ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘ ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา
เถรคาถา ปัญญาสนิบาต
๑. ตาลปุฏเถรคาถา
คาถาสุภาษิตของพระตาลปุฏเถระ
[๓๙๙] เมื่อไรหนอ เราจึงจักได้อยู่แต่ผู้เดียว ไม่มีตัณหาเป็นเพื่อนสอง ณ ภูเขาและซอกเขา เมื่อไรหนอ เราจึงจักพิจารณาเห็นแจ้งภพทั้งปวง โดยความเป็นของไม่เที่ยง ความตรึกเช่นนี้ของเราจักสำเร็จเมื่อไรหนอ เมื่อไรหนอ เราจึงจักได้เป็นนักปราชญ์ นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์อัน เศร้าหมอง ไม่มีความยึดมั่น ไม่มีความหวัง เป็นผู้ฆ่าราคะ โทสะ และโมหะได้แล้ว เที่ยวไปตามป่าใหญ่อย่างสบาย ความตรึกเช่นนี้ ของเราจักสำเร็จเมื่อไรหนอ เมื่อไรหนอ เราจึงจักได้เห็นแจ้งซึ่งร่างกายนี้ อันเป็นของไม่เที่ยง เป็นรังแห่งโรค คือความตาย ถูกความตายและความ เสื่อมโทรมบีบคั้นแล้ว เป็นผู้ปราศจากภัย อาศัยอยู่ในป่าแต่ผู้เดียว ความตรึกเช่นนี้ของเราจักสำเร็จเมื่อไรหนอ เมื่อไรหนอ จักเราจึงได้ถือ เอาซึ่งดาบอันคมกริบ คืออริยมรรคอันสำเร็จด้วยปัญญา แล้วตัดเสีย ซึ่งลดาชาติ คือ ตัณหาอันก่อให้เกิดภัย นำมาซึ่งทุกข์ เป็นเหตุให้คิด วนเวียนไปในอารมณ์ภายนอก ความตรึกเช่นนี้ของเราจักสำเร็จเมื่อไรหนอ เมื่อไรหนอ เราจึงจักได้ถือเอาซึ่งศาตราอันสำเร็จด้วยปัญญา มีเดชานุภาพ มากของฤาษี คือ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระอริยสาวก แล้ว หักราญเสียซึ่งกิเลสมารพร้อมทั้งเสนาโดยเร็วพลัน เหนือเถรอาสน์มี ลีลาศดังราชสีห์ ความตรึกเช่นนี้ของเราจักสำเร็จเมื่อไรหนอ เมื่อไรหนอ นักปราชญ์มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ผู้มีความหนักแน่นในธรรม ผู้คงที่มีปกติ เห็นตามความเป็นจริง มีอินทรีย์อันชนะแล้ว จักเห็นว่าเราบำเพ็ญเพียร ความตรึกเช่นนี้ของเราจักสำเร็จเมื่อไรหนอ เมื่อไรหนอ ความเกียจคร้าน ความหิวกระหายลม แดด เหลือบ ยุง และสัตว์เสือกคลานทั้งหลาย จึงจักไม่เบียดเบียนเรา ตามซอกเขา ข้อนั้นเป็นความประสงค์ของเรา ความตรึกเช่นนี้ของเราสำเร็จเมื่อไรหนอ เมื่อไรหนอ เราจึงจักเป็นผู้มี จิตมั่นคง มีสติ ได้บรรลุอริยสัจ ๔ ที่เห็นได้แสนยาก อันพระผู้มี พระภาคผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ทรงทราบแล้วด้วยปัญญา ความตรึก เช่นนี้ของเราจักสำเร็จเมื่อไรหนอ เมื่อไรหนอ เราจึงจักประกอบด้วย ความสงบระงับ จากเครื่องเร่าร้อนใจในเพราะรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ ที่เรายังไม่รู้เท่าถึง พิจารณาเห็นด้วยปัญญา ความตรึกเช่นนี้ของเราจักสำเร็จเมื่อไรหนอ เมื่อไรหนอ เราเมื่อถูก ว่ากล่าวติเตียนด้วยถ้อยคำชั่วหยาบแล้ว จักไม่เดือดร้อนใจเพราะถ้อยคำ ชั่วหยาบนั้น อนึ่ง ถึงเขาจะสรรเสริญก็จักไม่ยินดี เพราะถ้อยคำ เช่นนั้น ความตรึกเช่นนี้ของเราจักสำเร็จเมื่อไรหนอ เมื่อไรหนอ เราจึงจักพิจารณาเห็นสภาพภายใน กล่าวคือ เบญจขันธ์และรูปธรรม เหล่าอื่น ที่ยังไม่รู้ทั่วถึง และสภาพภายนอก คือ ต้นไม้ หญ้า และ และลดาชาติ ว่าเป็นสภาพเสมอกัน ความตรึกเช่นนี้ของเราจักสำเร็จ เมื่อไรหนอ เมื่อไรหนอ ฝนที่ตกในเวลาปัจจุสมัย จักตกรด เราผู้นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ผู้ปฏิบัติอยู่ในมรรคปฏิปทาที่นักปราชญ์มี พระพุทธเจ้าเป็นต้น ดำเนินไปแล้วด้วยน้ำใหม่อยู่ในป่า ความตรึกเช่น นี้ของเราจักสำเร็จเมื่อไรหนอ เมื่อไรหนอ เราจึงจักได้ฟังเสียงร่ำ ร้องแห่งนกยูง และทิชาชาติในป่าและซอกเขา ลุกขึ้นจากการนอน แล้ว พิจารณาธรรมโดยความไม่เที่ยงเพื่อบรรลุอมตธรรม ความตรึก เช่นนี้ของเราจักสำเร็จเมื่อไรหนอ เมื่อไรหนอ เราจึงจักข้ามพ้นแม่ น้ำคงคา ยมุนา สรัสสดี ที่ไหลไปกระทั่งถึงบาดาล เป็นปาก น้ำใหญ่น่ากลัวนัก ไปได้ด้วยฤทธิ์โดยไม่ติดขัด ความตรึกเช่นนี้ ของเราจักสำเร็จเมื่อไรหนอ เมื่อไรหนอ เราจึงจักงดเว้นความเห็น ว่านิมิตงามทั้งปวงเสียโดยเด็ดขาด ขวนขวายอยู่ในฌาน แล้วทำ ลายความพอใจในกามคุณทั้งหลายเสียได้ เหมือนช้างทำลายเสาตลุง และโซ่เหล็กแล้ว เที่ยวไปในสงคราม ฉะนั้น ความตรึกเช่นนี้ของ เราจักสำเร็จเมื่อไรหนอ เมื่อไรหนอ เราจึงจักละความพอใจในกาม คุณ ได้บรรลุคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ แล้วเกิดความยินดีเปรียบเหมือนลูกหนี้ผู้ขัดสน เมื่อถูกเจ้าหนี้บีบคั้น แล้ว แสวงหาทรัพย์มาได้และชำระหนี้เสร็จแล้ว พึงดีใจ ฉะนั้น ความตรึกเช่นนี้ของเราจักสำเร็จเมื่อไรหนอ ดูกรจิต ท่านได้อ้อน วอนเราเป็นเวลาหลายปีแล้ว ว่าท่านไม่สมควรอยู่ครองเรือนเลย บัด นี้เราก็ได้บวชสมประสงค์แล้ว เหตุไฉนท่านจึงละทิ้งสมถะวิปัสสนา มัวแต่เกียจคร้านอยู่เล่า ดูกรจิต ท่านได้อ้อนวอนเรามาแล้วมิใช่หรือว่า ฝูงนกยูงมีขนปีกอันแพรวพราว และเสียงกึกก้องแห่งธารน้ำตกตาม ซอกเขา จักยังท่านผู้เพ่งฌานอยู่ในป่าให้เพลิดเพลิน เรายอมสละญาติ และมิตรที่รักใคร่ในตระกูล สลัดความยินดีในการเล่นและกามคุณในโลก ได้หมดแล้ว