ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

หน้าที่ ๓๗๓.

สุนทริกสูตรที่ ๔
[๓๕๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำสุนทริกา แคว้นโกศล ชนบท ก็สมัยนั้นแล สุนทริกภารทวาชพราหมณ์ครั้นบูชาไฟ บำเรอการบูชาไฟอยู่ที่ ฝั่งแม่น้ำสุนทริกา ครั้งนั้นแล สุนทริกภารทวาชพราหมณ์ครั้นบูชาไฟบำเรอไฟแล้ว ลุกขึ้นจากอาสนะ เหลียวดูทิศทั้งสี่โดยรอบด้วยคิดว่า ใครหนอแล ควรบริโภค ข้าวปายาสที่เหลือนี้ สุนทริกภารทวาชพราหมณ์ได้เห็นพระผู้มีพระภาคประทับนั่งทรง คลุมพระกายตลอดพระเศียรอยู่ที่โคนไม้แห่งหนึ่ง จึงถือเอาข้าวปายาสที่เหลือด้วย มือซ้าย ถือเต้าน้ำด้วยมือข้างขวา เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ทรงเปิดพระเศียรออก เพราะเสียงฝีเท้าของสุนทริกภารทวาช- *พราหมณ์ ครั้งนั้น สุนทริกภารทวาชพราหมณ์คิดว่า ท่านผู้นี้เป็นคนโล้นๆ ดังนี้แล้ว ปรารถนาจะกลับจากที่นั้น ลำดับนั้น สุนทริกภารทวาชพราหมณ์ดำริว่า แม้พราหมณ์บางพวกในโลกนี้ก็เป็นคนโล้น ผิฉะนั้นเราพึงเข้าไปถามถึงชาติ ทีนั้น แล สุนทริกภารทวาชพราหมณ์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ท่านมีชาติอย่างไร ฯ ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสตอบสุนทริกภารทวาชพราหมณ์ด้วย พระคาถาว่า [๓๕๙] เราไม่ใช่พราหมณ์ ไม่ใช่ราชโอรส ไม่ใช่แพศย์หรือใครๆ เรากำหนดรู้โคตรของปุถุชนแล้ว ไม่มีความกังวล เที่ยว ไปด้วยปัญญาในโลก เรานุ่งห่ม (ไตรจีวร) สังฆาฏิ ไม่มี เรือน ปลงผมแล้ว มีตนดับความเร่าร้อนแล้ว ไม่คลุกคลี กับด้วยมนุษย์ (มาณพ) ทั้งหลายในโลกนี้ เที่ยวไปอยู่ ท่าน ถามถึงปัญหาเกี่ยวด้วยโคตรอันไม่สมควรกะเรา ดูกรพราหมณ์ ผู้เจริญ พวกพราหมณ์ย่อมถามกับพวกพราหมณ์ด้วยกันว่า

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๗๔.

ท่านเป็นพราหมณ์หรือหนอ ถ้าว่าท่านกล่าวว่าเราเป็นพราหมณ์ แต่ท่านกล่าวกะเราผู้มิใช่พราหมณ์ เพราะเหตุนั้น เราขอ ถามสาวิตรีซึ่งมีบท ๓ มีอักขระ ๒๔ กะท่าน ฯ พราหมณ์ทูลถามว่า พวกฤาษี มนุษย์ กษัตริย์ และพราหมณ์เป็นอันมากในโลก นี้ อาศัยอะไร ได้กำหนดยัญแก่เทวดาทั้งหลาย ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า เราขอบอกว่าผู้ถึงที่สุดทุกข์ ถึงที่สุดเวท จะพึงได้เครื่องบูชา ในเมื่ออาหารอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ใดเข้าไปตั้งไว้ในกาลแห่ง ยัญ ยัญกรรมของผู้นั้นพึงสำเร็จ ฯ พราหมณ์ทูลว่า การบูชาของข้าพเจ้านั้น พึงสำเร็จเป็นแน่แท้ เพราะข้าพเจ้า ได้พบบุคคลผู้ถึงเวทเช่นนั้น อันที่จริง คนอื่นย่อมได้ บริโภคเครื่องบูชา เพราะไม่ได้พบบุคคลผู้เช่นท่าน ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เพราะเหตุนั้นแหละพราหมณ์ ท่านผู้มีความต้องการด้วย ประโยชน์ จงเข้าไปถามเถิด ท่านจะพบผู้มีปัญญาดี ผู้สงบ ผู้ไม่มีความโกรธ ไม่มีทุกข์ ไม่มีความหวัง ในศาสนา นี้แน่แท้ ฯ พราหมณ์ทูลว่า (ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ) ข้าพเจ้ายินดีแล้วในยัญ ใคร่จะ บูชายัญ แต่ข้าพเจ้ายังไม่ทราบชัด ขอท่านจงพร่ำสอน ข้าพเจ้าเถิด ขอท่านจงบอกซึ่งที่เป็นที่สำเร็จแห่งการบูชา แก่ข้าพเจ้าเถิด ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๗๕.

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ ถ้าอย่างนั้นท่านจงเงี่ยโสตลงเถิด เราจักแสดง ธรรมแก่ท่าน ท่านอย่าถามถึงชาติ จงถามแต่ธรรมสำหรับ ประพฤติเถิด ไฟย่อมเกิดแต่ไม้แล แม้ผู้ที่เกิดในสกุลต่ำ เป็นมุนีมีปัญญา เป็นผู้เกียดกันอกุศลวิตกด้วยหิริ รู้เหตุ การณ์ได้โดยฉับพลันก็มี พราหมณ์ผู้มุ่งบุญพึงบูชา พึงหลั่ง ไทยธรรมในทักขิไณยบุคคลผู้ที่ฝึกตนด้วยสัจจะ ผู้ประกอบ ด้วยการฝึกฝนอินทรีย์ ผู้ถึงที่สุดแห่งเวท ผู้อยู่จบพรหมจรรย์ ตามกาล ชนเหล่าใดละกามทั้งหลายได้แล้ว ไม่ยึดมั่น อะไรๆ เที่ยวไป มีตนสำรวมดีแล้ว เหมือนกระสวยที่ ไปตรง ฉะนั้น พราหมณ์ผู้มุ่งบุญพึงบูชา พึงหลั่งไทยธรรม ในชนเหล่านั้นตามกาล ชนเหล่าใดปราศจากราคะ มี อินทรีย์ตั้งมั่นดีแล้ว หลุดพ้นแล้วจากการจับของกิเลส เปล่งปลั่งอยู่ เหมือนพระจันทร์ที่พ้นแล้วจากการเบียดเบียน ของราหู สว่างไสวอยู่ ฉะนั้น พราหมณ์พึงหลั่งไทยธรรม ในชนเหล่านั้นตามกาล ชนเหล่าใดไม่เกี่ยวข้อง มีสติ ทุกเมื่อ ละนามรูป ที่คนพาลถือว่าเป็นของเราได้แล้ว เที่ยว ไปในโลก พราหมณ์พึงหลั่งไทยธรรมในชนเหล่านั้นตามกาล พระตถาคตละกามทั้งหลายได้แล้ว ครอบงำกามทั้งหลาย เที่ยวไป รู้ที่สุดแห่งชาติและมรณะ ดับความเร่าร้อนได้แล้ว เป็นผู้เยือกเย็นเหมือนห้วงน้ำ ย่อมควรเครื่องบูชา พระ ตถาคตผู้เสมอด้วยพระพุทธเจ้าทั้งหลาย อยู่ห่างไกลจาก บุคคลผู้ไม่เสมอทั้งหลาย เป็นผู้มีปัญญาไม่มีที่สุด ผู้อัน ตัณหาทิฐิไม่ฉาบทาแล้วในโลกนี้หรือในโลกอื่น ย่อมควร

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๗๖.

เครื่องบูชา พระตถาคตผู้เป็นพราหมณ์ ไม่มีมายา ไม่มี มานะ ปราศจากความโลภ ไม่ยึดถือในสัตว์และสังขารว่า เป็นของเรา หาความหวังมิได้ บรรเทาความโกรธแล้ว มีตนดับความเร่าร้อนได้แล้ว ละมลทิน คือ ความโศก เสียได้ ย่อมควรเครื่องบูชา พระตถาคตละตัณหาและ ทิฐิที่อยู่ประจำใจได้แล้ว ไม่มีตัณหาและทิฐิอะไรๆ ไม่ถือ มั่นในโลกนี้หรือในโลกอื่น ย่อมควรเครื่องบูชา พระ ตถาคตมีจิตตั้งมั่นแล้ว ข้ามโอฆะได้แล้ว และได้รู้ธรรม ด้วยทิฐิอย่างยิ่ง มีอาสวะสิ้นแล้ว ทรงไว้ซึ่งร่างกายอัน มีในที่สุด ย่อมควรเครื่องบูชา ภวาสวะและวาจาหยาบคาย อันพระตถาคตกำจัดได้แล้ว ทำให้สิ้นสูญ ไม่มีอยู่ พระตถาคตผู้ถึงเวท พ้นวิเศษแล้วในธรรมทั้งปวง ย่อม ควรเครื่องบูชา พระตถาคตผู้ล่วงกิเลสเครื่องข้อง ไม่มี ธรรมเป็นเครื่องข้อง ไม่เป็นสัตว์ผู้มีมานะในเหล่าสัตว์ผู้มี มานะ กำหนดรู้ทุกข์พร้อมทั้งไร่นาและที่ดิน ย่อมควร เครื่องบูชา พระตถาคตไม่อาศัยตัณหา มีปรกติเห็น นิพพาน ก้าวล่วงทิฐิที่จะพึงให้ผู้อื่นรู้ ไม่มีอารมณ์อะไรๆ ย่อมควรเครื่องบูชา ธรรมทั้งที่เป็นภายในและภายนอก พระตถาคตแทงตลอดแล้ว กำจัดได้แล้ว ถึงความสาปสูญ มิได้มี พระตถาคตนั้นเป็นผู้สงบแล้ว น้อมไปในธรรม เป็นที่สิ้นอุปาทาน ย่อมควรเครื่องบูชา พระตถาคตเห็น ที่สุดแห่งความสิ้นไปแห่งชาติ บรรเทาสังโยชน์อันเป็น ทางแห่งราคะเสียได้ไม่มีส่วนเหลือ เป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่มี โทษ ปราศจากมลทิน ไม่มีความใคร่ ย่อมควรเครื่อง บูชา พระตถาคตไม่พิจารณาเห็นตนโดยความเป็นตน มีจิต

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๗๗.

