ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘ ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา
เถรคาถา มหานิบาต
๑. วังคีสเถรคาถา
คาถาสุภาษิตของพระวังคีสเถระ
พระวังคีสเถระ เมื่อบวชแล้วใหม่ๆ ได้เห็นสตรีหลายคนล้วนแต่แต่งตัวเสียงดงาม พากันไปวิหาร ก็เกิดความกำหนัดยินดี เมื่อบรรเทาความกำหนัดยินดีได้แล้ว จึงได้กล่าวคาถา ๙ คาถาสอนตนเอง ความว่า [๔๐๑] ความตรึกทั้งหลาย กับความคะนองอย่างเลวทรามเหล่านี้ได้เข้าครอบงำ เราผู้ออกบวชเป็นบรรพชิต เหมือนกับบุตรของคนสูงศักดิ์ซึ่งมีธนูมาก ทั้งได้ศึกษาวิชาธนูศิลป์มาอย่างเชี่ยวชาญ ยิงลูกธนูมารอบๆ ตัวเหล่าศัตรู ผู้หลบหลีกไม่ทันตั้งพันลูก ฉะนั้น ถึงแม้หญิงจะมามากยิ่งกว่านี้ ก็จัก ทำการเบียดเบียนเราไม่ได้ เพราะเราได้ตั้งอยู่ในธรรมเสียแล้ว ด้วยว่า เราได้สดับทางอันเป็นที่ให้ถึงนิพพานของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่ง พระอาทิตย์ครั้งเดียว ใจของเราก็ยินดีในทางนั้นแน่นอน ดูกรมารผู้ชั่วร้าย ถ้าท่านยังเข้ามารุกรานเราผู้เป็นอยู่อย่างนี้ ท่านก็จะไม่ได้เห็นทางของเรา ตามที่เราทำไม่ให้ท่านเห็นความจริง ภิกษุควรละความไม่ยินดี ความยินดี และความตรึกอันเกี่ยวกับบุตรและภรรยาเป็นต้นเสียทั้งหมดแล้ว ไม่ควร จะทำตัณหาดังป่าชัฏในที่ไหนๆ อีก เพราะไม่มีตัณหาดังป่าชัฏ รูปอย่างใด อย่างหนึ่งซึ่งอาศัยแผ่นดินก็ดี อยู่ในอากาศก็ดี และมีอยู่ใต้แผ่นดินก็ดี เป็นของไม่เที่ยงล้วนแต่คร่ำคร่ำไปทั้งนั้น ผู้ที่แทงตลอดอย่างนี้แล้วย่อม เป็นผู้หลุดพ้น ปุถุชนทั้งหลายหมกมุ่นพัวพันอยู่ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ ได้ฟัง กลิ่นที่มากระทบ และอารมณ์ที่ได้ทราบ ภิกษุควรเป็นผู้ไม่หวั่นไหว กำจัดความพอใจในเบญจกามคุณเหล่านี้เสีย เพราะผู้ใดไม่ติดอยู่ในกาม- คุณเหล่านี้ บัณฑิตทั้งหลายกล่าวผู้นั้นว่าเป็นมุนี มิจฉาทิฏฐิซึ่งอิงอาศัย ทิฏฐิ ๖๘ ประการ เป็นไปกับด้วยความตรึก ตั้งลงมั่นในสิ่งอันไม่เป็น ธรรม ในความเป็นปุถุชนในกาลไหนๆ ผู้ใดไม่เป็นไปในอำนาจของ กิเลสทั้งไม่กล่าวถ้อยคำหยาบคาย ผู้นั้นชื่อว่าเป็นภิกษุ ภิกษุผู้เป็นบัณฑิต มีใจมั่นคงมานมนานแล้ว ไม่ลวงโลก มีปัญญารักษาตน ไม่มีความทะเยอ ทะยาน เป็นมุนี ได้บรรลุสันติบทแล้ว หวังคอยเวลาเฉพาะปรินิพพาน. เมื่อพระวังคีสเถระกำจัดมานะที่เป็นไปแก่ตนได้แล้ว เพราะอาศัยคุณสมบัติ คือ ความ ไหวพริบของตน จึงได้กล่าวคาถา ๔ คาถาต่อไปอีก ความว่า ดูกรท่านผู้สาวกของพระโคดม ท่านจงละทิ้งความเย่อหยิ่งเสีย จงละทิ้ง ทางแห่งความเย่อหยิ่งให้หมดเสียด้วย เพราะผู้หมกมุ่นอยู่ในทางแห่ง ความเย่อหยิ่งจะต้องเดือดร้อนอยู่ตลอดกาลช้านาน หมู่สัตว์ผู้ยังมีความ ลบหลู่คุณท่านถูกมานะกำจัดแล้วไปตกนรก ชุมชนคนกิเลสหนา ถูก ความทะนงตัวกำจัดแล้ว พากันตกนรกต้องเศร้าโศกอยู่ตลอดในกาลนาน กาลบางครั้งภิกษุปฏิบัติชอบแล้วชนะกิเลสด้วยมรรคจึงไม่ต้องเศร้าโศกยัง กลับได้เกียรติคุณ และความสุข บัณฑิตทั้งหลายเรียกภิกษุผู้ปฏิบัติชอบ อย่างนั้นว่า เป็นผู้เห็นธรรม เพราะเหตุนั้น ภิกษุในศาสนานี้ไม่ควรมี กิเลสเครื่องตรึงใจ ควรมีแต่ความเพียรชอบ ละนิวรณ์แล้วเป็นผู้บริสุทธิ์ และละมานะโดยไม่เหลือแล้ว เป็นผู้สงบระงับ บรรลุที่สุดแห่งวิชชาได้ ข้าพเจ้าเร่าร้อนเพราะกามราคะ และจิตใจของข้าพเจ้าก็เร่าร้อนเพราะกาม ราคะเหมือนกัน ดูกรท่านผู้สาวกของพระโคดม ขอพระคุณจงกรุณาบอก ธรรมเครื่องดับความเร่าร้อนด้วยเถิด. ท่านพระอานนท์เถระกล่าวคาถา ความว่า จิตของท่านเร่าร้อนก็เพราะความสำคัญผิด เพราะฉะนั้น ท่านจงละทิ้งนิมิต อันงามซึ่งประกอบด้วยราคะเสีย ท่านจงอบรมจิตให้มีอารมณ์อันเดียว ตั้งมั่นเด็ดเดี่ยว ด้วยการพิจารณาสิ่งทั้งปวงว่าเป็นของไม่สวยงาม จง อบรมกายคตาสติ จงเป็นผู้มากไปด้วยความเบื่อหน่าย ท่านจงเจริญ อนิมิตตานุปัสสนา การนึกถึงกิเลสเป็นเครื่องหมาย จงตัดอนุสัย คือมานะเสีย แต่นั้นท่านจักเป็นผู้สงบระงับเที่ยวไป เพราะละมานะเสียได้. คราวหนึ่งพระวังคีสเถระ เกิดความปลาบปลื้มใจในสุภาษิตสูตรที่พระผู้มีพระภาคทรง แสดงไว้แล้ว จึงกราบทูลขึ้นในที่เฉพาะพระพักตร์ด้วยคาถา ๔ คาถา ความว่า บุคคลควรพูดแต่วาจาที่ไม่ยังตนให้เดือดร้อนเท่านั้น อนึ่ง วาจาใดที่ไม่ เบียดเบียนคนอื่น วาจานั้นแลเป็นวาจาสุภาษิต บุคคลควรพูดแต่วาจา ที่น่ารักใคร่ ทั้งเป็นวาจาที่ทำให้ร่าเริงได้ ไม่พึงยึดถือวาจาชั่วช้าของคนอื่น พึงกล่าวแต่วาจาอันเป็นที่รัก คำสัตย์แลเป็นวาจาไม่ตาย ธรรมนี้เป็น ของเก่า สัตบุรุษทั้งหลายตั้งอยู่แล้วในคำสัตย์ ทั้งที่เป็นอรรถเป็นธรรม พระพุทธเจ้าตรัสพระวาจาใด เป็นพระวาจาปลอดภัย พระวาจานั้นเป็นไป เพื่อบรรลุนิพพาน เพื่อทำซึ่งที่สุดแห่งทุกข์ พระวาจานั้นแลเป็นวาจา สูงสุดกว่าวาจาทั้งหลาย. ครั้งหนึ่ง พระวังคีสเถระกล่าวคาถา ๓ คาถา ด้วยอำนาจสรรเสริญพระสารีปุตตเถระ ความว่า ท่านพระสารีบุตรมีปัญญาสุขุม เป็นนักปราชญ์ เป็นผู้ฉลาดในทางและ มิใช่ทาง มีปัญญามากแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายย่อบ้าง พิสดารบ้าง