ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
ทุติยวรรคที่ ๒
[๑๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ถูกทอดทิ้งไว้ในนรก เหมือนสิ่งของที่เขานำมาทอดทิ้งไว้ ธรรม ๑๐ ประการ เป็นไฉน คือ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ๑ ลักทรัพย์ ๑ ประพฤติผิดในกาม ๑ พูดเท็จ ๑ พูดส่อเสียด ๑ พูดคำหยาบ ๑ พูดเพ้อเจ้อ ๑ อยากได้ของผู้อื่น ๑ มีจิตปองร้าย ๑ มีความเห็นผิด ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล เป็นผู้ถูกทอดทิ้งไว้ในนรก เหมือนสิ่งของที่เขานำมาทอดทิ้งไว้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการเป็นผู้ถูกเชิญ มาไว้ในสวรรค์ เหมือนสิ่งของที่เขานำมาประดิษฐานไว้ ธรรม ๑๐ ประการ เป็นไฉน คือ เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ๑ จากการลักทรัพย์ ๑ จากการ ประพฤติผิดในกาม ๑ จากการพูดเท็จ ๑ จากการพูดส่อเสียด ๑ จากการพูด คำหยาบ ๑ จากการพูดเพ้อเจ้อ ๑ ไม่อยากได้ของผู้อื่น ๑ มีจิตไม่ปองร้าย ๑ มีความเห็นชอบ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ นี้แล ย่อมเป็นผู้ถูกเชิญมาไว้ในสวรรค์ เหมือนสิ่งของที่เขานำมาประดิษฐานไว้ ฯ [๑๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการ เป็นผู้ถูกทอดทิ้งไว้ในนรก เหมือนสิ่งของที่เขานำมาทอดทิ้งไว้ ๒๐ ประการ เป็นไฉน คือ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการฆ่าสัตว์ ๑ ลักทรัพย์ด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการลักทรัพย์ ๑ ประพฤติผิดในกามด้วย ตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการประพฤติผิดในกาม ๑ พูดเท็จด้วยตนเอง ๑ ชักชวน ผู้อื่นในการพูดเท็จ ๑ พูดส่อเสียดด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการพูดส่อเสียด ๑ พูดคำหยาบด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการพูดคำหยาบ ๑ พูดเพ้อเจ้อด้วย ตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการพูดเพ้อเจ้อ ๑ อยากได้ของผู้อื่นด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการอยากได้ของผู้อื่น ๑ คิดปองร้ายด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่น ในการปองร้าย ๑ มีความเห็นผิดด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการเห็นผิด ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการนี้แล เป็นผู้ถูกทอดทิ้ง ไว้ในนรก เหมือนสิ่งของที่เขานำมาทอดทิ้งไว้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการ เป็นผู้ถูก เชิญมาไว้ในสวรรค์ เหมือนสิ่งของที่เขานำมาประดิษฐานไว้ ๒๐ ประการเป็นไฉน คือเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการเว้นจากฆ่าสัตว์ ๑ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการเว้นจากการลักทรัพย์ ๑ เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกามด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการเว้นจากการ ประพฤติผิดในกาม ๑ เว้นขาดจากการพูดเท็จด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการ เว้นจากการพูดเท็จ ๑ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียดด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่น ในการเว้นจากการพูดส่อเสียด ๑ เว้นขาดจากการพูดคำหยาบด้วยตนเอง ๑ ชักชวน ผู้อื่นในการเว้นจากการพูดคำหยาบ ๑ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการเว้นจากการพูดคำเพ้อเจ้อ ๑ ไม่อยากได้ของผู้อื่นด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการไม่อยากได้ของผู้อื่น ๑ ไม่คิดปองร้ายด้วยตนเอง ๑ ชักชวน ผู้อื่นในการไม่ปองร้าย ๑ เห็นชอบด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการเห็นชอบ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการนี้แล เป็นผู้ถูกเชิญ มาไว้ในสวรรค์ เหมือนสิ่งของที่เขานำมาประดิษฐานไว้ ฯ [๒๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการ เป็นผู้ถูกทอดทิ้งไว้ในนรก เหมือนสิ่งของที่นำเขามาทอดทิ้งไว้ ธรรม ๓๐ ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการฆ่าสัตว์ ๑ พอใจในการฆ่าสัตว์ ๑ ลักทรัพย์ด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการลักทรัพย์ ๑ พอใจในการลักทรัพย์ ๑ ประพฤติผิดในกามด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการ ประพฤติผิดในกาม ๑ พอใจในการประพฤติผิดในกาม ๑ พูดเท็จด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการพูดเท็จ ๑ พอใจการพูดเท็จ ๑ พูดส่อเสียดด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการพูดส่อเสียด ๑ พอใจในการพูดส่อเสียด ๑ พูดคำหยาบด้วย ตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการพูดคำหยาบ ๑ พอใจในการพูดคำหยาบ ๑ พูดเพ้อเจ้อด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการพูดเพ้อเจ้อ ๑ พอใจในการพูดเพ้อเจ้อ ๑ อยากได้ของผู้อื่นด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการอยากได้ของผู้อื่น ๑ พอใจ ในการอยากได้ของผู้อื่น ๑ มีจิตคิดปองร้ายด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการ ปองร้าย ๑ พอใจในการปองร้าย ๑ มีความเห็นผิดด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่น ในการเห็นผิด ๑ พอใจในความเห็นผิด ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบ ด้วยธรรม ๓๐ ประการนี้แล เป็นผู้ถูกทอดทิ้งไว้ในนรก เหมือนสิ่งของที่เขานำ มาทอดทิ้งไว้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการเป็นผู้ถูกเชิญ มาไว้ในสวรรค์ เหมือนสิ่งของที่เขานำมาประดิษฐานไว้ ธรรม ๓๐ ประการ เป็นไฉน คือ เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการ เว้นจากการฆ่าสัตว์ ๑ พอใจในการเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๑ เว้นขาดจากการ ลักทรัพย์ด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการเว้นจากการลักทรัพย์ ๑ พอใจในการ เว้นจากการลักทรัพย์ ๑ เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกามด้วยตนเอง ๑ ชักชวน ผู้อื่นในการเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ๑ พอใจในการเว้นจากการประพฤติผิด ในกาม ๑ เว้นขาดจากการพูดเท็จด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการเว้นจากการ พูดเท็จ ๑ พอใจในการเว้นจากการพูดเท็จ ๑ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียดด้วย ตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการเว้นจากการพูดส่อเสียด ๑ พอใจในการเว้นจากการ พูดส่อเสียด ๑ เว้นขาดจากการพูดคำหยาบด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการเว้น จากการพูดคำหยาบ ๑ พอใจในการเว้นจากการพูดคำหยาบ ๑ เว้นขาดจากการพูด เพ้อเจ้อด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ๑ พอใจในการ เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ๑ ไม่อยากได้ของผู้อื่นด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการ ไม่อยากได้ของผู้อื่น ๑ พอใจในการไม่อยากได้ของผู้อื่น ๑ มีจิตไม่ปองร้ายด้วย ตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการไม่ปองร้าย ๑ พอใจในการไม่ปองร้าย ๑ มีความ เห็นชอบด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการเห็นชอบ ๑ พอใจในการเห็นชอบ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการนี้แล เป็นผู้ถูกเชิญมา ไว้ในสวรรค์ เหมือนสิ่งของที่เขานำมาประดิษฐานไว้ ฯ [๒๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการ เป็นผู้ถูกทอดทิ้งไว้ในนรก เหมือนสิ่งของที่เขานำมาทอดทิ้งไว้ ธรรม ๔๐ ประการ เป็นไฉน คือ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการฆ่าสัตว์ ๑ พอใจ ในการฆ่าสัตว์ ๑ กล่าวสรรเสริญการฆ่าสัตว์ ๑ ลักทรัพย์ด้วยตนเอง ๑ ชักชวน ผู้อื่นในการลักทรัพย์ ๑ พอใจในการลักทรัพย์ ๑ กล่าวสรรเสริญการลักทรัพย์ ๑ ประพฤติผิดในกามด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการประพฤติผิดในกาม ๑ พอใจ ในการประพฤติผิดในกาม ๑ กล่าวสรรเสริญการประพฤติผิดในกาม ๑ พูดเท็จ ด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการพูดเท็จ ๑ พอใจในการพูดเท็จ ๑ กล่าว สรรเสริญการพูดเท็จ ๑ พูดส่อเสียดด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการพูด- *ส่อเสียด ๑ พอใจในการพูดส่อเสียด ๑ กล่าวสรรเสริญการพูดส่อเสียด ๑ พูดคำหยาบด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการพูดคำหยาบ ๑ พอใจในการพูด คำหยาบ ๑ กล่าวสรรเสริญการพูดคำหยาบ ๑ พูดเพ้อเจ้อด้วยตนเอง ๑ ชักชวน ผู้อื่นในการพูดเพ้อเจ้อ ๑ พอใจในการพูดเพ้อเจ้อ ๑ กล่าวสรรเสริญการพูด เพ้อเจ้อ ๑ อยากได้ของผู้อื่นด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการอยากได้ของผู้อื่น ๑ พอใจในการอยากได้ของผู้อื่น ๑ กล่าวสรรเสริญการอยากได้ของผู้อื่น ๑ มีจิต ปองร้ายด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการปองร้าย ๑ พอใจในการปองร้าย ๑ กล่าวสรรเสริญการปองร้าย ๑ มีความเห็นผิดด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในความ เห็นผิด ๑ พอใจในความเห็นผิด ๑ กล่าวสรรเสริญความเห็นผิด ๑ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการนี้แล เป็นผู้ถูกทอดทิ้งไว้ในนรก เหมือนสิ่งของที่เขานำมาทอดทิ้งไว้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการ เป็นผู้ถูก เชิญมาไว้ในสวรรค์ ธรรม ๔๐ ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้เว้นจากการฆ่าสัตว์ ด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๑ พอใจในการเว้นจากการ ฆ่าสัตว์ ๑ กล่าวสรรเสริญการเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๑ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ ด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการเว้นจากการลักทรัพย์ ๑ พอใจในการเว้นจาก การลักทรัพย์ ๑ กล่าวสรรเสริญการเว้นจากการลักทรัพย์ ๑ เว้นขาดจากการ ประพฤติผิดในกามด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการเว้นจากการประพฤติผิดใน