไม่อาจเพื่อเทียมทันได้เลย.
จบ ปสูรสุตตนิทเทสที่ ๘.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ บรรทัดที่ ๓๕๖๘-๔๐๒๒ หน้าที่ ๑๕๐-๑๖๙. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=29&A=3568&Z=4022&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=29&A=3568&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6], [7], [8]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=29&siri=8              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=268              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=29&A=3873              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=45&A=6518              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=29&A=3873              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=45&A=6518              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_29

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]