ได้เข้าถึงป่าและบรรพชาเพศนี้แล้ว ดูกรจิต ส่วน ท่านไม่ยินดีต่อเราผู้ดำเนินตามเสียเลย เมื่อเราพิจารณาเห็นว่าจิตนี้เป็น ของเรา ไม่ใช่ของผู้อื่น จะประโยชน์อะไรด้วยการร้องไห้ร่ำพิไร ในเวลาทำสงครามกับกิเลสมาร เพราะจิตทั้งหมดนี้เป็นธรรมชาติหวั่น ไหว ดังนี้ จึงได้ออกบวช แสวงหาทางอันไม่ตาย พระสัมมาสัม- พุทธเจ้าผู้ประเสริฐกว่าสัตว์ทั้งหลาย ผู้เป็นจอมท้าวสักกเทวราช เป็น จอมสารถีฝึกนระ ตรัสสุภาษิตไว้ว่า จิตนี้กวัดแกว่งเช่นวานร ห้าม ได้แสนยาก เพราะยังไม่ปราศจากความกำหนัด ปุถุชนทั้งหลายผู้ไม่รู้ เท่าทัน พัวพันอยู่ในกามทั้งหลายอันล้วนแต่เป็นของงดงาม มีรส อร่อย น่ารื่นรมย์ใจ เขาเหล่านั้นเป็นผู้แสวงหาภพใหม่ กระทำ แต่สิ่งไร้ประโยชน์ ชื่อว่าประสงค์ทุกข์ ย่อมถูกจิตนำไปสู่นรกโดย แท้ ดูกรจิต แต่ก่อนท่านเคยแนะนำเราไว้ว่า ท่านจงเป็นผู้แวด ล้อมด้วยเสียงร่ำร้องแห่งนกยูง และนกกระเรียน อีกทั้งเสือเหลือง และเสือโคร่งอยู่ในป่า ท่านจงสละความห่วงใยในร่างกาย อย่ามีความ อาลัยเลย ดูกรจิต แต่ก่อนท่านเคยแนะนำเราว่า จงอุตส่าห์เจริญ ฌาน อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ และสมาธิภาวนา จงบรรลุ วิชชา ๒ ในพระพุทธศาสนา ดูกรจิต แต่ก่อนท่านเคยแนะนำเรา ว่า จงเจริญอัฏฐังคิกมรรคเพื่อบรรลุนิพพาน อันเป็นทางนำสัตว์ออก จากโลก ให้ถึงความสิ้นทุกข์ทั้งปวง เป็นเครื่องชำระล้างกิเลส ทั้งปวง ดูกรจิต แต่ก่อนท่านเคยแนะนำเราว่า จงพิจารณาเห็นเบญจ- ขันธ์โดยอุบายอันแยบคายว่า เป็นทุกข์ จงละเหตุอันก่อให้เกิดทุกข์ จง ทำที่สุดแห่งทุกข์ในอัตภาพนี้เถิด ดูกรจิต แต่ก่อนท่านเคยแนะนำเรา ว่า จงพิจารณาเบญจขันธ์โดยอุบายอันแยบคายว่า เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นของว่างเปล่า หาตัวตนมิได้ เป็นของวิบัติและว่า เป็นผู้ฆ่า จงดับมโนวิจารณ์เสียโดยแยบคายเถิด ดูกรจิต แต่ก่อน ท่านเคยแนะนำเราว่า จงปลงผมและหนวดแล้ว ถือเอาเพศสมณะมี รูปลักษณะอันแปลก ต้องถูกเขาสาบแช่ง ถือเอาบาตรเที่ยวภิกษา ตามตระกูล จงประกอบตนอยู่ในคำสอนของพระบรมศาสดาผู้แสวงหา คุณอันยิ่งใหญ่เถิด ดูกรจิต แต่ก่อนท่านเคยแนะนำเราว่า จงสำรวม ระวังเมื่อเวลาเที่ยวไปบิณฑบาตตามระหว่างตรอก อย่ามีใจเกี่ยวข้อง ในตระกูลและกามารมณ์ทั้งหลาย เหมือนพระจันทร์ในวันเพ็ญเว้นจาก โทษฉะนั้น ดูกรจิต แต่ก่อนท่านเคยแนะนำเราว่า จงยินดีใน ธุดงคคุณทั้ง ๕ ถืออยู่ในป่าเป็นวัตร ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ถืออยู่ป่าช้าเป็นวัตร ถือนุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ถือการไม่นอน เป็นวัตร ตลอดกาลทุกเมื่อเถิด บุคคลผู้ต้องการผลไม้ ปลูกต้นไม้ ไว้แล้ว เก็บผลไม่ได้ ก็ประสงค์จะโค่นต้นไม้นั้นเสีย ฉันใด ดูกร จิต ท่านแนะนำเราผู้ใดให้หวั่นไหวในความไม่เที่ยง ท่านจงทำเราผู้นี้ ให้เหมือนกับบุคคลผู้ปลูกต้นไม้ไว้ฉะนั้นเถิด ดูกรจิตผู้หารูปมิได้ ไป ได้ในที่ไกล เที่ยวไปแต่ผู้เดียว บัดนี้เราจักไม่ทำตามคำของท่านแล้ว เพราะว่ากามทั้งหลายล้วนเป็นทุกข์ มีผลเผ็ดร้อน เป็นภัยใหญ่หลวง เราจักมีใจมุ่งนิพพานเท่านั้น เราไม่ได้ออกบวชเพราะหมดบุญ เพราะ ไม่มีความละอาย เพราะเหตุแห่งจิต เพราะเหตุแห่งการทำผิดต่อชาติ บ้านเมือง หรือเพราะเหตุแห่งอาชีพ ดูกรจิต ท่านได้รับรองกับเรา ไว้ว่า จักอยู่ในอำนาจของเรามิใช่หรือ ดูกรจิต ท่านได้แนะนำเราไว้ ในครั้งนั้นว่า ความเป็นผู้มักน้อย การละความลบหลู่คุณท่าน และ ความสงบระงับทุกข์ สัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญ แต่บัดนี้ ท่านกลับเป็น ผู้มีความมักมากขึ้น เราไม่อาจกลับไปสู่ตัณหา ราคะ ความรัก ความ ชัง รูปอันสวยงาม สุขเวทนา และเบญจกามคุณ อันเป็นของ ชอบใจที่เราคายเสียแล้วอีก ดูกรจิต เราได้ปฏิบัติตามถ้อยคำของท่าน ในภพทั้งปวงแล้ว เราไม่ได้มีความขุ่นเคืองต่อท่านหลายชาติมาแล้ว เพราะความที่ท่านมีความกตัญญู จึงปรากฏมีอัตภาพนี้ขึ้นอีก ท่านทำ ให้เราต้องท่องเที่ยวไปในกองทุกข์มาช้านานแล้ว ดูกรจิต ท่านทำเรา ให้เป็นพราหมณ์ก็มี เป็นพระราชามหากษัตริย์ก็มี เพราะอำนาจแห่งท่าน บางคราวเราเป็นแพศย์ เป็นศูทร เป็นเทพเจ้าก็มี เพราะอำนาจแห่งท่าน เพราะเหตุแห่งท่าน มีท่านเป็นมูลเหตุ เราเป็นอสูร บางคราวเป็น สัตว์นรก บางคราวเป็นสัตว์ดิรัจฉาน บางคราวเป็นเปรต ท่านได้ประทุษ ร้ายเรามาบ่อยๆ มิใช่หรือ บัดนี้ เราจักไม่ให้ท่านทำเหมือนกาลก่อนอีก ละ แม้เพียงครู่เดียว ท่านได้ล่อลวงเราเหมือนกับคนคนบ้าได้ทำความผิด ให้แก่เรามาแล้วมิใช่หรือ จิตนี้แต่ก่อนเคยเที่ยวจาริกไปในอารมณ์ต่างๆ ตามความประสงค์ ตามความใคร่ ตามความสบาย วันนี้ เราจักข่มจิตนั้นไว้ โดยอุบายอันชอบดังนายหัตถาจารย์ข่มช้างตัวตกมันไว้ด้วยขอ ฉะนั้น พระ ศาสดาของเราได้ทรงตั้งโลกนี้ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่เป็นแก่นสาร ดูกรจิต ท่านจงพาเราบ่ายหน้าไปในศาสนาของพระ ชินสีห์ จงพาเราข้ามจากห้วงใหญ่ที่ข้ามได้แสนยาก