กาม ๑ พอใจในการเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ๑ กล่าวสรรเสริญการเว้นจากการ ประพฤติผิดในกาม ๑ เว้นขาดจากการพูดเท็จด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการ เว้นจากการพูดเท็จ ๑ พอใจในการเว้นจากการพูดเท็จ ๑ กล่าวสรรเสริญการเว้น จากการพูดเท็จ ๑ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียดด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการ เว้นจากการพูดส่อเสียด ๑ พอใจในการเว้นจากการพูดส่อเสียด ๑ กล่าวสรรเสริญ การเว้นจากการพูดส่อเสียด ๑ เว้นขาดจากการพูดคำหยาบด้วยตนเอง ๑ ชักชวน ผู้อื่นในการเว้นจากการพูดคำหยาบ ๑ พอใจในการเว้นจากการพูดคำหยาบ ๑ กล่าวสรรเสริญการเว้นจากการพูดคำหยาบ ๑ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อด้วย ตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ๑ พอใจในการเว้นจากการ พูดเพ้อเจ้อ ๑ กล่าวสรรเสริญการเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ๑ ไม่อยากได้ของผู้อื่น ด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการไม่อยากได้ของผู้อื่น ๑ พอใจในการไม่อยากได้ ของผู้อื่น ๑ กล่าวสรรเสริญการไม่อยากได้ของผู้อื่น ๑ มีจิตไม่ปองร้ายด้วย ตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการไม่ปองร้าย ๑ พอใจในการไม่ปองร้าย ๑ กล่าว สรรเสริญการไม่ปองร้าย ๑ มีความเห็นชอบด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในความ เห็นชอบ ๑ พอใจในความเห็นชอบ ๑ กล่าวสรรเสริญความเห็นชอบ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการนี้แล เป็นผู้ถูกเชิญมา ไว้ในสวรรค์ เหมือนสิ่งของที่เขานำมาประดิษฐานไว้ ฯ [๒๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัดถูกทำลาย ธรรม ๑๐ ประการเป็นไฉน คือเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ มีความเห็นผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ นี้แล ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมบริหาร ตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ธรรม ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้เว้น ขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ มีความเห็นชอบ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบ ด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการ ย่อมบริหาร ตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย ธรรม ๒๐ ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ด้วย ตนเอง ฯลฯ ชักชวนผู้อื่นในความเห็นผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบ ด้วยธรรม ๒๐ ประการนี้แล ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการ ย่อมบริหาร ตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ธรรม ๒๐ ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้เว้น ขาดจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ฯลฯ ชักชวนผู้อื่นในความเห็นชอบ ดูกรภิกษุ- *ทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการนี้แล ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูก กำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการ ย่อมบริหาร ตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย ธรรม ๓๐ ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ด้วย ตนเอง ฯลฯ พอใจในความเห็นผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วย ธรรม ๓๐ ประการนี้แล ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการ ย่อม- *บริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ธรรม ๓๐ ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ฯลฯ พอใจในความเห็นชอบ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการนี้แล ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูก กำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการ ย่อมบริหาร ตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย ธรรม ๔๐ ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ด้วย ตนเอง ฯลฯ กล่าวสรรเสริญความเห็นผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบ ด้วยธรรม ๔๐ ประการนี้แล ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการ ย่อมบริหาร ตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ธรรม ๔๐ ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้เว้น ขาดจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ฯลฯ กล่าวสรรเสริญความเห็นชอบ ดูกรภิกษุ- *ทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการนี้แล ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูก กำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ฯ
จบทุติยวรรคที่ ๒
-----------------------------------------------------
ตติยวรรคที่ ๓
