ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘ ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา
๗. ราชปุตตเปตวัตถุ
ว่าด้วยบุพกรรมเปรตราชบุตร
[๑๒๗] ผลแห่งกรรมทั้งหลาย ที่พระราชโอรสทำไว้ในชาติก่อนพึงย่ำยีหัวใจ พระราชโอรสได้เสวยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่ารื่นรมย์ ใจ และการฟ้อนรำขับร้อง ความยินดี ความสนุกสนานเป็นอันมาก เสด็จเที่ยวไปในสวนแล้วเข้าไปสู่เมืองราชคฤห์ ได้ทรงเห็นพระปัจเจก- พุทธเจ้านามว่าสุเนตตะ ผู้มีตนอันฝึกแล้วมีจิตตั้งมั่น มักน้อย สมบูรณ์ ด้วยหิริ ยินดีในอาหารเฉพาะที่มีอยู่ในบาตร เสด็จลงจากคอช้างแล้ว ตรัสถามว่า ได้อะไรบ้าง พระผู้เป็นเจ้า แล้วทรงจับบาตรของพระปัจเจก- พุทธเจ้ายกขึ้นสูง แล้วทุ่มลงที่พื้นดินให้แตก ทรงพระสรวล หลีกไป หน่อยหนึ่งได้ตรัสกะพระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้แลดูอยู่ด้วยอำนาจความกรุณา ว่า เราเป็นพระราชโอรสของพระเจ้ากิตวัสสะ แน่ะภิกษุ ท่านจักทำอะไร เรา พระราชโอรสได้เสวยผลอันเผ็ดร้อนแห่งกรรมอันหยาบช้านั้นเพรียบ พร้อมแล้วในนรก พระราชโอรสผู้เป็นพาลทำบาปหยาบช้าไว้ จึงได้ ประสบทุกข์อันกล้าแข็งอยู่ในนรก ๘๔,๐๐๐ ปี นอนหงายบ้าง นอน คว่ำบ้าง นอนตะแคงซ้ายบ้าง นอนตะแคงขวาบ้าง เท้าชี้ขึ้นข้างบนบ้าง หมกไหม้อยู่สิ้นกาลนาน ทำบาปหยาบช้าไว้ จึงได้ประสบทุกข์อันกล้า แข็งในนรกหลายหมื่นปีเป็นอันมาก บุคคลผู้มีการงานอันลามก พากัน ประทุษร้ายฤาษีผู้ไม่ประทุษร้ายต่อผู้ประทุษร้ายมีวัตรอันงาม ย่อมได้เสวย ทุกข์อันเผ็ดร้อนอย่างยิ่งเห็นปานนี้แล เปรตผู้เป็นพระราชบุตรเสวยทุกข์ เป็นอันมากในนรกนั้นสิ้นปีเป็นอันมาก จุติจากนรกแล้วมาเกิดเป็นเปรต อดอยากอีก บุคคลรู้โทษอันเกิดเพราะอำนาจแห่งความมัวเมาในความ เป็นใหญ่อย่างนี้แล้ว พึงละความมัวเมาในความเป็นใหญ่เสีย แล้วพึง ประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ควรอ่อนน้อม ผู้ใดมีความเคารพในพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์ ผู้นั้นอันบุคคลพึงสรรเสริญในปัจจุบัน ผู้นั้น เป็นคนมีปัญญา เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสวรรค์.
จบ ราชปุตตเปตวัตถุที่ ๗.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ บรรทัดที่ ๔๗๕๙-๔๗๘๕ หน้าที่ ๑๙๓-๑๙๔. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=26&A=4759&Z=4785&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=26&A=4759&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=26&siri=127              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=127              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=26&A=5111              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=31&A=6260              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=26&A=5111              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=31&A=6260              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_26              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pv42/en/kiribathgoda

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]