ดูกรจิต เรือน คืออัตภาพของท่านนี้ ไม่เป็นเหมือนกาลก่อนเสียแล้ว เพราะเราจัก ไม่เป็นไปตามอำนาจของท่านอีกต่อไป เราได้บวชในศาสนาของพระ พุทธเจ้าผู้แสวงหาประโยชน์อันยิ่งใหญ่แล้ว สมณะทั้งหลายผู้ทรงความ พินาศไม่เป็นเช่นเรา ภูเขา มหาสมุทร แม่น้ำคงคาเป็นต้น แผ่นดิน ทิศใหญ่สี่ ทิศน้อยสี่ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ และภพสาม ล้วน เป็นสภาพไม่เที่ยง มีแต่ถูกเบียดเบียนอยู่เสมอ ดูกรจิต ท่านจะไป ณ ที่ไหนเล่าจึงจะมีความสุขรื่นรมย์ ดูกรจิต เบื้องหน้าแต่จิตของเราตั้งมั่น แล้ว ท่านจักทำอะไรแก่เราได้ เราไม่เป็นไปตามอำนาจของท่านแล้ว บุคคลไม่ควรถูกต้องไถ้สองปาก คือร่างกายอันเต็มไปด้วยของไม่สะอาด มีช่อง ๙ แห่ง เป็นที่ไหลออก น่าติเตียน ท่านผู้ไปสู่เรือนคือถ้ำที่เงื้อม ภูเขาอันสวยงามตามธรรมชาติ เป็นที่อาศัยอยู่แห่งสัตว์ป่า คือ หมูและ กวาง และในป่าที่ฝนตกใหม่ๆ จักได้ความรื่นรมย์ใจ ณ ที่นั้น ฝูงนกยูง มีขนที่คอเขียว มีหงอนและปีกงาม ลำแพนหางมีแวววิจิตรนัก ส่ง สำเนียงก้องกังวาลไพเราะจับใจ จักยังท่านผู้บำเพ็ญฌานอยู่ในป่าให้ ร่าเริงได้ เมื่อฝนตนหญ้างอกยาวประมาณ ๔ นิ้ว ท้องฟ้างามแจ่มใส ไม่มีเมฆปกคลุม เมื่อท่านทำตนให้เสมอด้วยไม้แล้ว นอนอยู่เหนือหญ้า ระหว่างภูเขานั้น จะรู้สึกอ่อนนุ่มดังสำลี เราจักกระทำให้เหมือนผู้ใหญ่ จะยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้ บุคคลผู้ไม่เกียจคร้าน ย่อมกระทำจิต ของตนให้ควรแก่การงาน ฉันใด เราจักกระทำจิต ฉันนั้น เหมือน บุคคลเลื่อนถุงใส่แมวไว้ ฉะนั้นเราจักทำให้เหมือนผู้ใหญ่ จักยินดีด้วย ปัจจัยตามมีตามได้ จักนำท่านไปสู่อำนาจของเราด้วยความเพียรเหมือน นายหัตถาจารย์ผู้ฉลาด นำช้างที่ซับมันไปสู่อำนาจของตนด้วยขอ ฉะนั้น เราย่อมสามารถที่จะดำเนินตามหนทางอันเกษมสุข ซึ่งเป็นทางอันบุคคล ผู้ตามรักษาจิต ได้ดำเนินมาแล้วทุกสมัย ด้วยหทัยอันเที่ยงตรงที่ท่านฝึกฝน ไว้ดีแล้ว มั่นคงแล้ว เปรียบเหมือนนายหัตถาจารย์ สามารถจะดำเนินไป ตามภูมิสถานที่ปลอดภัย ด้วยม้าที่ฝึกดีแล้ว ฉะนั้น เราจักผูกจิตไว้ใน อารมณ์ คือ กรรมฐานด้วยกำลังภาวนา เหมือนนายหัตถาจรรย์ มัดช้างไว้ ที่เสาตลุงด้วยเชือกอันมั่นคง ฉะนั้น จิตที่เราคุ้มครองดีแล้ว อบรมดีแล้ว ด้วยสติ จักเป็นจิตอันตัณหาเป็นต้น ไม่อาศัยในภพทั้งปวง ท่านจงตัด ทางดำเนินที่ผิดเสียด้วยปัญญา ข่มใจให้ดำเนินไปในทางที่ถูกด้วย ความเพียร