ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
๖. หังสชาดก
ว่าด้วยหงส์สุมุขะผู้ภักดี
[๒๑๒๔] ดูกรสุมุขะ ผู้มีผิวพรรณงามดังทองคำ หงส์เหล่านี้ถูกภัยคุกคามแล้ว มีตัว งอบินหนีไป ท่านจงหนีไปตามปรารถนาเถิด. หมู่ญาติทั้งหลายละทิ้งเรา ติดอยู่ในบ่วงผู้เดียว ไม่ห่วงใย พากันบินหนีไป ท่านผู้เดียวจะห่วงอยู่ ทำไม? ดูกรสุมุขะผู้ประเสริฐ ท่านควรจะบินหนีเอาตัวรอด เพราะ ความเป็นสหายในเราผู้ติดบ่วงย่อมไม่มี ท่านอย่าทำความเพียรให้เสื่อม เสียเพราะความไม่มีทุกข์เลย จงรีบบินหนีไปตามความปรารถนาเถิด. [๒๑๒๕] ข้าแต่ท้าวธตรฐมหาราช ถึงพระองค์จะถูกทุกข์ครอบงำ ข้าพระพุทธเจ้า ก็จักไม่ละทิ้งพระองค์ไป ข้าพระพุทธเจ้าจักเป็น หรือจักตายก็จักร่วมอยู่ กับพระองค์. [๒๑๒๖] ดูกรสุมุขะ ท่านกล่าวคำใด คำนั้นเป็นคำดีงามของพระอริยเจ้า อนึ่งเล่า เราเมื่อจะทดลองท่านจึงได้พูดกะท่านว่า จงบินหนีไป. [๒๑๒๗] ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐสูงสุดกว่าหงส์ทั้งหลาย นกตัวสัญจรไปใน อากาศ ย่อมบินไปสู่ทางโดยที่มิใช่ทางได้ พระองค์ไม่ทรงทราบบ่วงแต่ ที่ไกลดอกหรือ? [๒๑๒๘] คราวใด จะมีความเสื่อม คราวนั้น เมื่อถึงคราวจะสิ้นชีพ สัตว์แม้จะ ติดบ่วง ติดข่ายก็ย่อมไม่รู้สึก. [๒๑๒๙] ดูกรสุมุขะ ผู้มีผิวพรรณงามดังทองคำ หงส์เหล่านี้ถูกภัยคุกคามแล้ว มี ตัวงอพากันบินหนีไป ท่านเท่านั้นมัวพะวงอยู่. หงส์เหล่านั้นกินและดื่ม แล้วก็พากันบินหนีไป มิได้แลเหลียวถึงใคร ก็ท่านผู้เดียวจะมาเฝ้าอยู่ ทำไมเล่า? หงส์ตัวนี้เป็นอะไรกับท่านหนอ ท่านพ้นแล้วจากบ่วง ทำไมจึงมาเป็นห่วงหงส์ผู้ติดบ่วงอยู่เล่า หงส์ทั้งหลายเขาพากันทอดทิ้ง ไปแล้ว ท่านผู้เดียวมาพะวงอยู่ทำไม? [๒๑๓๐] หงส์ตัวนั้นเป็นราชาของเรา เป็นมิตรสหายเสมอด้วยชีวิตของเรา เรา จักไม่ทอดทิ้งท่านไปจนตราบเท่าจนวันตาย. [๒๑๓๑] ท่านปรารถนาจะสละชีวิต เพราะเหตุแห่งสหาย เราจักปล่อยสหายของ ท่านไป ขอพญาหงส์จงไปตามความประสงค์ของท่านเถิด. [๒๑๓๒] ดูกรนายพราน วันนี้ ข้าพเจ้าได้เห็นพญาหงส์ตัวเป็นใหญ่ในหมู่ทิชาชาติ พ้นจากบ่วงแล้วย่อมชื่นชม ยินดี ฉันใด ขอท่านพร้อมกับหมู่ญาติ ทั้งปวง จงชื่นชม ยินดี ฉันนั้นเถิด. [๒๑๓๓] พระองค์ผู้ทรงพระเจริญ ทรงเกษมสำราญดีหรือ โรคาพยาธิมิได้เบียด- เบียนพระองค์หรือ รัฐสีมาอาณาจักรของพระองค์นี้สมบูรณ์ดีหรือ พระองค์ปกครองประชาราษฎรโดยธรรมหรือ? [๒๑๓๔] ดูกรพญาหงส์ เราเกษมสำราญดี ทั้งโรคาพยาธิก็มิได้เบียดเบียน รัฐสีมา อาณาจักรของเรานี้ก็สมบูรณ์ดี เราปกครองราษฎรโดยธรรม. [๒๑๓๕] โทษผิดอะไรๆ ในหมู่อำมาตย์ของพระองค์ไม่มีอยู่หรือ หมู่ศัตรูห่าง ไกลจากพระองค์ เหมือนเงาย่อมไม่เจริญทางทิศทักษิณ แลหรือ? [๒๑๓๖] โทษผิดอะไรๆ ในหมู่อำมาตย์ของเราไม่มีเลย อนึ่ง หมู่ศัตรูก็ห่างไกล จากเรา เหมือนเงาย่อมไม่เจริญทางด้านทิศทักษิณ ฉะนั้น. [๒๑๓๗] พระมเหสีของพระองค์ มิได้ทรงประพฤติล่วงละเมิดพระทัย ทรงเชื่อฟัง ทรงปราศรัยน่ารัก พร้อมพรักไปด้วยปุตตสมบัติ รูปสมบัติ และ ยศสมบัติ ยังเป็นที่โปรดปรานของพระองค์หรือ? [๒๑๓๘] มเหสีของเราเป็นเช่นนั้น ทรงเชื่อฟังถ้อยคำ ทรงปราศรัยน่ารัก พร้อม พรักไปด้วยปุตตสมบัติ รูปสมบัติ และยศสมบัติ ยังเป็นที่โปรดปราน ของเราอยู่. [๒๑๓๙] พระโอรสของพระองค์มีมากพระองค์ ทรงอุบัติมาเป็นศรีสวัสดี ใน รัฐสีมาอันเจริญ ทรงสมบูรณ์ด้วยพระปรีชาเฉลียวฉลาด ย่อมทรงบันเทิง พระทัยแต่ที่นั้นๆ อยู่แลหรือ? [๒๑๔๐] ดูกรพระยาหงส์ธตรฐ เราปรากฏว่ามีโอรสถึง ๑๐๑ คน ขอท่านได้โปรด ชี้แจงกิจที่ควรแก่โอรสเหล่านั้นด้วยเถิด โอรสเหล่านั้นจะไม่ดูหมิ่นถ้อย คำของท่านเลย. [๒๑๔๑] ถ้าแม้ว่า บุคคลประกอบด้วยชาติ หรือวินัย แต่กระทำความเพียรในภาย หลัง เมื่อกิจที่จำต้องทำเกิดขึ้น ย่อมต้องจมอยู่ในห้วงอันตราย. ช่อง ทางรั่วไหลแห่งโภคสมบัติเป็นต้น ก็จะเกิดใหญ่โตขึ้นกับบุคคลผู้มีปัญญา ง่อนแง่นนั้น บุคคลนั้นย่อมมองเห็นได้แต่รูปที่หยาบๆ เหมือนความมืด ในราตรี ฉะนั้น. บุคคลผู้ประกอบความเพียรในสิ่งอันไม่เป็นสาระว่าเป็น สาระ ก็ย่อมไม่ประสบความรู้เลยทีเดียว ย่อมจะจมลงในห้วงอันตราย อย่างเดียว เหมือนกวางวิ่งโลดโผนไปในซอกผา ตกจมเหวลงไปใน ระหว่างทาง ฉะนั้น. ถึงหากว่า นรชนจะเป็นผู้มีชาติเลวทราม แต่เป็นผู้มี ความขยันหมั่นเพียร มีปัญญา ประกอบด้วยอาจาระและศีล ย่อมจะรุ่ง เรือง เหมือนกองไฟในกลางคืน ฉะนั้น ขอพระองค์ทรงทำข้อนั้นนั่นแล ให้เป็นเครื่องเปรียบเทียบ แล้วทรงยังพระโอรสทั้งหลายให้ดำรงอยู่ใน วิชา บุคคลผู้มีปัญญาย่อมงอกงาม เหมือนพืชในนางอกงามขึ้นเพราะ น้ำฝน ฉะนั้น.
จบ หังสชาดกที่ ๖

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗ บรรทัดที่ ๘๔๐๐-๘๔๖๕ หน้าที่ ๓๗๑-๓๗๓. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=27&A=8400&Z=8465&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=27&A=8400&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=27&siri=502              ศึกษาอรรถกถาชาดกได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=2124              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=27&A=8878              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=41&A=1373              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=27&A=8878              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=41&A=1373              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_27              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ja502/en/rouse

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]