ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
๙. มลสูตร
[๒๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย มลทินในภายใน ๓ ประการนี้ เป็นอมิตร เป็นศัตรู เป็นผู้ฆ่า เป็นข้าศึกในภายใน ๓ ประการเป็นไฉน คือ โลภะ ๑ โทสะ ๑ โมหะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย มลทินในภายใน ๓ ประการนี้แล เป็น อมิตร เป็นศัตรู เป็นผู้ฆ่า เป็นข้าศึกในภายใน ฯ โลภะให้เกิดความฉิบหายโลภะทำจิตให้กำเริบชนไม่รู้สึกโลภะ นั้นอันเกิดแล้วในภายในว่าเป็นภัย คนโลภย่อมไม่รู้ประโยชน์ ย่อมไม่เห็นธรรม โลภะย่อมครอบงำนรชนในขณะนั้น ความ มืดตื้อย่อมมีในขณะนั้น ก็ผู้ใดละความโลภได้ขาด ย่อมไม่โลภ ในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความโลภ ความโลภอันอริยมรรคย่อม ละเสียได้จากบุคคลนั้น เปรียบเหมือนหยดน้ำตกไปจาก ใบบัวฉะนั้น โทสะให้เกิดความฉิบหาย โทสะทำจิต ให้กำเริบ ชนไม่รู้จักโทสะนั้นอันเกิดในภายในว่าเป็นภัย คนโกรธย่อมไม่รู้จักประโยชน์ ย่อมไม่เห็นธรรม โทสะ ย่อมครอบงำนรชนในขณะใด ความมืดตื้อย่อมมีในขณะ นั้น ก็บุคคลใดละโทสะได้ขาด ย่อมไม่ประทุษร้ายใน อารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความประทุษร้าย โทสะอันอริยมรรค ย่อมละเสียได้จากบุคคลนั้น เปรียบเหมือนผลตาลสุกหลุด จากขั้วฉะนั้น โมหะให้เกิดความฉิบหาย โมหะทำจิต ให้กำเริบ ชนไม่รู้สึกโมหะนั้นอันเกิดในภายในว่าเป็นภัย คนหลงย่อมไม่รู้จักประโยชน์ ย่อมไม่เห็นธรรม โมหะ ย่อมครอบงำนรชนในขณะใด ความมืดตื้อย่อมมีในขณะ นั้น ก็บุคคลใดละโมหะได้ขาด ย่อมไม่หลงในอารมณ์ เป็นที่ตั้งแห่งความหลง บุคคลนั้นย่อมกำจัดความหลงได้ ทั้งหมด เปรียบเหมือนพระอาทิตย์อุทัยขจัดมืดฉะนั้น ฯ
จบสูตรที่ ๙

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๖๒๐๑-๖๒๒๖ หน้าที่ ๒๗๓-๒๗๔. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=6201&Z=6226&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=25&A=6201&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=203              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=268              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=25&A=6104              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=27&A=6877              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=25&A=6104              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=27&A=6877              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_25              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/iti/iti.3.050-099.than.html#iti-088 https://suttacentral.net/iti88/en/ireland https://suttacentral.net/iti88/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]