ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
สารีปุตตสูตรที่ ๑๖
(ท่านพระสารีบุตรทูลถามว่า) [๔๒๓] พระศาสดาผู้มีพระวาจาไพเราะอย่างนี้ เสด็จมาแต่ชั้นดุสิต สู่แผ่นดิน ข้าพระองค์ยังไม่ได้เห็นหรือไม่ได้ยินต่อใครๆ ใน กาลก่อนแต่นี้เลย พระองค์ผู้มีพระจักษุ ย่อมปรากฏแก่มนุษย์ ทั้งหลาย เหมือนปรากฏแก่โลกพร้อมด้วยเทวดา ฉะนั้น พระองค์ผู้เดียวบรรเทาความมืดได้ทั้งหมด ทรงถึงความยินดี ในเนกขัมมะ ศิษย์ทั้งหลายมีกษัตริย์เป็นต้นเป็นอันมาก มา เฝ้าพระองค์ผู้เป็นพุทธะ ผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยแล้ว ผู้ คงที่ ไม่หลอกลวง เสด็จมาแล้วสู่แผ่นดิน ณ เมืองสังกัสสะ นี้ ด้วยปัญหามีอยู่ เมื่อภิกษุเกลียดชังแต่ทุกข์มีชาติเป็นต้น อยู่ เสพที่นั่งอันสงัด คือ โคนไม้ ป่าช้า หรือที่นั่งอันสงัด ในถ้ำแห่งภูเขา ในที่นอนอันเลวและประณีต ความขลาด กลัวซึ่งเป็นเหตุจะไม่ทำให้ภิกษุหวั่นไหว ในที่นอนและที่นั่ง อันไม่มีเสียงกึกก้องนั้น มีประมาณเท่าไร อันตรายในโลก ของภิกษุผู้จะไปยังทิศที่ไม่เคยไป ซึ่งภิกษุจะพึงครอบงำเสีย ในที่นอนและที่นั่งอันสงัด มีประมาณเท่าไร ภิกษุนั้นพึงมี ถ้อยคำอย่างไร พึงมีโคจรในโลกนี้อย่างไร ภิกษุผู้มีใจเด็ด เดี่ยว พึงมีศีลและวัตรอย่างไร สมาทานสิกขาอะไร จึงเป็น ผู้มีจิตแน่วแน่ มีปัญญารักษาตน มีสติ พึงกำจัดมลทิน ของตน เหมือนนายช่างทองกำจัดมลทินของทอง ฉะนั้น ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสารีบุตร ถ้าว่าธรรมเป็นเครื่องอยู่สำราญ และธรรมที่สมควรนี้ใด ของภิกษุผู้เกลียดชังแต่ทุกข์มีชาติเป็นต้น ผู้ใคร่จะตรัสรู้ เสพอยู่ซึ่งที่นั่งและที่นอนอันสงัดมีอยู่ไซร้ เราจะกล่าวธรรม เป็นเครื่องอยู่สำราญและธรรมที่สมควรนั่นตามที่รู้ แก่เธอ ภิกษุผู้เป็นปราชญ์ มีสติ ประพฤติอยู่ในเขตแดนของตน ไม่พึงกลัวแต่ภัย ๕ อย่าง คือ เหลือบ ยุง สัตว์เสือกคลาน ผัสสะแห่งมนุษย์ (มีมนุษย์ผู้เป็นโจรเป็นต้น) สัตว์สี่เท้า ภิกษุผู้แสวงหากุศลธรรมอยู่เนืองๆ ไม่พึงสะดุ้งแม้ต่อเหล่า- ชนผู้ประพฤติธรรมอื่นนอกจากสหธรรมิก แม้ได้เห็นเหตุ การณ์อันนำมาซึ่งความขลาดเป็นอันมากของชนเหล่านั้น และ อันตรายเหล่าอื่น ก็พึงครอบงำเสียได้ ภิกษุอันผัสสะแห่งโรค คือ ความหิว เย็นจัด ร้อนจัด ถูกต้องแล้ว พึงอดกลั้นได้ ภิกษุนั้นเป็นผู้อันโรคเหล่านั้นถูกต้องแล้วด้วยอาการต่างๆ ก็ มิได้ทำโอกาสให้แก่อภิสังขารเป็นต้น พึงบากบั่นกระทำความ เพียรให้มั่นคงไม่พึงกระทำการขโมย ไม่พึงกล่าวคำมุสา พึง แผ่เมตตาไปยังหมู่สัตว์ทั้งที่สะดุ้งและมั่นคง ในกาลใด พึง รู้เท่าความที่ใจเป็นธรรมชาติขุ่นมัว ในกาลนั้น พึงบรรเทา เสียด้วยคิดว่า นี้เป็นฝักฝ่ายแห่งธรรมดำ ไม่พึงลุอำนาจแห่ง ความโกรธและการดูหมิ่นผู้อื่น พึงขุดรากเหง้าแห่งความโกรธ และการดูหมิ่นผู้อื่นเหล่านั้นแล้วดำรงอยู่ เมื่อจะครอบงำ ก็พึงครอบงำความรักหรือความไม่รักเสียโดยแท้ ภิกษุผู้ประ- กอบด้วยปีติอันงาม มุ่งบุญเป็นเบื้องหน้าพึงข่มอันตรายเหล่า นั้นเสีย พึงครอบงำความไม่ยินดีในที่นอนอันสงัด พึงครอบงำ ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความร่ำไรทั้ง ๔ อย่าง ผู้เป็นเสขะ ไม่มี ความกังวลเที่ยวไป พึงปราบวิตกอันเป็นที่ตั้งแห่งความร่ำไร เหล่านี้ว่าเราจักบริโภคอะไร หรือว่าเราจักบริโภคที่ไหน เมื่อ คืนนี้เรานอนเป็นทุกข์นัก ค่ำวันนี้เราจักนอนที่ไหน ภิกษุนั้น ได้ข้าวและที่อยู่ในกาลแล้วพึงรู้จักประมาณ (ในกาลรับและ ในกาลบริโภค) เพื่อความสันโดษในศาสนานี้ ภิกษุนั้น คุ้มครองแล้วในปัจจัยเหล่านั้น สำรวมระวังเที่ยวไปในบ้าน ถึงใครๆ ด่าว่าเสียดสีก็ไม่พึงกล่าววาจาหยาบ พึงเป็นผู้มีจักษุ ทอดลงและไม่พึงโลเลด้วยเท้า พึงเป็นผู้ขวนขวายในฌาน เป็นผู้ตื่นอยู่โดยมาก ปรารภอุเบกขา มีจิตตั้งมั่นดี พึงตัดเสีย ซึ่งธรรมเป็นที่อยู่แห่งวิตกและความคะนอง ภิกษุผู้อัน อุปัชฌายะเป็นต้นตักเตือนแล้วด้วยวาจา พึงเป็นผู้มีสติยินดี รับคำตักเตือนนั้น พึงทำลายตะปู คือความโกรธในสพรหม- จารีทั้งหลาย พึงเปล่งวาจาอันเป็นกุศล ไม่ให้ล่วงเวลา ไม่ พึงคิดในการกล่าวติเตียนผู้อื่น ต่อแต่นั้น พึงเป็นผู้มีสติ ศึกษาเพื่อปราบธุลี ๕ อย่างในโลก ครอบงำความกำหนัดยินดี ในรูป เสียง กลิ่น รส และผัสสะ ครั้นปราบความ พอใจในธรรมเหล่านี้ได้แล้ว พึงเป็นผู้มีสติ มีจิตหลุดพ้น ด้วยดี พิจารณาธรรมอยู่โดยชอบ โดยกาลอันสมควร มีจิตแน่วแน่ พึงกำจัดความมืดเสียได้ ฉะนี้แล ฯ
จบสารีปุตตสูตรที่ ๑๖
จบอัฏฐกวรรคที่ ๔
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. กามสูตร ๒. คุหัฏฐกสูตร ๓. ทุฏฐัฏฐสูตร ๔. สุทธัฏฐกสูตร ๕. ปรมัฏฐกสูตร ๖. ชราสูตร ๗. ติสสเมตเตยยสูตร ๘. ปสูรสูตร ๙. มาคันทิยสูตร ๑๐. ปุราเภทสูตร ๑๑. กลหวิวาทสูตร ๑๒. จูฬวิยูหสูตร ๑๓. มหาวิยูหสูตร ๑๔. ตุวฏกสูตร ๑๕. อัตตทัณฑสูตร ๑๖. สารีปุตตสูตร
พระสูตรเหล่านี้ทั้งหมดมี ๘ วรรค ด้วยประการฉะนี้ ฯ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๑๐๗๓๕-๑๐๘๐๙ หน้าที่ ๔๖๔-๔๖๗. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=10735&Z=10809&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=25&A=10735&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=281              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=423              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=25&A=10794              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=29&A=9323              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=25&A=10794              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=29&A=9323              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_25              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/25i408-e.php#sutta16 https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/snp/snp.4.16.than.html https://suttacentral.net/snp4.16/en/mills https://suttacentral.net/snp4.16/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]