ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
๘. ปัณฑรกชาดก
ไม่ควรบอกความลับแก่คนอื่น
[๒๓๘๗] ภัยเกิดจากตนเอง ย่อมตามถึงบุคคลผู้ไร้ปัญญา พูดพล่อยๆ ไม่ปิดบัง ความรู้ หาความระวังมิได้ ไม่มีการพิจารณา เหมือนครุฑตามถึงเราผู้ ปัณฑรกนาคฉะนั้น. นรชนใดยินดีบอกมนต์ลับที่ตนควรจะรักษา เพราะ ความหลง ภัยย่อมตามถึงนรชนนั้นผู้มีมนต์อันแพร่งพรายแล้วโดยพลัน เหมือนครุฑตามถึงเราผู้ปัณฑรกนาคราชฉะนั้น. มิตรเทียมไม่ควรจะให้รู้ เหตุสำคัญอันลึกลับ ถึงมิตรแท้แต่เป็นคนโง่ หรือมีปัญญาแต่ประพฤติ สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ก็ไม่ควรจะให้รู้ความลับเหมือนกัน. เราได้ถึง ความคุ้นเคยกับชีเปลือยด้วยเข้าใจว่า สมณะนี้โลกเขานับถือ มีตนอัน อบรมแล้ว ได้บอกเปิดเผยความลับแก่มัน จึงได้ล่วงเลยประโยชน์ร้อง ไห้อยู่ดุจคนกำพร้าฉะนั้น. ดูกรพญาครุฑผู้ตัวประเสริฐ เราไม่อาจจะ ระวังวาจาลับอย่างยิ่งนี้แก่มันได้ ภัยได้มาถึงเราจากสำนักของมัน เรา จึงได้ล่วงเลยประโยชน์ร้องไห้อยู่ดุจคนกำพร้าฉะนั้น นรชนใดสำคัญว่า ผู้นี้มีใจดี บอกความลับกะคนสกุลทราม นรชนนั้นเป็นคนโง่เขลาทรุด โทรมลงโดยไม่ต้องสงสัย เพราะโทสาคติ ภยาคติ หรือเพราะฉันทาคติ. ผู้ใดปากบอนนับเข้าในพวกอสัตบุรุษ ชอบกล่าวถ้อยคำในที่ประชุมชน นักปราชญ์ทั้งหลายเรียกผู้นั้นว่า ผู้มีปากชั่วร้ายคล้ายอสรพิษ บุคคลควร ระมัดระวังคนเช่นนั้นเสียให้ห่างไกล. เราได้ละทิ้งข้าวน้ำ ผ้าแคว้นกาสี และจรุณจันทน์ สตรีที่เจริญใจ ดอกไม้และเครื่องชโลมทา ซึ่งเป็น ส่วนกามารมณ์ทั้งปวงไปหมดแล้ว ดูกรพญาครุฑ เราขอถึงท่านเป็นสรณะ ตลอดชีวิต. [๒๓๘๘] ดูกรบัณฑรกนาคราช บรรดาสัตว์ทั้ง ๓ จำพวก คือ สมณะ ครุฑและ นาค ใครหนอควรจะได้รับความติเตียนในโลกนี้ ที่จริงตัวท่านแหละควร จะได้รับ ท่านถูกครุฑจับเพราะเหตุไร? [๒๓๘๙] ชีเปลือยเป็นผู้มีอัตภาพที่เรายกย่องว่าเป็นสมณะ เป็นที่รักของเรา ทั้ง เป็นผู้อันเรายกย่องด้วยใจจริง เราจึงบอกเปิดเผยความลับแก่มัน เรา เป็นคนล่วงเลยประโยชน์ร้องไห้อยู่ดุจคนกำพร้าฉะนั้น. [๒๓๙๐] แท้จริง สัตว์ที่จะไม่ตายไม่มีเลยในแผ่นดิน ธรรมชาติเช่นกับปัญญาไม่ ควรติเตียน คนในโลกนี้ย่อมบรรลุคุณวิเศษที่ยังไม่ได้ เพราะสัจจธรรม ปัญญา และทมะ. มารดาบิดาเป็นยอดเยี่ยมแห่งเผ่าพันธุ์ คนที่สามชื่อ ว่ามีความอนุเคราะห์แก่บุคคลนั้น เมื่อรังเกียจว่ามนต์จะแตก ก็ไม่ควร บอกความลับสำคัญแม้แก่มารดาบิดานั้น. เมื่อรังเกียจว่ามนต์จะแตกก็ไม่ ควรบอกความลับสำคัญแม้แก่มารดา บิดา พี่สาว น้องสาว พี่ชาย น้องชาย สหาย หรือพวกพ้องเลย. ถ้าภรรยาสาวพูดเพราะ ถึงพร้อม ด้วยบุตรธิดา รูปและยศ ห้อมล้อมด้วยหมู่ญาติ พึงกล่าวอ้อนวอน สามีให้บอกความลับ เมื่อรังเกียจว่ามนต์จะแตก ก็ไม่ควรบอกความลับ สำคัญแม้แก่ภรรยานั้น. [๒๓๙๑] บุคคลไม่ควรเปิดเผยความลับเลย ควรรักษาความลับนั้นไว้เหมือนรักษา