ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘ ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา
เถรคาถา เตรสกนิบาต
๑. โสณโกฬิวิสเถรคาถา
คาถาสุภาษิตของพระโสณโกฬิวิสเถระ
[๓๘๐] ผู้ใดเป็นผู้สำเร็จความปรารถนา เป็นผู้สูงสุดในแว่นแคว้นของพระเจ้า อังคะ วันนี้ ผู้นั้นมีนามว่าโสณะ เป็นผู้เยี่ยมในธรรมทั้งหลาย เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งทุกข์ ภิกษุพึงตัดสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ พึงละสังโยชน์ เบื้องบน ๕ และพึงเจริญอินทรีย์ ๕ ให้ยิ่ง ภิกษุผู้ล่วงธรรมเป็น เครื่องข้อง ๕ ท่านเรียกว่า ผู้ข้ามโอฆะได้แล้ว ศีล สมาธิ และ ปัญญา ของภิกษุผู้มีมานะเพียงดังว่าไม้อ้ออันยกขึ้นแล้ว ผู้ประมาท ยินดีในอายตนะอันมีในภายนอก ย่อมไม่ถึงความบริบูรณ์ กิจใดที่ ควรทำ ภิกษุเหล่านี้มาละทิ้งกิจอันนั้นเสีย แต่มาทำกิจที่ไม่ควรทำ อาสวะทั้งหลายย่อมเจริญแก่ภิกษุเหล่านั้น ผู้มีมานะเพียงดังไม้อ้ออันยก ขึ้นแล้ว เป็นผู้ประมาท ส่วนภิกษุเหล่าใดปรารภกายคตาสติด้วยดีเป็น นิตย์ ภิกษุเหล่านั้นกระทำกรรมที่ควรทำเนืองนิตย์ ย่อมไม่เสพกรรมมิใช่ กิจอาสวะของภิกษุเหล่านั้นผู้มีสติสัมปชัญญะ ย่อมถึงความสิ้นสูญ เมื่อ มีทางตรงพระพุทธเจ้าตรัสบอกไว้แล้ว ขอท่านทั้งหลายจงดำเนินไปเถิด อย่าพากันกลับ จงตักเตือนตนด้วยตนเอง พึงน้อมตนเข้าไปสู่นิพพาน เมื่อเราปรารภความเพียร พระศาสดาผู้มีพระจักษุยอดเยี่ยมในโลก ได้ ทรงแสดงธรรมอุปมาด้วยสายพิณสอนเรา เราฟังพระดำรัสของพระองค์ แล้ว ยินดีอยู่ในพระศาสนา ยังสมถภาวนาให้เกิดขึ้น เพื่อบรรลุ ประโยชน์อันสูงสุด เราบรรลุวิชชา ๓ แล้ว คำสั่งสอนของพระพุทธ เจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว จิตของเราผู้น้อมไปในเนกขัมมะ ในความวิเวก แห่งจิต ในความไม่เบียดเบียน ในความสิ้นไปแห่งอุปาทาน ในความ สิ้นตัณหาและในความไม่หลงใหลแห่งใจ ย่อมหลุดพ้นโดยชอบ เพราะ เห็นความเกิดขึ้นแห่งอายตนะ การสั่งสมย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ผู้หลุด พ้นแล้วโดยชอบ มีจิตสงบระงับเสร็จกิจแล้ว กิจอื่นที่จะพึงทำอีกไม่มี ภูเขาศิลาล้วนเป็นแท่งทึบ ย่อมไม่สะเทือนด้วยลม ฉันใด รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ทั้งสิ้น ทั้งที่เป็นอิฏฐารมณ์ และ อนิฏฐารมณ์ ย่อมไม่ทำจิตของบุคคลผู้คงที่ให้หวั่นไหวได้ ฉันนั้น จิต ของผู้คงที่นั้น เป็นจิตตั้งมั่นไม่หวั่นไหว ไม่เกาะเกี่ยวด้วยอารมณ์ อะไรๆ เพราะผู้คงที่นั้นพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งอารมณ์นั้น.
-----------------------------------------------------
ในเตรสกนิบาตนี้ พระโสณโกฬิวิสเถระผู้มีมหิทธิฤทธิ์รูปเดียวเท่านั้น ได้ภาษิตคาถาไว้ ๑๓ คาถา ฉะนี้แล.
จบ เตรสกนิบาต
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ บรรทัดที่ ๗๑๗๘-๗๒๑๓ หน้าที่ ๓๑๐-๓๑๑. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=26&A=7178&Z=7213&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=26&A=7178&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=26&siri=380              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=380              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=26&A=7328              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=33&A=5818              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=26&A=7328              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=33&A=5818              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_26              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/thag13.1/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]