เสียงของท่านผู้กำลังแสดงธรรมอยู่ไพเราะ เหมือนกับเสียงนกสาลิกา มีปฏิภาณปรากฏรวดเร็ว เหมือนกับคลื่นในมหาสมุทร เมื่อท่านแสดง ธรรมด้วยเสียงอันน่ายินดี น่าสดับฟัง ไพเราะจับใจ ภิกษุทั้งหลาย ได้ฟังคำอันไพเราะ ก็มีใจร่าเริงเบิกบาน พากันตั้งใจฟัง. ในวันเทศนาพระสูตรเนื่องในวันปวารณา ครั้งหนึ่ง พระวังคีสเถระเห็นพระบรมศาสดา ซึ่งกำลังประทับอยู่ มีภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ห้อมล้อม จึงกล่าวคาถาชมเชยพระองค์ขึ้น ๔ คาถา ความว่า ในวัน ๑๕ ค่ำ เป็นวันปวารณาปริสุทธิ วันนี้มีภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูปมา ประชุมกัน ล้วนแต่เป็นผู้ตัดเครื่องเกาะเกี่ยวผูกพันเสียได้สิ้น ไม่มี ความทุกข์ สิ้นภพสิ้นชาติแล้ว เป็นผู้แสวงหาคุณธรรมอันประเสริฐ ทั้งนั้น พระเจ้าจักรพรรดิมีหมู่อำมาตย์ห้อมล้อม เสด็จเลียบแผ่นดินอัน ไพศาล มีมหาสมุทรเป็นอาณาเขตนี้ไปรอบๆ ได้ ฉันใด พระสาวก ทั้งหลายผู้มีวิชชา ๓ ละมัจจุราชได้แล้ว พากันเข้าไปห้อมล้อมพระผู้มี- พระภาคผู้ทรงชนะสงครามแล้ว ผู้นำพวกชั้นเยี่ยม ฉันนั้น พระสาวก ทั้งมวลล้วนแต่เป็นพุทธชิโนรส ก็ในพระสาวกเหล่านี้ ไม่มีความว่าง เปล่าจากคุณธรรมเลย ข้าพระองค์ขอถวายบังคมพระองค์ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ แห่งพระอาทิตย์ ผู้ทรงประหาณลูกศร คือตัณหาได้แล้ว. ครั้งหนึ่ง ท่านพระวังคีสเถระได้กล่าวคาถา ๔ คาถา ชมเชยพระผู้มีพระภาค ซึ่งกำลัง ทรงแสดงธรรมอันเกี่ยวกับเรื่องนิทานแก่ภิกษุทั้งหลาย ความว่า ภิกษุมากกว่าพัน ได้เข้าไปเฝ้าพระสุคตเจ้าผู้กำลังทรงแสดงธรรมอัน ปราศจากธุลี คือนิพพานอันไม่มีภัยแต่ที่ไหนๆ ภิกษุทั้งหลายก็พากัน ตั้งใจฟังธรรมอันไพบูลย์ ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว พระ- สัมมาสัมพุทธเจ้าอันหมู่ภิกษุสงฆ์ห้อมล้อม เป็นสง่างามแท้หนอ พระผู้มี พระภาคทรงพระนามว่านาคะ ผู้ประเสริฐ ทรงเป็นพระฤาษีสูงสุดกว่า บรรดาฤาษี คือพระสาวกและพระปัจเจกพุทธเจ้า ทรงโปรยฝนอมฤตธรรม รดพระสาวกทั้งหลาย คล้ายกับฝนห่าใหญ่ ฉะนั้น ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า พระวังคีสะสาวกของพระองค์ออกจากที่พักกลางวัน มาถวายบังคมพระ- ยุคลบาทของพระองค์อยู่ ด้วยประสงค์จะเฝ้าพระองค์. คราวหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงสดับภิกษุทั้งหลายสนทนากันว่า พระวังคีสะไม่ตั้งใจจะ ศึกษาเล่าเรียน พระองค์จึงตรัสพระคาถา ๔ พระคาถา ความว่า พระวังคีสะครอบงำทางผิดแห่งกิเลสมารได้แล้ว