ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
ตุวฏกสูตรที่ ๑๔
พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า [๔๒๑] ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ ผู้- สงัด และมีความสงบเป็นที่ตั้ง ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ ภิกษุ เห็นอย่างไรจึงไม่ถือมั่นธรรมอะไรๆ ในโลก ย่อมดับ ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ภิกษุพึงปิดกั้นเสียซึ่งธรรมทั้งปวง อันเป็นรากเหง้าแห่งส่วน ของธรรมเป็นเครื่องยังสัตว์ให้เนิ่นช้าซึ่งเป็นไปอยู่ว่า เป็นเรา ด้วยปัญญา ตัณหาอย่างใดอย่างหนึ่งพึงบังเกิดขึ้น ณ ภายใน ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติศึกษาทุกเมื่อ เพื่อปราบตัณหาเหล่านั้น ภิกษุพึงรู้ยิ่งธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ณ ภายใน หรือภายนอก ไม่พึงกระทำความถือตัวด้วยธรรมนั้น สัตบุรุษทั้งหลายไม่ กล่าวความดับนั้นเลย ภิกษุไม่พึงสำคัญว่า เราเป็นผู้ประเสริฐ กว่าเขา เสมอเขาหรือเลวกว่าเขา ด้วยความถือตัวนั้น ถูกผู้อื่นถามด้วยคุณหลายประการ ก็ไม่พึงกำหนดตนตั้งอยู่ โดยนัยเป็นต้นว่า เราบวชแล้วจากสกุลสูง ภิกษุพึงสงบ ระงับภายในเทียว ไม่พึงแสวงหาความสงบโดยอุบายอย่างอื่น ความเห็นว่าตัวตน ย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้สงบแล้ว ณ ภายใน อนึ่ง ความเห็นว่าไม่มีตัวตน คือ เห็นว่าขาดสูญ จักมีแต่ ที่ไหน คลื่นไม่เกิดที่ท่ามกลางแห่งสมุทร สมุทรนั้นตั้งอยู่ ไม่หวั่นไหว ฉันใด ภิกษุพึงเป็นผู้มั่นคง ไม่หวั่นไหวใน อิฐผลมีลาภเป็นต้น ฉันนั้น ภิกษุไม่พึงกระทำกิเลสเครื่อง ฟูขึ้นมีราคะเป็นต้น ในอารมณ์ไหนๆ ฯ พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้มีจักษุเปิดแล้ว ขอพระองค์ได้ตรัสบอก ธรรมที่ทรงเห็นด้วยพระองค์เองอันนำเสียซึ่งอันตราย (ขอ พระองค์จงมีความเจริญ) ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์ จงตรัสบอกข้อปฏิบัติ และศีลเครื่องให้ผู้รักษาพ้นจากทุกข์ หรือสมาธิเถิด ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ภิกษุไม่พึงเป็นผู้โลเลด้วยจักษุเลย พึงปิดกั้นโสตเสียจาก ถ้อยคำของชาวบ้าน (ดิรัจฉานกถา) ไม่พึงกำหนัดยินดีในรส และไม่พึงถือสิ่งอะไรๆ ในโลกว่าเป็นของเรา เมื่อตนอัน ผัสสะถูกต้องแล้ว ในกาลใด ในกาลนั้น ภิกษุไม่พึงกระทำ ความร่ำไร ไม่พึงปรารถนาภพในที่ไหนๆ และไม่พึงหวั่นไหว ในเพราะอารมณ์ที่น่ากลัว ภิกษุได้ข้าว น้ำ ของเคี้ยว หรือ แม้ผ้าแล้ว ไม่พึงกระทำการสั่งสมไว้และเมื่อไม่ได้สิ่งเหล่า นั้น ก็ไม่พึงสะดุ้งดิ้นรน พึงเป็นผู้เพ่งฌาน ไม่พึงโลเล ด้วยการเที่ยว พึงเว้นจากความคะนอง ไม่พึงประมาท อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุพึงอยู่ในที่นั่งและที่นอนอันเงียบเสียง ไม่ พึงนอนมาก พึงมีความเพียร เสพความเป็นผู้ตื่นอยู่พึงละเสีย ให้เด็ดขาดซึ่งความเกียจคร้าน ความล่อลวง ความร่าเริง การ เล่นเมถุนธรรมกับทั้งการประดับ ภิกษุผู้นับถือพระพุทธเจ้าว่า เป็นของเรา ไม่พึงประกอบอาถรรพ์ ตำราทำนายฝัน ทำนาย ลักษณะนักขัตฤกษ์ การทำนายเสียงสัตว์ร้อง การทำยาให้ หญิงมีครรภ์ และการเยียวยารักษา ภิกษุไม่พึงหวั่นไหว เพราะนินทา เมื่อเขาสรรเสริญก็ไม่พึงเห่อเหิม พึงบรรเทา ความโลภ พร้อมทั้งความตระหนี่ ความโกรธและคำส่อเสียด เสีย ภิกษุไม่พึงขวนขวายในการซื้อการขาย ไม่พึงกระทำ การกล่าวติเตียนในที่ไหนๆ และไม่พึงคลุกคลีในชาวบ้าน ไม่พึงเจรจากะชนเพราะความใคร่ลาภ ภิกษุไม่พึงเป็นผู้พูด โอ้อวด ไม่พึงกล่าววาจาประกอบปัจจัยมีจีวรเป็นต้น ไม่พึง ศึกษาความเป็นผู้คะนอง ไม่พึงกล่าวถ้อยคำเถียงกัน ภิกษุ พึงเป็นผู้มีสัมปชัญญะ ไม่พึงนิยมในการกล่าวมุสา ไม่พึง กระทำความโอ้อวด อนึ่ง ไม่พึงดูหมิ่นผู้อื่นด้วยความเป็นอยู่ ปัญญา ศีลและพรต ภิกษุถูกผู้อื่นเสียดสีแล้ว ได้ฟังวาจา มากของสมณะทั้งหลายหรือของชนผู้พูดมาก ไม่พึงโต้ตอบ ด้วยคำหยาบ เพราะสัตบุรุษทั้งหลายย่อมไม่กระทำความเป็น ข้าศึก ภิกษุรู้ทั่วถึงธรรมนี้แล้ว ค้นคว้าพิจารณาอยู่ รู้ความ ดับกิเลสว่าเป็นความสงบดังนี้แล้ว พึงเป็นผู้มีสติศึกษา ทุกเมื่อ ไม่พึงประมาทในศาสนาของพระโคดม ก็ภิกษุนั้น พึงเป็นผู้ครอบงำอารมณ์มีรูปเป็นต้น อันอารมณ์มีรูปเป็นต้น ครอบงำไม่ได้ เป็นผู้เห็นธรรมที่ตนเห็นเอง ประจักษ์แก่ตน เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุผู้ไม่ประมาท พึงนอบน้อมศึกษา ไตรสิกขาอยู่เนืองๆ ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคพระองค์ นั้นทุกเมื่อเทอญ ฯ
จบตุวฏกสูตรที่ ๑๔

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๑๐๖๐๘-๑๐๖๗๔ หน้าที่ ๔๕๙-๔๖๒. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=10608&Z=10674&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=25&A=10608&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=279              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=421              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=25&A=10661              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=29&A=9116              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=25&A=10661              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=29&A=9116              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_25              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/25i408-e.php#sutta14 https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/snp/snp.4.14.than.html https://suttacentral.net/snp4.14/en/mills https://suttacentral.net/snp4.14/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]