[๒๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอุบาย ทุคติ วินิบาต นรก ธรรม ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ มีความเห็นผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ธรรม ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้เว้นขาดจาก การฆ่าสัตว์ ฯลฯ มีความเห็นชอบ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วย ธรรม ๑๐ ประการนี้แล เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ธรรม ๒๐ ประการเป็น ไฉน คือ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ฯลฯ ชักชวนผู้อื่นในความเห็นผิด ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการนี้แล เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ธรรม ๒๐ ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้เว้นขาดจาก การฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ฯลฯ ชักชวนผู้อื่นในความเห็นชอบ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการนี้แล เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลก สวรรค์ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ธรรม ๓๐ ประการเป็นไฉน คือเป็นผู้ฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ฯลฯ พอใจในความเห็นผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการนี้แล เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ธรรม ๓๐ ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้เว้นขาดจาก การฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ฯลฯ พอใจในความเห็นชอบ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ผู้ประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการนี้แล เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ธรรม ๔๐ ประการเป็นไฉน คือเป็นผู้ฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ฯลฯ กล่าวสรรเสริญความเห็นผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการนี้แล เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ธรรม ๔๐ ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้เว้นขาดจาก การฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ฯลฯ กล่าวสรรเสริญความเห็นชอบ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ผู้ประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการนี้แล เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลก สวรรค์ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ พึงทราบว่า เป็นพาล ธรรม ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ มีความเห็นผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล พึงทราบว่า เป็นพาล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ พึงทราบ ว่าเป็นบัณฑิต ธรรม ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ มีความเห็นชอบ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการ พึงทราบว่า เป็นคนพาล ธรรม ๒๐ ประการเป็นไฉน คือเป็นผู้ฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ฯลฯ ชักชวนผู้อื่นในความเห็นผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็นคนพาล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการ พึงทราบว่า เป็นบัณฑิต ธรรม ๒๐ ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ด้วยตนเอง ฯลฯ ชักชวนผู้อื่นในความเห็นชอบ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ ประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการ พึงทราบว่า เป็นพาล ธรรม ๓๐ ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ฯลฯ พอใจในความเห็นผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการ นี้แล พึงทราบว่าเป็นคนพาล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการ พึงทราบว่า เป็นบัณฑิต ธรรม ๓๐ ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ด้วยตนเอง ฯลฯ พอใจในความเห็นชอบ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบ ด้วยธรรม ๓๐ ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการ พึงทราบว่า เป็นพาล ธรรม ๔๐ ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ฯลฯ กล่าวสรรเสริญความเห็นผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็นคนพาล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการ พึงทราบว่า เป็นบัณฑิต ธรรม ๔๐ ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ด้วย ตนเอง ฯลฯ กล่าวสรรเสริญความเห็นชอบ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบ ด้วยธรรม ๔๐ ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต ฯ
จบตติยวรรคที่ ๓