ตั้งมั่น ปฏิบัติตรง ดำรงตนมั่น ไม่หวั่นไหว ไม่มี กิเลสดุจหลักตอ ไม่มีความสงสัย ย่อมควรเครื่องบูชา พระตถาคตไม่มีปัจจัยแห่งโมหะอะไรๆ เห็นด้วยญาณใน ธรรมทั้งปวง ทรงไว้ซึ่งสรีระมีในที่สุด และได้บรรลุ สัมโพธิญาณที่ยอดเยี่ยม อันเกษม ความบริสุทธิ์ของบุรุษ ย่อมมีด้วยเหตุเพียงเท่านี้ (พระตถาคตย่อมควรเครื่องบูชา) ฯ พราหมณ์ทูลว่า ก็การบูชาของข้าพระองค์ จะเป็นการบูชาจริง เพราะว่า ข้าพระองค์ได้บุคคลผู้ถึงเวทเช่นนั้น พระผู้มีพระภาคเป็น พรหม ผู้เห็นเองแท้ ขอได้โปรดทรงรับ ทรงบริโภคเครื่อง บูชาของข้าพระองค์เถิด ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ เราไม่พึงบริโภคโภชนะที่ขับกล่อมได้มา ข้อนี้ ไม่ใช่ธรรมเนียมของพระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้ทรงเห็นอยู่โดย ชอบ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมทรงห้ามโภชนะที่ขับ กล่อมได้มา ดูกรพราหมณ์ เมื่อธรรมมีอยู่ การแสวงหา เป็นความประพฤติของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็ท่านจงบำรุง พระขีณาสพผู้บริบูรณ์ด้วยคุณทั้งปวง ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ ผู้มีความคะนองสงบแล้ว ด้วยข้าวน้ำอย่างอื่นเถิด เพราะว่า เขตนั้นเป็นเขตของบุคคลผู้มุ่งบุญ ฯ พราหมณ์ทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ขอประทานวโรกาส ข้าพระองค์ถึง คำสั่งสอนของพระองค์แล้ว พึงรู้แจ่มแจ้งอย่างที่พระองค์ ตรัสบอก ขอพระองค์จงทรงแสดงทักขิไณยบุคคลผู้บริโภค

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๗๘.

ทักขิณาของบุคคลผู้เช่นด้วยข้าพระองค์ ที่ข้าพระองค์จะพึง แสวงหาบำรุงอยู่ ในกาลแห่งยัญ แก่ข้าพระองค์เถิด ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ท่านจงกำจัดความสยิ้วหน้า จงประคองอัญชลีนอบน้อมผู้ที่ ปราศจากความแข่งดี ผู้มีจิตไม่ขุ่นมัว หลุดพ้นแล้วจาก กามทั้งหลาย บรรเทาความง่วงเหงาเสียแล้ว นำกิเลสออก เสียได้ ผู้ฉลาดในชาติและมรณะ ผู้นั้นเป็นมุนี สมบูรณ์ ด้วยปัญญา ผู้มาแล้วสู่ยัญเช่นนั้น จงบูชาด้วยข้าวและ น้ำเถิด ทักขิณาย่อมสำเร็จได้ด้วยอาการอย่างนี้ ฯ พราหมณ์ทูลว่า พระองค์เป็นพระพุทธเจ้า ผู้ที่บุคคลควรบูชาในโลกทั้งปวง เป็นบุญเขตอย่างยอดเยี่ยม ย่อมควรเครื่องบูชา ทานที่ บุคคลถวายแล้วแด่พระองค์ เป็นทานมีผลมาก ฯ [๓๖๐] ลำดับนั้นแล สุนทริกภารทวาชพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มี พระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรม โดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้ หลงทาง หรือตามประทีปไว้ในที่มืดด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูปได้ฉะนั้น ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระองค์ กับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ข้า พระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระองค์เถิด สุนทริกภารทวาช- *พราหมณ์ได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาค ฯลฯ ก็ท่านสุนทริก ภารทวาชะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย ฉะนั้นแล ฯ
จบสุนทริกภารทวาชสูตรที่ ๔

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๘๕๓๕-๘๖๗๘ หน้าที่ ๓๗๓-๓๗๘. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=8535&Z=8678&pagebreak=1 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=25&A=8535&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=257              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=358              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=25&A=8546              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=29&A=5007              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=25&A=8546              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=29&A=5007              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_25              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/25i354-e.php#sutta4 https://suttacentral.net/snp3.4/en/mills https://suttacentral.net/snp3.4/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]