ทั้งทำลายกิเลสเครื่อง ตรึงใจได้สิ้นแล้ว จึงเที่ยวไปอยู่ เธอทั้งหลายจงดูพระวังคีสะผู้ปลด เปลื้องเครื่องผูกเสียแล้ว ผู้อันตัณหามานะทิฏฐิไม่อิงแอบเลย ทั้ง จำแนกธรรมเป็นส่วนๆ ได้ด้วยนั้น เป็นตัวอย่างเถิด อันที่จริง พระ- วังคีสะได้บอกทางไว้หลายประการ เพื่อให้ข้ามห้วงน้ำคือกามเป็นต้นเสีย ก็ในเมื่อพระวังคีสะได้บอกทางอันไม่ตายนั้นไว้ให้แล้ว ภิกษุทั้งหลายที่ ได้ฟังแล้ว ก็ควรเป็นผู้ตั้งอยู่ในความเป็นผู้เห็นธรรม ไม่ง่อนแง่นคลอน แคลนในธรรม พระวังคีสะเป็นผู้ทำแสงสว่างให้เกิดขึ้น แทงตลอด แล้วซึ่งธรรมฐิติทั้งปวง แสดงธรรมอันเลิศตามกาลเวลาได้อย่างฉับพลัน เพราะรู้มาเอง และทำให้แจ้งมาเอง เมื่อพระวังคีสะแสดงธรรมด้วยดี แล้วอย่างนี้ จะประมาทอะไรต่อธรรมของท่านผู้รู้แจ้งเล่า เพราะเหตุนั้น แหละ ภิกษุพึงเป็นผู้ไม่ประมาทในคำสอนของพระผู้มีพระภาคพระองค์ นั้น ตั้งใจศึกษาไตรสิกขาด้วยปฏิปทา อันเลิศในกาลทุกเมื่อเถิด. ครั้งหนึ่ง ท่านพระวังคีสเถรกล่าวคาถาชมเชยท่านพระอัญญาโกณฑัญญะ ๓ คาถา ความว่า พระอัญญาโกณฑัญญเถระ เป็นผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้า มีความเพียร อย่างแก่กล้า ได้วิเวกอันเป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขเป็นนิตย์ สิ่งใดที่ พระสาวกผู้กระทำตามคำสอนของพระศาสดา พึงบรรลุ สิ่งนั้นทั้งหมด ท่านพระอัญญาโกณฑัญญเถระผู้ไม่ประมาทศึกษาอยู่ ก็บรรลุตามได้แล้ว ท่านพระอัญญาโกณฑัญญเถระมีอานุภาพมาก มีวิชชา ๓ ฉลาดในการรู้ จิตของผู้อื่น เป็นทายาทของพระพุทธเจ้า ได้มาถวายบังคมพระยุคลบาท ของพระบรมศาสดาอยู่. ครั้งหนึ่ง พระวังคีสเถระ เมื่อจะกล่าวชมเชยพระผู้มีพระภาคและพระเถระทั้งหลาย มีพระมหาโมคคัลลานเถระเป็นต้น จึงได้กล่าวคาถา ๓ คาถา ความว่า เชิญท่านดูพระพุทธเจ้าผู้เป็นจอมปราชญ์ เสด็จถึงฝั่งแห่งความทุกข์ กำลัง ประทับอยู่เหนือยอดเขากาลสิลาแห่งอิสิคิลิบรรพต มีหมู่พระสาวกผู้มี วิชชา ๓ ละมัจจุราชได้แล้วนั่งเฝ้าอยู่ พระมหาโมคคัลลานเถระผู้เรือง อิทธิฤทธิ์มาก ตามพิจารณาดูจิตของภิกษุผู้มหาขีณาสพเหล่านั้นอยู่ ท่านก็ กำหนดได้ว่าเป็นดวงจิตที่หลุดพ้นแล้ว ไม่มีอุปธิ ด้วยใจของท่าน ด้วยประการฉะนี้ ภิกษุทั้งหลายจึงได้พากันห้อมล้อมพระผู้มีพระภาค พระนามว่าโคดม ผู้ทรงสมบูรณ์ด้วยพระคุณธรรม ทุกอย่าง ทรงเป็นจอม ปราชญ์ เสด็จถึงฝั่งแห่งทุกข์ ทรงเต็มเปี่ยมด้วยพระอาการเป็นอันมาก. คราวหนึ่ง ท่านพระวังคีสเถระกล่าวคาถาสรรเสริญพระผู้มีพระภาค ซึ่งกำลัง ประทับอยู่ในท่ามกลางสงฆ์หมู่ใหญ่ เทวดาและนาคนับจำนวนพัน ที่ริมสระโบกขรณี ชื่อคัคครา ใกล้เมืองจำปา ๑ คาถา ความว่า ข้าแต่พระมหามุนีอังคีรส พระองค์ไพโรจน์ล่วงโลกนี้กับทั้งเทวโลกทั้ง หมดด้วยพระยศเหมือนกับพระจันทร์ และพระอาทิตย์ที่ปราศจากมลทิน สว่างจ้าอยู่บนท้องฟ้าอันปราศจากเมฆหมอก ฉะนั้น. คราวหนึ่ง ท่านพระวังคีสเถระพิจารณาดูข้อปฏิบัติที่ตนได้บรรลุแล้ว เมื่อจะประกาศ คุณของตน จึงกล่าวคาถาขึ้น ๑๐ คาถา ความว่า เมื่อก่อนข้าพระองค์มีผู้เคารพในเวลาไปบ้านโน้นเมืองนี้ แต่เดี๋ยวนี้ ข้า- พระองค์ ได้เห็นพระสัมพุทธเจ้าผู้ถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง พระองค์ผู้เป็น มหามุนี เสด็จถึงฝั่งแห่งทุกข์ ได้ทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ ข้าพระ องค์ได้ฟังธรรมแล้ว เกิดความเลื่อมใส เกิดศรัทธา ข้าพระองค์ได้ฟัง พระดำรัสของพระองค์แล้ว จึงรู้แจ้งขันธ์ อายตนะ และธาตุแจ่มแจ้ง แล้วได้ออกบวชเป็นบรรพชิต พระตถาคตเจ้าทั้งหลายเสด็จอุบัติขึ้นมา เพื่อประโยชน์แก่สตรีและบุรุษ ผู้กระทำตามคำสั่งสอนของพระองค์เป็น อันมากหนอ พระองค์ผู้เป็นมุนีได้ทรงบรรลุโพธิญาณ เพื่อประโยชน์ แก่ภิกษุและภิกษุณีซึ่งได้บรรลุสัมมัตตนิยามหนอ พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่า พันธุ์ แห่งพระอาทิตย์ มีพระจักษุทรงแสดงอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ เหตุ เกิดทุกข์ ความดับทุกข์ และอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ อันให้ถึงความสงบระงับทุกข์ เพื่อทรงอนุเคราะห์แก่สัตว์ทั้งหลาย อริยสัจธรรมเหล่านี้ พระองค์ทรงแสดงไว้แล้วอย่างไร ข้าพระองค์ก็เห็น อย่างนั้น มิได้เห็นผิดเพี้ยนไปอย่างอื่น ข้าพระองค์บรรลุประโยชน์ของ ตนแล้ว ทำคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเสร็จแล้ว การที่ข้าพระองค์ได้มา ในสำนักของพระองค์เป็นการมาดีของข้าพระองค์หนอ เพราะข้าพระองค์ ได้เข้าถึงธรรมอันประเสริฐ ในบรรดาธรรมที่พระองค์ทรงจำแนกไว้ดีแล้ว ข้าพระองค์ได้บรรลุถึงความสูงสุดแห่งอภิญญาแล้ว มีโสตธาตุอันหมดจด มีวิชชา ๓ ถึงความเป็นผู้มีอิทธิฤทธิ์ทางใจ เป็นผู้ฉลาดในการกำหนดรู้ จิตของผู้อื่น. ครั้งหนึ่ง ท่านพระวังคีสเถระนึกถึงพระนิโครธกัปปเถระ ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ของตน มรณภาพแล้วว่า จะได้สำเร็จนิพพานหรือไม่ จึงกราบทูลถามพระบรมศาสดาด้วยคาถา ๑๒ คาถา ความว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามพระศาสดา ผู้มีพระปัญญาไม่ทราบว่า ภิกษุรูปใดมีใจ ไม่ถูกมานะทำให้เร่าร้อน เป็นผู้เรืองยศ ตัดความสงสัยในธรรมที่ตน เห็นมาได้แล้ว ได้มรณภาพลงที่อัคคาฬววิหาร ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ภิกษุรูปนั้นเป็นพราหมณ์มาแต่กำเนิด มีนามตามที่พระองค์ทรงประทาน ตั้งให้ว่า พระนิโครธกัปปเถระ ผู้มุ่งแต่ทางเครื่องหลุดพ้น ปรารภความ เพียร เห็นธรรมอันมั่นคง กำลังถวายบังคมพระองค์อยู่ ข้าแต่พระองค์ ผู้ศากยะทรงมีพระจักษุรอบคอบ แม้ข้าพระองค์ทั้งหมดปรารถนาจะทราบ พระสาวกองค์นั้น โสตของข้าพระองค์ทั้งหลาย เตรียมพร้อมที่จะฟัง พระดำรัสตอบ พระองค์มิใช่หรือที่เป็นพระศาสดา ซึ่งจะหาศาสดาอื่น เทียมเท่ามิได้ของพระเถระรูปนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระปัญญากว้างขวาง ขอพระองค์ ทรงตัดความเคลือบแคลงสงสัยของข้าพระองค์ทั้งหลายเถิด และขอได้โปรดตรัสบอกพระนิโครธกัปปเถระผู้ปรินิพพานไปแล้ว แก่ข้า- พระองค์ด้วย พระองค์ทรงทราบมาแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระจักษุรอบ คอบ ขอพระองค์โปรดตรัสบอก ในท่ามกลางแห่งข้าพระองค์ทั้งหลาย เถิด เหมือนท้าวสักกเทวราชผู้มีพระเนตรตั้งพัน ตรัสบอกแก่เทวดาทั้ง หลาย ฉะนั้น คันธชาติชนิดใดชนิดหนึ่งในโลกนี้ที่เป็นทางก่อให้เกิด ความหลงลืม เป็นฝ่ายแห่งความไม่รู้ เป็นมูลฐานแห่งความเคลือบแคลง สงสัย คันธชาติเหล่านั้นมิได้มีมาถึง พระตถาคตเจ้าผู้มีพระจักษุมีพระ- คุณยิ่งกว่านรชนทั้งหลายนี้เลย ก็ถ้าพระผู้มีพระภาคจะเป็นบุรุษชนิดที่ ทรงถือเอาแต่เพียงพระกำเนิดมาเท่านั้นไซร้ ก็จะไม่พึงทรงประหาณกิเลส ทั้งหลายได้ คล้ายกับลมที่ลำเพยพัดมาครั้งเดียว ไม่อาจทำลายกลุ่มเมฆ หมอกที่หนาได้ ฉะนั้น โลกทั้งปวงที่มืดอยู่แล้ว ก็จะยิ่งซ้ำมืดหนักลง ถึงจะมีสว่างมาบ้าง ก็ไม่สุกใสได้ นักปราชญ์ทั้งหลายเป็นผู้กระทำแสง สว่างให้เกิดขึ้น ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงปรีชา เหตุนั้น ข้าพระองค์จึงขอเข้า ถึงพระองค์ ผู้ที่ข้าพระองค์เข้าใจว่าทรงทำแสงสว่างให้เกิดขึ้นได้เอง เช่นนั้นเป็นแม่นมั่น ผู้เห็นแจ้ง ทรงรอบรู้สรรพธรรมตามความเป็นจริง ได้ ขอเชิญพระองค์โปรดทรงประกาศพระนิโครธกัปปเถระ ผู้อุปัชฌายะ ของข้าพระองค์ที่ปรินิพพานไปแล้ว ให้ปรากฏในบริษัทด้วยเถิด พระผู้มี พระภาค เมื่อทรงเปล่งพระดำรัส ก็ทรงเปล่งด้วยพระกระแสเสียงกังวาน ที่เกิดแต่พระนาสิก ซึ่งนับเข้าในมหาบุรุษลักษณะด้วยประการหนึ่ง อัน พระบุญญาธิการตบแต่งมาดี ทั้งเปล่งได้อย่างรวดเร็วและแผ่วเบาเป็น