ได้เห็นแจ้งทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป แล้วจัก ได้เป็นทายาทของพระพุทธเจ้า ผู้มักแสดงธรรมอันประเสริฐ ดูกรจิต ท่านได้นำเอาให้เป็นไปตามอำนาจของความเข้าใจผิด ๔ ประการ เหมือน บุคคลจูงเด็กชาวบ้านวิ่งวนไป ฉะนั้น ท่านควรคบหาพระสัมมาสัม- พุทธเจ้า ผู้ตัดเครื่องเกาะเกี่ยวและเครื่องผูกเสียได้ เพียบพร้อมด้วย พระมหากรุณา เป็นจอมปราชญ์มิใช่หรือ มฤคชาติเข้าไปยังภูเขาอันน่า รื่นรมย์ ประกอบด้วยน้ำและดอกไม้ เที่ยวไปในป่าอันงดงามตามลำพัง ใจ ฉันใด ดูกรจิต ท่านก็จักรื่นรมย์อยู่ในภูเขาที่ไม่เกลื่อนกล่น ด้วย ผู้คนตามลำพังใจ ฉันนั้น เมื่อท่านไม่ยินดีอยู่ที่ภูเขานั้น ท่านก็จักต้อง เสื่อมโดยไม่ต้องสงสัย ดูกรจิต หญิงชายเหล่าใดประพฤติตามความ พอใจ ตามอำนาจของท่านแล้วเสวยความสุขใดอันอาศัยเบญจกามคุณ หญิงชายเหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้โง่เขลา ตกอยู่ในอำนาจของมาร เป็นผู้ เพลิดเพลินอยู่ในภพน้อย ภพใหญ่ และชื่อว่าเป็นสาวกของท่าน.
จบ ตาลปุฏเถรคาถา
-----------------------------------------------------
พระตาลปุฏเถระองค์เดียวเท่านั้น ได้ภาษิตคาถาไว้ในปัญญาสนิบาตนี้ รวมเป็นคาถา ๕๕ คาถา ฉะนี้แล.
ปัญญาสนิบาต จบบริบูรณ์.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ บรรทัดที่ ๘๓๐๓-๘๔๗๗ หน้าที่ ๓๕๘-๓๖๔. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=26&A=8303&Z=8477&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=26&A=8303&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=26&siri=399              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=399              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=26&A=8402              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=33&A=11694              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=26&A=8402              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=33&A=11694              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_26              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/thag/thag.19.00x.olen.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/thag/thag.19.00.khan.html https://suttacentral.net/thag19.1/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]