[๒๐๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการ อันบุคคลควรเจริญเพื่อ รู้ยิ่งซึ่งราคะ ธรรม ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ อสุภสัญญา ๑ มรณสัญญา ๑ อาหาเร ปฏิกูลสัญญา ๑ สัพพโลเก อนภิรตสัญญา ๑ อนิจจสัญญา ๑ อนิจเจทุกขสัญญา ๑ ทุกเข อนัตตสัญญา ๑ ปหานสัญญา ๑ วิราคสัญญา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้ อันบุคคลควรเจริญ เพื่อรู้ยิ่งซึ่งราคะ ฯ [๒๐๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการ อันบุคคลควรเจริญ เพื่อรู้ยิ่งซึ่งราคะธรรม ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ อนิจจสัญญา ๑ อนัตตสัญญา ๑ อาหาเร ปฏิกูลสัญญา ๑ สัพพโลเก อนภิรตสัญญา ๑ อัฏฐิกสัญญา ๑ ปุฬุวก- *สัญญา ๑ วินีลกสัญญา ๑ วิปุพพกสัญญา ๑ วิจฉิททกสัญญา ๑ อุทธุมาตก- *สัญญา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้ อันบุคคลควรอบรมเพื่อรู้ยิ่ง ซึ่งราคะ ฯ [๒๐๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการ อันบุคคลควรเจริญเพื่อ รู้ยิ่งซึ่งราคะ ธรรม ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ สัมมาทิฏฐิ ๑ สัมมาสังกัปปะ ๑ สัมมาวาจา ๑ สัมมากัมมันตะ ๑ สัมมาอาชีวะ ๑ สัมมาวายามะ ๑ สัมมาสติ ๑ สัมมาสมาธิ ๑ สัมมาญาณะ ๑ สัมมาวิมุติ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้ อันบุคคลควรเจริญเพื่อความรู้ยิ่งซึ่งราคะ ฯ [๒๐๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการ อันบุคคลควรเจริญเพื่อ ความกำหนดรู้ เพื่อความหมดสิ้นไป เพื่อละ เพื่อความสิ้นไป เพื่อความเสื่อมไป เพื่อคลายไป เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อสละ เพื่อความสลัดออกไปซึ่งราคะ ธรรม ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ สัมมาทิฏฐิ ... สัมมาวิมุติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้แล อันบุคคลควรเจริญเพื่อกำหนดรู้ เพื่อความหมดสิ้นไป เพื่อละ เพื่อความสิ้นไป เพื่อความเสื่อมไป เพื่อคลายไป เพื่อดับ เพื่อสงบ ระงับ เพื่อสละ เพื่อสลัดออกไปซึ่งราคะ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการ อันบุคคลควรเจริญเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความหมดสิ้นไป เพื่อละ เพื่อความสิ้นไป เพื่อความเสื่อมไป เพื่อความคลายไป เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อสละ เพื่อความสลัดออกไปซึ่ง โทสะ โมหะ โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปลาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเถยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ ธรรม ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ สัมมาทิฏฐิ ... สัมมาวิมุติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้แล อันบุคคลควรเจริญเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความหมดสิ้น ไป เพื่อละ เพื่อความสิ้นไป เพื่อความเสื่อมไป เพื่อความคลายไป เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อสละ เพื่อความสลัดออกไปซึ่งโทสะ โมหะ โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปลาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเถยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ ฯ
จบปัญจมปัณณาสก์ที่ ๕
จบทสกนิบาต
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ บรรทัดที่ ๗๒๕๖-๗๕๒๐ หน้าที่ ๓๑๖-๓๒๗. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=24&A=7256&Z=7520&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=24&A=7256&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=24&siri=196              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=198              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=24&A=6883              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=8550              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=24&A=6883              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=8550              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i198-e.php# https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i198-02-e.php# https://suttacentral.net/an10.221/en/sujato https://suttacentral.net/an10.222/en/sujato https://suttacentral.net/an10.223/en/sujato https://suttacentral.net/an10.224/en/sujato https://suttacentral.net/an10.225-228/en/sujato https://suttacentral.net/an10.229-232/en/sujato https://suttacentral.net/an10.233-236/en/sujato https://suttacentral.net/an10.237/en/sujato https://suttacentral.net/an10.237/en/bodhi https://suttacentral.net/an10.238/en/sujato https://suttacentral.net/an10.238/en/bodhi https://suttacentral.net/an10.239/en/sujato https://suttacentral.net/an10.239/en/bodhi https://suttacentral.net/an10.240-266/en/sujato https://suttacentral.net/an10.240-266/en/bodhi https://suttacentral.net/an10.267-746/en/sujato https://suttacentral.net/an10.267-746/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]