ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
มหาปัญหาสูตรที่ ๑
[๒๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้นนั้นแล เป็นเวลาเช้า ภิกษุเป็นอันมากนุ่งสบงแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตในนครสาวัตถี ลำดับนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า การจะเที่ยวไปบิณฑบาตในเมือง สาวัตถีก็ยังเช้านัก ผิฉะนั้น พวกเราพึงเข้าไปยังอารามของพวกอัญญเดียรถีย์ ปริพาชกเถิด ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นได้เข้าไปยังอารามของพวกอัญญเดียรถีย์ ปริพาชก ได้ปราศรัยกับอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น ครั้นผ่านการปราศรัย พอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พวกอัญญเดียรถีย์ ปริพาชกได้กล่าวกะภิกษุเหล่านั้นว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมณโคดม ย่อมทรงแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย มาเถิด เธอ ทั้งหลายพึงรู้ยิ่งธรรมทั้งปวง ครั้นรู้ยิ่งๆ ธรรมทั้งปวงแล้วจงอยู่เถิด ดังนี้ ดูกร ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย แม้เราทั้งหลายก็แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย มาเถิด ท่านทั้งหลายจงรู้ยิ่งธรรมทั้งปวง ครั้นรู้ยิ่งๆ ธรรมทั้งปวงแล้ว จงอยู่เถิด ดังนี้ ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ในธรรมเทศนา หรืออนุศาสนีนี้ จะผิดแผกแตกต่างกันอย่างไรเล่า คือธรรมเทศนากับธรรมเทศนา หรืออนุศาสนีกับอนุศาสนี ของพระสมณโคดมหรือของพวกเรา ครั้นนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นไม่ยินดี ไม่คัดค้านภาษิตของอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น ครั้นแล้ว ลุกจากอาสนะหลีกไป ด้วยคิดว่า เราทั้งหลายจักรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตนี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาค ครั้นนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นเที่ยวบิณฑบาตในนครสาวัตถี แล้ว เวลาปัจฉาภัต กลับจากบิณฑบาตแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ณ ที่ ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเช้านี้ ข้าพระองค์ทั้งหลายนุ่ง สบงแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตในนครสาวัตถี ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ได้มีความคิดดังนี้ว่า การจะเที่ยวไปบิณฑบาตในนครสาวัตถีก็ยัง เช้านัก ผิฉะนั้น พวกเราพึงเข้าไปยังอารามของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเถิด พวกข้าพระองค์ได้เข้าไปยังอารามของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ได้ปราศรัยกับ พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันแล้ว ได้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น ได้กล่าวกะข้าพระองค์ทั้งหลายว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมณโคดมย่อม ทรงแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย มาเถิด เธอทั้งหลาย จงรู้ยิ่งธรรมทั้งปวง ครั้นรู้ยิ่งๆ ธรรมทั้งปวงแล้ว จงอยู่เถิด ดังนี้ ดูกรท่านผู้มี อายุทั้งหลาย แม้เราทั้งหลายก็แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้มี อายุทั้งหลาย มาเถิด ท่านทั้งหลายจงรู้ยิ่งธรรมทั้งปวง ครั้นรู้ยิ่งๆ ธรรมทั้งปวง แล้ว จงอยู่เถิด ดังนี้ ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ในธรรมเทศนาหรืออนุศาสนีนี้ จะผิดแผกแตกต่างกันอย่างไรเล่า คือ ธรรมเทศนากับธรรมเทศนา หรืออนุศาสนี กับอนุศาสนี ของพระสมณโคดมหรือของพวกเรา ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้งนั้นแล ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่ได้ยินดี ไม่ได้คัดค้าน ภาษิตของอัญญเดียรถีย์ปริพาชก เหล่านั้น ครั้นแล้วลุกจากอาสนะหลีกไป ด้วยคิดว่า เราทั้งหลายจักรู้ทั่วถึง เนื้อความแห่งภาษิตนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาค ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก มีวาทะอย่างนี้ เธอทั้งหลายพึงถามอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ปัญหา ๑ อุเทศ ๑ ไวยากรณ์ ๑ ปัญหา ๒ อุเทศ ๒ ไวยากรณ์ ๒ ปัญหา ๓ อุเทศ ๓ ไวยากรณ์ ๓ ปัญหา ๔ อุเทศ ๔ ไวยากรณ์ ๔ ปัญหา ๕ อุเทศ ๕ ไวยากรณ์ ๕ ปัญหา ๖ อุเทศ ๖ ไวยากรณ์ ๖ ปัญหา ๗ อุเทศ ๗ ไวยากรณ์ ๗ ปัญหา ๘ อุเทศ ๘ ไวยากรณ์ ๘ ปัญหา ๙ อุเทศ ๙ ไวยากรณ์ ๙ ปัญหา ๑๐ อุเทศ ๑๐ ไวยากรณ์ ๑๐ เป็นอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกถูกถาม อย่างนี้แล้ว จักไม่ยังพยากรณ์ให้ถึงพร้อมได้ จักถึงความลำบากแม้อย่างยิ่ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพวกอัญญเดียรย์ปริพาชกนั้นถูกถามในปัญหาอันมิใช่ วิสัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่ สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เราย่อมไม่เห็นบุคคลที่จะยังจิตให้ ยินดีได้ด้วยการพยากรณ์ปัญหาเหล่านี้ เว้นจากตถาคตหรือสาวกตถาคต หรือผู้ที่ ฟังจากสาวกของตถาคตนี้ ก็คำที่เรากล่าวว่า ปัญหา ๑ อุเทศ ๑ ไวยากรณ์ ๑ ดังนี้ เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลาย กำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์ โดยชอบ ในธรรมอย่างหนึ่ง ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน ในธรรม อย่างหนึ่งเป็นไฉน คือ สัตว์ทั้งปวงเป็นผู้มีอาหารเป็นที่ตั้ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็น ที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรมอย่างหนึ่งนี้แล ย่อมเป็นผู้ทำ ที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน คำที่เรากล่าวว่า ปัญหา ๑ อุเทศ ๑ ไวยากรณ์ ๑ ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ ก็คำที่เรากล่าวว่า ปัญหา ๒ อุเทศ ๒ ไวยากรณ์ ๒ ดังนี้ เราอาศัย อะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๒ อย่าง ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน ในธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ในนาม ๑ ในรูป ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัด โดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๒ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน คำที่เรากล่าวว่า ปัญหา ๒ อุเทศ ๒ ไวยากรณ์ ๒ ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ ก็คำที่เรากล่าวว่า ปัญหา ๓ อุเทศ ๓ ไวยากรณ์ ๓ ดังนี้ เราอาศัย อะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๓ อย่าง ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน ในธรรม ๓ อย่างเป็นไฉน คือ ใน เวทนา ๓ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๓ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน คำที่เรากล่าวว่า ปัญหา ๓ อุเทศ ๓ ไวยากรณ์ ๓ ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ ก็คำที่เรากล่าวว่า ปัญหา ๔ อุเทศ ๔ ไวยากรณ์ ๔ ดังนี้ เราอาศัย อะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ใน ธรรม ๔ อย่าง ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน ในธรรม ๔ อย่างเป็นไฉน คือ ในอาหาร ๔ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัด โดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๔ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน คำที่เรากล่าวว่า ปัญหา ๔ อุเทศ ๔ ไวยากรณ์ ๔ ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ ก็คำที่เรากล่าวว่า ปัญหา ๕ อุเทศ ๕ ไวยากรณ์ ๕ ดังนี้ เราอาศัย อะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ใน ธรรม ๕ อย่าง ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน ในธรรม ๕ อย่างเป็นไฉน คือ ในอุปาทานักขันธ์ ๕ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลาย กำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์ โดยชอบ ในธรรม ๕ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน คำที่เรา กล่าวว่า ปัญหา ๕ อุเทศ ๕ ไวยากรณ์ ๕ ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ ก็คำที่เรากล่าวว่า ปัญหา ๖ อุเทศ ๖ ไวยากรณ์ ๖ ดังนี้ เราอาศัย อะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๖ อย่าง ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน ในธรรม ๖ อย่างเป็นไฉน คือ ในอายตนะภายใน ๖ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัด โดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๖ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน คำที่เรากล่าวว่า ปัญหา ๖ อุเทศ ๖ ไวยากรณ์ ๖ ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ ก็คำที่เรากล่าวว่า ปัญหา ๗ อุเทศ ๗ ไวยากรณ์ ๗ ดังนี้ เราอาศัย อะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ใน ธรรม ๗ อย่าง ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน ในธรรม ๗ อย่างเป็นไฉน คือ ในวิญญาณฐิติ ๗ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัด โดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๗ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน คำที่เรากล่าวว่า ปัญหา ๗ อุเทศ ๗ ไวยากรณ์ ๗ ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ ก็คำที่เรากล่าวว่า ปัญหา ๘ อุเทศ ๘ ไวยากรณ์ ๘ ดังนี้ เราอาศัย อะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ใน ธรรม ๘ อย่าง ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน ในธรรม ๘ อย่างเป็นไฉน คือ ในโลกธรรม ๘ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัด โดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๘ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน คำที่เรากล่าวว่า ปัญหา ๘ อุเทศ ๘ ไวยากรณ์ ๘ ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ ก็คำที่เรากล่าวว่า ปัญหา ๙ อุเทศ ๙ ไวยากรณ์ ๙ ดังนี้ เราอาศัย อะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๙ อย่าง ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน ในธรรม ๙ อย่างเป็นไฉน คือ ในสัตตาวาส ๙ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ใน ธรรม ๙ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน คำที่เรากล่าวว่า ปัญหา ๙ อุเทศ ๙ ไวยากรณ์ ๙ ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ ก็คำที่เรากล่าวว่า ปัญหา ๑๐ อุเทศ ๑๐ ไวยากรณ์ ๑๐ ดังนี้ เราอาศัย อะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๑๐ อย่าง ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน ในธรรม ๑๐ อย่างเป็นไฉน คือ ในอกุศลกรรมบถ ๑๐ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัด โดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๑๐ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน คำที่เรากล่าวว่า ปัญหา ๑๐ อุเทศ ๑๐ ไวยากรณ์ ๑๐ ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ
จบสูตรที่ ๗

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ บรรทัดที่ ๑๒๒๖-๑๓๕๙ หน้าที่ ๕๓-๕๙. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=24&A=1226&Z=1359&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=24&A=1226&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=24&siri=27              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=27              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=24&A=1049              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=7522              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=24&A=1049              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=7522              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i021-e.php#sutta7 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an10/an10.027x.nypo.html https://suttacentral.net/an10.27/en/sujato https://suttacentral.net/an10.27/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]