ขุมทรัพย์ไว้ฉะนั้น ความลับอันบุคคลอื่นรู้เข้า ทำให้แพร่งพรายแล้ว ไม่ดีเลย. บัณฑิตไม่ควรบอกความลับแก่สตรี ศัตรู คนมุ่งอามิส และ คนผู้มุ่งหมายล้วงดวงใจ. คนใดให้คนโง่เขลารู้ความลับ ถึงแม้คนโง่ เขลานั้นจะเป็นทาสของตน ก็จำต้องอดกลั้นไว้ เพราะกลัวความคิดจะ แตก. คนมีประมาณเท่าใดรู้ความลับที่ปรึกษากันของบุรุษ คนประมาณ เท่านั้น ย่อมขู่ให้บุรุษนั้นหวาดเสียวได้ เพราะเหตุนั้นจึงไม่ควรขยาย ความลับ กลางวันก็ดี กลางคืนก็ดี ควรพูดเปิดเผยความลับในที่สงัด ไม่ควรเปล่งวาจาให้ล่วงเวลา เพราะคนที่คอยแอบฟังก็จะได้ยินข้อความ ที่ปรึกษากัน เพราะเหตุนั้น ข้อความที่ปรึกษากัน ก็จะถึงความแพร่ง พรายทันที. [๒๓๙๒] ผู้มีความคิดอันลี้ลับในโลกนี้ ย่อมปรากฏแก่เรา เปรียบเหมือนนครอัน ล้วนแล้วด้วย เหล็กใหญ่โต ไม่มีประตู เจริญด้วยเรือนโรง ล้วนแต่ เหล็ก ประกอบด้วยคูอันขุดไว้โดยรอบฉะนั้น. ดูกรนาคราช ผู้มีความคิด อันลี้ลับต้องไม่พูดแพร่งพราย มั่นคงในประโยชน์ของตน ย่อมหลีกจาก ศัตรูเหล่านั้นแต่ไกล เหมือนหมู่มนุษย์หลีกจากอสรพิษแต่ไกลฉะนั้น. [๒๓๙๓] อเจลกชีเปลือย ละเรือนออกบวช มีศีรษะโล้น เที่ยวไปเพราะเหตุแห่ง อาหาร เราได้ขยายความลับแก่มันซิหนอ เราจึงเป็นผู้ปราศจากประโยชน์ และธรรม. ดูกรพญาครุฑ บุคคลผู้ละสิ่งที่ยึดถือว่าเป็นของเราแล้ว มา ประพฤติเป็นนักบวช มีการทำอย่างไร มีศีลอย่างไร ประพฤติพรต อย่างไร จึงจะชื่อว่าเป็นสมณะ สมณะนั้นมีการทำอย่างไร จึงจะเข้าถึง แดนสวรรค์? [๒๓๙๔] บุคคลผู้สละสิ่งที่ยึดถือว่าเป็นของเราแล้ว มาประพฤติเป็นนักบวช ต้อง ประกอบด้วยความละอาย ความอดกลั้น ความฝึกตน ความอดทน ไม่โกรธง่าย ละวาจาส่อเสียด จึงจะชื่อว่าเป็นสมณะ สมณะนั้นมีการทำ อย่างนี้ จึงจะเข้าถึงแดนสวรรค์. [๒๓๙๕] ข้าแต่พญาครุฑ ขอท่านจงปรากฏแก่ข้าพเจ้าเหมือนมารดาที่กกกอดลูก อ่อนที่เกิดแต่ตน แผ่ร่างกายทุกส่วนปกป้องหรือดุจมารดาผู้เอ็นดูบุตร ฉะนั้นเถิด. [๒๓๙๖] ดูกรนาคราช เอาเถอะ ท่านจงพ้นจากการถูกฆ่าในวันนี้ ก็บุตรมี ๓ จำพวก คือ ศิษย์ ๑ บุตรบุญธรรม ๑ บุตรตัว ๑ บุตรอื่นหามีไม่ ท่านยินดีจะเป็น บุตรจำพวกไหนของเรา. [๒๓๙๗] พญาครุฑจอมทิชาชาติ กล่าวอย่างนี้โผลงจับที่แผ่นดินแล้วปล่อยพญา- นาคไปด้วยกล่าวว่า วันนี้ ท่านรอดพ้นแล้วจากสรรพภัย จงเป็นผู้อัน เราคุ้มครองแล้วทั้งทางบกและทางน้ำ. หมอผู้ฉลาดเป็นที่พึ่งของคนไข้ได้ ฉันใด ห้องน้ำอันเย็นเป็นที่พึ่งของคนหิวกระหาย ฉันใด สถานที่พักเป็น ที่พึ่งของคนเดินทาง ฉันใด เราจะเป็นที่พึ่งของท่านฉันนั้น. [๒๓๙๘] แน่ะท่านผู้ชลาพุชชาติ ท่านแยกเขี้ยวมองดูดังจะทำกับศัตรูผู้อัณฑชชาติ ภัยนี้มีมาแต่ไหน. [๒๓๙๙] บุคคลพึงรังเกียจในศัตรูทีเดียว แม้ในมิตรก็ไม่ควรไว้วางใจ ภัยเกิดขึ้นได้ จากที่ที่ไม่มีภัย มิตรย่อมตัดโค่นรากได้ จะพึงไว้วางใจในบุคคลที่ทำการ ทะเลาะกันมาแล้วอย่างไรได้เล่า ผู้ใดดำรงอยู่ด้วยการเตรียมตัวเป็นนิตย์ ผู้นั้นย่อมไม่ยินดีกับศัตรูของตน บุคคลพึงทำให้เป็นที่ไว้วางใจของคนอื่น แต่ไม่ควรจะไว้วางใจคนอื่นเกินไป ตนเองอย่าให้คนอื่นรังเกียจได้ แต่ควรรังเกียจเขา วิญญูชนพึงพากเพียรไปด้วยอาการอันลึกซึ้ง ซึ่งฝ่าย อื่นจะล่วงรู้ไม่ได้. [๒๔๐๐] สัตว์ทั้ง ๒ ผู้มีเพศพรรณดุจเทวดา สุขุมาลชาติเช่นเดียวกัน บริสุทธิ์ดุจ กองบุญ เคล้าคลึงกันไปดุจม้าเทียมรถ ได้จับมือพากันเข้าไปหากรัม- ปิยอเจลก. [๒๔๐๑] ลำดับนั้น ปัณฑรกนาคราช เข้าไปหาชีเปลือยแต่ลำพังตนเท่านั้น แล้ว ได้กล่าวว่า วันนี้เรารอดพ้นจากความตายล่วงภัยทั้งปวง แล้วคงไม่เป็น ที่รักที่พอใจท่านเสียเลยเป็นแน่. [๒๔๐๒] พญาครุฑเป็นที่รักของเรายิ่งกว่าปัณฑรกนาคราชอย่างแท้จริง โดยไม่ต้อง สงสัย เรามีความรักใคร่ในพญาครุฑ ทั้งที่รู้ก็ได้ทำกรรมอันลามก ไม่ใช่ ทำเพราะความหลุ่มหลงเลย. [๒๔๐๓] ความถือว่าสิ่งนี้เป็นที่รัก หรือว่าไม่เป็นที่รักของเรา ย่อมไม่มีแก่บรรพชิต ผู้พิจารณาเห็นโลกนี้ และโลกหน้า ก็ท่านเป็นคนไม่สำรวม แต่ประพฤติ ลวงโลกด้วยเพศของผู้สำรวมดีทั้งหลาย ไม่ได้เป็นอริยะเลย แต่ปลอม ตัวเป็นอริยะ ไม่ใช่คนสำรวม แต่ทำคล้ายคนสำรวม ท่านเป็นคนชาติ เลวทราม มิใช่คนประเสริฐได้ประพฤติบาปทุจริตเป็นอันมาก. [๒๔๐๔] แน่ะเจ้าคนเลวทราม เจ้าประทุษร้ายต่อผู้มิได้ประทุษร้ายทั้งเป็นคนส่อเสียด ด้วยคำสัตย์นี้ ขอศีรษะของเจ้าจงแตกออกเป็น ๗ เสี่ยง. [๒๔๐๕] เพราะเหตุนั้นแล บุคคลไม่พึงประทุษร้ายต่อมิตร เพราะผู้ประทุษร้าย ต่อมิตรเป็นคนเลวทรามที่สุด จะหาคนอื่นที่เลวกว่าเป็นไม่มี ชีเปลือย ถูกอสรพิษกำจัดในแผ่นดิน ทั้งที่ได้ปฏิญาณว่าเรามีสังวร ก็ได้ถูกทำลาย แล้วด้วยถ้อยคำของนาคราช
จบ ปัณฑรกชาดกที่ ๘.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗ บรรทัดที่ ๙๗๘๗-๙๘๙๑ หน้าที่ ๔๒๖-๔๓๐. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=27&A=9787&Z=9891&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=27&A=9787&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=27&siri=518              ศึกษาอรรถกถาชาดกได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=2387              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=27&A=10571              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=41&A=5817              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=27&A=10571              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=41&A=5817              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_27              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ja518/en/francis

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]