ระเบียบ เหมือนกับพระยาหงส์ทองที่กลับมาจากท่องเที่ยวหาเหยื่อ พบ ราวไพรใกล้สระน้ำ ก็ชูคอป้องปีกทั้งสองขึ้นส่งเสียงร้องอยู่ค่อยๆ ด้วย จะงอยปากอันแดง ฉะนั้น ข้าพระองค์ทั้งหมดตั้งใจตรงกำลังจะฟัง พระดำรัสของพระองค์อยู่ ข้าพระองค์จักเผยการเกิด และการตายที่ ข้าพระองค์ละมาได้หมดสิ้นแล้ว จักแสดงบาปธรรมทั้งหมดที่เป็นเครื่อง กำจัด เพราะผู้กระทำตามความพอใจของตน ๓ จำพวกมีปุถุชนเป็นต้น ไม่อาจเพื่อจะรู้ธรรมที่ตนปรารถนาหรือแสดงได้ ส่วนผู้กระทำความ ไตร่ตรองพิจารณาตามเหตุผลของตถาคตเจ้าทั้งหลาย สามารถจะรู้ธรรม ที่ตนปรารถนาทั้งแสดงได้ พระดำรัสของพระองค์นี้เป็นไวยากรณ์อัน สมบูรณ์ พระองค์ตรัสไว้ดีแล้วด้วยพระปัญญาที่ตรงๆ โดยไม่มีการ เสียดสีใครเลย การถวายบังคมครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้าย อันข้าพระองค์ ถวายบังคมดีแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระปัญญาไม่ทราม พระองค์ทรง ทราบแล้วจะทรงหลงลืมไปก็หามิได้ ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระวิริยะอันไม่ต่ำ ทราม พระองค์ตรัสรู้อริยธรรมอันประเสริฐกว่าโลกิยธรรมมาแล้ว ก็ ทรงทราบพระเญยยธรรมทุกอย่างได้อย่างไม่ผิดพลาด ข้าพระองค์หวัง เป็นอย่างยิ่ง ซึ่งพระดำรัสของพระองค์เหมือนกับคนที่มีร่างอันชุ่มเหงื่อ คราวหน้าร้อน ปรารถนาน้ำเย็น ฉะนั้น ขอพระองค์ทรงยังฝน คือ พระธรรมเทศนาที่ข้าพระองค์เคยฟังมาแล้วให้ตกลงเถิด พระเจ้าข้า ท่าน นิโครธกัปปะได้ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์ของ ท่านนั้นเป็นประโยชน์ไม่เปล่าแลหรือ ท่านนิพพานด้วยอนุปาทิเสส นิพพานแล้ว ท่านเป็นพระเสขะยังมีเบญจขันธ์เหลืออยู่ หรือว่าท่านเป็น พระอเสขะผู้หลุดพ้นแล้ว ข้าพระองค์ขอฟังพระดำรัสที่ข้าพระองค์มุ่ง หวังนั้น พระเจ้าข้า. เมื่อพระผู้มีพระภาคจะทรงพยากรณ์จึงตรัสพระคาถา ๑ พระคาถา ความว่า พระนิโครธกัปปะได้ตัดขาด ซึ่งความทะยานอยากในนามและรูปนี้ กับ ทั้งกระแสแห่งตัณหาอันนอนเนื่องอยู่ในสันดานมาช้านานแล้ว ข้ามพ้น ชาติและมรณะได้หมดสิ้นแล้ว พระผู้มีพระภาคผู้ประเสริฐสุดด้วยพระ- จักษุทั้ง ๕ ได้ตรัสพระดำรัสเพียงเท่านี้. เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสตอบอย่างนี้แล้ว ท่านพระวังคีสเถระ ก็ชื่นชมยินดีพระพุทธ- *ภาษิตเป็นอย่างยิ่ง จึงได้กราบทูลด้วยอวสานคาถา ๓ คาถา ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นพระฤาษีเยี่ยมกว่าฤาษีทั้งหลาย ข้าพระองค์นี้ได้ฟัง พระดำรัสของพระองค์แล้วก็เลื่อมใส ทราบว่าคำถามที่ข้าพระองค์ทูลถาม แล้ว ไม่ไร้ประโยชน์ พระองค์ไม่หลอกลวงข้าพระองค์ ข้าพระองค์ เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า มีปกติกล่าวอย่างใด ทำอย่างนั้น ได้ตัด ข่ายคือตัณหาอันกว้างขวาง มั่นคง ของพระยามัจจุราชผู้เจ้าเล่ห์มาก ได้ เด็ดขาด ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ท่านพระนิโครธกัปปเถระกัปปายนโคตร ได้เห็นมูลเหตุแห่งอุปาทาน ข้ามบ่วงมารที่ข้ามได้แสนยากไปได้แล้ว หนอ ข้าแต่พระองค์ผู้สูงสุดกว่าบรรดาสรรพสัตว์ ข้าพระองค์ขอนมัสการ ท่านพระนิโครธกัปปเถระผู้เป็นวิสุทธิเทพ ล่วงเสียซึ่งเทพดา อนุชาต- บุตรของพระองค์ มีความเพียรมาก เป็นผู้ประเสริฐ ทั้งเป็นโอรสของ พระองค์ผู้ประเสริฐ. ได้ทราบว่า ท่านพระวังคีสเถระได้ภาษิตคาถาทั้งหมดนี้ ด้วยประการ ฉะนี้แล.
จบ มหานิบาต
-----------------------------------------------------
ในมหานิบาตนี้ ปรากฏว่าพระวังคีสเถระผู้มีเชาว์เฉียบแหลมองค์เดียว ไม่มีรูปอื่น ได้ภาษิตคาถาไว้ ๗๑ คาถา พระเถระ ๒๖๔ รูป ผู้พระ- พุทธบุตร ไม่มีอาสวะ บรรลุนิพพานอันเป็นแดนเกษมแล้ว พากัน บันลือสิงหนาทประกาศคาถาไว้รวม ๑๓๖๐ คาถาแล้ว ก็พากันนิพพานไป เหมือนกองไฟที่สิ้นเชื้อแล้วดับไป ฉะนี้แล.
จบ เถรคาถา
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ บรรทัดที่ ๘๖๔๓-๘๘๘๑ หน้าที่ ๓๗๒-๓๘๑. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=26&A=8643&Z=8881&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=26&A=8643&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=26&siri=401              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=401              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=26&A=8785              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=33&A=12997              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=26&A=8785              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=33&A=12997              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_26              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/thag/thag.21.00x.hekh.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/thag/thag.21.00.irel.html https://suttacentral.net/thag21.1/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]